Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
6 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 

พื้นฐานการปรับปรุงพันธุ์พืช (ตอนที่ 4 และ 5)

สงสัยมั้ยครับว่าทำไมตอนที่ 4 กับตอนที่ 5 ทำไมถูกรวบมาอยู่ที่ blog เดียวกัน ความจริงไม่มีอะไรหรอก อยากเขียนให้ได้รวมสัก 7 ตอน

ความยุ่งยากที่เป็นปัจจัยให้การปรับปรุงพันธุ์พืชผสมข้ามจะประสบความสำเร็จ นอกเหนือจากสิ่งแวดล้อมแล้ว ความแปรปรวนทางพันธุกรรมก็มีความสำคัญมากๆ นักผสมกล้วยไม้คงทราบดีแล้วว่า โดยปกติกล้วยไม้ในธรรมชาติมีโอกาสผสมข้ามต้นได้มากกว่าการผสมตัวเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีโอกาสผสมตัวเองได้เลย นอกจากการผสมข้ามภายในชนิดเดียวกัน ก็ยังมีโอกาสผสมกันในหมู่ (Section) ผสมข้ามหมู่ หรือแม้กระทั่งผสมข้ามสกุลไปเลย (ความเข้ากันได้ของเกสรตัวผู้และตัวเมียจะลดลงตามลำดับ) นั่นหมายความว่าการผสมข้ามต้นกับพืชชนิดเดียวกัน (Species) ย่อมมีโอกาสสำเร็จมากกว่าการผสมข้ามสกุล (Genus)

เซียนกล้วยไม้ที่ช่ำชองกับการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์จะรู้ดีว่าเมื่อนำลักษณะดีเด่นของพ่อแม่มาเข้ากันแล้ว โอกาสที่จะถ่ายทอดลงสู่รุ่นลูกมีโอกาสสำเร็จได้ระดับหนึ่ง แม้แต่ลูกที่เกิดจากเมล็ดที่มาจากฝักเดียวกันก็ยังมีความแปรปรวน ไม่ได้เหมือนกันทุกต้น ด้วยหลักการเช่นเดียวกับการปรับปรุงพันธุ์พืชผสมตัวเอง หลังจากผสมได้กล้วยไม้ในรุ่นลูกชั่วที่ 1 แล้วจำเป็นต้องบังคับให้เกิดการผสมตัวเองให้เกิดซ้ำรุ่นให้มากที่สุด จนในที่สุดกล้วยไม้พันธุ์ใหม่นี้จะเริ่มเข้าสู่ความเสถียรมากขึ้น นั่นคือลูกในชั่วรุ่นหลังๆ จะมีความสม่ำเสมอในลักษณะปรากฎ (Phynotypic homogenous) มากขึ้น

สำหรับวิธีการคัดเลือกหากถามจากปรมาจารย์ทางด้านปรับปรุงพันธุ์จะพบว่ามีเทคนิคมากมาย มากเสียจนถึงขนาดจำไม่ไหว ผมจึงขอตั้งทฤษฎีเองบ้างเผื่อจะดังกับเขาบ้าง เมื่อคืนนอนคิดชื่อก่อนจะตกลงใจเรียกว่า "การคัดเลือกแบบความใฝ่ฝันอันสูงสุด" ครับ เริ่มจากการตั้งความต้องการที่สุดของเราเสียก่อน เช่นผมจะผสมรองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor) กับรองเท้านารีขาวสตูล (Paphiopedilum niveum) ผมอยากได้ลูกของคู่ผสมคู่นี้มีลักษณะ
1) ออกดอกง่ายเหมือนรองเท้านารีเหลืองปราจีน
2) ช่อดอกยาวเหมือนขาวสตูล
3) อยากได้สีค่อนไปทางขาวของสตูล
4) ฟอร์มกลมเหมือนขาวสตูลที่ผมมี
5) แตกกอเร็วเหมือนเหลืองปราจีน
6) อยากได้จำนวนดอกต่อช่อมากๆ สัก 3 ดอกเหมือนเหลืองปราจีน

เมื่อความอยากโน่นอยากนี่ชักมีเพิ่มขึ้น ผมคงต้องตัดใจเลือกความต้องการที่มากที่สุดเรียงตามลำดับ เพราะหากต้องการต้นที่มีลักษณะที่ตรงใจต้องการมากมายขนาดนี้ ผมอาจต้องวานลูกให้ช่วยผสมต่อ ส่วนผมซี้ม่องอำลาโลกไปก่อน งั้นผมเลือกข้อ 2 กับ 3 เป็นความฝันของผมแล้วกันครับ

เมื่อผสมได้ลูก F1 ผมจะคัดเลือกต้นที่ช่อดอกยาวและสีดอกค่อนไปทางขาวไว้ ส่วนที่เหลือผมจะคัดทิ้งอย่าเสียดาย ในชุดแรกอาจคัดได้ลักษณะที่ว่าสัก 10 ต้น ผมจะคัดเอาดีที่สุด 5 ต้นมาผสมตัวเองเพื่อให้ได้ F2 ในรุ่น F2 ลูกรุ่นนี้ที่ได้จะมีแบบฟอร์มกลมๆ หรือแตกกอเร็วตามที่ต้องการก็อย่าใจอ่อน ขอให้คัดทิ้งเช่นเดิม ท่องไว้ในใจอย่างเดียวว่าชอบก้านยาวและชอบขาวหมวย คัดเอาต้นที่ดีที่สุดไว้เช่นเดิม จากนั้นผสมให้ได้ F3 ลูกรุ่นนี้ชักเริ่มเขาเค้า จำนวนต้นที่มีก้านยาวและสีค่อนไปทางขาวตามต้องการชักจะมากขึ้น คราวนี้ผสมจะผสมแบบไขว้ คือเอาต้น 1 ผสมกลับพ่อแม่กับต้นที่ 2 เพื่อให้ได้ฝักในรุ่น F4 จำนวน 2 ฝัก การคัดเลือกในลูกรุ่น F4 จะเริ่มทำความลำบากใจขึ้นอีกครั้ง เมื่อเกิดความสับสนโปรดอย่าลืมคาถาชอบก้านยาวชอบขาวปิ๊ง คัดแล้วนำมาผสมตัวเองในรุ่น F5 F6 และ F7 ในรุ่นหลังๆ นี้จำนวนต้นในลักษณะที่ต้องการจะเพิ่มขึ้น

สำรับการปรับปรุงพันธุ์พืชไร่ผสมข้ามมีเทคนิคที่นิยมใช้อื่นๆ เช่น การทดสอบในแปลง Progenies เพื่อคัดแบบ Mass selection ถ้าเป็นข้าวโพดมักใช้วิธี Ear to row บางพืชก็นิยมใช้วิธีคัดเลือกแบบซ้ำรอบ (Recurrent) และยังเหลือวิธีอีก 108 ที่ใช้สำหรับเป็นระบบการคัดเลือก มากเสียจนจำไม่ไหว (ความจริงจำไม่ได้)


ตัวอย่างลูกผสมที่เกิดจากเมล็ดระหว่างเหลืองจันท์กับตอติเล


ตัวอย่างเหลืองจันท์พันธุ์แท้ (ซ้าย) และตอติเลพันธุ์แท้ (ขวา)




 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2550
7 comments
Last Update : 19 สิงหาคม 2551 13:49:06 น.
Counter : 1935 Pageviews.

 

comment ก่อนตอนนี้ ทั้งๆ ที่รู้ว่าคุณน้าโหดยังเขียนไม่เสร็จ เรื่องกำลังสนุกเรื่อง " ความฝันอันสูงสุด" ถามว่า F6-F7 ในกล้วยไม้ ใช้เวลากี่ปีครับ

 

โดย: appendiculata191 6 พฤศจิกายน 2550 21:03:51 น.  

 

เงี๊ยววววววววววววว............ตามติดทุกตอนครับน้า

 

โดย: เสือเจ้าถิ่น 6 พฤศจิกายน 2550 22:29:48 น.  

 

มาตามอ่านแล้วครับ

 

โดย: วิทย์ (worawit_num ) 7 พฤศจิกายน 2550 0:32:51 น.  

 

ในทางเป็นจริงกล้วยไม้เขาไม่รอถึง F6 F7 แค่ F1 F2 ก็ขายกันเกรียวกราวแล้ว

ผมอธิบายโดยหลักการคัดเลือก อย่างน้อยที่นักปรับปรุงพันธุ์ใช้อ้างอิงได้ต้องผสมให้ได้อย่างน้อย 7 รุ่นน่ะครับ

ก่อนเขียนเรื่องนี้ ผมได้ออกตัว (ความจริงแก้ตัวไว้ล่วงหน้า) ว่าผมไม่ได้จบทาง Breeding มาครับ ทุกตอนที่เขียนจะเขียนเป็นหลักการและใส่ความรู้สึกของตัวเองลงไปผสมด้วย เพื่อให้เรื่องอ่านแล้วสนุกๆ ขึ้นมาบ้าง

ไมรู้อ่านแล้วสนุกกันบ้างหรือเปล่า หรืออ่านแค่ย่อหน้าแรกก็เผ่นไปกันหมดแล้วก็ไม่รู้

 

โดย: น้าโหด 7 พฤศจิกายน 2550 5:01:37 น.  

 

จะตามอ่านจนจบ คงไม่ถึงกับต้องส่งต่อให้ลูกหลานอ่าน..นะครับ หยอกเล่นครับ

 

โดย: สมพงษ์ IP: 222.123.220.36 7 พฤศจิกายน 2550 6:12:47 น.  

 

ดูลูกผสมของคุณน้าโหด หากดูต้นเดียวที่เลือกมาประกอบจะเห็นว่า

1. กลีบดอกกลีบเลี้ยงของเหลืองจันท์เปลี่ยนจากสีเหลืองทั่วทั้งกลีบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดจนถึงสีขาว.....แสดงว่าสีของตอติเลไม่ข่มเหลืองจันท์ หรือข่มร่วมแล้วไม่แสดงออกของสีเดิมทั้งพ่อและแม่

2. ฟอร์มดอกยังคงรักษาความเป็นเหลืองจันท์ กลีบบิดของตอติเลไม่แสดงออกในรุ่น F1

3. ขนาดของกลีบปาก กึ่งๆ ระหว่างเหลืองจันท์และตอติเล

หากเห็นว่าในรุ่น F1 ต้นนี้เกือบใช้ได้แล้วแต่ยังอยากได้สีเหลืองของเหลืองจันท์อีก ผมเสนออีกวิธีหนึ่งในการคัดเลือก ดังนี้

เหลืองจันท์ x ตอติเล = F1

F1 X เหลืองจันท์ (Back cross)

= BCF1

ก็จะได้ลูกที่มีลักษณะเหมือนเหลืองจันท์ คัดฟอร์มสวยสุด

หากพอใจแล้วก็ทำการ sib ในครอกเดียวกัน

หากยังไม่พอใจ ก็ Back cross ไปยังเหลืองจันท์อีกจนพอใจ

ลูกที่ได้ในรุ่นนี้จะเรียกว่า "BCF2"

ในที่สุดจะเห็นว่าได้เหลืองจันท์ที่พัฒนาไปแล้ว แต่ไม่ใช่พันธุ์แท้ ต้องเป็นลูกผสม

 

โดย: appendiculata191 7 พฤศจิกายน 2550 19:47:32 น.  

 

มาแก้เรื่อง back crossing ครับ

เหลืองจันท์ (A) x ตอติเล (B)

ได้ F1 (ทำต่อโดยการใช้ back crossing ในการปรับปรุงพันธุ์)

F1 x A

ได้ BC1F1 (ยังไม่สวย ทำการ BC อีก)

BC1F1 x A

ได้ BC2F1 (ยังไม่สวย ทำการ BC อีก)

BC2F1 x A

ได้ BC3F1 (ทำแบบนี้จนพอใจ)

แล้วทำการ self หรือ sib

ตรงนี้แหละครับ จึงจะได้ F2
(รอถามคุณเสือเจ้าถิ่นว่าเรียก F2 ถูกต้องปล่าวครับ)

 

โดย: appendiculata191 8 พฤศจิกายน 2550 20:15:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.