สัจจะนั้นมีเพียงหนึ่ง แต่หนทางรู้ซึ้งนั้นมีหลากหลาย...
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
ฉบับที่ 08 - ค่าจ้าง

   ฉบับที่ 8


       แด่ ผู้ใฝ่รู้ในวิชากฎหมายแรงงาน…


    ค่าจ้าง


  ความหมาย
  กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้บัญญัติให้คำนิยามความหมาย ของคำว่า “ค่าจ้าง”  เอาไว้ใน มาตรา 5 ดังนี้...
   “ค่าจ้าง  หมายความว่า  เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง  รายวัน  รายสัปดาห์  รายเดือน  หรือระยะเวลาอื่น  หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน  และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้”
   “ค่าจ้างในวันทำงาน หมายความว่า ค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำงานเต็มเวลาการทำงานปกติ”


   พิจารณาจากคำนิยามศัพท์ดังกล่าวแล้ว  พอจะอธิบายรูปร่างหน้าตาของ ค่าจ้าง ได้ดังนี้...
   1. ค่าจ้างต้องเป็นเงินเท่านั้น  หากเป็นสิ่งของที่นายจ้างมอบให้แก่ลูกจ้าง ก็ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง
   2. นายจ้างและลูกจ้างตกลงกำหนดจำนวนเงินกัน  คำว่า “ตกลง” นี้ หมายถึง ตกลงกันตาสัญญาจ้าง  ซึ่งจะตกลงกันเป็นหนังสือหรือวาจาก็ย่อมได้
   3. ในการต้องจ่ายเป็นค่าตอบแทนทำงานเท่านั้น  ถ้าจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างอื่น  เช่น จ่ายเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างในเรื่องที่พักอาศัย  จ่ายเพื่อช่วยเหลือการศึกษาของบุตรลูกจ้าง เป็นต้น เหล่านี้ก็ไม่ถือเป็นค่าจ้าง เพราะไม่ได้จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน
   4. ค่าจ้างจะต้องตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติ  คำว่าระยะเวลาทำงานปกตินี้  หมายถึงระยะเวลาที่นายจ้างกำหนดไว้ในมาตรา 23 เท่านั้น ส่วนเงินที่ตอบแทนการทำงานในช่วงระยะเวลาอื่น เช่น เงินค่าล่วงเวลา เงินค่าทำงานในวันหยุด หรือเงินค่าล่วงเวลาในวันหยุด  เหล่านี้ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
   ลักษณะของการจ่ายค่าจ้างนั้น โดยทั่วไปจึงมี 2ประเภท  คือ จ่ายโดยถือระยะเวลาเป็นสำคัญ และจ่ายโดยถือตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้เป็นสำคัญ


   อัตราการจ่ายค่าจ้างนั้น นายจะต้องกำหนดอัตราค่าจ้างไว้โดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง  ดังที่กฎหมายกำหนดไว้ใน มาตรา 53 ความว่า...
   “ในกรณีที่งานมีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากัน  ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด  และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง”


   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
   อัตราค่าจ้างขั้นต่ำคือ เงินค่าจ้างขั้นต่ำสุด  ที่นายจ้างต้องกำหนดอัตราจ่ายให้ลูกจ้าง  ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างจะเป็นผู้กำหนดตามแต่ล่ะท้องที่แตกต่างกันไปตามลักษณะและสภาพเศรษฐกิจของท้องที่นั้นๆ ทั้งนี้สามารถตรวจสอบได้จาก  www.mol.go.th


   กำหนดเวลาในการจ่ายค่าจ้าง และการผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง
   รายละเอียดในกำหนดเวลาในการจ่ายค่าจ้างนั้น มีบัญญัติไว้โดยชัดเจน ชนิดที่ไม่ต้องผ่านคำอธิบายใดๆให้ฟุ่มเฟือยในเนื้อหาอีก ใน มาตรา 70 ดังนี้...
    “มาตรา 70  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้
      (1) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมงหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
      (2) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้าง นอกจาก (1) ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
      (3) ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง
          ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง”


    ส่วนการผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง   มาตรา 9 ได้บัญญัติในเรื่องนี้เอาไว้ว่า...
   “มาตรา 9  ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนเงินประกันตามมาตรา 10 วรรคสอง หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือค่าชดเชยตามมาตรา 118 ค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120 มาตรา 121 และมาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี
    ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตามวรรคหนึ่งโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกำหนดคืนหรือจ่ายให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน
    ในกรณีที่นายจ้างพร้อมที่จะคืนหรือจ่ายเงินตามวรรคหนึ่งและวรรคสองและได้นำเงินไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้างนายจ้างไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มตั้งแต่วันที่นายจ้างนำเงินนั้นไปมอบไว้”
  


     พิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าว  วรรคแรกนั้นเป็นกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างหรือจ่ายไม่ครบตามที่ได้กำหนดเวลาตกลงกันเอาไว้  ไม่ว่าจะเกิดจากลืม หรือเข้าใจผิดอะไรก็ตาม ก็จะถือว่านายจ้างได้ผิดนัด  มีผลคือนายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างที่ผิดนัด ในอัตราร้อยละ 15 บาท ต่อปี
   วรรคสองเป็นกรณีที่นายจ้าง “จงใจ” ไม่จ่ายค่าจ้าง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร  เช่น นายจ้างเอาเงินไปเล่นการพนันจนหมดตัว ดังนี้ นายจ้างจะต้องจ่ายเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างเพื่อการผิดนัด ในอัตราร้อยละ 15 บาท ของเงินค่าจ้าง ทุกๆระยะเวลา 7วัน
   วรรคสามเป็นกรณีที่นายจ้างสุจริต กฎหมายก็ได้คุ้มครองนายจ้าง โดยกำหนดให้นายจ้างที่พร้อมจะคืนเงินตามวรรคหนึ่ง และวรรคสอง แต่หาตัวลูกจ้างไม่พบ หรือลูกจ้างไม่ยอมรับ อาจเพราะลูกจ้างต้องการถ่วงเวลาเอาไว้ เพื่อจะรับเงินเพิ่มหรือดอกเบี้ย นำเงินไปมอบไว้แก่อธิการบดีหรือผู้ซึ่งอธิการบดีมอบหมายเพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้าง  ซึ่งจะมีผลทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย หรือเงินเพิ่มนับแต่วันที่ได้นำเงินไปวางไว้
   ข้อสังเกต  -  เงินอื่นๆ เช่น เงินประกัน ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ ก็ให้ใช้หลักการเดียวกันนี้


   การจ่ายเงินระหว่างที่นายจ้างหยุดกิจการ
   กฎหมายได้กำหนดเรื่องนี้เอาไว้ชัดเจนกระจ่างแจ้งแล้ว ใน มาตรา 75 ดังนี้...
   “มาตรา 75  ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่มิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน
    ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าก่อนวันเริ่มหยุดกิจการตามวรรคหนึ่ง”


   นายจ้างที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 75 วรรคแรกนี้ ถือเป็นความผิดและมีโทษทางอาญา คือ ระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000บาท ตามมาตรา 146  และหากนายจ้างฝ่าฝืน มาตรา 75 วรรคสอง ก็ถือเป็นความผิดและมีโทษทางอาญาเช่นกัน คือ ระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000บาท ตามมาตรา 149


    การห้ามหักเงินค่าจ้าง
   การห้ามหักเงินค่าจ้างนี้ กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนกระจ่างแจ้งอีกแล้ว ใน มาตรา 76 และ มาตรา 77 ดังนี้


    “มาตรา 76  ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ
     (1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
     (2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
     (3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวโดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
     (4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
     (5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
     การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา 70 เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง”


   สำหรับนายจ้างที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 76 นี้ ถือเป็นความผิดและมีโทษทางอาญา คือ จำคุกไม่เกิน 6เดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 144


   “ มาตรา 77  ในกรณีที่นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามมาตรา 54 มาตรา 55 หรือการหักเงินตามมาตรา 76 นายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ”


   สำหรับนายจ้างที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 77 นี้ ก็ถือเป็นความผิดและมีโทษทางอาญาเช่นกัน คือ ปรับไม่เกิน 10,000บาท  ตามมาตรา 146


 


 


 


รุ่งอรุณ  ของวันที่สิบสอง  เดือนเจ็ด  ปีห้าสาม
ตื่นแต่เช้า มองดูฟ้า ถามดวงตา ว่าฟ้าทำไมจึงสวย...


 


 


 


 


 


 








Free TextEditor


Create Date : 27 กรกฎาคม 2553
Last Update : 27 กรกฎาคม 2553 17:45:01 น. 0 comments
Counter : 995 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สหายกุนเชียง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]







บ่นเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก
ครั้งที่ 60
ตอน - ความสุขของความรัก
.........คือการได้รัก

ทำไม? คนเราถึงอยากมีคนรัก
นั่นเพราะอยากมีความสุข
ในเมื่อที่การได้รักใครสักคน
มันก็ทำให้มีความสุขอยู่แล้ว
ทำไมจะต้องไปอยากรู้
หรือไปใส่ใจอะไรอีก 
ว่าใครรัก ใครไม่รัก
เขารักใคร ใครรักเขา ฯลฯ

กับหัวใจที่เต็มไปด้วยแผลฉกรรจ์ดวงนี้ 
มันดีแค่ไหนแล้ว ที่ยังใช้รักใครได้อยู่...

13/08/55







เพลงพวกนี้.........
ผมชอบทุกเพลงครับ
แต่ละเพลงฟังมานานแล้ว
และจะฟังต่อไปเรื่อยๆ
เพราะฟังกี่รอบๆ ก็ไม่เบื่อ
ว่างๆมานั่งฟังเป็นเพื่อนกันเถอะ
แล้วจะติดจาย~* ^___^



MusicPlaylist
Music Playlist at MixPod.com






free counters


Website counter

Friends' blogs
[Add สหายกุนเชียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.