Group Blog
 
 
ธันวาคม 2558
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 ธันวาคม 2558
 
All Blogs
 
1 ไฟล์ที่2,วิชชา18หน้าฉบับย่อ

 

 

ไฟล์ที่2,วิชชา18หน้าฉบับย่อ -
วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ
โดย อ.คณานันท์ ทวีโภค kananun หัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ โทร.081-2099151

10-04-2009, 10:15 PM #2894 kananun Ref. Xorce
 ภาพรวมของวิสัยในการปฏิบัติธรรม
ในวิสัยของสาวกภูมินั้น มีวิสัยการปฏิบัติธรรมถึง4วิสัย ที่พระพุทธองค์ได้ทรงวางเอาไว้ให้เหมาะสมแก่จริตของคน
  1.สุกขวิปัสสโก คือการปฏิบัติแบบไม่รู้ไม่เห็นอะไร ไม่อาจะที่จะเห็นอะไรที่เป็นทิพย์ได้ แต่ว่าสามารถที่จะบรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์ได้ สิ่งที่ต้องได้ก็คือฌาณ4 ถ้าไม่มีฌาณ4 ก็ไม่อาจที่จะเป็นพระอรหันต์ได้
  2.เตวิชโช คือการปฏิบัติที่ได้วิชชา3ด้วย บรรลุธรรมด้วย วิชชา3 ก็คือความสามารถทางทิพยจักษุญาณ หรือตาทิพย์สามารถที่จะเห็นเรื่องในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ด้วยความเป็นทิพย์ สามารถจะเห็นพรหมโลก เทวโลก และพระนิพพานได้ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร สามารถที่จะเห็นสิ่งของต่างๆ คนต่างๆวัตถุต่างๆ ว่าอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไรอยู่ได้  สามารถที่จะคุยกับผู้ที่มีความเป็นทิพย์ได้ เหล่านี้เป็นหนึ่งในความสามารถของวิชชา3 สิ่งที่จะต้องได้ก็คือ ฌาณ4 ในกสิณที่เป็นปัจจัยให้เกิดตาทิพย์ ได้แก่ กสิณไฟ กสิณแสงสว่าง กสิณสีขาว คนที่มีนิสัยเหมาะกับวิสัยนี้ก็คือ ผู้ที่อยากรู้อยากเห็น ถ้าไม่เห็นจะไม่เกิดศรัทธาเป็นต้น
  3.ฉฬภิญโญ คือการปฏิบัติที่ได้ซึ่งอภิญญา6ด้วย และบรรลุธรรมด้วย อภิญญา6 ก็คือความรูอันยิ่ง6ประการ ได้แก่
1.อิทธิวิธี คือ ความสามารถในการแสดงฤทธิ์ได้นาๆประการ
เช่น เหาะเหินเดินอากาศ เดินทะลุกำแพง เสกไฟ เสกน้ำ ดำดิน ล่องหนหายตัวได้เป็นต้น 2.ทิพยโสต คือ สามารถได้ยินเสียงทิพย์ของ ผู้มีกายทิพย์ได้ และสามารถสนทนาโต้ตอบได้เป็นต้น 3.เจโตปริยญาณ คือ สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่นได้เขากำลังคิดอะไรยังไงรู้หมด 4.ปุพเพนิวาสนุสติญาณ คือ สามารถระลึกอดีตชาติของตัวเอง และผู้อื่นได้ 5.จุตูปาปญาณ คือ สามารถรู้เหตุของกรรม และผลของกรรม ที่กำลังเกิดขึ้นของตัวเองและผู้อื่นได้ 6.พระอาสวักขยญาณ คือ เครื่องรู้ที่ทำให้กิเลสอาสวะสิ้นไป ทำจิตให้เป็นพระอริยเจ้า  สิ่งที่ต้องมีก็คือ ฌาณ4 ในกสิณทั้ง10กอง เพื่อให้สามารถควบคุมธาตุต่างๆได้ คนที่มีอุปนิสัยเหมาะแก่วิสัยนี้ จะเป็นพวกอยากมีฤทธิ์อยากมีเดช อยากเหาะได้ อยากมีอิทธิฤทธิ์  อยากไปพระนิพพาน ไปพรหมโลก ไปสวรรค์ ด้วยกายเนื้อ ถ้าไม่มีแล้วมันรู้สึกว่า มันไม่ครบ ไม่สมบูรณ์
  4.ปฏิสัมภิทัปปัตโต คือ นอกจากจะมีคุณวิเศษครอบ คลุม ในสามสายการปฏิบัติขั้นต้นแล้ว ยังไงมีความสามารถพิเศษเพิ่มอีก คือมีปฏิสัมภิทาญาณ4  -ปฏิสัมภิทาญาณ4 ได้แก่ 1.ความสามารถในการรู้ได้ทุกภาษา คุยกับสัตว์ได้ คนต่างชาติได้ รู้ภาษาครอบคลุมหมดทุกภาษา 2.ความ สามารถในการทรงพระไตรปิฏกได้ แม้จะไม่เคยอ่านมาก่อน แต่สามารถจะรู้ทุกอย่างในพระไตรปิฏกได้ ละเอียดถี่ถ้วนทั้งหมด 3. ความสามารถในการอธิบายพระธรรม แม้เพียงประโยคเดียว ให้มีความละเอียดลึกซึ้งพิศดาร เป็นหลายพันหน้ากระดาษได้ 4.ความสามารถในการย่อพระธรรมจากหนังสือเป็นเล่มๆ ให้เหลือเพียงแค่ถ้อยคำเดียว หรือไม่กี่ประโยคได้ -ปฏิสัมภิทัปปัตโตนี้ จะมีปฏิภาณ ความฉลาดไหวพริบ สูงกว่าผู้อื่นมาก -สิ่งที่ต้องการก็คือ ได้อรูปฌาณทั้ง4 และเจริญวิปัสสนาญาณจนเข้าถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นอย่างน้อย จึงจะสามารถทรงปฏิสัมภิทาญาณได้ ผู้ที่เหมาะแก่วิสัยนี้ คือ ผู้ที่อยากจะคุยได้กับทุกคนรู้ทุกภาษาเป็นต้น หรืออยากจะรู้พระธรรมละเอียดลึกซึ้งแตกฉานเป็นต้น  -นอกจาก4วิสัยแล้วยังมี ผู้ที่อธิษฐานเป็น  สาวกพิเศษอีก เช่น อธิษฐานเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เบื้องขวา หรือเป็นเอกทัคคะ หรือผู้เป็นเลิศด้านต่างๆ เป็นต้น รวมถึงพุทธมารดา พุทธบิดา หรือนางแก้วของพระโพธิสัตว์ -เหล่านี้ทั้งหมดคือวิสัยของสาวกภูมิ -ซึ่งมีความหลากหลายเหมาะกับจริตของทุกๆดวงจิต -ไม่ได้มีแต่เพียงวิสัยของอภิญญา หรือสุกขวิปัสสโกอย่างที่คิด  -ดังนั้นขอให้เราเลือกวิสัยการปฏิบัติให้เหมาะกับตัวเองที่สุดครับ -เพราะถ้าเลือกผิดอาจจะปฏิบัติไม่ขึ้น เนื่องจากไม่ตรงกับที่เคยได้ฝึกมา -ยุคนี้เป็นยุคที่จะมีผู้สนใจ แนววิชชาสาม และอภิญญาหก มากขึ้น -หลวงพ่อฤาษีท่านจึงปูพื้นฐานมโนมยิทธิเอาไว้ให้ ซึ่งเป็นบาทฐานของอภิญญาหกต่อไปครับ –ขอให้ทุกๆคนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อกันในหมู่นักปฏิบัติธรรม -เพราะแม้ว่าจะต่างวิสัยกัน แต่ว่าก็เป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน -ในที่สุดก็เข้าถึงซึ่งพระนิพพานเหมือนกัน
ขอให้ทุกๆคนเข้าถึงซึ่งพระนิพพานตามวิสัยที่เราได้เคยปฏิบัติมาแล้วอย่างดี ด้วยเทอญ ____________
10-04-2009, 10:16 PM      #2895 kananun
Xorce นอกจากวิสัยของสาวกภูมิแล้ว ก็ยังมี
 วิสัยของพุทธภูมิอีก ซึ่งมีความยาวนานในการบำเพ็ญเพียรมากกว่า -พุทธภูมินั้น คือ ผู้ที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์ความสุขของสรรพสัตว์จำนวนมาก -พุทธภูมินั้นจำเป็นที่จะต้องศึกษากรรมฐานทุกกอง รู้ครอบคลุมทุกวิสัยการปฏิบัติ
รู้ในวิปัสสนาญาณ และทำให้อารมณ์จิตใกล้เคียงความเป็นพระอริยมากที่สุด เท่าที่จะเป็นได้ -พุทธภูมินั้นจะต้องเห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตน
ผู้อื่นจะต้องมาก่อนเสมอ -และจะต้องมีอารมณ์จิตที่เกาะพระนิพพานอยู่เสมอๆอีกด้วย
  พุทธภูมิ พระโพธิสัตว์ ที่ทุกๆคนน่าจะรู้จักกันได้แก่
หลวงปู่ทวด หลวงปู่มั่น หลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อสด หลวงปู่แหวน ครูบาศรีวิชัย พระมหากษัตริย์ของไทยตั้งแต่โบราณก็มีที่เป็นพุทธภูมิเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ใช่ทุกพระองค์ที่เป็นพุทธภูมิ
  ผู้ที่เป็นพุทธภูมินั้น จะเกิดการรู้ตื่นจากภายใน ถึงความสำคัญของผู้อื่นที่มากกว่าเรา –และมีจิตที่คิดปรารถนาจะช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอๆ    สำหรับผู้ที่ทราบว่าตัวเองเป็น พุทธภูมิ ขอให้ตั้งกำลังใจเพื่อสาธารณประโยชน์ -เพื่อผู้อื่นเป็นสำคัญ และช่วยกันดัน ช่วยกันหนุนบารมีของพุทธภูมิท่านอื่นๆ ให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับเรา เหมือนกับพี่น้องคอยประคับประคองซึ่งกันและกัน เพื่อให้ทุกๆคนเข้าถึงซึ่ง การรื้อขนสรรพสัตว์จุดเดียวกัน - ขอให้ทั้งพุทธภูมิ และสาวกภูมิ มีบารมีเต็ม เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้รวดเร็วทันใด ทั่วกันทุกๆดวงจิตเทอญ ____
10-04-2009, 10:30 PM      #2896 kananun
หากเราไม่ทราบภาพรวมใหญ่ของการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา บางครั้งก็จะเป็นเหตุในความล่าช้าในการปฏิบัติได้ -เมื่อเราเข้าใจได้กระจ่างแล้ว
เราก็มาจับ ในอารมณ์จิตโดยตรง
กรรมฐานกองนี้ มีอารมณ์จิตเช่นใด เป็นไปเพื่ออะไร
เช่น การเจริญพรหมวิหารสี่นั้น -มีอารมณ์จิตเช่นใด ชุ่มเย็มเอิบอาบด้วยปิติสุข -ทำให้ธรรมนั้น อารมณ์จิต่นี้เจริญยิ่งขึ้นไปได้อย่างไร ประคับประคองอารมณ์จิตนี้อย่างไร
จากนั้นเราลองมาพิจารณาในอารมณ์จิตดังกล่าวดูว่า กิเลส ตัณหา อุปทานในจิตเราเบาบางลงไหม-หากจิต เราเย็น เราสงบ กิเลสเบาบางลง เราก็พึงประคองรักษาจิต อารมณ์จิตนี้เอาไว้ -อารมณ์จิตในการเจริญวิปัสนาญาณ มีอารมณ์ใจอย่างไร รู้แล้วละ รู้แล้วปล่อยวาง เห็นธรรมดาในทุกสรรพสิ่งว่าเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป -เมื่อยิ่งพิจารณายิ่งปล่อยวาง
ยิ่งปล่อยวางจิตยิ่งเบา –จิตยิ่งเบาจากเครื่องร้อยรัดจิตอันได้แก่สังโยชน์ทั้งสิบประการ -จิตก็ยิ่งเข้าถึงสุข ใกล้พระนิพพานทีละน้อย ทุกข์น้อยลง
10-04-2009, 10:03 PM #2893 kananun Ref.คุณ Xorce เนื่องจากเริ่มมีคน เข้ามาอ่านในกระทู้นี้มากขึ้น ผมจึงจะขอ
 อธิบายลำดับขั้นตอนในการฝึก
จากที่ผมได้เคยฝึกมานะครับ
ถ้าเราไล่ไปตามลำดับความง่ายจะมากขึ้นครับ
1.เริ่มจากอานาปานสติเสียก่อน
-จับลม1ฐานที่ปลายจมูก 10ครั้ง ทำใจสบายๆ
-จับลมสามฐาน ที่จมูก อก ท้อง 10ครั้ง ทำใจสบายๆ เบาๆ
-จับลมหายใจตลอดสาย จินตนาการว่าลมหายใจเป็นเส้นเชือกไหลตั้งแต่จมูกลงมาจนถึงท้อง แล้วก็ไหลย้อนกลับขึ้นไป 10ครั้ง ใจจะสบายกว่า ลมจะลื่นไหลเนียนนุ่มกว่า
-กักลมและล้างลมหายใจหยาบ เพื่อทำให้ลมหายใจละเอียดขึ้นทำให้จิตเป็นฌาณสูงขึ้น
หายใจเข้าลึกๆ ให้ใจสบายๆ รู้สึกผ่อนคลาย พอลมเต็มปอดแล้ว ให้กลั้นลมหายใจหรือกักลมหายใจเอาไว้เบาๆ
แล้วภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆ ๆๆ ซ้ำไปซ้ำมาเรื่อยๆไปที่ท้อง ประมาณ10วินาที
จึงค่อยหายใจออก ทำซ้ำ10ครั้ง
-ให้จับลมหายใจตลอดสาย ตามเดิม คราวนี้จะรู้สึกว่าลมหายใจ ค่อยๆช้าลงๆ ค่อยช้าลงเรื่อยๆ จนลมหายใจเริ่มหายไป เริ่มหยุดไป จนลมหายใจหยุดไป หายไป
แล้วให้ประคองความนิ่งเอาไว้ซักระยะหนึ่ง ถ้าลมหายใจกลับมาก็ให้จับลมหายใจอีกครั้งหนึ่งสบายๆ ไปเรื่อยๆ
-ก่อน ออกจากสมาธิอธิษฐานปักหมุดว่า ขอให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าถึงซึ่งลมหายใจสบาย จนลมหายใจหยุดไปได้นี้ ได้ทุกครั้ง ทุกเวลา ทุกสถานที่ ที่ข้าพเจ้าต้องการตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
-หายใจเข้าลึกๆ ออกช้าๆ 3ครั้ง แล้วค่อยๆถอนจิตออกจากสมาธิ
-พอจับลมหายใจสบายๆเป็นแล้ว ให้หมั่นจับลมหายใจสบายๆ เอาไว้ทั้งวัน หรือจับลมหายใจแบบที่นิ่งเอาไว้ทั้งวันก็ยิ่งดี
2.แผ่เมตตาอัปปมาณฌาณ คือเมตตาอันไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ ไปยังทุกๆทิศทาง
-ให้เรากลับเข้าสภาวะที่ลมหายใจสบายๆจนลมหายใจหยุดนิ่งอีกครั้ง
-แล้ว ให้เราระลึกถึงบุญ ถึงกุศล ถึงความชุ่มเย็น ถึงความรักความเมตตา ความอิ่มเอิบใจ ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ให้ค่อยๆหลั่งไหลเข้ามารวมกันที่ดวงจิตของเราที่กลางอก จินตนาการว่ามีแสงขาวๆอันเป็นบุญกุศลไหลเข้ามารวมกันที่อกของเรา
-จนกระทั่งเราเริ่มรู้สึกชุ่มเย็น เบาสบายนิดๆ ที่กลางอก
-ให้เราจินตนาการว่ามีคลื่นแห่งความชุ่มเย็น สีทอง แผ่ออกมาจากกวงจิตของเราที่กลางอก แผ่ ออกมายังบริเวณห้องที่เราอยู่ แล้วให้เราคิดว่าขอให้ทุกๆคนที่อยู่ในห้องนี้มีแต่ความสุขความชุ่มเย็น ความอิ่มเอิบกายอิ่มเอิบใจ แบบที่เรากำลังรู้สึกอยู่
-จินตนาการ ว่าคลื่นสีทองแผ่ออกมาปกคลุมยังทั้งบริเวณบ้านที่เราอาศัยอยู่ แล้วให้เราคิดว่าขอให้ทุกๆคนที่อยู่ในห้องนี้มีแต่ความสุขความชุ่มเย็น ความอิ่มเอิบกายอิ่มเอิบใจ แบบที่เรากำลังรู้สึกอยู่
แล้ว แผ่ออกมาเรื่อยๆ ยังทั้งตำบล ทั้งเขต ทั้งจังหวัด ให้ผู้ใดก็ตามที่ได้สัมผัสกับคลื่นสีทองนี้ มีแต่ความสุขกายสุขใจ แบบที่เรากำลังรู้สึกอยู่ณขณะนี้ ยิ่งเราแผ่ความรักความเมตตาของเราออกไปเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีความสุข ความชุ่มเย็น ความอิ่มเอิบใจมากขึ้นเท่านั้น
-ให้เราแผ่คลื่นสีทองออกไปปกคลุมยังทั้งประเทศไทย ขอให้ประเทศไทยมีแต่สันติสุข ทุกๆคนมีความรักความเมตตาต่อกัน  แผ่ออกไปยังทั้งโลกใบนี้ เห็นว่าโลกใบนี้เป็นสีทอง ขอให้ทุกๆคนในโลกใบนี้มีแต่ความสุข
แผ่ออกไปยังทั่วทั้งจักรวาล แผ่ออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ แผ่ออกไปยังทุกๆทิศทาง ความรักความเมตตา ความปรารถนาดีของเรามีอย่างไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณ
-แผ่ลงไปยังทิศเบื้องล่าง ยังภพภูมิของสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก ขอให้พวกเขาพ้นจากความทุกข์โดยเร็ว มีแต่ความอิ่มใจแบบที่เรากำลังรู้สึกอยู่ ณ ขณะนี้
-แผ่ ขึ้นไปยังทิศเบื้องบน ยังภพภูมิของเทวดา พรหม ตลอดจนถึงพระนิพพาน ขอให้ทุกๆท่านทุกๆพระองค์มีแต่ความสุข ความเบากายสบายใจ ยิ่งๆขึ้นไป
-แผ่ไปยังเจ้ากรรมนายเวร ญาติๆของเรา เพื่อนๆ ใครก็ตามที่เราปราถนาให้มีความสุข
แผ่ออกไปเรื่อยๆ ยังทุกๆทิศทาง จนเราชุ่มเย็นสบายใจ
-อธิษฐานปักหมุดว่า ขอให้ข้าพเจ้าสามารถ เข้าถึงซึ่งเมตตาอัปปมาณฌาณ   คือความเมตตาอันไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณนี้ (ขอให้ข้าพเจ้าสามารถเข้าสภาวะสมาธิจิตฌานสี่ละเอียดนี้)..ได้ทุกๆครั้ง ทุกๆเวลา ทุกๆสถานที่ ที่ข้าพเจ้าต้องการ ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ)
  เป็นอันจบสมาธิเบื้องต้น ใช้เวลาประมาณ30-40 นาที ในการไล่ทำตั้งแต่ตอนต้น
พอได้แล้วครั้งนึง เราก็แค่หมั่นจับลมหายใจสบาย หรือแผ่เมตตาเป็นประจำ ไม่จำเป็นจะต้องไล่ใหม่หมดตั้งแต่ต้น
เบื้องต้นนี้เป็นการเตรียมจิตให้มีสมาธิ และพรหมวิหาร4 บริบูรณ์  เป็นพื้นจิตที่เหมาะแก่การเจริญวิปัสสนาญาณ ฝึกวิชชา3 มโนมยิทธิ กสิณ10 สมาบัติ8 กรรมฐาน40 ต่อไป ขอให้ลองทำและเจริญก้าวหน้ากันทุกๆคนนะครับ___
22082009 วันนี้, 08:02 AM              #3066 ดอกขจร
Ref.Xorce ถึงคุณ โทสะ ครับ 3. ท่านมีวิธีปฏิบัติแบบใด เช่น สวดมนต์ก่อนมั้ย ค่อยเข้าสมาธิ หรือเข้าสมาธิเลย เข้านานแค่ไหน ท่านมักเข้าสมาธิเวลาใด  ผมเน้น 
 ปฏิบัติตลอดเวลา ในทุกๆอิริยาบถครับ
และผมจะพยายามแนะนำให้ทุกๆคนฝึกปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา
และพัฒนาจิตจนไปถึงจุดที่จิตสามารถทรงอยู่ในอารมณ์ปฏิบัติได้ตลอดเวลา
  ลองพิจารณาว่า ในวันนึง เรามีเวลา24ชั่วโมง ถ้าเราจะรอตอนเวลาว่าง
เราจะปฏิบัติได้ไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง ก่อนนอน หรือตอนตื่น ซึ่งร่างกายเราก็เหนื่อยล้ามาทั้งวัน พอมาทำสมาธิก็อาจจะเพลียจนหลับได้ ซึ่งก็จะไม่เกิดผลในการปฏิบัติเท่าที่ควร
  แต่หากเราหันมามองใหม่ว่าการปฏิบัตินี้เราจะต้องทำตลอดเวลา ตั้งแต่เราตื่นจนเราหลับ
--ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเราเข้าห้องน้ำทำความสะอาดร่างกาย
เราก็พิจารณาว่า ร่างกายของเรา มีความสกปรกแบบนี้ พิจารณาทั้งภายในร่างกาย และภายนอกร่างกาย
ดูทั้งปอด ตับ ไต ลำไส้ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง
ถ้าร่างกายเราสะอาดจริง เราจะต้องมาคอยแปรงฟัน อาบน้ำทุกวันไหม -
ถ้าร่างกายเราสะอาดจริง ดีจริง เราก็ไม่ต้องอาบน้ำ ไม่ต้องแปรงฟัน ไม่ต้องขับถ่าย -  แต่เราก็ทำไม่ได้ ไม่นานร่างกายก็จะมีกลิ่นเหม็น และเกิดความสกปรก
ก็แปลว่าร่างกายนี้สกปรกจริงๆ -ความสกปรกนี้ ก็เป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย -ร่างกายของเราสกปรก ร่างกายของคนอื่นๆก็สกปรก -เมื่อจิตของเราเห็นความสกปรก อันเป็นธรรมดาของร่างกายแล้ว -จิตของเราควรที่จะปล่อยวางไม่ปรารถนาทั้งในร่างกายของเราและผู้อื่น เพราะมีความสกปรก เป็นธรรมดา เหมือนกันหมด
--พอเรารับประทานอาหาร เราก็พิจารณาว่าอาหารที่เรากินนี้ พอผ่านลำคอของเราลงไป ก็ต้องกลายเป็นของสกปรกเน่าเหม็น ที่เราไม่พึงปรารถนาอีก -แต่ของสกปรกเหล่านี้ ก่อนที่เราจะทานลงไป เราก็ไปหลงว่ามันสวย มันเป็นของดี รสอร่อย -ถ้ามันดีจริง ทำไมเราจึงไม่แม้แต่อยากจะมองอุจจาระ ปัสสาวะของตัวเราเอง -เราก็เห็นความธรรมดา ว่าของสกปรก หรือของสะอาด แท้ที่จริงก็คือของชิ้นเดียวกัน มีสภาพไม่ต่างกัน -เราไม่ควรจะไปติดทั้งในการกิน และรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส -  จิตเห็นเป็นความธรรมดาของวัตถุ ไม่รัก ของสวย และไม่รังเกียจในของสกปรก
จากนั้นก็พิจารณาต่อว่า สัตว์ทั้งหลายที่สละชีวิตให้เรากิน พ่อค้า แม่ค้า ชาวนาที่ปลูกข้าว คนเลี้ยงสัตว์ มีพระคุณต่อเรา ไม่อย่างนั้นเราก็ไม่มีข้าวกิน
ก็ให้เราตั้งจิตแผ่เมตตาความรักอันไม่มีที่สิ้นสุดไม่มีประมาณออกไปยังทั้งคนและสัตว์
–จนจิตใจของเราชุ่มเย็นเป็นสุขทานอาหารไปทรงอารมณ์เมตตาไป ประคองใจให้เป็นสุข
  บุคคลใดที่ทำกสิณได้ ภาพพระเป็นเพชรได้ ก็ตั้งจิตเพิ่ม
อธิษฐานว่า ขออาหารที่เรากินนี้เป็นอาหารทิพย์
นึกภาพให้เห็นว่าอาหารที่เรารับประทานนี้เป็นเพชร
และน้อมถวายต่อพระรัตนตรัย เพื่อให้สัตว์และคนทั้งหลายได้อานิสงค์ไปด้วย
--พอทานอาหารเสร็จ เราก็ออกมาทำงาน ระหว่างเดินทาง เราก็ประคองจิตให้เป็นสมาธิตลอดการเดินทาง การเดินทางของเราจะมีความปลอดภัย ไม่มีอุปสรรคใดๆ
--จากนั้นพอถึงที่ทำงาน เราก็ประคองสมาธิ แผ่เมตตาจนจิตใจของเรามีความสบาย
พบเจอใครก็มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส เข้าได้ดีกับทุกคน
หากพบเจอปัญหา หรือมีอารมณ์มากระทบ ก็พิจารณาว่า เป็นเรื่องธรรมดาของโลก นัตถิ โลเก อนินทิโต ผู้ไม่ถูกนินทาในโลกนี้ย่อมไม่มี พระพุทธองค์ดีอย่างหาที่สุดหาที่ประมาณมิได้ ยังมีบุคคลว่าร้ายพระองค์ เราหรือจะพ้นจากการถูกนินทาไปได้ เห็นความเป็นธรรมดา ตั้งจิตขออโหสิกรรม และให้อภัยแก่บุคคลนั้น และแผ่เมตตาไปให้เขา
  พิจารณาว่างานที่เราทำนี้ จะส่งผลให้เกิดความสุขแก่ส่วนรวม แก่ประเทศชาติอย่างไรบ้าง
ไม่มีสายงานใดที่ถ้าพิจารณาดีๆ ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น   ก็ให้เราตั้งจิตว่า การทำงานทั้งหมดของเรา เราขอทำถวายต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การทำงานทั้งหมดเป็นไปเพื่อความสุขของผู้อื่นไม่ใช่เพื่อตัวเรา ขอให้การตั้งจิตอธิษฐานนี้ เป็นปัจจัยให้สายงานที่เราทำอยู่ สร้างความเจริญรุ่งเรือง แก่ส่วนรวม และแก่ประเทศชาติด้วยเทอญ   ยอมเหนื่อยเพื่อส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อตัวเอง กำลังจิต กำลังใจของเราจะยิ่งพัฒนาขึ้นไปอีกระดับ
--พอกลับมาถึงบ้าน ก็อาบน้ำ ชำระร่างกาย ตั้งจิตว่า
นอกจากเราจะชำระร่างกายแล้ว เราจะขอชำระ จิตใจของเรา ที่อยู่กับตัวเราตลอดเวลานี้ ให้ใสสะอาด ปราศจากความมัวหมองขุ่นข้องในดวงจิต  -และตั้งจิตเข้าสมาธิ แผ่เมตตา พิจารณาในร่างกาย เพื่อชำระล้างดวงจิตของเรา
ให้ใสสะอาด สว่าง สงบจากกิเลส
ไปพร้อมๆกับน้ำที่ชำระกายและใจของเรา
--ก่อนจะนอน เราก็สวดมนต์ เจริญสมาธิ จากนั้น
เราก็ประคองจิตให้อยู่ในเมตตา ในสมาธิ ในอารมณ์พระนิพพาน จนกระทั่งเราหลับไป -ให้เราพิจารณาก่อนนอนว่า การเกิดเป็นมนุษย์ เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ -เป็นเทวดา เป็นพรหมก็สุขแค่ชั่วคราว เดี้ยวก็ต้องกลับมาเป็นมนุษย์ -ต้องมาดูแลร่างกายเฉกเช่นนี้อีก เราจะไม่พึงปรารถนาอีกต่อไป -ตั้งกำลังใจว่า หากเราตายขณะที่เราหลับไปนี้ เราจะไม่เกิดยังสถานที่ใดอีกต่อไป –เราจะไปจุดเดียวคือพระนิพพานเท่านั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานเข้าสู่ยังสถานที่แห่งใด
ข้าพเจ้าจะขอตามเสด็จองค์พระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าสู่ยังสถานที่แห่งเดียวกับพระองค์
คือพระนิพพาน เพียงจุดเดียวเท่านั้น
ถ้ากำลังใจแน่วแน่ถึงที่สุด หากเราตายขณะที่เราหลับ เราก็จะไปพระนิพพานทันที
--สรุปว่า ในวันนึง เราปฏิบัติสมาธิ เจริญจิตอยู่ในธรรม ตลอด24ชั่วโมง -การปฏิบัติของเราจะมีความต่อเนื่อง สามารถจะทรงสมาธิเป็นเดือน เป็นปี โดยไม่ถอนจากอารมณ์ก็สามารถทำได้ –การปฏิบัติของเราจะมีความก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว -ไม่ว่าเราจะตายขณะใดของวัน อย่างเลวที่สุด เราก็มีพรหมเป็นที่ไป -เพราะเราทรงสมาธิ ทรงจิตอยู่ในเมตตาพรหมวิหาร4ตลอดทั้งวัน
ขอให้ทุกๆคน ฝึกทรงอารมณ์จิตให้ตั้งอยู่ในกุศลให้ได้ทุกๆขณะจิต ทุกๆอิริยาบถ และมีพระนิพพานเป็นที่สุดในชาติปัจจุบันด้วยเทอญ __________________
06-09-2006, 07:37 PM #176 kananun
 ปิติ *
นั้นเป็นอาการของจิตก่อนที่จะเคลื่อนเข้าสู่อารมณ์
ที่ละเอียดขึ้น คือ ฌาน นั่นเอง * ปิติทั้ง 5 ได้แก่ ....*
  1.ปิติมีอาการขนลุกซู่ * เป็นอาการของปิติ ที่มีการอิ่มเอมใจ สุขใจ บางครั้งก็เกิดขึ้น เนื่องจาก สิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบน ท่านยืนยันเหตุการณ์หรือ เรื่องราวบางอย่าง  ปิติ ชนิดนี้จะมีผลทางวิทยาศาสตร์ทางร่างกาย คือ จะมีกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านจากไขสันหลังเข้าสู่  สมอง กระตุ้นให้ต่อมฮอร์โมน ที่ใต้สมองหลั่งฮอร์โมนที่มีความสุข ออกมาหลายชนิด ครับ
ปิติ ชนิดนี้มีผลดีอย่างยิ่งในการปฏิบัติสมาธิครับ วิธีรับมือ หรือ จัดการเมื่อเกิดปิติชนิดนี้ ก็คือ การกำหนดรู้
ถ้าทำให้ปรากฏได้บ่อยก็จะทำให้จิตใจสบาย มีความสุขครับเมื่อ
ปิติผ่านไป ก็ จงปล่อยวาง
แล้วเคลื่อนจิตขึ้นสู่ความละเอียดของจิตที่สูงขึ้นครับ  2.ปิติที่มีอาการตัวโยก ตัวเอียงเอนตัว *มักเกิดขึ้นเวลานั่งหลับตาทำสมาธิ  เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้จิตเกิดความสงสัย ว่าตอนนี้เรานั่งตัวเอียงตัวเอน หรือเปล่า เมื่อลืมตา ขึ้นก็จะพบว่าที่จริงตัวเราตั้งตรงอยู่ ไม่ได้เอียงแต่อย่างไร แต่ความสงสัย และ ลืมตาดูก็จะ  มีผลให้จิตถอนออกจากสมาธิ วิธีจัด การกับปิติชนินี้ก็ คือการ กำหนดรู้ว่าสิ่งที่เกิดอยู่นี้ คือ ปิติ ก็ไม่ต้องไปสงสัย + ไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องไปลืมตาดูแล้วจิตจะเคลื่อนสู่ฌาน และ อารมณ์ที่ละเอียดขึ้น  3.ปิติที่มีความรู้สึกว่าตัวพองใหญ่*หรือ จิต มารวมกันที่หัว แล้วรู้สึกว่า หัวโตขึ้นขยายขึ้นวิธีการปฏิบัติ เหมือนข้อที่ผ่านมา คือ กำหนดรู้แล้วปล่อยวางผ่านเข้าสู่สมาธิขั้นต่อไปครับ   4.ปิติที่มีอาการเหมือนมี มด หรือ แมลง มาไต่ตามใบหน้า *หรือ ตามแขนขาครับ ปิตินี้จะทำให้จิตใจเราเกิดความรำคาญหงุดหงิด และ ออกจากสมาธิลืมตาขึ้นดู  หรือลูบตามหน้าตามตัวดูแต่ก็ไม่มีตัวอะไรทั้งสิ้น ความจริงเกิดจากการที่ จิตเราเริ่มหยุดนิ่ง + ลดการทำงานของประสาทสัมผัสอื่น คือ ตา หู จมูก ลิ้น คงเหลือแต่ผิวหนังร่างกายที่ ทำให้ประสาททำงานละเอียดขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังเพียงเล็กน้อย เราก็รู้สึกได้ชัดเจนกว่าปรกติ จึงทำให้รู้สึกว่า คล้ายว่ามีแมลงไต่ตอมอยู่วิธีปฏิบัติ คือ การ กำหนดรู้ครับว่าเรารู้ว่าที่ปรากฏนี้คือปิติ เมื่อจิตเรา รู้ทัน แล้ว ปิติตัวนี้ จะไม่เกิดอีกในครั้งนั้น และ จิตจะเคลื่อนสู่ฌานที่สูงขึ้น  5.ปิติที่ทำให้รู้สึกว่าตัวเราเบาเหมือนจะลอย หรือ จะเหาะไปในอากาศ* ปิติตัวนี้เมื่อเกิดขึ้นในครั้งแรกจะทำให้ตกใจบ้าง หลงบ้าง ว่าเราได้อภิญญา แล้ว เหาะ ได้แล้ว ที่จริงเป็นปิติเป็นความดีขั้นต้นก่อนที่จิตจะยกขึ้นสู่ฌาน ดังนั้นจึง ควรกำหนดรู้แล้วปล่อยวางเพื่อให้จิตเข้าสู่สมาธิที่สูงขึ้น   สรุปแล้ว * ปิตินั้นเป็นสิ่งที่ดี และ เป็นเครื่องแสดงว่าจิตใจเรากำลังจะเข้าสู่สมาธิ ที่สูงขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้หลายๆคน ติดอยู่ในจุดนี้นาน เป็นปี ๆ ก็มี จนกว่า จะผ่านปิติไปได้ปิตินั้น ไม่จำเป็นที่ทุกคนจะเกิดปิติครบทั้ง 5 ประการ บางคนก็เกิด บางคนก็ไม่เกิดปิติอะไรเลยแต่ก็เข้าสู่ ฌาน ได้เช่นกัน บางคนได้ปิติก็เข้าใจว่าบรรลุธรรม เหาะ ได้แล้วก็มีปรากฏ * บางคนก็บอกว่าตนเอง ไม่สามารถนั่งสมาธิได้ เพราะ นั่งที่ไรก็รู้สึกว่า มี มด แมลง มาไต่มาตอมทุกครั้ง ถาม อาจารย์บางท่านท่าน ก็บอกว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวร แต่ความจริงแล้ว อาการที่ปรากฏ เป็น อาการของปิติ ถ้ากำหนดรู้ หรือ จิตรู้ ทัน ก็จะหายไปเอง เหมือน เราทำข้อสอบ หรือ ผ่านด่านทดสอบได้เพื่อการก้าวขึ้นสู่สมาธิที่ลึกขึ้นสูงขึ้นครับ  -ส่วนปิติชนิดที่ตัวสั่น *ซึ่งเป็นอาการของฌานหยาบคล้ายเวลา ฝึกมโนเต็มกำลัง *วิธีการก็ คือ ปล่อยวางจากร่างกาย อย่าไปสนใจในอาการสั่นอย่ารู้สึกว่าสั่น แล้วจะดี เพราะ เป็นการแสดงว่าจิตของเรายังมีความยึดในร่างกายอยู่อีกมาก ให้พิจารณา ในวิปัสสนาญาณให้มากขึ้นจนจิตเคลื่อนขึ้นสู่อารมณ์ที่สูงขึ้นละเอียดขึ้นครับ
16-08-2009, 10:53 PM              #3059 kananun
เรียนถามค่ะ ได้รับคำแนะนำดีดี จากน้องชัชค่ะ ว่า.. อันแรก ให้หยุด หยุดก่อน ต่อมา ให้ทำใจสบาย ๆ จับภาพพระ นึกภาพพระ .. ภาพพระองค์นี้ยิ้ม ๆ ด้วย แล้วใจเราก็ยิ้ม ๆ ด้วย ..(สมมติว่าเป็น ภาพสมเด็จองค์ปฐม ทรงยิ้ม ๆ สว่างใสเป็นเพชร แผ่ฉัพพรรณรังสี ออกไปไม่มีประมาณ) ต่อมา กราบบารมีพระท่าน เป็นประธาน ให้เราน้อมนึกถึงกระแสแห่งพระนิพพาน ความสุข ความรัก ความเมตตา โดยนึกถึงความสุข ความรัก ความปรารถนาดีนี้ มากมาย จนล้นอก ออกมา แผ่ออกไปไม่มีประมาณ รวมถึงความปรารถนาดีจากใจ..ที่น้อมกราบ..ขอบารมีพระท่านให้ทุกรูปนามทุกดวงจิตเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน .. แผ่ออกไปไม่มีประมาณ ทั้งใกล้ และไกล ปรารถนาให้ทุกท่าน ได้ตามรอยพระพุทธองค์เข้าถึงพระนิพพาน ข้อ 1. ขอความเมตตา อ.คณานันท์ แก้ไข ตามเห็นสมควรค่ะ..
ข้อแรกถูกต้องครับ
  การหยุดจิตคือการเข้าถึง เอกัตคตารมณ์ คืออารมณ์ของฌานสี่ครับ จากนั้นจึงทรงสมาธิในพุทธานุสติกรรมฐานและอารมณ์ เมตตา คือปรารถนาให้ทุกสรรพสัตว์เข้าถึง พระนิพพาน    กรรมฐานที่ได้คือ ฌานสี่(หยาบ)ในอานาปานสติกรรมฐาน พุทธานุสติ เมตตาอัปปันนาณฌาน พรหมวิหารสี่ อุปมานุสติกรรมฐานหรือ การทรงอารมณ์พระนิพพาน
เป็นการประคองจิต ทรงอารมณ์จิตไว้สูงสุดแล้วครับ

ในการสวดมนต์ที่จิตเราน้อมกราบ น้อมเคารพในพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง จะเกิดกรรมฐาน ที่ทำให้จิตของเรา ละวางจากกิเลสตัวเเรกคือ มานะทิฐิ ก่อน จากนั้นก็จะทำให้จิตเราอ่อนโยนลง -จนนอบน้อมต่อพระรัตนไตรอย่างเต็มที่อันเป็นองค์แห่งการตัดวิจิกิจฉาออกไปจากจิตใจครับ –อารมณ์จิตที่นอบน้อมเคารพต่อพระรัตนไตรอย่างเต็มที่นี่ล่ะที่ก่อให้เกิดอานิสงค์และความอัศจรรย์อย่างมากมาย  -ยิ่งเคารพในพระมากเท่าไร โอกาศที่พระท่านสงเคราะห์ก็มากขึ้นเท่านั้น -ยิ่งนอบน้อมมาก โอกาสที่มานะจิตจะฟูตัวจนเกิดวิปัสนูปกิเลสก็ลดน้อยตามไปด้วย -ดังนั้น การสวดมนต์ที่เราเน้น " อารมณ์ใจ" มีความเคารพนอบน้อมอย่างที่สุดแล้ว ผลอานิสงค์ย่อมสูงมาก รวมทั้งยิ่งสวดในอารมณ์ดังกล่าว กิเลส สังโยชน์สิบยิ่งเบาบางลง
อาการทางกายต่างๆนั้น เราไม่ต้องไปสนใจมากนัก กำหนดรู้ เป็นกายคตาก็พอ มาเน้นที่จิตเป็นสำคัญ ว่า จิตของเรา นิ่งขึ้น สงบขึ้น และสะอาด สงัดจากกิเลส มากขึ้นเรื่อยๆ
-สำหรับ การบรรลุธรรมขั้นนั้น ขั้นนี้ เราก็อย่าได้ไปสนใจครับ เพราะอาจเป็นวิปัสนูปกิเลสเอาได้
เรารู้เพียง จิตเป็นสุข ไม่มีทุกข์ รู้เท่าทัน ในความไม่เที่ยงทั้งปวง ทรงอารมณ์พระนิพพานเป็นอารมณ์ปกติของใจเราให้ตลอดเวลาเอาไว้ให้ได้ครับ
ประคองรักษาใจ เราเองให้สุขเย็นเป็นกุศล ชุ่มเย็นอยู่ตลอดเวลา จน จิตเราปราศจากกิเลส ทั้งปวง ดำรงขันธุ์อยู่โดยรู้เท่าทันทุกข์แต่ไม่ติดทุกข์
ตายเมื่อไรไปนิพพาน มีพระนิพพานเป็นที่สุดแห่งทุกข์เป็นสำคัญครับ พระอรหันต์ขีนาสพท่านหมดทุกข์ที่จะกระทบใจท่าน ดับกิเลสเครื่องเร่าร้อนจากจิตท่านหมดสิ้นแล้ว
 นิมิตร มีทั้งนิมิตรจริงและนิมิตรหลอก ครูบาอาจารย์ท่านห่วงกลัวศิษย์เกิดนิมิตรหลอกจน กลายเป็นวิปัสนูปกิเลสเอาได้ จึงได้สอนให้ไม่ต้องไปสนใจในนิมิตรต่างๆ –การกำหนดในนิมิตรที่มาปรากฏแก่จิตของเรานั้น เริ่มต้นเราต้องวางอุเบกขาในนิมิตรก่อน รับรู้รับทราบในนิมิตรโดยไม่ต้องไปยึด หรือปรุงแต่งก่อน -คือ เก็บข้อมูลเอาไว้ก่อน -จากนั้น จึงเข้าสมาธิวางจิตให้เป็นอุเบกขา และปราศจากนิวรณ์ จากนั้นใช้ปัญญาในสมาธิ ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ พิจาร ณา นิมิตรนั้นอีกครั้งโดยละเอียด เป็นการ วิเคราะห์ข้อมูลและการนำไปใช้ โดย วางหลักไว้ว่า -หากนิมิตรและสิ่งที่รู้เห็นจากนิมิตรเป็นไปเพื่อการ ละ การ ตัด การปล่อยวางกิเลส -นิมิตรนั้นหาก ยัง ศรัทธาและสร้างกำลังใจ ความเพียรในการปฏิบัติให้ยิ่งขึ้น -นิมิตรนั้นหากก่อให้เกิดปิติ ความอิ่มเอมจิตใจ ทำให้จิตเราสะอาด สว่าง สงบขึ้น -นิมิตรนั้นก็เป็นคุณ
 การนึกภาพพระในจิต-มีกุศลโลบายในการฝึกอยู่ดังนี้
หาพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงาม หรือเป็นรูปพระพุทธรูปก็ได้ จากนั้น นั่งมองด้วยอารมณ์ใจสบายๆ จนลืมตาเห็น หลับตาเห็น -หาพระพุทธรูปองค์เล็กๆหน้าประมาณ 3-4 นิ้วมา จากนั้น ปิดทองคำองค์ท่าน โดยอธิฐานว่า ด้วยอานิสงค์แห่งการปิดทองคำพระพุทธปฏิมานี้ ขอพุทธนิมิตรสถิตอยู่ในจิตของข้าพเจ้าตลอดไปตราบเท่าถึงพระนิพพานด้วยเทอญ  พยายามหาให้ได้ว่าเราชอบพระแบบไหนก่อนครับ วิธีก็คือ ดูองค์ที่เราได้เห็นภาพของท่านแล้วใจเรายิ้ม ใจเราแช่มชื่น  นี่คือหัวใจของการทรงภาพพระ ในพุทธานุสติกรรมฐานครับ
อารมณ์ใจในการปฏิบัติของเรา
  การปฏิบัติในส่วนของ สมถะกรรมฐาน นั้น อารมณ์ที่เราต้องการคือ อารมณ์จิต ที่นิ่งเป็นเอกัตคตารมณ์ อารมณ์หยุด จนจิตนิ่งลมดับเป็นฌานสี่
  อารมณ์จิต ขณะตั้งจิตอธิฐาน ต้องมีความเด็ดเดี่ยวมั่นคง ตั้งมั่น ยิ่งอธิฐานในฌานสี่ยิ่งปรากฏผล
  ส่วนอารมณ์จิตของ การเจริญเมตตา พรหมวิหารสี่ นั้น อารมณ์จิตที่เราต้องการคือ อารมณ์จิตที่มีอาการปิติสุข ชุ่มเย็นจิตใจ อาการที่จิตแผ่กระแสชุ่มเย็นออกไป เป็นสำคัญ ยิ่งแผ่ออกจิตยิ่งเย็นยิ่งอิ่มใจ มีความสุข มีความสบายใจ
  สำหรับ ส่วนของ วิปัสสนาญาณนั้น อารมณ์จิตที่ต้องการก็คือ อารมณ์จิตแรก คือให้จิตของเราน้อมรับธรรมและทำความเข้าใจ ในสัจจะธรรมความจริง จนจิตเกิดความยอมรับตามความเป็นจริง ความเป็นไปในสังขารขันธุ์ทั้งปวง -จิตพร้อมยอมรับความเป็นจริง ในกฏไตรลักษณ์ อย่างแท้จริง –อารมณ์จิตต่อไปก็คือ -ความรู้สึกรู้เท่าทันในสังขาร รู้เท่าทันในทุกข์ รู้เท่าทันในกิเลสทั้งปวง ว่าแท้จริงมันเป็นอย่างนี้หนอ เมื่ออารมณ์จิตนี้ปรากฏ
-จิตเราก็จะเกิดปัญญามองเห็นในไตรลักษณ์ว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนมีเกิด มีเสื่อม มีสลาย หาแก่นสารไม่ได้ หากไปยึด ไปผูกก็ก่อให้เกิดทุกข์ และแท้จริงเราทุกข์เพราะเราไปมีอุปทานว่า เป็นเรา เป็นของเรา เมื่ออุปทานคลายตัวเข้าใจในสมมติได้
-อารมณ์จิตก็จะเกิด นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายใน การเวียน ว่ายตาย เกิด เบื่อหน่ายในการดิ้นรนจนเกินไปในทางโลก จนที่สุดจิตเกิดความเบื่อหน่ายรู้ทันในร่างกายขันธุ์ห้า จนจิตเริ่มปล่อยวางไปทีละน้อย
  อารมณ์จิตนี้เป้น อารมณ์จิตที่รู้เท่าทัน รู้แล้วละ รู้แล้วคลาย รู้แล้ววาง ดังนั้นสภาวะจิตดังกล่าวจะยิ่งผ่องใส ไม่เศร้าหมอง หรือมีอารมณ์จิตที่รังเกียจคิดทำลายทำร้ายร่างกายชีวิตของตนเองแต่ประการใด
  ดังนั้นอารมณ์จิตในการปฏิบัติในทุกอารมณ์ หากเราสังเกตุจากการปฏิบัติและครูบาอาจารย์ ดูแล้ว   จิตท่านจะมีความสบาย ความเบา ความผ่องใส ปรากฏในจิตเป็นปกติ  แม้สภาวะทางกายท่านอาจมีความลำบาก บำเพ็ญเพียรสูงแต่ ท่านก็รักษาจิตของท่านให้ทรงอยู่ในอารมณ์ที่ผ่องใสอยู่ตลอดเวลา  -ดังนั้นหากเราพิจารณาดูให้ดี เน้นอารมณ์จิตที่ควรเน้น ในสภาวะธรรมที่เราพิจารณาอยู่ในขณะนั้น ให้เข้าถึงกลางใจของเราอย่างเต็มอารมณ์ได้แล้ว เราย่อมมีความก้าวหน้าในธรรมปฏิบัติไปได้มาก
 กำลังใจในการทำความดี -การทำความดี สร้างบุญ เพื่อการสละ การละความโลภออกไปจากจิตใจ ขอให้ทำความดีเพื่อความดี -การทำความดี เพื่อความดีของผู้อื่น อันหมายถึง การทำความดี กุศลของเราที่เราต้องเหนื่อยยาก ใช้ความอุสาหะ วิริยะ ปัญญา สรุปรวมใน บารมีสามสิบทัศน์นั้น เราทำโดยไม่ได้สนใจอานิสงค์ของตนเอง แต่เรปรารถนาให้เกิดอานิสงค์ต่อผู้อื่นให้เขาเหล่านั้นเป็นปัจจัยให้เข้าถึงซึ่งความดี ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และมีพระนิพพานเป็นที่สุด  การทำความดีเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าถึงความดีนั้น ต้องใช้กำลังใจสูงมาก เรียกว่า อานิสงค์เพื่อตนเองเราไม่สนใจ ปรารถนาให้บารมีผู้อื่น กำลังใจผู้อื่น ความดีของผู้อื่นสูงขึ้น เข้าใกล้พระนิพพานขึ้นเป็นสำคัญ
 อภิญญาของฝ่ายกุศล นั้น การฝึกนั้น ยากกว่า ใช้กำลังใจสูงกว่า มีกฏ(ศีล) เป็นเครื่องควบคุม
แต่เมื่อปรากฏแล้ว ก็ย่อมเกิดทั้งอิทธิฤทธิ์และบุญญฤทธิ์ขึ้นพร้อมๆกัน มีสุขคติภูมิเป็นที่ไป ฤทธิ์ที่ได้ยังประโยชน์ สร้างศรัทธาให้แก่ส่วนรวม เพราะเป็นไปเพื่อการช่วยเหลือ การสงเคราะห์ส่วนรวม เป็นสำคัญ
อภิญญาฝ่ายกุศล เริ่มต้น ตั้งแต่การตั้งกำลังใจ ในการฝึกของเราเอง ว่า
"เรายอมเหนื่อย ยอมยากลำบากพากเพียร เพื่อให้ได้อภิญญามาเพื่อช่วย สงเคราะห์ผู้คนด้วยเมตตาจิต ในยามเกิดภัยพิบัติ" อันเป็นการทำความดีเพื่อให้ เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้เป็นสุข (เป็นเหตุให้การฝึกยากและนาน เพื่อทดสอบตัวตนของเรา ว่า เป็นทองแท้หรือไม่)
กำลังบารมี อิทธิฤทธิ์ ต่างๆเกิดขึ้นด้วย กำลังและ บารมีพระท่านมาเมตตาสงเคราะห์ ดังนั้น ยิ่งฝึกยิ่งใช้ ความตั้งมั่นในไตรสรณะคมม์ยิ่งมากเพิ่มขึ้น (อย่าลืมว่าไตรสรณะคมม์คือ องค์แห่งพระโสดาบันในการละวิจิกิจฉา อันเป็นสังโยชน์สองในสังโยชน์สิบ ในการเข้าสู่ความเป็นพระอริยะเจ้า)
และยิ่งสงเคราะห์มากเท่าไร บุญฤทธิ์ยิ่งเพิ่ม ยิ่งเข้มข้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ตามลำดับ  การใช้ฤทธิ์นั้นหาก เราวางกำลังใจผิด ผลแห่งฤทธิ์ก็จะไม่ปรากฏ ดังนั้นเราก็จะยิ่ง ขัดเกลา ระมัดระวัง จิตเราเพิ่มขึ้นไปตามลำดับ  -การใช้ฤทธิ์เป็นการสงเคราะห์ ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน หรือเพิ่มกิเลส เพิ่มโมหะ เพิ่มมานะแต่อย่างไร ดังนั้นท่านที่ได้จริง ท่านก็จะถ่อมตัว ท่านว่า ท่านไม่มีอะไร เป็นบารมีพระบ้าง ท่านไม่เก่ง (ซึ่งท่านก้าวข้ามระดับที่ใช้กำลังตนเองไปแล้ว และเป็นเหตุผลว่า ทำไม ท่านเหล่านี้ ท่านจึงต้องถาม "พระ" ตลอด เสมอมา ทรงภาพพระให้ได้อยู่ตลอดเวลา)
  ดังนั้นเมื่ออภิญญาใหญ่เข้าเต็มอัตรา ท่านก็ใช้การอธิฐานฤทธิ์โดยตรงกับพระที่ปรากฏในจิตท่าน ก็เกิดผลทันที
 ขอสัมมาอภิญญาจงรวมตัวกันในจิตของทุกท่านที่ตั้งเอาไว้ดีแล้ว ในกุศลจิต มี สัมมาทิฐิเป็นต้น มีพระนิพพานเป็นที่สุด เพื่อยังประโยชน์ไว้ใน พระพุทธศาสนาให้ดำรงตราบเท่า 5000 ปีด้วยเทอญ

 

 

 

 

 

 

 




Create Date : 04 ธันวาคม 2558
Last Update : 4 ธันวาคม 2558 13:58:58 น. 0 comments
Counter : 993 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

doraeme
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add doraeme's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.