To sooth my soul
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
24 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
เมื่อต้องท่องศัพท์ และจำศัพท์

ภาพหนึ่งภาพแทนคำนับพัน

สมัยก่อนตอนเด็กมากๆ พ่อและแม่สอนให้ผมเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆด้วยวิธีชี้ให้ดูว่าสิ่งนั้นเรียกว่าอะไร

เวลาแม่สอนเราเรียก "ภูเขา"

แม่ไม่ได้เปิดพจนานุกรมที่เป็นตัวหนังสือสอนผม แต่แม่ชี้ให้ดูภูเขาของจริงระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว


พอผมโตขึ้นแล้วเข้าเรียนในชั้นอนุบาล คุณครูก็จะให้คัดศัพท์ และวาดรูปเพื่อให้ผมสามารถจดจำคำต่างๆได้และในช่วงนั้นเองผมเริ่มเรียนรู้ที่จะจดจำคำศัพท์จากสิ่งรอบตัว เช่น สื่อโทรทัศน์หรือเรียนรู้ที่จะจดจำคำศัพท์จากคำพูดของคนอื่นที่เขาใช้เรียกกัน

ผมรู้จัก "กระบี่"เมื่อดูหนังจีนกำลังภายในแล้วเห็นจอมยุทธ์ผู้หนึ่งชูสิ่งหนึ่งขึ้นแล้วเรียกมันว่ากระบี่

พอขึ้นชั้นประถมต้นหนังสือเรียนของผมก็เริ่มมีภาพน้อยลงหรือมีก็เริ่มไม่ใช่ภาพโดดแต่เป็นภาพที่มีการผสมผสานกันเข้ามากขึ้นการเรียนรู้ศัพท์ก็ยากขึ้น คุณครูจึงให้ฝึกท่องจำแล้วเขียน พอผมเขียนผิดก็ต้องมานั่งแก้คำผิด คัดให้ถูกซ้ำๆสามครั้งในช่วงเวลานั้นผมรู้สึกเบื่อมากที่ต้องมานั่งท่องและคัดคำศัพท์โดยที่ไม่รู้ความหมายที่แท้จริงของมันช่วงเวลานี้ผมยังไม่รู้จัก ปทานานุกรม และพจนานุกรมภาษาไทย ช่วงนี้จึงต้องยอมจดจำด้วยท่องไปก่อนหัดเขียนตัวสะกด หัดสะกดคำ หัดเรียงคำเพื่อแต่งประโยคด้วยคลังคำศัพท์ในหัวที่มีอยู่อย่างจำกัด

จำได้ว่าตอนประถมนั้นผมต้องเรียนเลขทักษะ กับเลขโจทย์ปัญหา สำหรับผมเลขทักษะนั้นง่ายค่อนข้างตรงไปตรงมาแต่เมื่อต้องเผชิญกับเลขโจทย์ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการหาคำตอบก็คือการตีความภาษาและเหตุการณ์ในโจทย์ให้เป็นประโยคสัญลักษณ์เด็กที่มีความสามารถทางการเข้าใจภาษาน้อยก็จะทำข้อสอบได้คะแนนไม่ดี ผมเดาว่าเพราะเด็กๆไม่สามารถเรียบเรียงเหตุการณ์ในโจทย์ให้เป็นภาพได้จึงทำให้เกิดปัญหาในการตีความ

ผมเคยสอนเลขโจทย์ปัญหาให้เด็กประถมคนหนึ่ง

สมมติมีโจทย์ว่า มานีมีส้มสามผลแม่ให้มาอีกสามผล มานีหิวจึงกินส้มไปสองผล มานีเหลือส้มกี่ผล

ในฐานะผู้ใหญ่เราจะนึกภาพออกทันทีเพราะเราเคยชินและเคยมีประสบการณ์จริงมาก่อนแต่สำหรับเด็กๆนั่นอาจเป็นครั้งแรกที่ได้ประสบเหตุการณ์นั้นดังนั้นการเรียนการสอนด้วยตัวหนังสืออย่างเดียวอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอคุณครูจึงจัดกิจกรรมให้ลงมือปฏิบัติ และให้ฝึกทำแบบฝึกหัดที่มีรูปประกอบไปด้วยเพื่อช่วยให้เข้าใจ

จากประสบการณ์ของผมแล้วพื้นฐานในการเข้าใจภาษาของเด็กๆสามารถฝึกได้ตั้งแต่เล็กด้วยการฟังนิทานที่มีภาพประกอบเด็กที่จดจำภาพไก่ได้ย่อมนึกภาพไก่ออก เมื่อลูกผมเริ่มวาดไก่ได้ ผมจึงลองเล่านิทานโดยให้ลูกชายหลับตาฟัง

“เห็นไก่ไหมลูก” ผมถาม

“เห็นครับ” ลูกชายตอบ

“ไก่หน้าตาเป็นยังไงไหนเล่าให้ฟังหน่อย อย่าลืมตานะ”
“ไก่มีสองปีกครับ มีสองขา ปากแหลมๆ”

“ใช่ ไหนทีนี้ลองนึกให้มันมีสามตัวซิไหนๆ สามตัวหรือยัง”

“สามตัวแล้ว”

“ดีมากทีนี้ไก่สามตัวก็เดินไปเรื่อย พอดีเจอกับหมาป่า ไหนนึกภาพหมาป่าซิ หมาป่าเป็นยังไงมีสี่ขา มีเขี้ยว มีหาง มีขน ใช่ไหม นึกออกหรือยัง”

“นึกออกแล้วครับ”

“อย่าเพิ่งเปิดตานะ ว่าแต่ไก่ยังอยู่ครบสามตัวหรือเปล่า”

“อยู่ครับ”

“หมาป่าหิวจัดมากๆแล้ว ทำอย่างไรดี”

“ต้องกินไก่”

“ถูกต้อง กินกี่ตัวดีถึงจะอิ่มสองตัวก็พอนะ”

“ครับ”

“หมาป่าเอาไก่เข้าปากไปสองตัวแล้วนึกออกไหม”

“นึกออกครับ”

“ทีนี้เหลือไก่ กี่ตัว”

“หนึ่งตัว”

“ถูกต้อง เปิดตาได้”

วิธีนี้ผมทดลองทำดูเพื่อประเมินผลว่าลูกผมมีจินตนาการได้แค่ไหนการหมั่นอ่านนิทานที่มีภาพให้ฟังบ่อยๆจะทำให้เด็กมีจินตนาการได้ดีขึ้น นิทานภาพประกอบของเด็กเล็กจึงควรมีลักษณะเป็นภาพโดดมีเรื่องราวที่ไม่ซับซ้อน ลำดับเหตุการณ์ตรงไปตรงมา นึกภาพได้ง่ายๆ

พอย้อนกลับไปที่โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ผมก็ลองให้หลับตานึกภาพมานี มานีเป็นเด็กผู้หญิงถือส้มสามผล แม่มานีให้มาอีกสามผลแล้วลองถามว่ามีกี่ผล ถ้าตอบว่ามีหกถือว่าผ่านด่านแรกถ้านึกไม่ออกก็จะถามว่าตอนนี้มีส้มในมือกี่ผล แล้วแม่ยื่นให้ทีละลูก สามครั้งมีกี่ผลแล้ว ถ้าไม่ถูกค่อยสั่งให้ลืมตาแล้ววาดรูปประกอบเอา แต่ถ้าผ่านไปได้ก็สั่งต่อไปว่าเห็นมานีหิวหรือยัง มานีกินไปสองผล เหลือกี่ผลถ้านึกไม่ออกก็ให้ลืมตาแล้ววาดรูปประกอบเอา

ถ้าการทดสอบย่อหน้าที่แล้วไม่ผ่านก็กลับมาสอนเสริมด้วยการให้เด็กวาดภาพประกอบเรื่องที่เราเล่าลงบนกระดาษความสามารถนี้จะได้มาเมื่อเราฝึกให้เด็กๆเขียนเล่นและร่วมกันเล่านิทาน เช่น ให้เด็กวาดหมาป่าหนึ่งตัวส่วนเราวาดไก่สามตัว ไก่ตัวแรกวิ่งหนีหมาป่าจับไล่กินไปเหลือกี่ตัวถ้าเริ่มตอบได้แล้วก็ลองให้ หลับตานึกภาพใหม่

แล้วลองทดสอบเรื่องมานีอีกหนถ้าไม่ได้ผล แสดงว่าเด็กไม่สนใจมานี ต้องหาโจทย์อื่นมาแทน

ทีนี้วกไปข้างต้นเลย เรื่องพจนานุกรมคำศัพท์ และภาพ เด็กจะจำศัพท์ได้ดีเมื่อเห็นภาพและเกิดความประทับใจเมื่อแรกเห็นมากกว่าการท่องจำ ดังนั้นภาพประกอบในหนังสือควรมีลักษณะที่ถูกใจเด็กๆเราสามารถทดลองได้ โดยหาภาพไก่มาหลายๆแบบแล้วให้เด็กๆเลือกเอา หรือให้เด็กๆวาดคนละรูปแล้วร่วมกันเลือกมาว่าภาพไหนสวยที่สุด

ผมขอสารภาพว่าผมมักจะไปแอบอ่านหนังสือเด็กและแบบเรียนของต่างประเทศในร้านหนังสือต่างประเทศบ่อยๆวันหนึ่งผมเห็นชุดบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษชุดหนึ่ง ราคาแพงทีเดียวเลยมานั่งคำนวณว่าถ้าผมเป็นครู ผมจะเอาเงินนี้มาซื้อกระดาษแจกเด็กคนละแผ่นสั่งให้ไปวาดรูปและเขียนศัพท์มาคนละคำโดยให้เด็กๆจับฉลากเลือกคำขึ้นมาเองพอถึงเวลาก็เอามาหน้าชั้นร่วมกันกับครูช่วยกันทายว่าตัวอะไร มีความหมายยังไง นี่เป็นวิธีแรกที่ใช้สอนคำศัพท์ให้เด็กผมจะยังคงให้ความสำคัญกับภาพเสมอ แน่นอนเมื่อเลื่อนระดับขึ้นก็เอาภาพและคำโดดมาใส่ไว้ในภาพสถานที่ แล้วให้เชื่อมโยงเหตุการณ์สั้นๆ เช่น หมาป่ากินไก่ สองตัว ในป่า

ทีนี้หวนมาเข้าเรื่องพจนานุกรมผมเคยลองใช้กูเกิ้ลค้นหาคำว่า ”พจนานุกรมภาพไทย-ไทย” ผลปรากฏคือไม่มีไทย-ไทย มีแต่ภาษาต่างประเทศ-ไทย ก็เลยมานั่งคิดว่าท่าทางเราจะลืมให้ความสำคัญกับภาษาของเราเองไปหน่อยแล้วครั้นจะพิมพ์แล้วค้นรูปจากกูเกิ้ลโดยตรงก็สามารถให้ความเที่ยงตรงได้เพียงบางคำยิ่งวิกิพีเดียไทยก็น้อยนัก จึงตั้งคำถามว่าทำไมหนอ พจนานุกรมภาพแบบไทย-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานไม่มีหรือไงกันนะ ดูอย่างแบบเรียนคำศัพท์ภาษาจีนในร้านหนังสือสิดีออกมีทั้งรูปวิธีเขียน ตัวอย่างการใช้ วิธีออกเสียง การเขียนตัวสะกดแบบพินอิน

ทีนี้ความยากของการเขียนภาพประกอบคืออะไรหนอเช่นคำว่าวัฒนธรรม ควรจะเขียนภาพประกอบอย่างไรดี ผมพยายามรื้อฟื้นความหลังก็เลยนึกได้ว่า เอาพจนานุกรมมาเปิดเลย น่าจะมีการอธิบายความหมายได้ดีขึ้น ผลปรากฏออกมาว่า

วัฒนธรรม ความหมาย น.สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ หรือ วิถีของหมู่คณะ

เช่นวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนไทย วิถีชีวิตคนไทย วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนวิถีชีวิตของคนจีน

เอาล่ะสิครับทีนี้เป็นการบ้านของวิชาศิลปะไปเสียแล้ว

ผมฉุกคิดขึ้นได้เมื่อลูกชายวัยหกขวบถามขึ้นเมื่อเขาอ่านหนังสือวิชาสังคม การอธิบายตามตัวอักษรไม่ได้ผลต้องมีรูปประกอบ ไม่มีอะไรดีไปกว่าค้นจากกูเกิ้ลครับ แต่ทว่ากูเกิ้ลก็ไม่ใช่พจนานุกรมนี่นาผมเคยเข้าไปดูเว็ปไซ้ต์ ของต่างประเทศ โดยใช้คำสำคัญว่า picture dictionary online ค้นหาในกูเกิ้ล ก็พบว่าของต่างประเทศนั้นมีเยอะเช่นของจีน-อังกฤษ //www.online-languages.info/chinese/picture-dictionary.php

และ //www.nciku.com/

แต่ไทยยังไม่มีครับ โดยเฉพาะพจนานุกรมภาพไทย-ไทย หรือมี แต่ผมหาไม่พบถ้าเป็นเช่นนั้นก้ต้องขออภัยอย่างมากที่มาแสดงความคิดเห็นโดยไม่ได้ค้นหาข้อมูลอย่างรอบด้าน

ส่วนเรื่องสุดท้าย

เมื่อขึ้นมัธยมครูภาษาอังกฤษได้สอนผมให้ใช้พจนานุกรม และในชั่วโมงภาษาอังกฤษ ให้จับกลุ่มทำ crossword และหัดเขียนอธบายคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากภาพด้วยตัวเอง เช่น
The Sword is a weapon that sharp, made of ironand use by the knights.

ประโยคภาษาอังกฤษข้างต้น อาจไม่ถูกต้องเพราะผมไม่ค่อยได้ใช้เขียนนานมากๆแล้ว

สรุปแล้วนะครับผมอยากเห็นพจนานุกรมภาพไทย-ไทยนั่นเอง หรือ app เกม hangman ภาษาไทยบ้างนั่นแหละครับ อีกประการคือผมคิดว่าการท่องจำศัพท์โดยไม่เห็นภาพ ไม่ค่อยได้ผลครับถ้าแต่งเป็นกลอนหรือเป็นเพลงก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ผมว่าร้องเพลงถ้าไม่เพราะไม่ประทับใจก็จบเห่เหมือนกันครับ 

อ่อ อีกอย่างครับ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ เคยเป็นแค่ครูกวดวิชาเดี๋ยวนี้เลิกแล้วเพราะไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ไม่ต้องเชื่อผมร้อยเปอร์เซ็นต์นะครับ



Create Date : 24 กรกฎาคม 2556
Last Update : 24 กรกฎาคม 2556 14:25:43 น. 0 comments
Counter : 1659 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Polarbee
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




ไม่เขียน ไม่เลอะ
ไม่เปรอะ ไม่ผิด
ไม่เขียน ไม่คิด
ไม่ผิด ไม่จำ
New Comments
Friends' blogs
[Add Polarbee's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.