"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 
8 มกราคม 2554
 
All Blogs
 

การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 .. ชุดการระเบิดของภูเขาไฟ







ชาวบ้านท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวสังเกตการณ์ภูเขาไฟ
ก่อนหน้าการปะทุปลายปี พ.ศ. 2552




การปะทุเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553




รอยแยกแห่งที่สองเมื่อมองจากทิศเหนือ
เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553




การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 เป็นชุดการระเบิดของภูเขาไฟซึ่งเกิดขึ้นที่เอยาฟยาตลาเยอคุตล์ ในประเทศไอซ์แลนด์ กิจกรรมแผ่นดินไหวได้เริ่มต้นขึ้นนับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2552 และนำไปสู่การปะทุของภูเขาไฟเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

ซึ่งมีการจัดดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ อยู่ที่ระดับ 1 การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553 และได้รบกวนการจราจรทางอากาศในทวีปยุโรปนับตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน เป็นต้นมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารนับล้านคน


ประวัติ

กิจกรรมแผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นรอบพื้นที่ ภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ โดยมีแผ่นดินไหวขนาดย่อมหลายพันครั้ง (ส่วนใหญ่มีความรุนแรง 1-2 โมเมนต์-แมกนิจูด ลึกลงไป 7-10 กิโลเมตรใต้ภูเขาไฟ) เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ชุดอุปกรณ์ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) ซึ่งสถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งไอซ์แลนด์ใช้ ที่ทุ่งทอร์วัลต์เซรีในแถบเอยาฟเยิตล์ (ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 15 กิโลเมตรจากจุดที่มีการปะทุของภูเขาไฟครั้งล่าสุด) ได้แสดงให้เห็นว่า เปลือกท้องถิ่นได้เคลื่อนไปทางทิศใต้ 3 เซนติเมตร โดยการเคลื่อน 1 เซนติเมตร ใช้เวลาภายใน 4 วัน

ความผิดปกติของกิจกรรมแผ่นดินไหวครั้งนี้ ประกอบกับการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วของแผ่นเปลือกโลกในพื้นที่ ได้ให้หลักฐานแก่นักธรณีฟิสิกส์ว่า หินหนืด (magma) จากใต้แผ่นเปลือกโลกกำลังไหลเข้าสู่กะเปาะหินหนืด (magma chamber) ใต้ภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์

กิจกรรมแผ่นดินไหวดังกล่าวยังได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และนับตั้งแต่วันที่ 3-5 มีนาคม ได้เกิดแผ่นดินไหวเกือบ 3,000 ครั้งซึ่งตรวจวัดได้ที่จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในภูเขาไฟ

แผ่นดินไหวส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก (2 แมกนิจูด) จนไม่สามารถอ่านได้ว่าเป็นเครื่องแสดงถึงการปะทุของภูเขาไฟ แต่แผ่นดินไหวบางส่วนถูกตรวจพบได้ในเมืองใกล้เคียง

การปะทุคาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างเวลา 22.30 ถึง 23.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ห่างจากธารน้ำแข็งในเนินลาดทางเหนือของช่องเขาฟิมม์เวอร์ดูเฮาลส์ ไปทางทิศตะวันออกในระยะไม่กี่กิโลเมตร


การปะทุครั้งแรก: 20 มีนาคม

การปะทุเกิดขึ้นทางตอนใต้ของไอซ์แลนด์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553 ณ ระบบภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ รายงานการพบเห็นครั้งแรกเกิดขึ้นราว 23:00 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช

โดยกลุ่มเมฆสีแดงถูกพบเห็นที่ภูเขาไฟ การปะทุเป็นผลสืบเนื่องมาจากกิจกรรมแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงและการเปลี่ยนลักษณะในอัตราสูงในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนหน้าการปะทุ ประกอบกับหินหนืดซึ่งเติมพลังให้กับภูเขาไฟ


รอยแยก

รอยแยกที่เกิดขึ้นมีความยาว 500 เมตรในแนวตะวันออกเฉียงเหนือไปยังตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีปล่องราว 10-12 ปล่องปล่อยลาวาซึ่งมีอุณหภูมิราว 1,000 องศาเซลเซียสพุ่งสูงขึ้นไปในอากาศกว่า 150 เมตร โดยลาวาเป็นหินบะซอลต์แอลคาไลโอลิวีน

ลาวาดังกล่าวค่อนข้างหนืด ทำให้การเคลื่อนของกระแสลาวาไปทางตะวันตกและตะวันออกของรอยแยกเกิดขึ้นได้ช้า การปะทุดังกล่าวจึงจัดเป็นการปะทุพ่น รอยแยกแห่งใหม่เปิดออกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม โดยห่างจากรอยแยกแห่งแรกออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 200 เมตร

มันมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย จากข้อมูลของนักธรณีฟิสิกส์ รอยแยกทั้งสองที่เกิดขึ้นนี้มาจากกะเปาะหินหนืดแห่งเดียวกัน ไม่มีกิจกรรมแผ่นดินไหวที่ผิดปกติเมื่อรอยแยกนี้ปรากฏขึ้น และไม่มีการขยายตัวของเปลือกโลกใด ๆ จากข้อมูลที่ได้จากเครื่องวัดการสั่นสะเทือนและเครื่องบันทึกจีพีเอสต่าง ๆ ซึ่งติดตั้งในพื้นที่ใกล้เคียง

สถานีเรดาร์ของสถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งไอซ์แลนด์ ไม่ตรวจพบปริมาณเถ้าตกจากภูเขาไฟในปริมาณที่ตรวจวัดได้ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกของการปะทุ

ระหว่างคืนวันที่ 22 มีนาคม มีรายงานเถ้าตกในหมู่บ้านฟลีโยตส์ฮลีท (ห่างจากจุดที่เกิดการปะทุออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 20-25 กิโลเมตร) และเมืองควอลส์เวอตลูร์ (ห่างจากจุดที่เกิดการปะทุออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร)

ทำให้ยานพาหนะต่าง ๆ ถูกปกคลุมด้วยชั้นเถ้าภูเขาไฟสีเทา ราว 7.00 น. ของวันที่ 22 มีนาคม การระเบิดครั้งหนึ่งได้ส่งพวยเถ้าถ่านสูงขึ้นไปในอากาศถึง 4 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553 เกิดการปะทุไอน้ำขนาดเล็กขึ้น

เมื่อหินหนืดร้อนออกมาสัมผัสกองหิมะซึ่งอยู่ใกล้เคียง ทำให้ปล่อยไอน้ำขึ้นไปถึงความสูง 7 กิโลเมตร และสามารถตรวจพบได้โดยเรดาร์ของสถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งไอซ์แลนด์ นับตั้งแต่นั้นมา การปะทุไอน้ำก็ได้เกิดขึ้นอีกหลายครั้ง และวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553 รอยแยกแห่งใหม่ก็ได้เปิดขึ้นบนภูเขาไฟ


ผลกระทบต่อน้ำ

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553 อุปกรณ์เครื่องวัดอัตราการไหลซึ่งตั้งอยู่ ณ แม่น้ำธารน้ำแข็งครอสเซาเริ่มต้นบันทึกการเพิ่มระดับของน้ำ และอุณหภูมิของน้ำอย่างกะทันหัน โดยรวมแล้ว อุณหภูมิของน้ำเพิ่มขึ้น 6 องศาเซลเซียสในเวลาสองชั่วโมง

ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาไม่เคยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ในแม่น้ำครอสเซานับตั้งแต่เริ่มมีการตรวจวัดเป็นต้นมา ไม่นานนักหลังจากนั้น ระดับน้ำก็กลับคืนสู่ระดับปกติและอุณหภูมิของน้ำก็เริ่มลดลงด้วยเช่นกัน

เชื่อกันว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำ มีความเกี่ยวข้องกับการปะทุของภูเขาไฟที่อยู่ใกล้เคียง และส่งผลกระทบต่อบางส่วนของบริเวณลุ่มน้ำครอสเซา

อุณหภูมิของแม่น้ำฮรูเนาซึ่งไหลผ่านหุบเขาฮรูเนาร์กิล อันเป็นบริเวณที่บางส่วนของสายลาวาได้ไหลลงไป ก็มีการบันทึกโดยนักธรณีวิทยาว่ามีอุณหภูมิระหว่าง 50-60 องศาเซลเซียส ซึ่งบ่งชี้ว่าแม่น้ำลดความร้อนของลาวาที่อยู่ในหุบเขานั้น

การวิเคราะห์

ตัวอย่างของเถ้าภูเขาไฟที่เก็บได้จากบริเวณใกล้พื้นที่การปะทุแสดงถึงซิลิกาเข้มข้นร้อยละ 58 ซึ่งสูงกว่าในกระแสลาวาที่ไหลออกมา ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ละลายน้ำได้คิดเป็น 1 ใน 3 ของความเข้มข้นในการปะทุของภูเขาไฟเฮคลา โดยมีค่าเฉลี่ยของฟลูออไรด์อยู่ที่ 104 มิลลิกรัมต่อเถ้าหนึ่งกิโลกรัม

เกษตรกรรมมีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้ของไอซ์แลนด์อย่างมาก และเกษตรกรใกล้กับภูเขาไฟได้รับคำเตือนมิให้สัตว์เลี้ยงดื่มน้ำจากลำธารหรือแหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงสามารถส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อไตและตับในสัตว์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแกะ)


การปะทุครั้งที่สอง: 14 เมษายน

เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553 เอยาฟยาตลาเยอคุตล์ยังคงปะทุขึ้นอีกครั้งหลังจากหยุดชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง การปะทุครั้งนี้เกิดขึ้นที่ตรงกลางของธารน้ำแข็ง ทำให้อุทกภัยที่เกิดจากน้ำแข็งละลายไหลทะลักลงสู่แม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งอยู่ทั้งสองด้านของภูเขาไฟ และประชาชน 800 คนต้องถูกอพยพจากพื้นที่ ถนนตามแม่น้ำมาร์คาร์ปลีโยตถูกทำลายในหลายพื้นที่

ไม่เหมือนกับการปะทุครั้งก่อนหน้า การปะทุครั้งที่สองเกิดขึ้นที่ใต้น้ำแข็งของธารน้ำแข็ง น้ำเย็นซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งได้ทำให้ลาวาเย็นลงอย่างรวดเร็วและทำให้ลาวาที่แข็งตัวนั้นแตกกลายเป็นแก้ว ทำให้เกิดอนุภาคแก้วขนาดเล็กซึ่งถูกนำพาไปในพวยเถ้าถ่าน

ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น ก็ทำให้สายการบินที่ออกจากยุโรปและเข้ามายุโรปต้องปิดลงหลายวัน ประกอบกับขนาดของการปะทุ ซึ่งคาดกันว่ามีขนาดเป็น 10-20 เท่า ของการปะทุที่ฟิมม์เวอร์ดูเฮาลส์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ส่งผลให้เกิดพวยเถ้าถ่านซึ่งมีแก้วเจือปนในปริมาณสูงตกค้างในชั้นบรรยากาศระดับสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่ออากาศยาน


การปะทุครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553 การปะทุยังคงดำเนินต่อไป แต่การระเบิดลดลง โดยพวยเถ้าถ่านพุ่งขึ้นสูงขึ้นไปในอากาศ 5 กิโลเมตร ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ 13 กิโลเมตร ของการปะทุครั้งที่ผ่านมา และไม่ขึ้นไปสูงพอที่ลมจะพัดพาไปทั่วทวีปยุโรป

การพยากรณ์เมื่อวันที่ 18 เมษายน เวลา 6.00 น. ได้แสดงให้เห็นถึงพวยเถ้าถ่านซึ่งยังแพร่กระจายไปทั่วยุโรปเหนือ


ผลกระทบ

ผลกระทบของพวยเถ้าถ่านต่อการจราจรทางอากาศ

การประมาณของเมฆเถ้าเมื่อเวลา 18:00 น. UTC ของวันที่ 22 เมษายน การพยากรณ์ล่าสุดมีการอัปเดตที่ London Volcanic Ash Advisory Centre site (Met Office, สหราชอาณาจักร)เถ้าภูเขาไฟเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่ออากาศยาน ตำแหน่งของพวยเถ้าถ่านในปัจจุบันขึ้นอยู่กับสภาพของการปะทุและลม

การจราจรทางอากาศได้รับผลกระทบอย่างหนักภายหลังการปะทุครั้งที่สอง ในขณะที่เถ้าภูเขาไฟบางส่วนได้ตกลงสู่พื้นที่ซึ่งไม่มีคนอาศัยอยู่ของไอซ์แลนด์ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกพัดพาไปโดยลมตะวันตก อันส่งผลให้มีการปิดนานฟ้าบริเวณกว้างขวางในทวีปยุโรป

ควันและเถ้าจากการปะทุลดทัศนวิสัยของการนำทางด้วยภาพ และกองเศษหินซึ่งเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นในเถ้า สามารถหลอมละลายในเครื่องยนต์หลอดของอากาศยาน ทำให้เครื่องยต์เสียหายและต้องปิดลง


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


โสรวารสิริสวัสดิ์ ปรีดิ์มนัสสวัสดิ์สิรินะคะ




 

Create Date : 08 มกราคม 2554
0 comments
Last Update : 8 มกราคม 2554 11:51:55 น.
Counter : 3191 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.