สัจจะนั้นมีเพียงหนึ่ง แต่หนทางรู้ซึ้งนั้นมีหลากหลาย...
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
10 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
ฉบับที่ 11 - โอทีในวันหยุด

ฉบับที่ 11



การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
และการจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุด


    ในกรณีที่ลูกจ้างให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี หรือวันหยุดพักผ่อนประจำปีก็ตาม  แล้วให้ลูกจ้างอยู่ทำงานต่อจนเกินเวลาทำงานปกติ  เราเรียกการทำงานเช่นนี้ว่า “การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด” ส่วนหลักเกณฑ์ในการทำงานล่วงเวลาในวันหยุดนั้น  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุดตามที่ได้อธิบายมาก่อนหน้านี้แล้ว
   และเมื่อมีการให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุด  นายจ้างต้องจ่าย “ค่าล่วงในวันหยุด” ให้แก่ลูกจ้างในอัตราที่กฎหมายกำหนดด้วย คำว่า “ค่าล่วงเวลาในวันหยุด” นี้ กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้บัญญัติให้นิยามความหมายเอาไว้ใน มาตรา 5 ดังนี้...
   “ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด”


    ส่วนอัตราการจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดนั้น  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายได้บัญญัติเอาไว้ใน มาตรา 63 ดังนี้
    “มาตรา 63  ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ  หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย”


   พิจารณาจากบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากฎหมายได้กำหนดอัตราการจ่ายค่าล่วงเวลาเอาไว้คือ ไม่น้อยกว่า 3เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามปกติ  และสำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน กฎหมายก็กำหนดให้จ่ายไม่น้อยกว่า 3เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามผลงานที่ทำได้
   เข้าในง่ายๆคือ (1) ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างแบบเหมาจ่าย ก็ให้นำเอาอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงของลูกจ้าง มาคูณ 3 แล้วนำผลคูณที่ได้มาคูณกับจำนวนจำนวนระยะเวลาที่ทำงานล่วงเวลานั่นเอง และ (2) ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน ก็เอาค่าจ้างตามปกติต่อหน่วย มาคูณ 3 นั่นเอง


    คำพิพากษาฎีกาที่ 414/2526  จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งกำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงานคือ 8.00 น. – 17.00 น. การทำงานนอกเวลาดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ  โจทก์ได้รับคำสั่งให้ทำงานในวันหยุด ตั้งแต่ 13.00 น. – 6.00 น. ของวันรุ่งขึ้น  โดยมีช่วงหยุดพักผ่อนระหว่าง 17.00 น. – 18.00 น. และ 24.00 น. – 1.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เช่นนี้รวมระยะเวลาที่โจทก์ทำงานล่วงเวลาคือ 11 ชั่วโมง  ซึ่งจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ในอัตรา 3เท่า ของค่าจ้างในวันทำงาน สำหรับจำนวนเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ


  ผลของการที่นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 63นี้ ถือเป็นความผิดและมีโทษทางอาญาคือ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน หรือปรับไม่เกิน สองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 144




ปลายแดด ของวันที่สิบ เดือนแปด ปีห้าสาม
จะเป็นอย่างไร หากท่านหลับ ?
จะเป็นอย่างไร หากในยามหลับ ท่านฝัน ?
และจะเป็นอย่างไร หากในความฝัน ท่านขึ้นไปบนสวรรค์
และเก็บดอกไม้ที่แสนประหลาด และสวยงาม
และจะเป็นอย่างไร หากท่านตื่น ?
ตื่นขึ้นมา แล้วพบว่า ท่านมีดอกไม้นั้นอยู่ในกำมือ
โอ้…!!!  ท่านจะทำอย่างไร ?
- โคเลอร์ริดจ์


 


 


 


 






Free TextEditor


Create Date : 10 สิงหาคม 2553
Last Update : 10 สิงหาคม 2553 18:49:14 น. 0 comments
Counter : 1152 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สหายกุนเชียง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]







บ่นเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก
ครั้งที่ 60
ตอน - ความสุขของความรัก
.........คือการได้รัก

ทำไม? คนเราถึงอยากมีคนรัก
นั่นเพราะอยากมีความสุข
ในเมื่อที่การได้รักใครสักคน
มันก็ทำให้มีความสุขอยู่แล้ว
ทำไมจะต้องไปอยากรู้
หรือไปใส่ใจอะไรอีก 
ว่าใครรัก ใครไม่รัก
เขารักใคร ใครรักเขา ฯลฯ

กับหัวใจที่เต็มไปด้วยแผลฉกรรจ์ดวงนี้ 
มันดีแค่ไหนแล้ว ที่ยังใช้รักใครได้อยู่...

13/08/55







เพลงพวกนี้.........
ผมชอบทุกเพลงครับ
แต่ละเพลงฟังมานานแล้ว
และจะฟังต่อไปเรื่อยๆ
เพราะฟังกี่รอบๆ ก็ไม่เบื่อ
ว่างๆมานั่งฟังเป็นเพื่อนกันเถอะ
แล้วจะติดจาย~* ^___^



MusicPlaylist
Music Playlist at MixPod.com






free counters


Website counter

Friends' blogs
[Add สหายกุนเชียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.