<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
26 เมษายน 2554
 

เกาะติดตามผล"มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา ปี54 "ด้วยคะ

เตือนใจ เจริญพงษ์
และแล้ว....นโยบายการเมืองได้เข้ามาบริหารจัดการ
ทิศทางการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาเสียใหม่
คือ...รมว.ก.กระทรวงศึกษาธิการ
ได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง" มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2554 "
.................................................................................................
รายละเอียดน่าสนใจดี ลองอ่านดูนะคะ
ประกาศดังกล่าวระบุว่า.....
ตามที่มาตรา 34 ....แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.
2545 ....
................................................................................................. กำหนดให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา
เสนอมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้อง
กับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระ
และความเป็นเลิศทางวิชาการของ สถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญา
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง
.................................................................................................
คณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงได้ดำเนินการ...
จัดทำมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเพื่อนำไปสู่
การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาตามกลุ่มสถาบันที่มีปรัชญา
วัตถุประสงค์ และพันธกิจในการจัดตั้ง ที่แตกต่างกัน
เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้
อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
.................................................................................................
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และ มาตรา 16
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
.................................................................................................
ก.ศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รมว.ก.ศึกษาธิการ
โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ การอุดมศึกษา
จึงประกาศมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
.................................................................................................
1 . มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วยมาตรฐาน 2 ด้าน ดังนี้
.................................................................................................
1.1 มาตรฐานด้านศักยภาพและความพร้อมในการจัดการศึกษา ประกอบด้วยมาตรฐาน ย่อยด้านต่าง ๆ ๔ ด้าน
.................................................................................................
(1) ด้านกายภาพ
สถาบันอุดมศึกษามีอาคารที่ประกอบด้วยลักษณะสำคัญของอาคารเรียนที่ดี มีห้องครบทุกประเภท พื้นที่ใช้สอยที่ใช้ในการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมทุกประเภทมีจำนวน เพียงพอ และเหมาะสมกับจำนวนอาจารย์ประจำ จำนวนนักศึกษาในแต่ละหลักสูตร และจำนวน นักศึกษาตามแผนการรับนักศึกษา ตามเกณฑ์พื้นที่ใช้สอยอาคารโดยประมาณ รวมทั้งต้องจัดให้มี ห้องสมุดตามเกณฑ์มาตรฐาน มีครุภัณฑ์ประจำอาคาร ครุภัณฑ์การศึกษา และคอมพิวเตอร์จำนวน เพียงพอต่อการจัดการศึกษา ทั้งนี้ อาคารและบริเวณอาคารจะต้องมีความมั่นคง ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะหรือความจำเป็นอย่างอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
.................................................................................................
(2) ด้านวิชาการ
สถาบันอุดมศึกษามีศักยภาพและความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจด้านวิชาการ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสถาบันอุดมศึกษาและแผนการผลิตบัณฑิตที่ตอบสนอง ความต้องการของประเทศและผู้ใช้บัณฑิตโดยรวม มีหลักประกันว่าผู้เรียนจะได้รับการบริการการศึกษาที่ดี สามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างมีคุณภาพ สถาบันต้องมีการบริหารวิชาการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลทั้งในด้านการวางแผนรับนักศึกษาและการผลิตบัณฑิต การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล การเรียนรู้ การประกันคุณภาพการเรียนการสอน และการพัฒนาปรับปรุงการบริหารวิชาการ
.................................................................................................
(๓) ด้านการเงิน
สถาบันอุดมศึกษามีความพร้อมด้านการเงินทั้งงบการเงินรวมและงบที่จำแนก ตามกองทุน มีแผนการเงินที่มั่นคง เป็นหลักประกันได้ว่าสถาบันจะสามารถจัดการศึกษาได้ตามพันธกิจ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมทั้งสอดคล้องกับแผนการพัฒนาในอนาคต เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ผู้เรียนและผู้ใช้บริการอุดมศึกษา สถาบันมีการจัดทำรายงานการเงินที่แสดงถึงการได้มาของรายได้ รายรับ การจัดสรร การใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ และทั่วถึงเป็นธรรมอย่างชัดเจน รวมทั้งการนำรายได้ ไปลงทุนภายใต้การประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับการใช้เงินทุกประเภท และมีระบบการติดตามตรวจสอบผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรทุกระดับ
.................................................................................................
(๔) ด้านการบริหารจัดการ
สถาบันอุดมศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอด วิสัยทัศน์ ค่านิยม ไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และพันธกิจ ที่กำหนดไว้ โดยมีสภาสถาบันทำหน้าที่กำกับ นโยบาย การดำเนินการตามแผน การบริหารบุคคล การบริหารงบประมาณและทรัพย์สิน การบริหารสวัสดิการที่จัดให้กับนักศึกษาและบุคลากรทุกระดับ รวมทั้งกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่กำหนดไว้ มีการเผยแพร่ผลการกำกับการดำเนินงานของสภาสถาบันและการบริหาร จัดการของผู้บริหารทุกระดับสู่ประชาคมภายในสถาบันและภายนอกสถาบัน ภายใต้หลักธรรมาภิบาล ที่ประกอบด้วย หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ หลักการตรวจสอบได้ หลักการมีส่วนร่วมและหลักความคุ้มค่า
.................................................................................................
1.2 มาตรฐานด้านการดำเนินการตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วยมาตรฐานย่อยด้านต่าง ๆ 4 ด้าน
................................................................................................
(1 ) ด้านการผลิตบัณฑิต
สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการรับนักศึกษาเข้าเรียนที่มีคุณสมบัติและจำนวน ตรงตามแผนการรับนักศึกษาและสอดคล้องกับเป้าหมายการผลิตบัณฑิตอย่างมีคุณภาพ สถาบันผลิตบัณฑิต ได้ตามคุณลักษณะ จุดเน้นของสถาบัน ตรงตามเป้าหมายที่กำหนด และจัดให้มีข้อสนเทศที่ชัดเจน เผยแพร่ต่อสาธารณะในเรื่องหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน คณาจารย์ ที่ส่งเสริมการจัดกิจกรรม การพัฒนาการเรียนรู้ทั้งในและนอกหลักสูตร และตอบสนองความต้องการของนักศึกษา
.................................................................................................
(2) ด้านการวิจัย
สถาบันอุดมศึกษามีการดำ เนินพันธกิจด้านการวิจัยอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และภายใต้จุดเน้นเฉพาะ โดยมีการดำเนินการตามนโยบาย แผน งบประมาณ มีการ บริหารจัดการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรให้มีสมรรถนะในการทำวิจัย ส่งเสริมและสร้างเครือข่ายการทำวิจัยกับหน่วยงานภายนอกสถาบันเพื่อให้ได้ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์ และงานริเริ่มสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ สนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ สามารถ ตอบสนองความต้องการของสังคมได้ในวงกว้างและก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชน
.................................................................................................
(3) ด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
สถาบันอุดมศึกษามีการให้บริการทางวิชาการที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งใน วงกว้างและกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งอาจให้บริการโดยการใช้ทรัพยากร ร่วมกันทั้งในระดับสถาบันและระดับบุคคลได้ในหลายลักษณะ อาทิ การให้คำปรึกษา การศึกษาวิจัย การค้นคว้าเพื่อแสวงหาคำตอบให้กับสังคม การให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นต่าง ๆ การจัดให้มี การศึกษาต่อเนื่องบริการแก่ประชาชนทั่วไป การให้บริการทางวิชาการนี้ สามารถจัดในรูปแบบของการ ให้บริการแบบให้เปล่าหรือเป็นการให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ให้ผลตอบแทนเป็นรายได้หรือเป็นข้อมูล ย้อนกลับมาพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่
.................................................................................................
(4 ) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
สถาบันอุดมศึกษามีการดำเนินการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ทั้งในระดับหน่วยงานและระดับสถาบัน มีระบบและกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ศิลปะ และวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนโดยตรงหรือโดยอ้อม เพื่อให้ผู้เรียนและบุคลากร ของสถาบันได้รับการปลูกฝังให้มีความรู้ ตระหนักถึงคุณค่า เกิดความซาบซึ้งและมีสุนทรียะต่อศิลปะ และวัฒนธรรมของชาติ สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องจรรโลงความดีงามในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ มีวิถีชีวิตที่ปรารถนาและเรียนรู้วิธีการจัดการวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ไม่พึงปรารถนาได้ สถาบันมีการ ควบคุมการดำเนินงานด้านนี้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ การดำเนินงานด้านการทำนุบำรุง ศิลปะและวัฒนธรรมของสถาบัน
.................................................................................................
2. ประเภทหรือกลุ่มสถาบันที่กำหนดไว้ภายใต้มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษานี้ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม ก วิทยาลัยชุมชน
กลุ่ม ข สถาบันที่เน้นระดับปริญญาตรี
กลุ่ม ค สถาบันเฉพาะทาง
กลุ่ม ง สถาบันที่เน้นการวิจัยขั้นสูงและผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะระดับ ปริญญาเอก
.................................................................................................
สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งจะเป็นผู้เลือกประเภทหรือกลุ่มสถาบันเองตามปรัชญา วัตถุประสงค์ และพันธกิจที่ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาอาจเปลี่ยนแปลงกลุ่มที่เลือกไว้ได้ กลุ่มสถาบันต่าง ๆ จะเน้นหนักในมาตรฐานหลักและมาตรฐานย่อยทั้ง 1.1 และ 1.2 ที่แตกต่างกันในด้านปรัชญา วัตถุประสงค์ และพันธกิจที่กำหนด กลุ่มสถาบันที่กำหนดตามมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา
.................................................................................................
ให้กำลังใจ ก.ศึกษาธิการคะ
เพราะปฏิรูปการศึกษาทุกครั้งก็ล้มเหลวตลอด
หน่วยงานด้าน...แผน ...นโยบาย
ก็สวยหรูดี...แต่ทำไม่ได้
คุณภาพการศึกษาของเด็กไทยส่วนใหญ่...ยังแย่อยู่
เด็กโต...ระดับอุดมศึกษา
ก็..เห็นแต่สถาบันแข่งกันเปิด
แต่ไม่เข้มเรื่องคุณภาพ
งานวิจัย...โอ๊ย..โอ๊ย ..อยู่บนหิ้งอีกแล้ว
แถมงบบานเบอะ...
อาจารย์มหาลัยก็..ไม่เน้นงานสอนคุณภาพในสถาบัน
เพราะออกมาทำวิจัยให้ส่วนราชการดีกว่า(งบเยอะดีนะ)
วิจัยแล้วตอบโจทย์หรือเปล่า.. และได้นำผลมาใช้แค่ไหน
โอ๊ย..โอ๊ยปวดใจ ร้องเพลงของแจ้...ดีกว่า
.................................................................................................
ก็ไม่ต้องอะไรมาก..
วิสัยทัศน์...คุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา..ต้องพัฒนาก่อนอื่นใด
จริงใหมคะ

.................................................................................................
อะไรๆข้างต้นนั้น..ของในแก้ว..เดิมแท้ๆๆ
เอะให้กำลังใจ...รอดูกันสักหน่อยแล้วค่อยติงกันคะ
.................................................................................................




 

Create Date : 26 เมษายน 2554
0 comments
Last Update : 19 กันยายน 2558 6:03:17 น.
Counter : 832 Pageviews.

 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com