ท่านทั้งหลายจงดูดาบสผู้มีตบะอันรุ่งเรืองนี้
ดาบสนี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า
ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยกับเศษแสนกัปนับแต่นี้

... บล็อคง่ายๆ ของนายอังคาร ...

Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
10 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
ทอดกฐินวัดป่า ภาค ๒


เสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา (๖-๗ พฤศจิกายน)
ไปทอดกฐินที่วัดป่าเป็นครั้งที่สองปีนี้ แต่ไม่ใช่วัดเดิมเพราะวัดหนึ่งทอดกฐินได้แค่ปีละครั้งเท่านั้น ครั้งนี้เป็นวัดสวนป่าสิริธโร อ.วังน้ำเขียว
วัดสวนป่าสิริธโร เป็นวัดสร้างใหม่ อยู่ที่ อ.วังน้ำเขียว แต่ขึ้นทางเขาใหญ่จะสะดวกกว่า
ประวัติสั้นๆ คือ มีผู้บริจาคที่ดินให้ แล้วหลวงปู่สาครก็มาดำเนินสร้างเป็นวัดป่าตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อน จุดประสงค์เพื่อให้เป็นที่ภาวนาของภิกษุ และรองรับสามเณรภาคฤดูร้อนจากวัดป่ามณีกาญจน์ที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกปี




ไปครั้งนี้มีผู้ฝากปัจจัยทำบุญเพิ่มมา ๓ ท่าน ก็จัดการเตรียมชุดทอดกฐินเพิ่มให้โดยเฉพาะ
คือ ผ้ามัสลินสีขาว ๒ พับ ด้ายผ้าฝ้ายสีขาวหลอดใหญ่
เข็มจักรเย็บผ้าสำหรับจักรธรรมดาและสำหรับจักรอุตสาหกรรม
สีย้อมจีวรสีทองและสีกรัก
ของพวกนี้ผู้ที่ฝากทำบุญมาจะได้รับอานิสงส์เหมือนกับการถวายสังฆทาน
พร้อมได้รับอานิสงส์พิเศษเพิ่มขึ้นตามที่เคยอ่านพบ คือ
การถวายผ้าทำให้ได้บวชโดยวิธีเอหิภิกขุ
แต่ถ้าเป็นหญิงจะได้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์อันมีค่ามากเหมือนนางวิสาขา
เข็มเย็บผ้าทำให้ได้พระขรรค์วิเศษแบบพระเจ้าชมพูบดี
ส่วนสีจำไม่ได้ว่าในพระไตรปิฎกว่าไว้อย่างไร แต่คงทำให้เกิดมาได้พบแต่สิ่งสวยๆ งามๆ ทำนองนั้น (มั้ง)
อานิสงส์นี้เป็นเพียงอานิสงส์พื้นๆ เพราะพระพุทธเจ้าปทุมุตตระตรัสว่า
ผู้ใดถวายกฐินย่อมได้เป็นเศรษฐี ท้าวพระยา มหากษัตริย์ เป็นอย่างต่ำ
แม้ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็สัมฤทธิผล



วันเสาร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ออกเดินทางก่อนวันงาน ๑ วัน โดยออกจากบ้านตอนเที่ยงครึ่ง
ไปกันสองคนพ่อลูก คู่แชมป์แรลลี่สาธิตเกษตรสัมพันธ์ กรุงเทพ-เขาใหญ่ เมื่อ ๘ ปีก่อน
แต่ไปคราวนี้มัวแต่โอ้เอ้ กว่าจะถึงวัดปาเข้าไปสี่โมงครึ่งกับระยะทางแค่ ๒๒๐ กม.
ไปถึงจอดรถหน้าศาลาใหญ่ พบพระอาจารย์กฤษณ์กับอาจารย์โตอยู่ตรงนั้นพอดี
เข้าไปกราบท่าน ท่านถามว่าณัชมาด้วยหรือเปล่า (ถามแบบนี้เพราะท่านรู้ว่าเห็นพ่อก็ต้องเห็นลูก ขณะที่เห็นลูกอาจไม่เห็นพ่อ) เรียนท่านว่าน้องณัชบ่นว่าเมารถ วิ่งเข้าโรงครัวไปหามาม่าแล้วครับ
ท่านคงเห็นว่ามาหิวๆ เลยยกรากบัวเชื่อมมาให้ กินเข้าไปครึ่งถ้วยจึงค่อยถามว่าวันนี้ถือศีลแปดกินรากบัวได้หรือ ท่านหัวเราะบอกว่าได้สิ เป็นยา อันนี้พระก็ฉันอยู่

แหม.. อยากได้ยาแบบนี้สักชาม

เรื่องยาหรือคิลานเภสัชนี่เคยสงสัยว่าบางอย่างมันเยอะจนเหมือนเป็นอาหารมื้อใหญ่ อย่างเช่นพวกปรมัตถ์ห่อใบชะพลูก็เหมือนเมี่ยงคำเอามากๆ และวันนี้ก็เป็นรากบัวเชื่อม ถามท่านว่าไม่อาบัติหรือ ท่านว่าอยู่ที่ใจว่าตอนฉันน่ะคิดอะไร คิดว่าเป็นเภสัชฉันเป็นชามก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าคิดว่าฉันแก้หิวก็อาบัติทุกคำกลืน




ศาลาหลังใหญ่วัดสวนป่าสิริธโรวันนี้ปูพื้นไม้เสร็จเรียบร้อย ใหม่เอี่ยมอ่อง กว้างขวาง
พื้นศาลาเงาวับ แต่ก็คว้าไม้ถูพื้นไปช่วยถูศาลากันอีกรอบ ถูไปไถมาสักพัก
ก็มีคนมาขอไม้ถูพื้นน้องณัชไปถูบ้าง บอกว่าอยากมีส่วนร่วมทำบุญด้วย
ผมก็เลยยกไม้ถูพื้นให้น้องณัชไป ส่วนตัวเองนั่งพักเหนื่อย
(เหนื่อยเพราะแก่ ไม่ใช่เหนื่อยเพราะถูพื้น)




มีเวลาว่าง ครูบาอุยบอกว่าลองขับรถไปเที่ยวหลังวัดดูสิ จะได้ดูอะไรรอบๆ
ด้านหลังมีกุฏิอยู่หลายหลัง แต่ละหลังอยู่ห่างกันมาก ที่พิเศษคือกุฏิทุกหลังมีหลังคาครอบทางเดินจงกรมด้วย เป็นอันว่าฝนตกฟ้าร้องพระท่านก็เดินจงกรมได้ไม่มีปัญหา




กุฏิหลังนี้อยู่ไกลสุด มองลอดช่องออกไปจะเห็นศาลาหลังใหญ่อยู่ไกลๆ
ไกลมาก
แถมเดินขึ้นเนินอีกต่างหาก เดินทุกวันสุขภาพแข็งแรง




ในพื้นที่วัดมีต้นไม้ใหญ่หลายต้นอยู่ห่างๆ กัน เดาเอาว่าน่าจะเป็นต้นยางนา
แต่ที่พันอยู่นี่น่าจะเป็นเถาวัลย์ ส่วนพื้นที่ว่างที่ยังเป็นหญ้าและพืชล้มลุกก็เริ่มเอาไม้ใหญ่มาลง
วันหน้าเมื่อต้นไม้ใหญ่โตเต็มที่แต่ละกุฏิคงมองไม่เห็นกัน




ใกล้ค่ำแล้ว มานั่งพักอยู่หลังอาคารก่อสร้างดูพระอาทิตย์ตกเขา เล็งเอาไว้ว่าเดี๋ยวจะกางเต้นท์นอนตรงนี้
ยังไงก็ขอให้มีหลังคาหลบน้ำค้างหน่อย มีบางคนมาจับจองที่กางเต้นท์นอนกันแล้ว
ครูบาอุยถามว่ามีที่นอนหรือยัง เรียนท่านว่าคงกางเต้นท์นอนแถวนี้แหละครับ
ท่านบอกว่าหนาวนะ กลางคืนอุณหภูมิ ๑๖-๑๗ องศา
ได้ยินว่าหนาวเลยเปลี่ยนใจ ขอเข้าไปกางเต้นท์นอนในศาลาหลังยาวที่พักพระอาคันตุกะดีกว่า
ท่านก็ว่าได้ ที่ว่างเยอะแยะ กางเต้นท์เสร็จก็รีบไปอาบน้ำตั้งแต่ ๖ โมงเย็น
น้ำเย็นเจี๊ยบเหมือนอาบน้ำแช่น้ำแข็ง
อาบน้ำเสร็จน้องณัชมาบอกว่าส่วนใหญ่ที่มาพักกันคืนนี้เขาไม่อาบน้ำกันนะ

อืมม.. หาเรื่องจะไม่อาบน้ำล่ะสิพ่อหนุ่ม




คืนนี้มีคนมาวัดราวร้อยคนเศษ ส่วนใหญ่น่าจะตามหลวงปู่มาจากกรุงเทพ
บางคนหน้าตาท่าทางบอกว่าเป็นคนแถวนี้ แต่คงเพิ่งมาเป็นครั้งแรก จึงคว้าหนังสือสวดมนต์มาถามผมว่าคืนนี้สวดหน้าไหน ผมก็เปิดให้ดูว่าหน้าทำวัตรเย็นทั้งหมด จากนั้นก็เป็นพระสูตรซึ่งกระโดดไปกระโดดมา เอาแน่เอานอนไม่ได้แล้วแต่ครูบาอาจารย์ท่านจะนำไป
แต่ปรากฏว่าคืนนี้หลวงปู่ไม่ได้นำทำวัตรเย็น แต่ท่านสวดพระปริตรบอกว่าเรามาฉลองศาลากัน ศาลาหลังนี้เพิ่งจะเสร็จหมาดๆ เงินญาติโยมที่ทำบุญมากันทั้งนั้น ใครจะสวดไปพร้อมกันก็ได้ หรือใครจะนั่งสมาธิไปก็ได้

เริ่มต้นก็อาราธนาศีลกันก่อน ปกติที่เป็นวันพระอย่างนี้ถ้ามีการอาราธนาศีลก็จะเป็นศีล ๘
แต่สงสัยวันนี้ป้าหนึ่งจะไม่ได้รักษาศีล ๘ (มั้ง) เลยอาราธนาแค่ศีล ๕
แล้วอาราธนาพระปริตรด้วยทำนองสรภัญญะ
เสียงป้าหนึ่งเพราะมาก น่าจับมาสวดมนต์บันทึกใส่แผ่น CD จริงๆ

จากนั้นอาจารย์อำนวยก็สวดชุมนุมเทวดา พอจบผมก็ถือโอกาสทำตามคำหลวงปู่
คือนั่งสมาธิ
แต่วันนี้สมาธิดีเหลือเกิน เพราะเผลอนั่งหลับไปหน้าตาเฉย
รู้สึกตัวอีกทีตอนพระท่านสวดธรรมจักรไปถึงพรหมโลกแล้ว ขณะที่ป้าวรรณถามวันรุ่งขึ้นว่า
เมื่อคืนพระสวดธรรมจักรบทเต็มหรือบทย่อ เพราะป้าวรรณหลับตอนท้าย

อ้าว.. นึกว่าเราเพลียจนหลับไปคนเดียวเสียอีก

พอสวดมนต์จบหลวงปู่สาครก็เทศน์ ตามกำหนดเดิมต้องเป็นหลวงปู่อุทัย ไม่รู้เหมือนกันว่าท่านไปติดกิจที่ไหน หลวงปู่สาครจึงเทศน์เอง

คืนนี้หลวงปู่เทศน์ว่า...
ให้พวกเราหมั่นกันสวดมนต์ รักษาศีล ภาวนา พวกเราอย่ากลัวรวย เพราะกิจอย่างนี้เป็นปัจจัยให้รวยได้ แต่คนส่วนใหญ่ไม่เอากัน กลัวว่ารวยแล้วจะบริหารทรัพย์ไม่ได้ แต่พวกเราเข้ามาปฏิบัติกันแล้วรักษาได้ ให้หมั่นทำกันไว้

ยิ่งดึกอากาศยิ่งเย็น หลวงปู่จึงให้นำผ้าห่มมาแจกจ่ายกัน หลายคนเอามาคลุมหัวเข่ากันยุง บางคนห่มกันหนาว เด็กบางคนห่มคลุมโปงนอนฟังเทศน์หลับไปเลย




ห้าทุ่มกว่าลุกออกมานอกศาลา เห็นพวกโรงทานนอนกางเต้นท์กันอยู่ ท่าทางจะหนาว
เลยเอาผ้าห่มไปแจกให้ ใครได้ผ้าห่มไปไม่พอกันหนาวก็ให้เอาไปเพิ่มเพราะผ้าห่มเขาทอมาบางนิดเดียว คงต้องซ้อน ๔ ชั้นแหละมั้งจึงจะพอหายหนาว
แจกเสร็จก็แอบหนีไปนอนเลย เพราะคิดว่าหลวงปู่คงจะเทศน์ยาว และหลังๆ ท่านเทศน์ประวัติความเป็นมาของการสร้างวัดซึ่งฟังบ่อยแล้วเลยไปนอนดีกว่า รุ่งเช้าน้องณัชบอกว่าหลวงปู่เทศน์ต่ออีก ๑๕ นาทีเอง




เช้าตื่นตั้งแต่ก่อนพระทำวัตรเช้า แต่ขี้เกียจลุกเพราะยังอาลัยอาวรณ์กับผ้าห่ม
ออกมาอีกทีตอน ๖ โมงเช้า มาช่วยตั้งเก้าอี้สำหรับนั่งรอใส่บาตรด้านหน้าศาลา




พวกในโรงครัวก็วุ่นวายกับการเตรียมอาหาร
พวกโรงทานก็เหมือนกัน ก่อนจะทำทานก็ทำอาหารถวายพระกันก่อน




โรงทานวันนี้มีหลายเจ้าและมีอาหารหลายอย่าง บางเจ้ามาจากกรุงเทพ บางเจ้ามาจากโคราช และบางเจ้าเดินสายกลับมาจากวัดป่าบ้านตาด
สำหรับเจ้านี้ต้องขอไปดูใกล้ๆ เพราะไม่รู้จัก เขาบอกว่าเป็นข้าวจี่




พอเริ่มสายญาติโยมที่นอนค้างวัดก็เริ่มมาจับจองที่นั่งใส่บาตรกันที่ต้นขบวน
ใครมาทีหลังก็มายืนต่อแถวไกลออกไปจนครบวง




วันนี้ป้านงยิ้มแย้มแจ่มใสตักข้าวสวยใส่ถ้วยสำหรับให้ญาติโยมเอาไปใส่บาตร
ปากก็ร้องเชิญค่ะๆ ข้าวสวยใส่บาตร
ป้านงทำร้านต้นไม้อยู่ใกล้วัดป่ามณีกาญจน์ ที่นนทบุรี สวนต้นไม้เล็กๆ กระจุ๋งกระจิ๋งในวัดป่ามณีกาญจน์ส่วนใหญ่จะเป็นฝีมือป้านงทั้งนั้น วันนี้มาไกล ตั้งใจมาร่วมทอดกฐินโดยเฉพาะ ปกติป้านงไม่ค่อยยิ้ม แต่วันนี้บอกว่าดีใจได้มาทำบุญ เลยอารมณ์ดีให้คนโน้นคนนี้ถ่ายรูปให้หน่อย

เรื่องการใส่บาตรแบบนี้ บางคนสงสัยว่าได้บุญหรือ ในเมื่อข้าวก็ไม่ใช่ข้าวของเราสักหน่อย
ตอบว่าได้ครับ และมีคนที่มีส่วนร่วมในการได้บุญเยอะมาก ทั้งคนที่นำข้าวสารมาถวายวัด คนหุงข้าว คนตักข้าว คนนำข้าวไปใส่บาตร คนเก็บหม้อเก็บชามไปล้าง เรียกว่าได้บุญร่วมกันเป็นคณะใหญ่ ใครมีโอกาสได้ทำแบบนี้จะได้ร่วมขบวนเดินทางไกลในสังสารวัฏฏ์ไปด้วยกันเป็นหมู่คณะ ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันไปจนกว่าจะทะยอยขึ้นฝั่งกันจนหมด




เจ็ดโมงกว่าหลวงปู่สาครก็เดินนำแถวพระภิกษุออกมาบิณฑบาต
พรรษานี้วัดสวนป่าสิริธโรมีพระภิกษุปวารณาจำพรรษาแค่ ๗ รูป แต่ที่เห็นเยอะเพราะมีมาสมทบจากวัดป่ามณีกาญจน์ วัดเวฬุวัน และวัดวาชูคุ อย่างหลวงปู่สาครปีนี้อยู่อำนวยการก่อสร้างวัดนี้เป็นส่วนใหญ่ แต่ท่านจำพรรษาที่วัดเวฬุวัน อ.ทองผาภูมิ ไม่ใช่จำพรรษาที่วัดนี้
บางคนหายไปนานเพิ่งจะได้โอกาสมาทำบุญ หลวงปู่และครูอาจารย์เดินรับบาตรไปจึงสนทนาทักทายไปด้วย ส่วนบางคนมาวัดบ่อยๆ แต่พระท่านหายไปอยู่วัดอื่น ก็กลายเป็นญาติโยมทักทายปราศัยถามความเป็นอยู่ของท่านแทน
ส่วนผมก้มหน้าก้มตาใส่บาตรไม่มองเลยว่าท่านเป็นใคร ส่วนน้องณัชนั้นรู้จักครูบาอาจารย์เกือบทั้งหมดก็จะถามว่าเห็นอาจารย์นั่นไหม เห็นครูบานี่ไหม ได้แต่ตอบว่าไม่เห็น ไม่ได้มอง !!




ใส่บาตรเสร็จก็กลับขึ้นศาลา ในบาตรมีแต่ข้าวสวย ส่วนกับข้าว ของหวาน และผลไม้ทั้งหลาย ประเคนกันในศาลา ธรรมเนียมใส่บาตรพระวัดป่าเป็นอย่างนี้ครับ





นึกขึ้นได้เรื่องหนึ่ง คือ เคยถามอาจารย์กฤษณ์ว่าเวลาไปอยู่ที่วัดวาชูคุซึ่งอยู่ในทุ่งใหญ่นเรศวรนั้น ชาวกะเหรี่ยงเขาใส่บาตรด้วยอะไร ท่านว่าข้าวเหนียวก็มี ข้าวสวยก็มี ถามท่านว่าแล้วกับข้าวล่ะ คือถามเพราะอยากรู้ว่าชาวบ้านเขากินอะไรกัน อาจารย์ท่านว่าไม่มีกับข้าว สงสัยไม่มีใครบอกว่าพระก็ฉันกับข้าวเหมือนกัน แล้วท่านก็หัวเราะ ท่านว่ากับข้าวต้องพึ่งอาหารแห้งที่ญาติโยมมาถวายที่วัดป่ามณีกาญจน์หรือที่วัดเวฬุวันนี่แหละขนเข้าไปเก็บไว้ที่โรงครัว แล้วก็มีแม่ครัวคอยทำมาถวายอีกทีหนึ่ง ถ้าหมดก็อด ต้องฉันข้าวเปล่า เห็นแว๊บๆ ว่าวันนี้ครูบาบอยออกจากวัดวาชูคุมาร่วมพิธีรับกฐินด้วย ไม่ได้ถามท่านว่าเดี๋ยวนี้กะเหรี่ยงใส่บาตรมีกับข้าวหรือยัง




เมื่อพระขึ้นนั่งประจำที่บนอาสนะ ก็เริ่มประเคนจังหัน วางบนรถเข็นผ่านหน้าไป พระท่านก็จะตักอาหารไว้อย่างละนิดอย่างละหน่อย พระท่านฉันในบาตรครับ ไม่ได้ใส่ถ้วยชามแล้วนั่งล้อมวง ถ้าตามพระวินัยดั้งเดิมจริงๆ ฉันแบบล้อมวงนี่จะผิดพระวินัยครับ เว้นแต่รับกฐินแล้วจึงจะนั่งฉันแบบล้อมวงได้จนถึงเดือน ๔




อาหารมากมายถูกลำเลียงออกมาเตรียมไว้ให้ญาติโยม จะเห็นว่าแต่ละอย่างแทบจะไม่ยุบเลย แต่ถ้าไปดูในบาตรพระ จะเห็นว่าแต่ละบาตรนี่เกือบล้นนะครับ ไม่ใช่ว่าท่านตักเยอะ ท่านตักอาหารแค่อย่างละช้อนก็เกือบเต็มบาตรแล้ว และส่วนใหญ่ท่านจะตักอาหารทุกอย่างด้วย ท่านว่าเขาถวายมาแล้วก็ต้องฉัน บางคนชอบมองตามอาหารที่ตัวเองถวายด้วยว่าพระรูปไหนตักบ้าง ถ้าไม่เห็นพระตักก็จะเสียใจ พระท่านเลยตักเกือบจะหมดทุกรายการ
เรื่องการตักอาหารนี้ เคยเห็นความเมตตาของหลวงปู่ท่อน บางครั้งมีญาติโยมนำอาหารมาถวายช้าตอนที่พระท่านกำลังจะให้พรอยู่แล้ว หลวงปู่ท่อนนั่งหัวแถว ท่านจะตักอาหารนั้นใส่บาตรเยอะมาก และพูดดังๆ ว่าตักเยอะๆ พอตักเสร็จก็สวดให้พรเลย ไม่ส่งอาหารนั้นต่อไปให้พระรูปอื่น แต่เพียงเท่านี้คนนำอาหารมาก็ใจพองโตที่สุดแล้ว




ด้านหน้าศาลามีตู้รับปัจจัยทำบุญ หรือใครอยากจะปักต้นกฐินก็ตามสะดวก




เห็นผู้ชายคนนี้แล้วนึกถึงมหาทุคตะที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ตัวเองหาได้น้อยและยากจน แต่มีศรัทธาสละทรัพย์เพื่อทำบุญ บางคนอาจจะคิดว่าแค่ ๒๐ บาทเอง แต่เชื่อเถอะว่าเขาน่าจะได้อานิสงส์มากกว่าใครในศาลาเพราะ ๒๐ บาทของเขามีค่าเท่ากับชีวิต ส่วนของเราพันบาทมีค่าแค่น้ำมันรถ
สาธุ.. แอบอนุโมทนาแบ่งบุญด้วยคน




แถวหลังนี่เป็นญาติโยมเหมารถมาจากทองผาภูมิ เพิ่งเดินทางมาถึงเมื่อเช้ามืด
ถวายจังหันเสร็จพระท่านก็ให้พร แล้วก็แยกย้ายกันทานอาหารรองท้อง




ทานอาหารเสร็จก็ทยอยกลับเข้าไปนั่งในศาลาเพื่อถวายกฐินร่วมกัน
อัฐบริขารและผ้ากฐินเตรียมไว้ข้างหน้า




ก่อนอื่น หลวงปู่ให้ถวายพระประธานร่วมกันก่อน ป้าหนึ่งกล่าวนำบูชาพระรัตนตรัย
ป้าหนึ่งอายุไม่มากเท่าไหร่หรอกครับ ผมเรียกป้าแทนเด็กๆ เพราะบางทีป้าหนึ่งก็เรียกตัวเองกับเด็กๆ ว่าพี่บ้าง ป้าบ้าง บางทีก็ยาย เรียกว่ามีหลายวัยในตัวเอง เป็นนักภาวนาที่มีอาศรมส่วนตัวสุดหรูอยู่หน้าวัดสวนป่าสิริธโร หรูเพราะหลังคาและฝาผนังเป็นสังกะสีทั้งหมด คงไม่มีอะไรหรูกว่านี้อีกแล้ว เวลาอยู่วัดป่ามณีกาญจน์ก็ยึดโรงไฟฟ้าเป็นอาศรม





ตั้งใจถวายพระประธานร่วมกัน




ถวายพระประธานแล้วหลวงปู่บอกว่าใครอยากได้สายสิญจน์ก็เอาไป
สายสิญจน์นี่เขาเชื่อกันว่าต้องดึงเอา ห้ามตัด แต่สายสิญจน์ยี่ห้อนี้เหนียวสุดๆ ดึงไม่ขาด
สุดท้ายก็ต้องตัดจนได้
ด้านหลัง พ่อหนุ่มป๋องช่างจัดดอกไม้มากฝีมือเดินบริการรับปัจจัยทำบุญกฐิน เมื่อคืนก็อยู่จัดดอกไม้และโต๊ะเครื่องกฐินจนดึก บอกว่าปีหนึ่งได้มาจัดดอกไม้งานบุญไม่กี่ครั้งต้องทำให้เต็มที่ บอกผมว่าเดี๋ยวไปเจอกันต่องานต่อไปที่วัดเวฬุวัน
ไม่ไหวครับท่าน ขี้เกียจขับรถ วัดเวฬุวันผมฝากผ้ากฐินไปกับป้าวรรณแล้ว




หลวงปู่ให้แต่ละคนนำผ้าขาวมาไว้กับตัว มองหาน้องณัชเขาก็ก้มหน้าหลบอยู่ข้างหลวงปู่โน่น บอกว่าไม่อยากถวายผ้า มีงานอื่นต้องทำอีกเยอะ เลยวางผ้าไว้ตรงหน้าก่อนแล้วกัน ฝีมือจัดพานของพ่อหนุ่มป๋องเหมือนกัน มีเฉพาะผ้าขาว ส่วนบริวารวางไว้ที่โต๊ะกลาง แต่ก่อนถวายวิ่งไปเอาด้ายกับเข็มเย็บผ้ามาถวายด้วย




กล่าวคำถวายกฐินร่วมกันแล้วก็ทยอยกันเข้าไปถวายผ้า ผ้าที่นำเข้าพิธีจะเอาเฉพาะผ้าขาวครับ เพราะกฐินนี่ต้องมีการ ตัด-เย็บ-ย้อม ถ้าใช้ผ้าไตรจีวรสำเร็จกระบวนการเหล่านี้จะหายไป




หมดผ้าขาวแล้วมีที่ว่างอีกนิดหน่อยก็ให้เอาผ้าสีถวายไปบ้างไม่กี่ชิ้น




เริ่มทำพิธีอุปโลกน์กฐิน
พิธีนี้ปกติวัดอื่นพระท่านจะยกผ้าแอบไปทำกันในอุโบสถ แต่วัดป่าท่านรับตรงนี้ก็อุปโลกน์กันตรงนี้เลย




ผ้ากฐินทั้งหลายเหมือนมาจากฟากฟ้า คณะสงฆ์ขอถวายให้พระอาจารย์มณีครับ




ตามไปดูพระท่านตัดผ้ากฐินหน่อยครับ
มีคนถวายจักรเย็บผ้าใหม่ให้ด้วยหลังหนึ่ง พระท่านฉลองศรัทธาด้วยจักรใหม่ แต่พระหนุ่มๆ ไม่ชำนาญจักรแบบนี้นัก ต้องโทรถามอาจารย์เวทย์ก่อนว่าใช้ยังไง

สำหรับท่านที่ฝากผมถวายกฐิน ด้ายม้วนโตบนจักรนั่นคือด้ายของท่านครับ
เจอม้วนโตๆ แบบนี้พระท่านชอบใจว่าไม่ต้องเปลี่ยนด้ายกันบ่อยๆ
ผ้าขาวทั้งหมดหลวงปู่บอกว่าจะนำไปแจกจ่ายพระประมาณร้อยรูปที่อยู่ในป่า ซึ่งแต่ละที่มีพระไม่พอรับกฐิน หรือบางที่พอรับกฐินแต่ไม่มีใครบุกป่าฝ่าดงเข้าไปถวาย ก็ได้ผ้าพวกนี้แหละที่นำไปตัดเป็นผ้าไตรจีวรชุดใหม่ที่อาจจะเก่าหรือขาดแล้ว พระป่าท่านไม่ค่อยเปลี่ยนผ้ากันเท่าไหร่นัก ท่านมักจะปะชุนของเก่าใช้ไปก่อนจนเห็นท่าจะไม่ไหวนั่นแหละจึงเปลี่ยน วันก่อนอาจารย์เวทย์ก็ถอดรัดประคดเอวให้ดู บอกว่านี่เป็นรัดประคดเก่ามรดกตกทอดจากพระรูปอื่น ท่านใช้มา ๑๗ ปีแล้ว ยังใช้ได้ดีไม่คิดจะเปลี่ยน ถ้าเป็นชาวบ้านอย่างเรา เข็มขัดเส้นหนึ่งเราใช้กันกี่ปีเนี่ย ?



กลับจากวัดสวนป่าสิริธโรเกือบบ่ายโมง เพราะอยู่รออาจารย์โตท่านฝากงานกลับมาให้อาจารย์กฤษณ์ที่เดินทางกลับมาก่อนด้วย แต่ขากลับค่อนข้างจะเป็นตีผีไปหน่อย ล้อหมุนทีหลังเป็นชั่วโมง แต่ถึงก่อนซะงั้น


ปีนี้คงจบเทศกาลถวายกฐินเพียงแค่วัดนี้ วัดต่อไปคือวัดเวฬุวันทอดกฐินวันที่ ๒๑ แต่ฝากผ้าป้าวรรณไปถวายแทนเรียบร้อยแล้ว
ไปทอดกฐินสองวัน แต่นอนพักเอาแรงเสียสามวัน
นำบุญมาฝากทุกท่านครับ




Create Date : 10 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2553 16:09:05 น. 9 comments
Counter : 4534 Pageviews.

 
โมทนาบุญด้วยนะคะ


โดย: กระติ๊บน้อย วันที่: 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:16:41 น.  

 
สาธุ ๆๆ อนุโมทามิ


โดย: กระเป๋าวิเศษ วันที่: 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:32:47 น.  

 
อนุโมทนาบุญด้วยครับ.... เห็นที่ทำผ้ากฐินครั้งก่อนแล้ว
ลำบากเหมือนกันนะครับ.

กว่าจะตัดเย็บ ย้อม เสร็จให้ทันด้วย.

เข้ามาทีไรอดถามไม่ได้ครับ....การที่ภิกษุสวมหมวก หรือ
ครองผ้าหลายชิ้นในหน้าหนาว ทำได้ใช่ไหมครับ.

เพราะคิดว่า เป็นของจำเป็น


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:37:31 น.  

 
ผมไม่แน่ใจเรื่องวินัยข้อนี้นะครับ
แต่สมัยพุทธกาลนั้นเคร่งครัดมาก พระพุทธเจ้าบัญญัติสิกขาบทอย่างไรก็ต้องปฏิบัติไปตามนั้น อัฐบริขารให้มีแค่ ๘ ก็ต้อง ๘ พวกผ้านี่เริ่มต้นให้มีแค่สบง จีวร สังฆาฏิ ก็ต้องใช้กันแค่นั้น เวลาอาบน้ำก็ต้องเปลือยกาย ภายหลังนางวิสาขาจึงทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน จึงได้รับอนุญาตผ้าเพิ่มมาอีกชิ้นหนึ่ง
พวกเสื้อกันหนาวหรือหมวกไหมพรมผมไม่เคยเห็นในพระวินัยปิฎก อาจมีแต่ผ่านตาไปก็ได้ เคยเจอแต่เรื่องรองเท้า ร่ม พรมรองนั่ง

แต่พระพุทธองค์ตรัสว่า สิกขาบทข้อใดหากไม่เหมาะสมกับกาลสมัย ก็ให้แก้ไขได้ อันเป็นที่มาของคำว่า เถรวาท กับอาจารวาท
เถรวาท คือ ยึดถือวินัยเคร่งครัดตามที่พระเถระ (พระอรหันต์ในครั้งพุทธกาล) รวบรวมไว้ในพระวินัยปิฎก
ส่วนอาจารวาท คือ ยึดถือวินัยที่มีการผ่อนปรนลงตามกาลสมัยโดยอาจารย์รุ่นหลัง
หากจะว่ากันด้วยเหตุผลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเถรวาทหรืออาจารวาท ผมว่าหมวกกับเสื้อกันหนาวก็น่าจะใช้ได้ครับ เพราะเป็นเพียงสิกขาบทข้อเล็กที่ไม่เป็นโลกวัชชะ


โดย: oddy.freebird วันที่: 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:44:29 น.  

 
ตกใจว่า ต้นไม้ใหญ่มาก

แวะเข้ามาทักทายนะค่ะ


โดย: doctorfor วันที่: 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:47:59 น.  

 
ดูแลตัวเองนะ- Hi5 กราฟฟิคสำหรับคอมเม้น
ดูแลตัวเองนะ- Hi5 กราฟฟิคสำหรับคอมเม้น


สวัสดียามสายๆค่ะคุณอังคาร สบายดีนะคะ


โดย: เกศสุริยง วันที่: 11 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:00:15 น.  

 
อนุโมทนาสาธุครับ หลายๆบทความในblog นี้เป็นประโยชน์ครับผมแวะมาอ่านบ่อยๆด้วย ขอบคุณมากๆครับ


โดย: เด็กวัดป่า IP: 1.46.233.227 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2553 เวลา:15:41:54 น.  

 
Photo Frames. Ancient Roll
แวะมาทักทายยามว่าง(นิดหน่อย)ช่วงนี้อาจจะห่างหายไปบ้างไม่ว่ากันนะคะ ต้องซ้อมการแสดง เพื่อร่วมแสดงแสง สี เสียง ชุดตัดใหม่ครีเอทงานใหม่ ยุ่งพอสมควร แต่ก็คิดถึงเพื่อนๆชาวblogangมากๆคุณอังคาร สบายดีนะคะ


โดย: เกศสุริยง วันที่: 15 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:41:38 น.  

 
โมทนาสาธุ...ครับ



โดย: สุวรรณ IP: 110.77.240.225 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา:10:20:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Siri_waT_bkk
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




บางครั้ง เธอเข้าใจไหม
ว่าทำไม จิตใจต้องเพ้อฝัน
ฝันมีสุขร่วมกัน ฝันมีส่วนผูกพัน
สิ่งเหล่านั้น ฉันเองเข้าใจ

   ความหมาย คงคลี่คลายโดยง่ายดาย
   หากได้ระบาย ออกมาให้เธอฟัง
   ก็เพราะเธอเป็นต้นเหตุ ก็เพราะเธอนั้นพิเศษ
   เกินกว่าฉัน จะควบคุมใจ

ยามใดเธอมีทุกข์ อยากหยุดโลกกลับไปช่วยเธอ
ใจมันคอยเสนอ ไม่เคยคิดห่วงใคร
ต่อให้ไกลจะไกลแค่ไหน ก็จะไปยกหัวใจให้
เพียงแต่ตอบรับ หากเธอยอมรับ กับฉัน

   ว่าเธอนั้น มันก็เป็นเหมือนกัน
   ส่วนฉันยืนยัน ประกันได้เลยเธอ
   ไม่ใช่เรื่องหนักใจ มันไม่ใช่เรื่องใหญ่
   เพียงแค่สามคำ ฉันรักเธอ...

   
    [เพลงจาก http://www.fileden.com]


[ stat since Sep24, 2009 ]
Friends' blogs
[Add Siri_waT_bkk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.