สัจจะนั้นมีเพียงหนึ่ง แต่หนทางรู้ซึ้งนั้นมีหลากหลาย...
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
15 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
๘ - สรุป กฎหมายปกครอง (ฉบับคนลืมนอน) E พรบ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒



4. พรบ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒


มีเนื้อหาสำคัญๆ ที่มักจะออกสอบดังนี้


4.1 สัญญาทางปกครอง

ความหมาย
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัติ
“สัญญา ทางปกครอง” หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็น บุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
จากนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า สัญญาทางปกครอง แยกได้เป็น 2ประเภท คือ
1. สัญญาทางปกครองตามคำนิยามในมาตรา 3
2. และสัญญาทางปกครองโดยสภาพหรือโดยเฉพาะกฎหมายกำหนด

สัญญาทางปกครองตามคำนิยามใน มาตรา 3 ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบ 2ประการได้แก่

1. คู่สัญญา - คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งต้องเป็นรัฐ กล่าวคือเป็นสัญญาที่มีรัฐ หรือบุคคลผูกระทำการแทนรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครอง เป็นคู่สัญญา

2. ประเภทและเนื้อหาของสัญญา - สัญญาทางปกครองต้องเป็นสัญญาที่จัดอยู่ใน 4ประเภทดังต่อไปนี้ คือ
2.1 สัญญาสัมปทาน , เช่น สัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส ระหว่างกรุงเทพมหานครและบริษัทรถไฟฟ้าบีทีเอส
2.2 สัญญาจัดทำบริการสาธารณะ , เช่น สัญญาให้บริการทางการแพทย์ที่สำนักงานประกันสังคมทำกับโรงพยาบาลเอกชนเพื่อให้บริการแก่ผู้ประกันตนตามกฎหมายเกี่ยวกับประกันสังคม
2.3 สัญญาที่จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค , เช่น สัญญาจ้างก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆที่รัฐทำกับบริษัทเอกชน
2.4 สัญญาที่แสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่นสัญญาให้ทำไม้ เหมืองแร่ น้ำมัน เหล่านี้เป็นต้น

สัญญาทางปกครองโดยสภาพหรือโดยกฎหมายเฉพาะกำหนด ต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์สำคัญ 2ประการ คือ

1. คู่สัญญา - คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งต้องเป็นรัฐ

2. วัตถุของสัญญา หรือเนื้อหา หรือข้อกำหนดของสัญญา โดยจะต้องมีวัตถุของสัญญาว่าเป็นสัญญาที่ "ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าดำเนินการ หรือเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง" เช่น สัญญาจ้างเอกชนปลูกป่าในที่ดินของเอกชนโดยค่าใช้จ่ายมาจากกองทุนของรัฐที่มาจากเงินภาษี โดยรัฐเป็นผู้มีอำนาจควบคุมและได้รับประโยชน์จากผลผลิตของการปลูกป่าดังกล่าว เป็นต้น หรือโดยพิจารณาจากเนื้อหาหรือข้อกำหนดของสัญญาว่า "เป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐหรือไม่" กล่าวคือ เป็นสัญญาที่ให้อำนาจรัฐในการบังคับเอกชนหรือไม่นั่นเอง เช่น ให้รัฐเข้าดำเนินการแทนเอกชนได้ในกรณีที่เอกชนละเลยไม่ปฎิบัติตามหน้าที่ตามสัญญา หรือให้ดุลพินิจฝ่ายปกครองที่จะบอกเลิกสัญญาเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อาจต้องชดใช้ค่าแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นให้กับเอกชน อย่างนี้ เป็นต้น




4.2 คดีปกครอง

ความหมาย

คดีปกครอง หมายถึงข้อพิพาทที่เกิดจากการกระทำของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในงานปกครองนั่นเอง


อำนาจของศาลปกครองในการพิจารณาพิพากษาคดีทางปกครอง

คดีปกครองที่จะอยู่ในอำนาจการพิจารณษพิพากษาคดีของศาลปกครองได้นั้น ต้องพิจารณษจากหลักเกณฑ์ 2ประการ ควบคู่กันคือ ต้องดูว่าใครเป็นคู่กรณี และลักษณะของคดี


1. คู่กรณี แยกออกเป็น 2กรณี คือ
(ก.) คดีระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายหนึ่งกับเอกชนอีกฝ่ายหนึ่ง
(ข.) คดีระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกฝ่ายหนึ่งกับหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่มีเอกชนเขามาเกี่ยวข้อง

2. คดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง จากหลักกฎหมายในมาตรา ๙มี ๖ประเภท ได้แก่

(๑) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ๑๐ ประการคือ
- การออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจ
- หรือนอกเหนืออำนาจ หน้าที่
- หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
- หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน
- หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น
- หรือโดยไม่สุจริต
- หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
- หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น
- หรือสร้างภาระให้เกิดกับ ประชาชนเกินสมควร
- หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

(๒) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อ หน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

(๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทาง ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติ หน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

(๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

(๕) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อ ศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด

(๖) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง


ส่วนคดีเรื่องดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง มี 3ประเภท คือ

(๑) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร

(๒) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

(๓) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น



4.3 เงื่อนไขในการฟ้องคดีปกครอง

ความหมาย

ผศ.ดร. ขวัญชัย สันตสว่าง ได้ให้ความหมาย ที่พอจะสรุปได้ว่า

"เงื่อนไขในการฟ้องคดีปกครอง หมายถึง หลักเกณฑ์ที่ศาสลปกครองจำต้องพิจารณาว่า คดีปกครองที่นำมาฟ้องยังศาลปกครองนั้น ได้ปฎิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้หรือไม่"

หลักเกณฑ์

พรบ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ที่เป็นเงื่อนไขในการฟ้องคดีปกครองไว้ 4ประการ ดังนี้….



1. ผู้มีสิทธิฟ้องคดีทางปกครอง

มาตรา ๔๒ วรรคแรก ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อ โต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือนร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา ๗๒ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง


2. ระยะเวลาในการฟ้องคดี

มาตรา ๔๙ การฟ้องคดีปกครองจะต้องยื่นฟ้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้อง ขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ กฎหมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่มี เหตุผล แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๕๑ การ ฟ้องคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) ให้ยื่นฟ้องภายในหนึ่งปี และการฟ้องคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๔) ให้ยื่นฟ้องภายในห้าปี นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีแต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วัน ที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี


ข้อยกเว้นเกี่ยวกับระยะเวลาในการฟ้องคดีปกครอง

มาตรา ๕๒ การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคลจะยื่นฟ้องคดีเมื่อใดก็ได้
การฟ้องคดีปกครองที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้ว ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุ จำเป็นอื่นโดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอ ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้


3. แบบของคำฟ้อง

มาตรา ๔๕ คำฟ้องให้ใช้ถ้อยคำสุภาพและต้องมี
(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี
(๒) ชื่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องอันเป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี
(๓) การกระทำทั้งหลายที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว
(๔) คำขอของผู้ฟ้องคดี
(๕) ลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี ถ้าเป็นการยื่นฟ้องคดีแทนผู้อื่นจะต้องแนบใบมอบฉันทะให้ฟ้องคดีมาด้วย......



4. มาตราการบรรเทาทุกข์

ในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหาย ผู้ฟ้องคดีจะต้องดำเนิการตามกฎหมายเฉพาะนั้นก่อน ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ในมาตรา 42

มาตรา ๔๒ ผู้ ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการกระทำ หรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อ โต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือนร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา ๗๒ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือ เสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอน และวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควร หรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด







Create Date : 15 มีนาคม 2554
Last Update : 15 มีนาคม 2554 22:18:16 น. 4 comments
Counter : 18408 Pageviews.

 
ขอบคุณครับ


โดย: เฆม IP: 49.49.243.87 วันที่: 25 พฤษภาคม 2556 เวลา:18:57:45 น.  

 
เป็นประโยชน์มากค่ะ


โดย: ส้มโอ IP: 202.143.189.14 วันที่: 21 สิงหาคม 2556 เวลา:14:27:14 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: ดุลย์ IP: 61.19.211.252 วันที่: 11 มีนาคม 2559 เวลา:10:47:35 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: iamnotouch IP: 180.183.151.143 วันที่: 23 กันยายน 2560 เวลา:0:20:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สหายกุนเชียง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]







บ่นเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก
ครั้งที่ 60
ตอน - ความสุขของความรัก
.........คือการได้รัก

ทำไม? คนเราถึงอยากมีคนรัก
นั่นเพราะอยากมีความสุข
ในเมื่อที่การได้รักใครสักคน
มันก็ทำให้มีความสุขอยู่แล้ว
ทำไมจะต้องไปอยากรู้
หรือไปใส่ใจอะไรอีก 
ว่าใครรัก ใครไม่รัก
เขารักใคร ใครรักเขา ฯลฯ

กับหัวใจที่เต็มไปด้วยแผลฉกรรจ์ดวงนี้ 
มันดีแค่ไหนแล้ว ที่ยังใช้รักใครได้อยู่...

13/08/55







เพลงพวกนี้.........
ผมชอบทุกเพลงครับ
แต่ละเพลงฟังมานานแล้ว
และจะฟังต่อไปเรื่อยๆ
เพราะฟังกี่รอบๆ ก็ไม่เบื่อ
ว่างๆมานั่งฟังเป็นเพื่อนกันเถอะ
แล้วจะติดจาย~* ^___^



MusicPlaylist
Music Playlist at MixPod.com






free counters


Website counter

Friends' blogs
[Add สหายกุนเชียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.