ใครชอบใครชังช่างเถิด 
ใครเชิดใครแช่งช่างเขา 
ใครเบื่อใครบ่นทนเอา ...
 
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
27 มิถุนายน 2552

ผลของกรรมไม่ดี 10 ข้อ

ผลของกรรมไม่ดี 10 ข้อ

อกุศลกรรมบททั้งสิบเหล่านี้ ถ้าหากผู้นั้นไม่ได้ลงนรก เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วจะได้รับสิ่งเหล่านี้ ได้แก่


ปาณาติบาต ผลของการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (รวมไปถึงการทำร้ายสัตว์ด้วยแม้ไม่ถึงตายก็ตาม)มี ๙
ประการ คือ

๑. พิการ
๒. รูปไม่งาม
๓. กำลังกายอ่อนแอ
๔. กำลังกายเฉื่อยชา
๕. เป็นคนขลาด
๖. ฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า
๗. โรคภัยเบียดเบียน
๘. ความพินาศของบริวาร กำลังปัญญาไม่ว่องไว
๙. อายุสั้น


อทินนาทาน ผลของการลักทรัพย์ของผู้อื่น แม้เพียงเงินหนึ่งบาทมี ๖ ประการ คือ

๑. ด้อยทรัพย์
๒. ยากจน
๓. อดอยาก
๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา
๕. พินาศในการค้า
๖. ทรัพย์พินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัยเป็นต้น


กาเมสุมิจฉาจาร ผลของการล่วงละเมิดในคนรักของผู้อื่น มี ๑๑ ประการ คือ

๑. มีผู้เกลียดชังมาก
๒. มีผู้ปองร้ายมาก
๓. ขัดสนทรัพย์
๔. ยากจนอดอยาก
๕. เป็นหญิง (เป็นหญิงที่อับโชค)
๖. เป็นกระเทย
๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ
๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
๙. ร่างกายไม่สมประกอบ
๑๐. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก


มุสาวาท ผลของการพูดเท็จ มี ๘ ประการ คือ

๑. พูดไม่ชัด
๒. ฟันไม่เป็นระเบียบ
๓. ปากเหม็นมาก
๔. ไอตัวร้อนจัด
๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
๖. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้น และปลายปาก
๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต


ปิสุณาวาท ผลของการพูดยุยงนินทา ให้ผู้อื่นรังเกียจ แตกสามัคคีรักใคร่กัน มี ๔ ประการ คือ

๑. ตำหนิตนเอง
๒. มักจะถูกลือโดยไม่มีความจริง
๓. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน
๔. แตกมิตรสหาย


ผรุสวาท ผลของการพูดเพราะความโกรธ การด่า ให้ผู้อื่นเจ็บปวดช้ำใจ หรือพูดหยาบให้เขาโกรธเคือง มี ๔ ประการ คือ

๑. พินาศในทรัพย์
๒. ได้ยินเสียง เกิดไม่พอใจ
๓. มีกายและวาจาหยาบ
๔. ตายด้วยอาการงงงวย


สัมผัปปลาปะ ผลของการพูดเพ้อเจ้อ เช่น การล้อเล่น ,พูดจาไม่มีประโยชน์, พูดเล่น พูดเรื่องหนัง เรื่องดารา เรื่องไม่มีเหตุผล ฯลฯ มี ๔
ประการ คือ

๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล (เป็นคนพูดไม่มีสาระที่จะถือเอาได้)
๒. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน พูดอะไรก็ไม่มีใครเชื่อฟัง ถูกรังเกียจ
๓. ไม่มีอำนาจ เป็นคนต้อยต่ำ
๔. จิตไม่เที่ยง คือ วิกลจริต


อภิชฌา ผลของความอยากได้ อยากมีในทรัพย์ของผู้อื่นมี ๔ ประการ คือ

๑. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี
๒. ปฏิสนธิในตระ***ลต่ำ
๓. มักได้รับคำติเตียน
๔. ขัดสนในลาภสักการะ


ผลในปวัตติกาลของพยาบาท(ความเพ่งเล็ง คิดร้าย อยากให้ผู้อื่นเสียหาย - เช่นขอให้ตายไวไวเป็นต้น) มี ๔ ประการ คือ

๑. มีรูปทราม
๒. มีโรคภัยเบียดเบียน
๓. อายุสั้น
๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย


มิจฉาทิฏฐิ ผลของความเห็นผิด มี ๔ ประการ คือ

๑. ห่างไกลรัศมีแห่งพระธรรม
๒. มีปัญญาทราม
๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร
๔. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน


สุราเมรัย ผลของเสพสุราเมรัย มี ๖ ประการ คือ

๑. ทรัพย์ถูกทำลาย
๒. เกิดวิวาทบาดหมาง
๓. เป็นบ่อเกิดของโรค
๔. เสื่อมเกียรติ
๕. หมดยางอาย
๖. ปัญญาเสื่อมถอย
สาธุ

กรรมทางใจทีทำให้รวย

กรรมทางใจที่ทำให้ร่ำรวยสูงสุด
ให้ ของเหมือนกัน แต่ใจแตกต่าง ก็ให้ผลผิดกันได้ลิบลับ พระพุทธเจ้าจำแนกอาการของใจในขณะให้ไว้เป็นต่างๆ แต่ละอาการล้วนเป็นกำลังหนุนให้วิบากออกดอกออกผลเป็นความมั่งคั่ง หากใครให้ทานด้วยอาการของใจดังต่อไปนี้ครบถ้วนเป็นประจำสม่ำเสมอ ก็จะมีผลไพบูลย์สูงสุด ส่งผลเป็นความมั่งคั่งถึงที่สุดเท่าที่ทานนั้นๆจะอำนวย

๑) ให้ด้วยความศรัทธา คือมีความเลื่อมใสอยู่ก่อนว่าทานเป็นของดี เป็นของที่ให้ความสุขในปัจจุบัน และเที่ยงที่จะติดตามไปให้ความสุขแก่เราในอนาคต ทั้งนี้ไม่ได้หมายเอาอาการโลภแบบจำเพาะเจาะจงว่าขอให้รวยเท่านั้นเท่านี้ เมื่อนั่นเมื่อนี่ อาการทางใจเช่นนั้นไม่ใช่ศรัทธาในบุญ แต่เป็นการลงทุนของนักธุรกิจอย่างหนึ่งผู้ศรัทธาในการเอากำไรเข้าตัว หรือถ้าให้โดยปราศจากศรัทธา ให้อย่างเสียไม่ได้ ให้เพราะจำใจ ให้เพราะตามๆญาติมา แม้เกิดบุญขึ้นมากก็ไม่ได้เป็นกรรมสว่างสร้างภพแห่งความมั่งคั่งแต่อย่างใด และเมื่อมีนิสัยให้ด้วยความศรัทธาดีแล้ว ยังมีผลให้รูปร่างหน้าตาและผิวพรรณงดงามยิ่งอีกด้วย

๒) ให้ด้วยความเคารพ คือมีความรู้สึกอยู่ว่าการทำทานเป็นของสูง ไม่ใช่ของต่ำ จึงไม่ควรโยนให้หรือเสือกให้เหมือนเป็นของเหลือเดน การถวายทานแด่สงฆ์จัดเป็นการฝึกใจให้ทำทานด้วยความเคารพได้อย่างดี เพราะรู้สึกอยู่ว่าท่านใช้ชีวิตที่สะอาดสูงส่งกว่าเรา หรืออย่างน้อยพวกท่านก็นุ่งห่มจีวรอันเป็นธงชัยพระอรหันต์ สืบทอดพระศาสนาให้ต่อเนื่องไม่สาบสูญ ถ้าให้ทานโดยปราศจากความเคารพ ให้แบบโยนกระดูกลงพื้น ให้ด้วยความเหยียดหยาม หรือให้แบบแดกดัน แม้เกิดบุญขึ้นมากก็ไม่ได้เป็นกรรมสว่างสร้างภพแห่งความมั่งคั่งแต่อย่างใด และเมื่อมีนิสัยให้ด้วยความเคารพดีแล้ว ยังมีผลให้ดูเป็นคนน่าเลื่อมใสควรแก่การเชื่อฟังอีกด้วย

๓) ให้โดยกาลอันควร คือให้อย่างรู้จักความเหมาะสมกับสถานการณ์ในเวลาหนึ่งๆ เช่นเมื่อเห็นพระตาแดง ก็ขวนขวายเป็นธุระหายาหยอดตามาให้ท่าน เห็นวัดมีทางโคจรของพระที่เฉอะแฉะ ก็ร่วมแรงร่วมใจกันทำทางให้แห้งหรือเทปูนให้พวกท่านไปเลย ไม่ใช่เห็นท่านอยู่ปกติก็เอายาหยอดตาไปถวายขวดเดียวโดดๆด้วยความคิดว่าสัก วันหนึ่งท่านอาจจะตาแดง แต่ถ้าซื้อยาสามัญครบชุดไปถวายด้วยความคิดว่าเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ เผื่อไว้ว่าท่านอาจจำเป็นต้องใช้ อย่างนี้ถือว่าให้โดยกาลอันควร ถ้าให้ทานโดยปราศจากความเหมาะสมกับกาล แม้เกิดบุญขึ้นมากก็ไม่ได้เป็นกรรมสว่างสร้างภพแห่งความมั่งคั่งแต่อย่างใด และเมื่อมีนิสัยให้โดยกาลอันควรดีแล้ว ก็จะเป็นผู้ได้ของตามต้องการในเวลาไม่เนิ่นช้าอีกด้วย

๔) ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ คือให้ด้วยความปรารถนาจะช่วยผู้รับในเรื่องหนึ่งๆอย่างแท้จริง เช่นเมื่อเลือกซื้อยาสีฟันถวายพระ ก็หยิบเอายี่ห้อดีที่สุดที่เราทราบว่ามีคุณภาพในการรักษาเหงือกและฟัน โดยไม่เกี่ยงงอนเรื่องราคา อย่างนี้ถือว่าให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ ถ้าให้ทานโดยปราศจากจิตคิดอนุเคราะห์ แม้เกิดบุญขึ้นมากก็ไม่ได้เป็นกรรมสว่างสร้างภพแห่งความมั่งคั่งแต่อย่างใด และเมื่อมีนิสัยให้ด้วยจิตคิดอนุเคราะห์ดีแล้ว ก็จะเป็นผู้มีรสนิยมดี เลือกใช้ของมาทำความเพลิดเพลินเจริญสุขอันเป็นไปด้วยกามคุณ ๕ ได้อย่างฉลาดอีกด้วย (ตรงนี้ขอให้สังเกตว่าบางคนเงินไม่ได้เนรมิตทุกสิ่งในชีวิตให้ดูดีโดย อัตโนมัติ บางคนมีเงินมากก็จริง แต่ไม่รู้จักร้านอร่อย ซื้ออาหารผิดสุขลักษณะ เลือกของแต่งบ้านไม่เป็น นั่งทำงานในที่สกปรกรุงรัง งกเสียจนแม้ข้าวของเครื่องใช้ผุพังก็ดันทุรังใช้ต่อ ในขณะที่บางคนมีทรัพย์สมบัติเพียงปานกลาง แต่ความเป็นอยู่ดูดีคุ้มเงินยิ่ง
ฯ ๗๑

พระลาภวัต ธมฺมกาโม

//www.ponboon.com/forum/index.php/topic,1740.0.html




 

Create Date : 27 มิถุนายน 2552
3 comments
Last Update : 27 มิถุนายน 2552 0:38:06 น.
Counter : 568 Pageviews.

 

คนที่หักหลังเพื่อน ทรยศคนที่ไว้ใจเรา จะเจอผลกรรมอะไรบ้าง อยากรู้ค่ะ มีความรู้สึกว่าจะโดนเพื่อนหักหลังค่ะั

 

โดย: Tukta21 27 มิถุนายน 2552 1:45:12 น.  

 

Sawadee ka..

 

โดย: CrackyDong 27 มิถุนายน 2552 3:46:00 น.  

 

กรรมใดผู้ทำ ทำด้วยความประณีต ผู้นั้นย่อมได้รับผลของกรรมอันประณีต
กรรมใดผู้ทำ ทำด้วยความหยาบ ผู้นั้นย่อมได้รับผลของกรรมอันหยาบ

ดังนั้น :

บุญใดเป็นบุญอันประณีต ผู้นั้นย่อมได้รับผลบุญอันประณีต
บุญใดเป็นบุญอันหยาบ ผู้นั้นย่อมได้รับผลบุญอันหยาบ

 

โดย: รถขนของ 27 มิถุนายน 2552 20:06:28 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


รถขนของ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




http://www.ponboon.com
นะ หิ เว เรนะ เวรานิ สัมมันตีธะ กุทาจะนัง อะเวเรนะ จะ สัมมันติ เอสะ ธัมโม สะนันตะโน ตัด
คาถาตัดเวร จะช่วยตัดเวรจากเจ้ากรรมนายเวรที่หัวดื้อๆ
อันนี้ขอให้ท่องทุกวัน..
พระคาถาแผ่เมตตาไปทั่วทั้ง 3 โลก
นโม พุทธสิกขีพระพุทธเจ้า
นโม สรรพพุทธานัง
นโม สรรพธัมมานัง
นโม สรรพสังฆานัง
นโม อิติ อิติ โพธิสัตว์

โอม ฉัพพรรณรังสีพระพุทธเจ้า
โอม ท่านท้าวจาตุรมหาพรหม
โอม ท่านท้าวพยายมราช
โอม ท่านท้าวสักกะเทวราช
โอม ท่านท้าวจาตุรมหาราช
ลูกขออุทิศส่วนกุศลด้วย อิทัง ปุญญะพะลัง

ผลบุญใดที่ลูกได้สั่งสมมารวมทั้งสวดพระนามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ลูกขอแผ่ส่วนกุศลไปกับฉัพพรรณรังสีรัศมีหกประการขององค์สมเด็จพระพิชิตมารศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์

ขอได้โปรดดลบันดาลให้สรรพสัตว์ทั้งสามโลก เจ้ากรรมนายเวร และญาติมิตร มีความสุขสำเร็จในชีวิต ได้หลุดพ้นจากวัฎสงสาร โดยสิ้นเชิง ด้วยพระบารมีมิอาจประมาณ ลูกขอน้อมนอบนมัสการด้วยจิตใจ ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 3 โลก เจ้ากรรมนายเวรญาติมิตรและจิตลูกสว่างสะอาดสดใส หลุดพ้นไซร้สู่บ้านพระนิพพานพร้อมด้วยบริวารทุกท่านเทอญ สัมปะติจฉามิ สัมปะจิตฉามิ นิพพานสุขัง

จาก ธรรมประทานพร เล่ม ๔
__________________

การจะแก้ไขกรรม หรือแก้ไขดวงก็คือ
การแก้เข้ามาในใจเรา แก้ไขความประพฤติ
ถึงจะแก้กรรมเก่าได้ แต่ถ้ายังไม่เลิกนิสัยชั่วๆ
มันก็ต้องทำกรรมชั่วอีกแหละ

กรรมใดผู้ทำ ทำด้วยความประณีต ผู้นั้นย่อมได้รับผลของกรรมอันประณีต
กรรมใดผู้ทำ ทำด้วยความหยาบ ผู้นั้นย่อมได้รับผลของกรรมอันหยาบ

ดังนั้น :

บุญใดเป็นบุญอันประณีต ผู้นั้นย่อมได้รับผลบุญอันประณีต
บุญใดเป็นบุญอันหยาบ ผู้นั้นย่อมได้รับผลบุญอันหยาบ

รู้ไม่ละหาพระไม่เจอ
สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรทำความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง
แม้กระทำความผูกพันและหมายมั่นให้สิ่งนั้นกลับมาเป็นปัจจุบัน ก็เป็นไปไม่ได้
ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว โดยความไม่สมหวังตลอดไป
อนาคตที่ยังมาไม่ถึงนั้น เป็นสิ่งไม่ควรไปยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน

อดีตปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตปล่อยไว้ตามกาลของมัน
ปัจจุบันเท่านั้นจะสำเร็จประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ ไม่สุดวิสัย

บทพระนามพระมัญชุศรี มหาโพธิสัตว์ - Buddist
[Add รถขนของ's blog to your web]