Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
10 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
ใครว่า พม่ายึดมหาชัย ? ‘คนมอญ’ อยู่มากว่า 200 ปีแล้ว



เมื่อวันที่ 6-7 ต.ต. สำนักข่าวชาวบ้านร่วมกับชมรมมอญกรุงเทพฯ นำสื่อมวลชนหลายสำนักลงพื้นที่ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ภายใต้โครงการ ‘แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มหาชัยเมืองมอญ’ เพื่อทำความเข้าใจกรณีแรงงานข้ามชาติที่มาใช้แรงงานในประเทศไทยจำนวนมากซึ่งที่ผ่านมามีการแสดงความวิตกต่อปรากฏการณ์ดังกล่าวผ่านหน้าหนังสือพิมพ์



ในการลงพื้นที่วัดบางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งวัดนี้เคยใช้จัดงานวันชาติมอญ (วันรำลึกบรรพบุรุษมอญ) ปัจจุบันยังจัดให้มีการเรียนการสอนแก่ลูกหลานผู้ใช้แรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะชาวมอญ มีครูอาสาสมัครและพระเป็นผู้สอนวิชาที่เรียน ซึ่งจะเรียนทั้งภาษาและวัฒนธรรมมอญควบคู่ไปกับภาษาไทย



น.ส.สุกัญญา เบานิด นักวิจัยเรื่องแรงงานข้ามชาติ จ.สมุทรสาคร อธิบายถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ใน จ.สมุทรสาคร รวมถึงการเข้ามาของแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะจากประเทศพม่าและที่มาของกรณีปัญหาความหวาดวิตกต่อการเข้ามาของแรงงานข้ามชาติจำนวนมากใน ต. มหาชัย ว่า ในสมุทรสาคร แม้กลุ่มชาติพันธุ์มอญอยู่อาศัยมานานกว่า 200 ปี แล้ว ปัจจุบันคนกลุ่มนี้ได้รับสัญชาติไทยหมด แต่ยังคงมีสำนึกบางอย่างที่แสดงออกถึงความเป็นมอญบ้าง ในขณะที่ภายหลังมีแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าเข้ามาใช้แรงงานที่สมุทรสาครมากขึ้น



ทั้งนี้ แรงงานที่เข้ามามีทั้งกลุ่มชาติพันธุ์มอญในพม่า กลุ่มชาติพันธุ์พม่า และรวมไปถึงแรงงานข้ามชาติจากที่อื่นๆ อย่างเขมร แต่กลับมีความเข้าใจกันว่าแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาล้วนเป็นคนพม่าทั้งหมด ดังที่สื่อมวลชนได้เสนอว่า ‘พม่ายึดมหาชัย’ ซึ่งมาจากอคติทางชาติพันธุ์ที่กดทับความเป็นพม่าอยู่



อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์มอญที่มาจากประเทศพม่าจะถูกบอกว่า เป็นคนพม่าทั้งหมด แต่แท้จริงแล้วใน ต.มหาชัยมีคนมอญมากถึงถึง 70% โดยยังมีสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นมอญที่ปรากฏ ได้แก่ การใช้ภาษามอญในการสื่อสาร ประเพณีและการจัดวันชาติมอญ แต่ที่ ต.มหาชัย จะใช้คำว่า ‘วันรำลึกบรรพบุรุษมอญ’ แทน ความสำคัญของวันนี้คือเป็นวันตั้งกรุงหงสาวดี



“วันชาติมอญไม่ใช่การเรียกร้องทางการเมือง การทหาร หรือการจับอาวุธ แต่สิ่งที่แสดงออกคือชาติกำเนิดที่ต้องรักษา นั่นคือ ภาษา วัฒนธรรมและประเพณี การเป็นแรงงานข้ามชาติและจัดงานแบบนี้ขึ้นก็เพื่อย้ำเตือนว่า เขาคือมอญ แต่การจะเกิดงานวันชาติมอญขึ้นได้นั้น ต้องสัมพันธ์กับพื้นที่ด้วย ซึ่งคนในพื้นที่มหาชัยคือคนไทยเชื้อสายมอญมาช่วยให้เกิดวันชาติเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ” น.ส.สุกัญญา กล่าว



นักวิจัยคนเดิมกล่าวถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานข้ามชาติในกลุ่มที่มาจากประเทศพม่ากับคนไทยเชื้อสายมอญซึ่งเป็นคนส่วนมากในพื้นที่ ต.มหาชัยว่า เดิมจะมีแต่คนเก่าคนแก่อายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่สื่อสารกันด้วยภาษามอญ ส่วนคนรุ่นหลังจะไม่ค่อยได้ใช้ แต่เมื่อแรงงานข้ามชาติข้ามชาติหนีสงครามและอพยพเข้ามา ต.มหาชัยจำนวนมากในระยะหลัง ก็ทำให้นำอัตลักษณ์มอญมาด้วย ซึ่งไปถึงเรื่องภาษามอญ จนนายจ้างเอง หากต้องการการสื่อสารกับลูกจ้างให้เข้าใจ ก็ต้องใช้ภาษามอญ ภาษามอญจึงถูกนำมาใช้ โดยที่คนมอญกับคนพม่าก็สื่อสารกันรู้เรื่อง และมีสำนึกบางอย่างทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน ดังนั้น เมื่อเข้ามาใน ต.มหาชัย จึงปรากฏอัตลักษณ์ทั้งมอญ พม่า ไทยซึ่งมาจากคนไทยเชื้อสายมอญที่อยู่ในพื้นที่ผสมกันไป



พระครูปลัดโนรา อภิวโร เจ้าอาวาสวัดศิริมงคล หมู่ 5 ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นวัดที่ปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง กรณีแรงงานข้ามชาติยึดวัดจัดงานวันชาติ กล่าวว่า ข่าวที่ออกมาสร้างผลกระทบต่อทางวัดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการที่จะต้องตอบคำถามกับเจ้าหน้าที่และในหมู่ของพระสงฆ์ด้วยกัน ทั้งที่จริงแล้วงานนี้เป็นงานรื่นเริงเพื่อการรำลึกถึงบรรพบุรุษ ไม่ได้เรียกว่าเป็นงานวันชาติของใคร เพราะหากเรียกว่าวันชาติทางวัดคงไม่ยินยอมให้จัดงาน โดยงานจะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งจัดมาแล้ว 3 ปี และมีผู้มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก



พระครูปลัดโนรา กล่าวด้วยว่า ผลกระทบของการเสนอข่าว ทำให้ทางวัดต้องพิจารณาให้หยุดการจัดงานในปีที่จะถึงนี้ เพราะหวั่นเกรงผลกระทบที่อาจเกิดกับทางวัด และตัวผู้มาร่วมงานเองที่ส่วนหนึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ถูกกฎหมาย จึงอาจถูกตรวจจับอย่างเข้มงวดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นอกจากวันชาติแล้วกลุ่มแรงงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ก็เข้ามาทำบุญเป็นประจำทุกวันเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดของโรงงาน รวมทั้งวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งในกรณีที่คิดว่าอาจเป็นการรวมตัวเคลื่อนไหวอะไรบางอย่างเนื่องจากมีคนมารวมตัวเป็นจำนวนมากนั้นทั้งที่ไม่ได้เป็นวันสำคัญทางศาสนาตามปฏิทินไทยนั้นเป็นเพราะตามปฏิทินวันสำคัญทางศาสนาของแรงงานข้ามชาติที่มาจากพม่าจะเร็วกว่า ปฏิทินไทยเนื่องจากนับตามแบบจันทรคติ ในขณะที่ปฏิทินไทยนับตามแบบสุริยคติ



ด้านนายสุรชัย อาจานัว แรงงานชาวมอญจากประเทศพม่า กล่าวถึงปัญหาของแรงงานข้ามชาติจากประสบการณ์กว่า 17 ปี ก่อนจะมาทำงานเป็นอาสาสมัครครูสอนภาษามอญ ของเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ว่า แรงงานต่างชาติจะถูกกดดันในด้านการดำเนินชีวิต แม้แต่การปั่นจักรยานผ่านทางบางคนก็ถูกแกล้งถีบรถจนล้ม และมีแม้แต่กรณีการเคาะห้องแรงงานผู้หญิงแล้วเข้าไปข่มขืนในที่พักหลายราย ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นก็ไม่สามารถนำไปปรึกษาหรือแจ้งกับใครให้เข้ามาช่วยเหลือได้ โดยเฉพาะแรงงานที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและไม่ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่แม้ว่าจะพยายามทำงานสุจริตเพื่อไม่ให้มีความเดือดร้อนแต่บางครั้งก็ยังได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ในเรื่องภาษาในการสื่อสารก็เป็นอุปสรรคต่อความเป็นอยู่หรือการสื่อสารปัญหาต่างๆ ด้วย



นายสุรชัยยังกล่าวถึงประเด็นที่แรงงานข้ามชาติถูกมองว่ามาแย่งวัดคนไทยทำบุญ ว่า ไม่เข้าใจทำไมต้องมองเป็นการแก่งแย่ง ทั้งที่การทำบุญเป็นสิ่งดี แสดงถึงจิตใจอันบริสุทธิ์ และชาวมอญเองก็มีจิตใจเคารพและมีวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา หากว่ามีการห้ามแรงงานในเรื่องนี้อีกชีวิตก็คงไม่มีที่ยึดเหนี่ยว เหมือนขาดอะไรไปสักอย่าง



นายสุรพล กองจันทึก นักกฎหมายสภาทนายความแห่งประเทศไทย กล่าวว่าสังคมไทยมีทัศนคติที่ผิด 8 ประการต่อแรงงานข้ามชาติ



ประการแรก เชื่อว่าแรงงานที่ข้ามชาติเมื่อมากอบโกยเงินไปแล้วก็จะกลับประเทศ ความจริงคือไม่ถูกทั้งหมด เพราะมีแรงงานข้ามชาติกว่า 50% เป็นผู้อพยพในรูปแบบผู้ลี้ภัยซึ่งรัฐต้องมีวิธีจัดการในอีกรูปแบบหนึ่ง อีกทั้งโอกาสที่จะกลับประเทศนั้นมีน้อย นอกจากนี้การที่ต้องอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานก็ทำให้ความสัมพันธ์กับประเทศตัวเองน้อยลงหรือกลับไปก็ไม่มีที่ทำกินอีกแล้ว กลุ่มนี้มีจำนวนถึง 300,000 คน ในเวลานี้



ประการที่ 2 เชื่อว่าแรงงานข้ามชาติมายึด จ.สมุทรสาคร และหากใช้พื้นที่นี้เพื่อปฏิวัติ บ้านเมืองก็จะเดือดร้อน ข้อเท็จจริงคือแรงงานข้ามชาติมาที่ จ. สมุทรสาครเป็นเพราะมีงานให้ทำ และเป็นงานที่คนไทยไม่ทำ อาจเพราะคนไทยมีการศึกษาสูงขึ้น ส่วนงานโรงงานทั้งเหนื่อย สกปรก รวมทั้งค่าแรงต่ำ ดังนั้นการที่แรงงานมาที่ จ.สมุทรสาครจำนวนมากจึงไม่ใช่การยึด ถ้าไม่มีงานเขาก็ไม่มา และผู้ที่นำเขามาก็คือระบบธุรกิจไทย หากจะแก้ไขก็ต้องแก้กันที่ระบบ



ประการที่ 3 เชื่อว่าแรงงานข้ามชาติไม่เสียภาษี ดังนั้นรัฐไทยจะดูแลทำไม ข้อเท็จจริงคือ แรงงานข้ามชาติที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องจะต้องเสียภาษีให้แก่รัฐไทย แต่เหตุที่แรงงานข้ามชาติไม่เสียภาษีก็เพราะเป็นผู้มีรายได้ต่ำ อย่างไรก็ตาม แรงงานเหล่านี้ก็ต้องเสียภาษีทางอ้อม เช่น การซื้อสินค้า ค่า VAT หรือแม้แต่การขึ้นรถเมล์ ดังนั้นการบริการของรัฐจึงต้องนึกถึงด้วย



ประการที่ 4 รัฐมีข้อมูลที่บอกว่าต้องให้แรงงานข้ามชาติรักษาพยาบาลฟรี ในขณะที่กระทรวงสาธารณะสุขเปิดเผยข้อมูลในปี 2549 ว่า เป็นภาระของไทยที่ต้องเสียต่อการรักษาพยาบาลแรงงานข้ามชาติปีละ 300 ล้านบาท โดยที่แรงงานข้ามชาติไม่ต้องเสียภาษี



ข้อเท็จจริงคือ รัฐไม่บอกข้อมูลอีกด้านที่ว่ารัฐได้เงินจากแรงงานข้ามชาติในเรื่องการรักษาพยาบาลเท่าไหร่ เพราะแรงงานข้ามชาติต้องเสียค่าประกันสุขภาพ 1,000 บาทต่อคนต่อปี ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติทั้งหมด 700,000 – 800,000 คน รวมแล้วรัฐจะมีรายได้ส่วนนี้จากแรงงงานข้ามชาติถึง 1,000 ล้านบาท และงบประมาณส่วนนี้รัฐอนุญาตให้โรงพยาบาลจัดการงบประมาณเองได้โดยไม่ต้องคืนหลวง



ประการที่ 5 เชื่อว่าแรงงานข้ามชาติเป็นแหล่งอาชญากรรม ลักขโมย ข้อเท็จจริงคือมีภาพในด้านนี้ออกมามากเกินความเป็นจริง



ประการที่ 6 เชื่อว่าประชากรไทยมีจำนวนมากขึ้นและกำลังล้นประเทศ แรงงานข้ามชาติจำนวนมากกำลังมาแย่งทรัพยากร ข้อเท็จจริงที่ได้จากงานวิจัยด้านประชากรกลับพบว่า จำนวนประชากรไทยกำลังคงที่ที่ 63 ล้านคน ซึ่งนับว่าตอนนี้ถึงจุดสูงสุดแล้วในช่วง 10 – 20 ปี



ประการที่ 7 เชื่อว่า แรงงานข้ามชาติมาแย่งอาชีพคนไทย แต่ข้อเท็จจริงเป็นที่รู้กันว่าอาชีพที่แรงงานข้ามชาติทำคืองานที่คนไทยไม่ทำ



ประการสุดท้าย เชื่อว่ารัฐไทยไม่จำเป็นต้องดูแลแรงงานข้ามชาติเพราะไม่ใช่คนไทย แต่ข้อเท็จจริงคือ ตีความกฎหมายผิดเพราะรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดระบุว่าเป็นรัฐธรรมนูญแห่ง ‘ราชอาณาจักรไทย’ ไม่ใช่ รัฐธรรมนูญแห่ง ‘ปวงชนชาวไทย’ รัฐไทยจึงต้องดูแลรับผิดชอบทุกอย่างในแผ่นดินไทยซึ่งเป็นราชอาณาจักรไทย



ที่มา : ประชาไท วันที่ : 9/10/2550




Create Date : 10 ตุลาคม 2550
Last Update : 10 ตุลาคม 2550 10:36:27 น. 7 comments
Counter : 2205 Pageviews.

 

ละว้า ลาว ขอม มอญโบราณ ทวาราวดี เชียงแสน
กับศรีวิชัย นี่ละ ตัวพ่อ บรรพบุรุษของเราเลยละ


โดย: สยาม ยิ้ม(สู้) IP: 58.8.119.242 วันที่: 10 ตุลาคม 2550 เวลา:11:55:01 น.  

 
ขอบคุณครับคุณสยาม ยิ้ม(สู้)

นั่นหละครับคือสังคมอุษาอาคเนย์ ที่สมัยก่อนรบกันเพื่อกวาดต้อนแรงงานไม่ใช่ที่ดินอย่างสังคมศักดินายุโรป จึงมีความผสมกลมกลืนทางชาติพันธ์ หากแต่เราพึ่งรับแนวคึดสมัยใหม่โดยเฉพาะคำว่ารัฐชาติในยุดอาณานิคมจึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันไป ถ้าไม่เชื่อลองดูหน้าคนที่อยู่ใกล้ๆที่ไม่ใช่ญาติแต่ถือสัญชาติไทยสิครับหน้ามันช่างต่างกันจังเลย จริงๆนี้ถือว่าเป็นข้อดีของพื้นที่แถบนี้แต่เราไม่ค่อยยอมรับกัน


โดย: Darksingha วันที่: 10 ตุลาคม 2550 เวลา:15:16:27 น.  

 
‘มอญมหาชัย’ อคติทางชาติพันธุ์ที่นำมาสู่การละเมิดชีวิตแรงงาน



สำนักข่าวชาวบ้าน

เมื่อวันที่23ต.ค.50 สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ สำนักงานสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน สำนักข่าวชาวบ้าน ชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ และโครงการก่อตั้งมูลนิธิสื่อสารสาธารณะ จัดเสวนาเรื่อง “อคติทางชาติพันธุ์ละเมิดชีวิตแรงงานมอญพม่ามหาชัย” ขึ้นที่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย



ตัวแทนคนมอญซึ่งทำงานในพื้นที่สมุทรสาครมานานกว่า 10 ปี กล่าวว่า สาเหตุที่คนมอญหรือกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อพยพเข้ามาในประเทศไทยก็เพราะเพื่อหนีภัยการเมืองและปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่คนมอญรู้สึกแย่ หากถูกเหมารวมว่าเป็นพม่า เพราะแท้จริงแล้วพวกเขาเป็นคนมอญในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งมีคนพม่าเป็นชนชาติหนึ่งในสองร้อยกว่าชนชาติ



“คนไทยชอบเหมารวม อย่างเวลาทำบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หากคนมอญบอกว่า ตัวเองเป็นคนมอญ เจ้าหน้าที่ก็จะแย้งว่า ไม่มีประเทศมอญ มีแต่ประเทศพม่า... คนไทยชอบมองว่า คนมอญจะมายึดพื้นที่มหาชัย แต่ความจริงถ้าสถานการณ์ในประเทศเราดีขึ้น เราก็อยากจะกลับไป”



นางสาวสุกัญญา เบาเนิด เลขาธิการชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ กล่าวว่า แรงงานมอญต่างด้าวในมหาชัยเข้ามาช่วยฟื้นฟูภาษา วัฒนธรรม อัตลักษณ์ความเป็นมอญในเมืองไทยให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง เพราะความเป็นมอญดั้งเดิมกำลังจางหายไป



“อย่างตัวอักษรมอญ กลมๆ ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เป็นภาษาพม่านั้น ก็กลับมาเห็นตามป้าย ตามร้านค้า คนมอญดั้งเดิมกับมอญอพยพใหม่ กลับมาสื่อสารกันด้วยภาษามอญอีกครั้งหนึ่ง”



เลขาธิการเยาวชนมอญกรุงเทพฯ กล่าวว่า สังคมไทยควรให้ความสำคัญตัวตนของคน งานต่างด้าวในพื้นจังหวัดสมุทรสาครซึ่งไม่ได้มีสำนึกความเป็นพม่า ควรพิจารณาให้เห็นตัวตน วัฒนธรรม ของพวกเขาว่าเป็นอย่างไร



“ภายในรัฐชาติประกอบด้วยหลายกลุ่มชาติพันธุ์ แต่เมื่อมีแรงงานข้ามชาติเข้ามา ทำไมสังคมกลับมองไม่เห็นความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของพวกเขา” สุกัญญา กล่าว



รศ.สุริชัย หวันแก้ว สมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า การสำนึกในวัฒนธรรมหรือความเป็นรากเหง้าของตนเองนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ในเชิงนโยบายของรัฐกลับมองแบบกรอบเดิมๆ ไม่เข้าใจพรมแดนความหลากหลายทางวัฒนธรรม มองแต่พรมแดนที่ตายตัวในกรอบของความเป็นรัฐชาติ ทำให้นโยบายกับความจริงเกิดช่องว่างขึ้น



“นโยบายปัจจุบันที่เป็นอยู่ เป็นหลักเชิงเดี่ยวที่มองเรื่องความมั่นคงของรัฐมากกว่าความมั่นคงของชีวิต ผมมองว่าช่องว่างเหล่านี้จะขัดแย้งขึ้นเรื่อยๆ หากยังไม่สร้างเงื่อนไขในการอยู่ร่วมกัน” รศ.สุริชัย กล่าว



ดังนั้นเราคงจะต้องทบทวนกันทุกวงการ เพราะอาจจะไม่ทันกับสถานการณ์จริงที่เกิด ขึ้น และกลายเป็นการส่งเสริมกลไกความเข้าใจผิด ดังนั้นการสื่อสารที่จะทำให้เราเข้าใจความจริง ไม่เข้าใจผิดไปเรื่อยๆ เราต้องยอมรับว่า ความเป็นไทยก็มีพื้นฐานที่มาจากความหลาก หลายในหลายๆส่วน นำข้อมูลมาคุยกัน และปรับตัวรวมถึงเรียนรู้ไปด้วยกัน ที่สำคัญภาคส่วนต่างๆ ควรจะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน



ศ.อมรา พงศาพิชญ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า มนุษย์ทุกคนล้วนต้องการความเป็นอัตลักษณ์ และคงความเป็นชาติพันธุ์ของตนเอง ประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐเดี่ยว มองว่า แผ่นดินเป็นของไทยจึงมองไม่เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งสังคม ไทยควรจะยอมรับการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่แยกกันไม่ออกเหล่านี้



การที่กลุ่มคนงานต่างด้าวลุกขึ้นมาค้นหารากเหง้าของตนเองนั้น ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะทุกคนต้องการรากเหง้า เพื่อที่จะได้รู้ที่มาของตนเอง ฉะนั้นเรื่องการค้นหารากเหง้าจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ควรส่งเสริม เนื่องจากมีผลต่อสภาพจิตใจของเพื่อนมนุษยชาติด้วย



“การค้นหาความเป็นรากเหง้าที่ทำเพื่อเรื่องการท่องเที่ยว ยังทำได้ โดยไม่ถูกวิพากษ์ วิจารณ์เลย แล้วทำไมจะส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวค้นหารากเหง้าของตนเองไม่ได้” ศ.อมรา กล่าว



ดังนั้นกรอบของการมองเรื่องความมั่นคง จะต้องมามองและปรับกระบวนทัศน์กันใหม่ สำหรับในความอคติทางชาติพันธุ์ หรือ การตีตรา ล้วนเป็นปัญหาที่อยู่ในตำราชาติพันธุ์เสมอมา จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายควรจะช่วยกันทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นน้อยลง นำความคิดเรื่องความหลากหลายมาแทน ที่ความเป็นรัฐเดี่ยว ขยายความคิดเรื่องความแตกต่าง และส่งเสริมการฟื้นฟูความเป็นรากเหง้าของตนเอง



ทั้งนี้ หากสังคมไทยยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ แรงงานต่างด้าวหรือคนพลัดถิ่นเหล่านี้เขาก็จะได้ความภาคภูมิใจและมีความสุขมากขึ้น ซึ่งเป็นความจำเป็นของเพื่อนมนุษยชาติ อีกทั้งสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นภัยต่อประเทศไทยแต่อย่างใด หากไม่มองเรื่องความมั่นคงแบบตรงไปตรงมาจนเกินไป



อย่างไรก็ดี ช่วงที่ผ่านมากระทรวงวัฒนธรรม พยายามส่งเสริมให้จังหวัดหันมาสนใจเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งมีความหลากหลายในตัวเอง รวมทั้งเป็นสายใยที่เชื่อมร้อยชุมชนเข้าด้วยกัน



นายอดิศร เกิดมงคล รองประธานมูลนิธิสันติวิธี เสนอว่า ควรสร้างการเรียนรู้ซึ่งกันและกันก่อน ระหว่างกลุ่มแรงงานต่างด้าวหรือคนพลัดถิ่นกับสังคมไทย และเลิกผลิตซ้ำวิธีคิดแบบ เดิมๆ ที่มีความอติทางชาติพันธุ์และการตีตราต่างๆ ผสมอยู่


ที่มา : ประชาไท วันที่ : 25/10/2550



โดย: Darksingha วันที่: 25 ตุลาคม 2550 เวลา:11:17:03 น.  

 
เป็นคนมอญ มันผิดหรอ คนมอญก็เป็นคน ถ้าจะบอกว่าคนมอญมีทั่วประเทศ
จะเชื่อมั้ย ถึงไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะมันเป็นความจริง


โดย: คนคนหนึ่ง IP: 124.120.67.60 วันที่: 7 เมษายน 2551 เวลา:15:24:27 น.  

 
วันนี้ผมเป็นคนกรุงเทพ เป็นวิศวกร บ้านอยู่ถนนสุขุมวิท ขับรถเก๋งไปทำงาน...........

แต่เมื่อวานผมเป็นคนต่างจังหวัด..พ่อแม่ผมก็เป็นคนต่างจังหวัดทั้ง2ท่าน..ปู่ผมมีเชื้อชาติไทยลื้อที่ถูกอพยบมาอยู่เชียงใหม่สมัยเจ้ากาวิละ...บรรพบุรุษผมเป็นไทยลื้อ..
ชาติพันธุ์ผมในอดีตเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่แต่ปัจจุบันกลับเป็นแค่ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน...
ชนชาติมอญปัจจุบันก็ไม่แตกต่างจากผมในอดีต.....




โดย: นพดล IP: 167.67.140.101, 203.146.20.17 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:14:11:42 น.  

 
วันนี้ผมเป็นคนกรุงเทพ เป็นวิศวกร บ้านอยู่ถนนสุขุมวิท ขับรถเก๋งไปทำงาน...........

แต่เมื่อวานผมเป็นคนต่างจังหวัด..พ่อแม่ผมก็เป็นคนต่างจังหวัดทั้ง2ท่าน..ปู่ผมมีเชื้อชาติไทยลื้อที่ถูกอพยบมาอยู่เชียงใหม่สมัยเจ้ากาวิละ...บรรพบุรุษผมเป็นไทยลื้อ..
ชาติพันธุ์ผมในอดีตเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่แต่ปัจจุบันกลับเป็นแค่ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน...
ชนชาติมอญปัจจุบันก็ไม่แตกต่างจากผมในอดีต.....




โดย: นพดล IP: 167.67.140.101, 203.146.20.17 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:14:11:42 น.  

 
0863039205
ส่งคนเข้าเรียน 1 ปีมีโอกาสรวย


โดย: อยากรวยโทรมา IP: 101.109.239.163 วันที่: 13 พฤษภาคม 2555 เวลา:13:11:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.