ข้อมูลนี้copy จากหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 26 กุมพาพันธ์ 2558

มธ.ท่าพระจันทร์-รังสิต ฮือ!ค้านไล่"สมศักดิ์เจียมฯ"จุดเทียน-แถลงการณ์ชี้คุกคามเสรีภาพ

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 18:37:50 น

ประชาชนจากหลากหลายวิชาชีพ นับร้อย ออกแถลงการณ์ค้านคำสั่งไล่ อ.สมศักดิ์ ออกจากราชการ ชี้คุกคามเสรีภาพทางวิชาการ -นักศึกษา นักศึกษาจัดกิจกรรมจุดเทียนเชิงสัญลักษณ์ต้าน

//www.matichon.co.th/online/2015/02/14249375791424947066l.jpg


26 ก.พ. 58 เวลา 17.00 น. ที่ลาน อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต กลุ่มนักศึกษาที่ใช้ชื่อว่า ประชาคมคัดค้านคำสั่งไล่อ.สมศักดิ์ ออกจากราชการ ได้เปิดลงทะเบียนร่วมในแถลงการณ์ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของทรัพยากรบุคคลทางวิชาการและงานวิจัยในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งแถลงการณ์ดังกล่าวร่างขึ้นโดยนักวิชาการคณาจารย์ภาคประชาชนจากหลากหลายกลุ่มอาชีพทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กว่า200คนพร้อมจัดกิจกรรมจุดเทียนเพื่อแสงสว่างและเสรีภาพทางวิชาการโดยยกกรณีการถูกคำสั่งไล่ออกจากตำแหน่งงานราชการของอ.ดร.สมศักดิ์เจียมธีรสกุลอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยกลุ่มนักศึกษาเห็นว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการด้วยเหตุผลทางการเมือง

//www.matichon.co.th/online/2015/02/14249375791424947456l.jpg


ทั้งนี้ กลุ่มนักศึกษา ได้อ่านกลอน และอ่านแถลงการณ์ ก่อนจะร่วมจุดเทียนสแดงสัญลักษณ์พร้อมร้องเพลงเพื่อมวลชน ขณะที่บรรยากาศโดยทั่วไป นักศึกษาได้จัดบอร์ดให้เขียนแสดงความคิดเห็นกรณีอ.สมศักดิ์เจียมธีรสกุล ถูกไล่ออก

อย่างไรก็ตามมีเพียงเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาสังเกตการณ์เท่านั้น ไม่มีเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจ แสดงตนเจ้าดูแลการจัดกิจกรรมดังกล่าว โดยกลุ่มนักศึกษาประกาศก่อนจัดกิจกรรมว่า กิจกรรมครั้งนี้เป็นการเรียกร้องภายในมหาวิทยาลัย ไม่ได้กระทบต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.

//www.matichon.co.th/online/2015/02/14249375791424947461l.jpg


ซึ่งในแถลงการณ์มี ข้อเรียกร้องต่อผู้บริหารมหาวิทยาลัย 3 ข้อ โดยเรียกร้องให้มีการปกป้องคุมครองความปลอดภัย ชีวิต จิตใจ ของบุคลากร โดยไม่ให้อำนาจทางการเมืองมาแทรกแซง และขอให้ประกันสิทธิแก่บุคลากร ในการได้รับผลกระทบจากวิกฤติฯ ในการลากิจ ลาเพิ่มพูนความรู้ ลาออก และการการลี้ภัยฉุกเฉิน รวมทั้ง เรียกร้องต่อผู้บริหารว่า หากไม่สามารถทำอะไรได้ ควรแสดงออกซึ่งสามัญสำนึกต่อสาธารณะ

//www.matichon.co.th/online/2015/02/14249375791424948505l.jpg

ขณะที่ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ชั้นปี2 หนึ่งในตัวแทนที่ร่วมกิจกรรม กล่าวว่า วันนี้มารวมตัวจัดกิจกรรมคัดค้านคำสั่งของมหาวิทยาลัยที่ไล่อ.สมศักดิ์ ออกจากราชการ โดยทางกลุ่มเห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควรที่ถึงขั้นไล่ออก เพราะเป็นที่ทราบกันว่า อ.สมศักดิ์ ไม่มาปฏิบัติราชการด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย จึงเห็นว่าการไล่อ.สมศักดิ์ ออกเป็นเรื่องอคติทางการเมืองของผู้บริหาร ส่วนตัวเห็นว่าควรเปลี่ยนคำสั่งจากไล่ออกเป็นให้ออกจากราชการเพื่อให้อ.สมศักดิ์ได้รับสวัสดิการตามสมควรที่จะได้

พร้อมฝากถึง อ.สมศักดิ์ว่า ขอขอบคุณ อ.สมศักดิ์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชา และยังคงรักษาจุดยืน เป็นแบบอย่างแก่ผู้ที่มีหัวใจรักความยุติธรรม

//www.matichon.co.th/online/2015/02/14249375791424950285l.jpg

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นทั้งที่ ม.ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ และรังสิต โดยที่ท่าพระจันทร์ จะเป็นส่วนของคณาจารย์ ขณะที่รังสิต จะเป็นส่วนของนักศึกษา


โดยแถลงการณ์ ฉบับดังกล่าว มีประชาชนจากหลากหลายสาขาอาชีพ ร่วมลงรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์ จำนวนร้อยกว่าคน อาทิเช่น อ.พวงทอง ภวัครพันธ์ อ.พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ อ.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อ.ปวิน ชัชวาลพงษ์พันธ์ อ.จอน อึ๊งภากรณ์ อ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ อ.ชินทาโร ฮารา อ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค็ง คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี นายวชิระ บัวสนธุ์ คุณเดือนวาด พิมพนา นายกฤช เหลือลมัย เป็นต้น

//www.matichon.co.th/online/2015/02/14249375791424949701l.jpg

//www.matichon.co.th/online/2015/02/14249375791424949714l.jpg


ขณะเดียวกัน ที่ ลานอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นางสาวปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ นายชานันท์ ยอดหงษ์ นักประวัติศาสตร์ และนักศึกษาและนักกิจกรรมจำนวนหนึ่ง ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ดังกล่าวด้วย โดยมีสื่อมวลชน ทั้งไทยและต่างประเทศ เกาะติดการทำข่าวอย่างใกล้ชิด

//www.matichon.co.th/online/2015/02/14249375791424949724l.jpg


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดแคมเปญ "ใครๆก็เป็นสมศักดิ์ เจียมฯ ได้" โดยการนำแป้งมาโรยที่ศีรษะ เพื่อให้ผมมีลักษณะสีขาว หรือ เหมือนกับผมหงอก เช่นเดียวกับเอกลักษณ์ทรงผมของอาจารย์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

//www.matichon.co.th/online/2015/02/14249375791424949729l.jpg


แถลงการณ์ปกป้องสิทธิและเสรีภาพ ของทรัพยากรบุคคลทางวิชาการและการวิจัยในสถาบันการศึกษาชั้นสูง

อนุสนธิจากกรณีผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีคำสั่งไล่ดร.สมศักดิ์เจียมธีรสกุลออกจากราชการโดยที่ดร.สมศักดิ์ถูกวิกฤติการณ์ทางการเมืองคุกคามถึงชีวิตจนต้องลี้ภัยไปอยู่ในต่างประเทศและได้ยื่นเรื่องขอลาเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการไว้ก่อนแต่เมื่อถูกถ่วงเรื่องไว้จึงได้แสดงความจำนงขอลาออกจากราชการดังความปรากฏในสื่อสาธารณะแล้วนั้นพวกเราเห็นว่าดร.สมศักดิ์ควรมีสิทธิอุทธรณ์และสิทธิอื่นๆ เช่น การลาเพิ่มพูนความรู้ การลากิจ กระทั่งการลาออก รวมไปถึงการต่อสู้คดีความในศาลยุติธรรมที่ไม่ใช่ศาลทหาร

และขอเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยยุติการนำข้ออ้างเรื่องวินัยบุคลากร มาใช้เพื่อรวบรัดตัดตอนและลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายของบุคลากรทางวิชาการ แม้พวกเรามิได้เห็นว่านักวิชาการควรมีสิทธิพิเศษเหนือประชาชนทั่วไป แต่ในภาวะที่บ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตยเช่นนี้ การแสดงความเห็นวิชาการยิ่งต้องได้รับการคุ้มครอง เพื่อให้การแสดงความเห็นในประเด็นสำคัญของสังคมสามารถกระทำได้ และถูกตรวจสอบจากสาธารณชน มากกว่าจะโถมทับความเห็นที่แตกต่างด้วยการไล่ออกจากราชการโดยใช้อำนาจแบบเผด็จการ ซึ่งน่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ละทิ้งโอกาสที่จะแสดงความกล้าหาญทางจริยธรรมในการปกป้องหลักเสรีภาพและความเป็นอิสระทางวิชาการของสถาบันการศึกษาชั้นสูงแต่กลับส่อแสดงความหวาดกลัวต่ออำนาจเผด็จการที่แทรกแซงเข้ามาในมหาวิทยาลัยจนละเลยที่จะปกป้องบุคลากรของตนซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในระดับชาติและนานาชาติต่อความน่าเชื่อถือด้านเสรีภาพและความเป็นอิสระทางวิชาการของมหาวิทยาลัยไทย

ดังนั้นพวกเราผู้มีรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ขอเรียกร้องให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยทุกแห่งได้แสดงความกล้าหาญทางวิชาการและจริยธรรมอย่างเปิดเผยดังนี้

1.ในยามที่ประเทศชาติกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองขั้นวิกฤติอันมีสาเหตุมาจากอคติของความแตกต่างทางเชื้อชาติศาสนาภาษาความเชื่อหรืออุดมการณ์ทางการเมืองมหาวิทยาลัยต้องแสดงบทบาทสูงสุดในการรับรองสิทธิและเสรีภาพของทรัพยากรบุคคลทางวิชาการและการวิจัยซึ่งได้แสดงความเห็นทางวิชาการโดยอิสระและสุจริตแต่กลายผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ฯดังกล่าวมหาวิทยาลัยจึงต้องปกป้องคุ้มครองความมั่นคงและความปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจของบุคคลากรผู้นั้นอย่างเต็มกำลังความสามารถโดยปราศจากการแทรกแซงของอำนาจทางการเมือง

2.ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องสร้างความมั่นคงทางวิชาชีพให้แก่บุคลากรผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ฯดังกล่าวด้วยการรับประกันสิทธิในการลากิจการลาเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการการลาออกและสิทธิในการขอลี้ภัยฉุกเฉินโดยไม่ต้องมีการร้องขอทั้งนี้โดยหลักการสากลแล้วการขอใช้สิทธิดังกล่าวย่อมไม่มีผลเป็นโทษในทางวินัย

3.หากมหาวิทยาลัยไม่สามารถดำเนินการใดๆตามที่ระบุไว้ได้อันเนื่องมาแต่การแทรกแซงและแรงกดดันหรือคำสั่งจากอำนาจทางการเมืองภายนอกมหาวิทยาลัยแล้วผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องชี้แจงแก่สาธารณชน และแสดงสำนึกของความเป็นนักวิชาการและจริยธรรมทางวิชาการด้วยการลาออก พวกเราเชื่อมั่นว่า การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเป็นอิสระทางวิชาการนั้น จะช่วยให้สังคมได้เข้าใจมิติของวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน สามารถคลี่คลายไปได้ตามหลักวิชาการ อีกทั้งยังเป็นหลักประกันความก้าวหน้าขององค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อความเจริญงอกงามของประชาชนและประเทศชาติสืบไป
แถลง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558
..................................................................................................................................
ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ นักประวัติศาสตร์ ในฐานะเพื่อนร่วมห้องเล่าถึงความผูกพันว่า "รู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ทารุณกรรมที่เลวร้ายที่สุด สมศักดิ์ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐชนชั้นปกครองมากไปกว่านั้น มหาลัยอ้างได้อย่างไรว่าเป็นไปตามกฎระเบียบ เอาเข้าจริง สมศักดิืถูกกระทำต้องถูกเรียกตัวมารายงานตัว จำต้องขาดอิสระภาพหนีออกนอกประเทศไป ชนชั้นปกครองไม่มีเมตตาธรรมใดๆๆเลย โดยพื้นฐานของมหาลัยจะต้องให้เสรีภาพในการแสดงออกและการแสดงความคิดเห็นเต็มที่กับนักวิชาการและนักศึกษาที่มีผู้มีอำนาจถืออาวุธปิดกั้นเสรีภาพ แต่ที่เหล่าผู้มีปัญญาในมหาลัยเลือกเอาปากกามาปิดกั้นอิสระภาพทางความคิด
รศ.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ พูดถึงคำสั่งไล่ออกของมหาลัยว่าตามฐานของความผิดที่มีสัดส่วนน้อยมาก อย่างไรถึงจะต้องรับโทษไล่ออก คนที่ขาดราชการเกิน 15 วันจะต้องถูกไล่ออกเลยหรือ เอาเข้าจริงแล้วคงมีแนวทางมาตรการที่หลากหลายกว่านี้ที่อาจใช้เป็นทางเลือกได้ ประกอบกับทางมหาลัยเองต้องออกมาชี้แจงมากกว่าเพียงคำสั่งเท่านั้น ตั้งข้อสังเกตว่าความเป็นธรรมศาสตร์ที่มักนิยามว่าเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ มีเสรีภากทุกตารางนิ้วเอาเข้าจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่มันเป้ฯเพียงนิยามในเชิงอุดมคติ
...................................................................................................................................

หัวใจที่งดงาม...นักศึกษา+อาจารย์ธรรมศาสตร์ วันนี้ที่ต้องจารึก

กรณีศึกษา...คุณธรรม+จริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา ม.ธรรมศาสตร์/ยุค คสช......
ได้เห็นเจตนารมณ์ของนักศึกษา และ ครู อาจารย์ นักวิชาการ และอีกหลายอาชีพ
 ออกมาเรียกร้อง/โต้แย้งคำสั่งไล่ออกของ อ.สมศักดิ์.....ภายใต้กฎอัยการศึก
พิจารณาข้อเท็จจริงพบว่า ....ท่านผู้นี้ไม่ได้รับความเป็นธรรม
จำได้ว่าตอนที่สภาการศึกษายกร่างกฎหมายการศึกษามีหมวดว่าด้วยเสรีภาพทางวิชาการไว้ชัดเจน
ภาวะนี้สังคมถามหา.....ความถูกต้อง....คุณธรรม...จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา( ม.ธรรมศาสตร์/ยุค คสช.)
เอ...ความถูกต้อง....คุณธรรม...จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาแห่งนี้เป็นไงนะ
ท่านว่าโจทย์ข้อนี้คำตอบจะออกในรูปใด
ก.เฉยๆ
ข.ยิ้มตอนให้สัมภาษณ์ว่าทำตามขั้นตอนถูกต้องแล้ว
ค.ยังคงนั่งในตำแหน่งต่อไป
ง.จ้องเช็คบิลผู้ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์
จ.ถูกทุกข้อ
การเป็นครูบาอาจารย์มาร่วม 20 ปี ถือว่าไม่ธรรมดา องค์ความรู้ ประสบการณ์ของบุคคลากรทางการศึกษาระดับนี้
ถือว่ามีคุณค่ามาก ต้องใช้เวลาสร้างครูพันธุ์นี้อีกนานเท่าไร
ขอพรพระแก้วมรกตที่สถิตย์อยู่ท่าพระจันทร์
ช่วยให้ผู้กระทำการทำลายครูของ....ลูกโดม
หาทางออกที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมให้กับคุณครูสมศักดิ์ด้วยเถอะ
อาถรรพ์ธรรมศาสตร์....
รัฐประหาร 2490 ขับไล่ อ.ปรีดี พนมยงค์
 รัฐประหาร 2519 เนรเทศ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์
รัฐประหาร 2557 สมศักดิ์ เจียม ผู้ถูกจับกุมคุมขังในเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลา
ก็โดนไล่ออก ประวัติศาสตร์วนมาเชื่อมต่อพอดี
หัวใจที่งดงาม...นักศึกษา+อาจารย์ธรรมศาสตร์วันนี้ที่ต้องจารึก/เตือนใจ เจริญพงษ์