นานาสาระ
<<
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
13 มีนาคม 2551

ดูแลสายตา

1.ควรเลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำเพื่อถนอมสายตา วิธีทดสอบง่ายๆ ทำได้โดยลองปิดสวิตช์จอภาพ แล้วเอามือหรือแขนไปจ่อไว้ใกล้ๆ จอภาพให้มากที่สุด จอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำจะแทบไม่รู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตตามขนที่ผิว

2.ปรับแสงและความคมชัดของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้รู้สึกสบายตา รวมทั้งความสว่างภายในที่ทำงาน ลดแสงสะท้อนรบกวน เช่น ปิดไฟดวงที่สะท้อนจ้าลงบนจอคอมพิวเตอร์ หากทำงานกับคอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้าและจอภาพมีความสว่างมาก ก็จะยิ่งส่งผลเสียต่อดวงตาได้ง่ายและรวดเร็ว จะรู้สึกว่ามีอาการปวดร้าวดวงตาเร็วและแสบตาอย่างรุนแรง

3.ตำแหน่งของจอภาพควรห่างจากดวงตาประมาณ 18-24 นิ้ว หรือประมาณช่วงแขนเอื้อม และปรับให้ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 15-20 องศา หากระยะห่างระหว่างตากับจอภาพไม่สัมพันธ์กัน จะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและปวดตาได้ง่าย

4.การใช้แผ่นกรองรังสีติดไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แม้ว่าจะช่วยลดการกระจายรังสีจากจอคอมพิวเตอร์ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แล้วแต่คุณภาพของสินค้า แต่อย่างน้อยๆ ก็ช่วยลดแสงจ้าจากจอคอมพิวเตอร์ลงได้

5.ทำความสะอาดหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เสมอ เพราะฝุ่นจะทำให้เกิดการสะท้อนมากขึ้น

6.การหยุดพักหรือเปลี่ยนตารางเวลาการทำงานใหม่ จะช่วยให้สายตาคลายความเมื่อยล้าจากการจ้องเพ่งคอมพิวเตอร์ได้ The National Institute of Occupational Safety and Health (NIOSH) แนะนำให้หยุดพักสายตาครั้งละ 15 นาทีทุกๆ 2 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็แนะนำว่าควรจะหยุดพักบ่อยๆ โดยแต่ละครั้งใช้เวลาเพียงเล็กน้อย เช่น พักสายตาทุก 30 นาที โดยหลับตาหรือมองไปไกลๆ สัก 5-10 นาที แล้วจึงเริ่มทำงานต่อไป ก็จะช่วยถนอมสายตาได้

7.อาจใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ วางไว้บนเปลือกตา และหลับตาสัก 2-3 นาที หรือจะให้ดีกว่านั้นก็คือ ปิดไฟ นอนพักสักครู่

8.สำหรับผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ อาจจะเกิดอาการตาแห้งเพราะขาดน้ำหล่อเลี้ยง เพราะห้องที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ก็มักจะมีเครื่องปรับอากาศอยู่ด้วย เมื่อบวกกับความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำให้อากาศแห้ง การหยอดน้ำตาเทียมจะช่วยได้

9.ควรกะพริบตาให้บ่อยครั้งกว่าปกติ เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาอยู่เสมอ ภายใน 10 วินาที ลองพยายามกะพริบตาสัก 1-2 ครั้ง จะช่วยลดความอ่อนล้าของสายตาได้มาก

10.ผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ และมีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ควรตรวจเช็กสุขภาพตาบ้าง


วิธีนี้คิดค้นขึ้นโดยจักษุแพทย์ชาวอเมริกันชื่อว่า
นายแพทย์ วิลเลียม เอช. เบตส์ (ค.ศ. 1860-1931)

วันหนึ่งนายแพทย์เบตส์กลับจากทำงานด้วยดวงตาอันอ่อนล้า
เขานั่งลงที่โต๊ะทำงานในห้องที่ยังไม่ได้เปิดไฟ
วางข้อศอกทั้งสองข้างลงบนโต๊ะ
โค้งอุ้งมือทั้งสองวางครอบดวงตาของตน
หลับตาพักผ่อนในท่านั้นอยู่สิบนาที
พอลืมตาขึ้นอีกครั้งหนึ่งเขารู้สึกว่าอาการปวดเมื่อยดวงตาหายไป
แถมมองเห็นสิ่งต่างๆ ในห้องชัดเจนขึ้นกว่าเก่าอีกด้วย

จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวนายแพทย์เบตส์ได้ค้นคิดวิธีการฝึกสายตาอย่างธรรมชาติ
เพื่อพักผ่อนกล้ามเนื้อตาและช่วยรักษาสายตาให้ดีขึ้น
นายแพทย์เบตส์เขียนหนังสือชื่อ Perfect Sight without
Glasses เป็นที่นิยมแพร่หลาย แม้ภายหลังเขาเสียชีวิต
แต่วิธีการของนายแพทย์เบตส์ยังได้รับการเผยแพร่โดยแพทย์ทั้งหลาย
ทั่วยุโรปและอเมริกา "วิธีของเบตส์" มี 7 ท่าด้วยกัน

ท่าที่ 1 ครอบดวงตา
โค้งอุ้งมือทั้งสองครอบดวงตาไว้เฉย ๆ
ระวังอย่าให้อุ้งมือกดทับดวงตา
นึกถึงบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เช่น
วันพักผ่อนสุดสัปดาห์ตามป่าเขาหรือชายทะเล
อยู่ในท่านี้สัก 10 นาที

ท่าที่ 2 สร้างจินตภาพ
ต่อจากท่าที่ 1 ยังคงครอบดวงตาอยู่
สร้างจินตภาพว่าตนเองกำลังมองวัตถุบางอย่างที่มีสีสันสดใส
มีรายละเอียดต่างๆ ที่ชัดเจน เช่น
มองเห็นดอกเบญจมาศสีเหลืองสวย
เห็นกลีบดอกแต่ละกลีบละเอียดชัดเจน
สายตาที่คมชัดจากจินตนาการของเราเองจะช่วยเยียวยาสายตาจริงๆ
ของเราได้เป็นอย่างดี

ท่าที่ 3 กวาดสายตา
มองแบบไม่ต้องจ้อง (คนสายตาสั้นมักจ้องและเขม้นตา)
กวาดสายตาไปตามวัตถุที่อยู่ไกล ๆ ทางโน้นบ้างทางนี้บ้าง
ทำให้ตาของเราได้ผ่อนคลาย

ท่าที่ 4 กะพริบตา
ฝึกนิสัยให้กะพริบตา 1-2 ครั้ง ทุก ๆ 10 วินาที
ช่วยให้แก้วตาสะอาดและมีน้ำหล่อเลี้ยง
โดยเฉพาะคนที่สวมแว่นหรือคอนแท็กต์เลนส์ยิ่งจำเป็น

ท่าที่ 5 โฟกัสภาพใกล้และไกล
เหยียดแขนซ้ายไปให้ไกลที่สุด
ตั้งนิ้วชี้มือซ้ายขึ้นเพื่อเป็นจุดโฟกัส ขณะเดียวกัน
ตั้งนิ้วชี้มือขวาให้ห่างจากใบหน้าสัก 3 นิ้ว (7.5 ซม.)
โฟกัสภาพที่แต่ละนิ้วสลับกันไปมา ทำบ่อยๆ
เมื่อโอกาสอำนวย

ท่าที่ 6 ชโลมดวงตา
ตื่นนอนทุกเช้าใช้มือวักน้ำชโลมดวงตาด้วยน้ำอุ่น สัก 20
ครั้ง สลับกับการวักน้ำเย็นชโลมดวงตาอีก 20 ครั้ง
ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาดีขึ้น
การจบด้วยน้ำเย็น
ทำให้กล้ามเนื้อตาและหนังตากระชับไม่หย่อนยาน
ก่อนเข้านอนให้วักน้ำชโลมดวงตาอีกครั้งหนึ่ง
แต่คราวนี้ชโลมด้วยน้ำเย็นก่อนแล้วตามด้วยน้ำอุ่น
จะทำให้กล้ามเนื้อตาและหนังตาได้ผ่อนคลาย ก่อนเข้านอน

ท่าที่ 7 แกว่งตัว
ยืนแยกเท้าเท่ากับช่วงไหล่ แกว่งตัวไปมาจากซ้ายไปขวา
ถ่ายน้ำหนักตัวบนขาแต่ละข้างสลับไปมา สายตามองไปไกลๆ
แต่ไม่ต้องจ้อง
ปล่อยให้จุดที่เรามองแกว่งไปมาซ้ายขวาตามการแกว่งตัว
ท่านี้จะทำให้ดวงตาได้พักและมีการปรับตัวดีขึ้น ทำบ่อย ๆ
เมื่อมีโอกาส เปิดเพลงคลอไปด้วยก็ได้

"วิธีของเบตส์"
ได้รับการยืนยันจากจักษุแพทย์จำนวนมากว่าเป็นการฝึกดวงตา
ที่เป็นระบบช่วยรักษาสายตาคนไข้ได้เป็นจำนวนมาก...




 

Create Date : 13 มีนาคม 2551
0 comments
Last Update : 28 กรกฎาคม 2551 21:43:06 น.
Counter : 898 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


mydreamwhite
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




[Add mydreamwhite's blog to your web]