Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
3 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
ยูเรีย

ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่พืชมีความต้องการใช้มากที่สุด ไนโตรเจนทำหน้าที่ช่วยเร่งกระบวนการแบ่งเซล และเป็นองค์ประกอบโปรตีนและกรดอมิโนที่สำคัญของโครงสร้างเซล ไนโตรเจนที่คงสภาพเสถียรในสิ่งแวดล้อมบนบรรยากาศโลกมี 5 รูป

1) ก๊าซไนโตรเจน ในบรรยากาศมีสัดส่วนประมาณ 78-79% แต่พืชที่จะใช้ประโยชน์จากกลุ่มนี้ได้ได้แก่พืชที่มีแบคทีเรียเฉพาะกลุ่มที่ราก ที่มีสามารถตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศลงสู่ดินได้ ที่เรารู้จักกันดีคือพืชในวงศ์ Legumiosae หรือพืชที่อยู่ในวงศ์ถั่ว เช่น ถั่วธัญพืช ทองหลาง จามจุรี กระถิน แค โสน 2) ไนโตรเจนที่อยู่ในรูปอินทรีย์ เซลร่างกายของสิ่งมีชีวิตเป็นอนุพันธ์โปรตีน เมื่อย่อยสลายหรือขับถ่าย โปรตีนเหล่านี้จะอยู่ในรูปแอมโมเนีย เอาง่ายๆ ก็สิ่งขับถ่ายของสัตว์และมนุษย์ทั้งอุจจาระและปัสสาวะ ซึ่งแอมโมเนียนี้อยู่ในรูปแบบที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที 3) แอมโมเนีย ไนโตรเจนในรูปนี้เป็นประโยชน์กับพืชได้โดยตรง แอมโมเนียมี 2 รูปขึ้นอยู่กับ pH ในสภาพแวดล้อมคือแบบไม่มีประจุ (NH3) มีมีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตสูงกว่าแบบมีประจุ (NH4+) ประมาณ 50 เท่า 4) ไนไตรท์ ได้จากการออกซิไดซ์ของแบคทีเรียบางชนิดเช่น Nitrobacter sp. ไนโตรเจนรูปนี้มีความเป็นพิษสูง 5) ไนเตรท เป็นรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีเช่นกัน แต่หากมีความเข้มข้นมากก็เป็นพิษกับสิ่งมีชีวิตได้ เกณฑ์มาตรฐานน้ำประปายอมให้มีการปนเปื้อนไนเตรทอยู่ได้ไม่เกิน 45 มิลลิกรัมต่อลิตร

ทั้งนี้ไนโตรเจนทั้ง 5 รูปแบบจะเปลี่ยนรูปกันไปมาตามสภาวะแวดล้อมและปฏิกิริยาชีวเคมี หากต้องการเรียนรู้ลึกๆ แนะนำให้สืบค้นจากคำว่าวัฏจักรไนโตรเจน (Nitrogen cycle)

สำหรับยูเรียถูกค้นพบมาเป็นสองร้อยกว่าปีแล้ว โดยนักเคมีชาวเยอรมันชื่อ Wohler สังเคราะห์ยูเรียจากการนำเอาแอมโมเนียทำปฏิกิริยากับกรดไซยานูริกการค้นพบนี้เป็นการสร้างทฤษฎีใหม่ด้วยว่าสารอินทรีย์ไม่จำเป็นต้องสังเคราะห์มาจากเซลสิ่งมีชีวิตเท่านั้นการผลิตยูเรียเป็นการค้าปัจจุบันใช้การสังเคราะห์จากปฏิกิริยาของแอมโมเนียกับคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง กลไกของยูเรียที่จะปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องใช้หลักการ Hydrolysis จะพูดให้ง่ายกว่านั้นคือต้องให้ยูเรียทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วแตกตัวเป็นแอมโมเนียและคาร์บอนไดออกไซด์ มีข้อสังเกตว่า หลังการแตกตัวแล้วแอมโมเนียจะซึมผ่านเข้าสู่อนุภาคดินและพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที แต่การแตกตัวนี้จะทำเกิดภาวะกรดดังนั้นการใช้ยูเรียกับดินติดต่อกันเป็นเวลานานจึงยิ่งเพิ่มโอกาสให้ดินมี pH ต่ำลงในระยะยาว

คุณสมบัติที่น่าสนใจของยูเรียคือสามารถละลายนำได้ดีมาก ดังนั้นการให้ปุ๋ยยูเรียจึงมีทางเลือกโดยการพ่นเป็นละอองให้พืชดูดซึมทางใบ พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารผ่านทางใบอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการดูดด้วยราก เพียงแต่มีข้อจำกัดด้านเทคนิคการใช้เช่น ต้องเป็นเวลาที่มีแสงอ่อนๆ อุณหภูมิอากาศไม่สูง ลมไม่แรง และความเข้มข้นของเนื้อปุ๋ยต้องไม่มากเกินไป



Create Date : 03 สิงหาคม 2556
Last Update : 3 สิงหาคม 2556 7:24:08 น. 1 comments
Counter : 2478 Pageviews.

 
สวัสดีคับน้าโหด
แวะมาก็เจอชื่อเรื่อง ยูเรียเลย
มีรูปกล้วยไม้มาฝากค่ะ ตอนเห็นที่เค้าแขวนไว้ลอยๆ ก็คิดว่าต้องเอามาให้น้าโหดดูให้ได้ ว่ามันจะโตได้ไง แต่พอสังเกต อ้อ...ติดกับรางน้ำฝน
และคงได้จากน้ำฝนด้วย ก็เก๋ไปอีกอย่าง แต่บางทีเห็นตอนค่ำ ก็นึกว่าอะไรลอยอยู่ ฮ่าๆๆ


โดย: uter วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:19:25:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.