ความวิปโยคสุดพรรณนาและความยิ่งใหญ่คือชาตากรรมแห่งความรักของฉันที่มีต่อเธอ Unsagbares Leid und Größe ist das Schicksal meiner Liebe für dich. Untoldly sorrowful and great is the destiny of my love for you.
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2548
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 
ช้าง (Rynchostylis)

ลักษณะทั่วไปของกล้วยไม้ไทยสกุลช้าง

เป็นการบังเอิญที่คำเรียกชื่อภาษาไทยว่า "ช้าง" ในวงการกล้วยไม้นั้นมีความหมายเป็น 2 อย่างคือ อย่างหนึ่งเป็นชื่อสกุลของกล้วยไม้สกุลหนึ่ง คือ "กล้วยไม้สกุลช้าง" อีกอย่างหนึ่งเป็นชื่อของกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ช้าง"
(Rhybchostylis gigantea) ซึ่งจัดอยู่ในกล้วยไม้สกุลช้างนั้นเองจากการสำรวจพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างที่มีอยู่ในโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ภูมิภาคแถบไทย พม่า ประเทศในแถบอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา ภาคใต้ของหมู่เกาะในทะเลจีน และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกส่วนในประเทศไทยพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปทุกภาค บางภาคอาจมีกล้วยไม้สกุลช้างเพียงบาง แต่ไม่มีชนิดอื่น

การจำแนกชนิดตามหลักพฤกษศาสตร์
กล้วยไม้สกุลช้างพบอยู่ตามธรรมชาติเพียง 4 ชนิดเท่านั้น คือ ช้าง (Rhybchostylis gigantean) ไอยเรศหรือพวกมาลัย (Rhybchostylis retusa) เขาแกะ (Rhybchostylis coelestis) และช้างฟิลิปปินส์ (Rhybchostylis violacea) สำหรับ 3 ชนิดแรกมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียงส่วนช้างฟิลิปปินส์มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ประเทศฟิลิปปินส์

กล้วยไม้สกุลช้างเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว มีลักษณะค่อนข้างแตกต่างจากกล้วยไม้สกุล อื่น ๆ คือ มีลำต้นสั้น แข็งแรงรูปทรงของลำต้นอาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของต้นไม้หรือสิ่งที่เกาะอาศัยอยู่ เช่น ลำต้นอาจตั้งตรงขึ้นไป หรือเอน หรือห้อยย้อยลงแล้วปลายยอดเงยขึ้น ใบแข็ง หนา ค่อนข้างยาว อวบน้ำ เรียงชิดกันอยู่บนลำต้น ใบเป็นร่อง หน้าตัดของใบรูปตัววี สันล่างของใบเห็นได้ชัด ใบอาจมีหรือไม่มีเส้นใบเป็นเส้นขนานสีจาง ๆ หลาย ๆ เส้นตามความยาวของใบปลายใบหยักมนหรือเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน รากเป็นประเภทรากอากาศ คือเป็นรากที่มีขนาดใหญ่ แขนงรากใหญ่ ปลายรากมีสีเขียวซึ่งสามารถปรุงอาหารด้วยวิธีสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ช่อดอกอาจห้อยลงหรือตั้งขึ้น ความยาวของช่อดอกเกือบเท่า ๆ กับความยาวของใบ มีดอกเป็นจำนวนมากแน่นช่อดอก กลีบนอกและกลีบในของดอกแผ่ออก อาจมีจุดหรือไม่มีจุดสีม่วงหรือสีน้ำเงินก็ได้ ขนาดของกลีบนอกโตกว่ากลีบใน เส้าเกสรสั้น ปากไม่มีข้อพับ ปลายปากไม่หยัก หรือหยักเป็นลอนเล็ก ๆ 3 ลอน ปลายปากชี้ตรงไปข้างหน้า ปากเชื่อมต่อกับฐานสั้น ๆ ของเส้าเกสร จึงดูเหมือนว่าไม่มีฐานของเส้าเกสร เดือยของดอกแบน ชี้ตรงไปข้างหลัง มีอับเรณู 2 ก้อน แยกออกจากกัน ออกดอกปีละครั้ง บางต้นอาจมีดอกครั้งละหลาย ๆ ช่อ

ลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิด

1. ช้าง (Rhybchostylis gigantea)

ถิ่นกำเนิดของกล้วยไม้ช้างมีทั้งในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น หนองคาย มุกดาหาร สกลนคร เลย นครราชสีมา ต่ำลงมาจนถึงตอนเหนือของภาคกลางเช่น นครสวรรค์ ชัยนาท และภาคตะวันออก เช่น ปราจีนบุรีและยังพบแถบจังหวัดกาญจนบุรีด้วย พบขึ้นในป่าที่ระดับความสูงประมาณ 260-350 เมตร
จากระดับน้ำทะเล ในต่างประเทศพบที่พม่า ตอนใต้ของจีน ประเทศในแถบอินโดจีน อินโดนีเซีย และหมู่เกาะทะเลจีใต้ กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก เลี้ยงได้ง่ายและมีดอกให้ชมทุกปีกล้วยไม้ช้างมีรูปร่างใหญ่โตกว่า
กล้วยไม้ชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกันใบหนาค่อนข้างแข็ง ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ปลายใบเป็นแฉก 2 แฉกมน และสองแฉกของใบไม่เท่ากัน รากเป็นรากอากาศ มีขนาดใหญ่ ปลายราก
มีสีเขียว ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกโค้งพองาม ช่อดอกยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ช่อละ 25-60 ดอก ขนาดดอกประมาณ 2.5-3.0 เซนติเมตร กลีบนอกบนกว้างประมาณ 0.8 เซนติเมตร ยาวประมาณ
1.5 เซนติเมตร ส่วนกลีบนอกล่างทั้งคู่กว้างยาวพอ ๆ กันกับกลีบนอกบน หรือกว้างกว่าเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่อยู่ใกล้โคนกลีบ กลีบในกว้างประมาณ 0.5
เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.4 เซนติเมตร ปลายกลีบเป็นส่วนที่กว้างที่สุด เดือยดอกยาวประมาณ 0.6-0.7 เซนติเมตร สองข้างเบนเข้าหากัน แผ่นปากยาวประมาณ
1.2 เซนติเมตร ตอนใกล้ปลายกว้างประมาณ 0.7 เซนติเมตร ปลายแผ่นปากหนาและแข็ง อยู่ในลักษณะเหยียดตรงไปข้างหน้า ปลายปากมี 3 แฉก สองแฉกข้างมน แฉกกลางมน และมีขนาดเล็กกว่ามาก ใกล้โคนปากด้านบนมีสันนูนเตี้ย ๆ 2 สัน ดอกมีกลิ่นหอมฉุน หอมไกล ดอกบานในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
และบานทนได้ประมาณสองหรือสามสัปดาห์การที่ช้างเป็นกล้วยไม้ที่มีลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ จึงอาจเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า "ช้าง" แต่บางท่านก็ให้ข้อคิดว่าอาจเป็นเพราะดอกที่อยู่ในช่อดอกของกล้วยไม้ชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายหัวช้าง โดยมีเดือยดอกเป็นคล้ายกับงวง จึงได้ชื่อเช่นนั้น

ช้างแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยแบ่งตามลักษณะสีของดอก คือ ช้างกระ ช้างแดงและช้างเผือก ทั้งสามประเภทเป็นพันธุ์ป่าที่เป็นพันธุ์แท้พันธุ์เดียวกัน
มีลักษณะลำต้นใบ ราก ช่อดอก และดอกคล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันตรงที่สีของดอก คือช้างกระจำมีดอกสีขาวประด้วยจุดสีม่วงแดงช้างแดงดอกมีสีม่วงแดงทั้งดอก
หรือเกือบทั้งดอก และช้างเผือกจะมีดอกสีขาวล้วนศาสตราจารย์ระพี สาคริก สรุปไว้ว่าสีของดอกนั้นเกิดจากขนาดและความหนาแน่นของจุดสีม่วงแดงบนพื้น
กลีบดอกสีขาว ถ้าดอกมีขนาดจุดสีม่วงแดงไม่ละเอียดนักและไม่ใหญ่โตนักมีจำนวนจุดประปรายพอสมควร ไม่หนาแน่นเกินไป คือ ช้างกระแต่ถ้าดอกมีจุดสีม่วงแดงโตจนปกคลุมพื้นที่สีขาวทั้งหมดของดอกหรือเห็นสีขาวเหลือเพียง
เล็กน้อย ก็เรียกว่าช้างแดง และถ้าดอกมีแต่พื้นสีขาว ไม่มีจุดสีม่วงแดงเลย เรียกว่าช้างเผือก

ยังมีช้างอีกชนิดหนึ่งที่พบในป่าทางภาคเหนือของไทย เช่น ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เรียกว่า "ช้างดำ" หรือ "ช้างค่อม" ลักษณะทั่วไปของดอกรวมทั้งสีของดอกเหมือนช้างกระธรรมดา แต่มีส่วนที่แตกต่างไปเล็กน้อย เช่นใบกว้าง หนา ทรงต้นใหญ่โตกว่า สีของใบค่อนข้างเขียวคล้ำ ช่อดอกและขนาดดอกค่อนข้างใหญ่และแน่นกว่า ช้างชนิดนี้จัดว่าเป็นช้างกระชนิดหนึ่ง

ช้างสีประหลาด เป็นอีกชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างช้างแดงกับช้างกระ มีลักษณะลำต้น ใบ ราก ช่อดอก เหมือนกับช้างธรรมดา แต่สีของดอกมีจุดสีม่วงแดงใหญ่กว่าช้างกระบางต้นจุดสีมีขนาดใหญ่จนเกือบเต็มกลีบดอกคล้ายกับสีของดอกช้างแดง แต่ยังมีสีขาวของพื้นกลีบดอกเหลืออยู่ค่อนข้างมาก ช้างสีประหลาดจึงน่าจะจัดไว้ในประเภทช้างกระอีกชนิดหนึ่งด้วย

2. ไอยเรศหรือพวงมาลัย (Rhybchostylis retusa)

ไอยเรศเป็นกล้วยไม้ป่าพันธุ์แท้ที่มีถิ่นกำเนิดกระจายไปทั่วประเทศ ในต่างประเทศมีพบที่ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน พม่า จีน ประเทศแถบอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และหมู่เกาะบอร์เนียวในประเทศไทยพบอยู่ในป่าระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 150-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปลูกเลี้ยงได้ง่าย ให้ดอกทุกปี และชอบแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้าง

ไอยเรศมีลำต้นใหญ่แข็งแรงคล้ายกับกล้วยไม้ช้าง แต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า คือใบขายประมาณ 40 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตรมีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียว
อ่อนตามอความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง โค้งห้อยลง ยาว 30-50 เซนติเมตร ก้านช่อยาวถึง 10 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 150 ดอก
มากกว่ากล้วยไม้ช้างรูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พวงมาลัย" ต้นใหญ่ ๆ มักจะแตกหน่อ
ที่โคนต้น เกิดเป็นกอเป็นกอใหญ่ขึ้นได้

สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย กลีบนอกบนยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.7 เซนติเมตร กลีบนอกล่างกว้าง
ประมาณ 1.0 เซนติเมตร กลีบในยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.6 เซนติเมตร เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน สองข้างเบนเข้าหากันยาวประมาณ 0.8
เซนติเมตร แผ่นปากยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร มีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไป ข้างหน้า โคนแผ่นปากกว้าง 0.5 เซนติเมตร ตรงใกล้กับปลายแผ่นปากกว้าง 0.8
เซนติเมตร มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดของแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ฤดูออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึง
พฤษภาคม ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณสองสัปดาห์ไอยเรศเผือกคือไอยเรศที่มีดอกสีขาว ไม่มีสีม่วงปะปนอยู่เลย ซึ่งหาได้ยากการปลูกไอยเรศอาจเกาะไว้กับกิ่งหรือท่อนไม้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดด หรือจะปลูกลงกระเช้าไม้ แขวน
ไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดดเพียงพอคือควรให้ได้รับแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้างเล็กน้อย และควรปลูกในราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ซึ่งเป็นระยะปลายฤดูแล้ง ต้นฤดูฝน เนื่องจากรากกำลังเติบโตดี

3. เขาแกะ (Rhybchostylis coelestes)

เขาแกะมีถิ่นกำเนิดกระจายอยู่ทุกภาค โดยทั่วไปมักจะพบขึ้นในป่าโปร่งผลัดใบทั้งในภูมิภาคที่เป็นภูเขาและที่ราบ ในต่างประเทศมีรายงานว่าพบในลาวและกัมพูชา
การปลูกเลี้ยงทำได้งาย ทนแล้งได้ดี ชอบแสงแดดและอากาศถ่ายเทมากกว่าไอยเรศและช้าง อาจปลูกติดไว้กับต้นไม้ ท่อนไม้ หรือปลูกลงกระเช้าไม้ก็ได้เขาแกะเป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวในสกุลช้างที่มีลักษณะช่อดอกตั้งขึ้นใบมีลักษณะแบน ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และบางกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โคนใบซ้อนกันเป็นแผง ใบโค้งสลับกันในทางตรงกันข้าม ด้วยลักษณะเช่นนี้เองจึงได้ชื่อว่า "เขาแกะ" ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกแน่นช่อ ดอกมีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบดอกทั้งกลีบนอกและกลีบในมีพื้นสีขาว มีแต้มสีม่วงครามที่ปลายกลีบทุกกลีบ ฐานของแผ่นปากและครึ่งหนึ่งของแผ่นปากที่ต่อกับฐานมีสีขาว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งของแผ่นปากเป็นสีม่วงครามเช่นเดียวกับที่ปลายกลีบ แต่สีเข้มกว่า ปากของเขาแกะคล้ายกับปากของไอเรศ สีม่วงครามของเขาแกะบางต้นอาจจะแปรเปลี่ยนไปได้ เช่น เปลี่ยนไปทางสีม่วงมากจนเกือบจะแดง จึงเรียกว่า "เขาแกะแดง" บางต้นก็แปรเปลี่ยนไปทางสีฟ้าหรือสีน้ำเงินก็มี เดือยดอกยาวกว่าและแคบกว่าของไอยเรศ ปลายของเดือยดอกโค้งลง

ฤดูออกดอกประมาณเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ดอกบานทนประมาณสองสัปดาห์ มีผู้นำเขาแกะไปผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้ชนิดอื่นอีกหลายชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ในสกุลใกล้เคียงกับกล้วยไม้สกุลแวนดา เนื่องจากปลูกเลี้ยงได้ง่าย ช่อดอกตั้ง สีของดอกเป็นสีม่วงครามหรือใกล้ไปทางสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีที่หาได้ยากในกล้วยไม้ทั่ว ๆ ไป ถ้าได้มีการพัฒนาลูกผสมเขาแกะต่อ ๆ ไปอีก ก็อาจจะได้กล้วยไม้พันธุ์ใหม่ที่มีเลือดเขาแกะ เป็นไม้ตัดดอกหรือเป็นประเภทสวยงามก็ได้

หมายเหตุ
คัดมาจากที่อื่นเพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทาน


Create Date : 23 ตุลาคม 2548
Last Update : 23 ตุลาคม 2548 10:29:11 น. 0 comments
Counter : 539 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลุดวิก
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Ich bin nur ein Mensch! Alles Leben ist leiden. Alles ist nichtig!
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล

Bangkok

Friends' blogs
[Add ลุดวิก's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.