ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
ลดภาษีการลงแรงลงทุนเพื่อความไพบูลย์ร่วมกัน

ลดภาษีการลงแรงลงทุนเพื่อความไพบูลย์ร่วมกัน

(ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ กรุณาแจ้งว่าจาก The Key to Promoting Prosperity by Reducing Taxes on Labor and Capital //commonground-usa.net/thekey.htm - สุธน หิญ)

มนุษย์ต้องอาศัยแผ่นดินโลกเป็นแหล่งให้ได้มาซึ่งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เครื่องมือหาเลี้ยงชีวิต และ สุดท้าย เป็นแหล่งที่มาของเศรษฐทรัพย์ (wealth) ทั้งปวง

เศรษฐทรัพย์ทุกรูปแบบคือผลผลิตของแรงงานที่กระทำต่อที่ดินหรือผลผลิตของที่ดิน โดยทางประวัติศาสตร์ ความร่ำรวยมหาศาลส่วนมากเกิดจากการผูกขาดความเป็นเจ้าของทำเลที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติ

การผลิตเศรษฐทรัพย์อาศัยปัจจัยการผลิต 3 ปัจจัย: (1) ที่ดิน (รวมทั้งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ ช่องหรือ channels สำหรับกระจายข่าว (2) แรงงาน (การออกแรงทำงานสมองหรือกล้ามเนื้อของมนุษย์ และ (3) ทุน (รวมทั้งอาคาร เครื่องมีอและเครื่องจักร ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การสื่อสาร และสินค้าซึ่งผลิตสินค้าใหม่ในกรรมวิธีผลิตหรือกระจายสินค้า)

ผลกระทบของภาษีที่เก็บจากที่ดิน แรงงาน และ ทุน นั้น เฮนรี จอร์จได้สำรวจไว้อย่างเต็มที่ในหนังสือขายดีที่สุดในโลกของเขาที่ชื่อ Progress and Poverty

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่แต่ละปัจจัยการผลิตทั้งสามปัจจัยได้นิยามไว้ดังนี้ : (1) ค่าแรงหรือเงินเดือนที่จ่ายให้แก่แรงงาน (2) ดอกเบี้ยที่จ่ายสำหรับการใช้ทุน (ซึ่งถูกสร้างโดยการใช้แรงงานและความรู้กระทำต่อที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ) และ (3) ค่าเช่าซึ่งจ่ายสำหรับการใช้ที่ดิน นิยามศัพท์ทางเศรษฐกิจเหล่านี้แยกผลตอบแทนของปัจจัยทั้งสามออกจากกันชัดเจน โดยที่ค่าแรงและดอกเบี้ยถือได้ว่าเกิดจากการใช้ความพยายามของมนุษย์ ผู้ใช้แรงงานจึงมีสิทธิโดยชอบในค่าจ้างหรือเงินเดือนของตน และผู้ผลิตหรือเจ้าของทุนก็มีสิทธิโดยชอบในดอกเบี้ยของตนสำหรับการใช้ทุน แต่ที่ดินแตกต่างกับสิ่งที่กล่าวข้างต้นในข้อที่ว่าเจ้าของที่ดินมิได้เป็นผู้สร้างที่ดินนั้นหรือแม้แต่มูลค่าของที่ดินเขาก็ไม่ได้ทำให้เกิด มูลค่าของที่ดินเกิดจากความอุดมสมบูรณ์ในเนื้อดินหรือการมีแร่ธาตุ ตำบลที่หรือทำเลที่สัมพันธ์กับประชากรส่วนรวม และความใกล้ไกลจากถนน โรงเรียน หน่วยดับเพลิงและตำรวจ ที่ทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสาธารณะอื่นๆ และทางการค้า โดยที่มูลค่าของที่ดินแปลงใดๆ ส่วนใหญ่เกิดจากชุมชน มิใช่จากผู้ถือครองที่ดินแต่ละคน จึงควรจ่ายค่าเช่าที่ดินแปลงนั้นๆ ให้แก่ชุมชนที่ก่อมูลค่านั้น

ภาษีหรือ “ค่าเช่า” ซึ่งชุมชนเก็บจากอัตราตลาดของที่ดินจะกระตุ้นให้มีการทำประโยชน์ในที่ดินอย่างมากที่สุดและดีที่สุดและส่งเสริมการจ้างงานที่ก่อผลผลิต ภาษีเช่นนี้จะเพิ่มแรงจูงใจในการผลิต แทนที่จะลด ถ้าเราเก็บภาษีจากแรงงาน ผู้คนก็จะไม่ค่อยอยากทำงาน ถ้าเก็บภาษีจากการออม ผู้คนก็จะไม่ค่อยอยากเก็บออม แต่ภาษีที่ดินไม่ทำให้ปริมาณที่ดินลดลง มันทำให้ผู้คนไม่อยากกักตุนที่ดินเพื่อหวังกำไร และจะเพิ่มอุปทานของที่ดินในตลาด เพราะภาษีที่ดินจะชักนำให้ผู้ถือครองที่ดินใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่ก็ขายที่ดินนั้นให้แก่ผู้ที่จะใช้ที่ดินให้เป็นประโยชน์มากขึ้นและดีขึ้น- -ใช้มัน มิฉะนั้นก็จะเสียมันไป (use it or lose it.) การเพิ่มอุปทานของที่ดินในตลาดด้วยการเพิ่มภาระภาษีแก่มูลค่าที่ดินย่อมจะทำให้ราคาที่ดินตก จึงทำให้ผู้คนสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ง่ายขึ้น

ภาษีทรัพย์สินแบบเดิมนั้นที่จริงมีภาษีสองอย่างรวมกันอยู่—ภาษีที่ดินและภาษีสิ่งปรับปรุง ภาษีที่เก็บจากมูลค่าทำเลของที่ดินจะนำมูลค่าที่เพิ่มขึ้นอันเกิดจากการลงทุนของชุมชนในโครงสร้างพื้นฐาน การบริการของรัฐ สิ่งอำนวยความรื่นรมย์สาธารณะ (public amenities) และความต้องการที่ดินเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มประชากร กลับคืนมาให้รัฐบาล ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นโดยการสาธารณะเช่นนี้ ก็จะไม่จำเป็นต้องเก็บภาษีเงินได้หรือภาษีการบริโภค (การขาย) หรือเก็บภาษีร้อยแปดที่น่ารำคาญซึ่งถ่วงรั้งการทำงานของระบบเศรษฐกิจและบิดเบือนประสิทธิภาพของระบบตลาด

การเพิ่มภาษีที่ดินสูงขึ้นและลดภาษีสิ่งปรับปรุงต่ำลงหรือยกเลิกไปเลยในเมืองต่างๆ จะช่วยลดการเกิดแหล่งเสื่อมโทรม เพราะการบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟูสภาพ การปรับปรุงทรัพย์สินและการสร้างอาคารใหม่ จะไม่ถูกลงโทษปรับด้วยการเพิ่มภาษี และกระตุ้นให้มีการหมุนเวียนนำสิ่งที่ใม่ค่อยได้ใช้กลับมาใช้ใหม่ (recycling) สำหรับสิ่งที่ใช้หรือเป็นโครงสร้างพื้นฐานในเทศบาลอยู่แล้ว เพื่อให้เกิดคุณค่ามากขึ้นทางสังคมด้วย

โดยสรุป การเพิ่มภาษ๊มูลค่าที่ดินและลดภาษีสิ่งปรับปรุงจะช่วยลดการขยายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบของเมืองและกลับกระตุ้นการทำประโยชน์เข้มข้นขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในที่ดินในเมือง ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการมีอยู่แล้ว การเข้าใช้ที่ดินที่ว่างอยู่และการเติบโตทางสูงในเขตมหานครจะเกิดขึ้นเองและป้องกันการขยายตัวอย่างไม่เป็นระเบียบสู่ชานเมืองที่ห่างออกไปจากศูนย์กลางนครเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายในการสร้างถนน บริการสาธารณะต่างๆ โรงเรียน และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ต่อออกไปจะลดลงอย่างมาก และจะสามารถสงวนพื้นที่ว่างที่เปิดกว้าง แถบพื้นที่สีเขียว และถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่านอกเมืองไว้ได้ เป็นการปกป้องสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของทุกคนได้อย่างมาก.



Create Date : 31 สิงหาคม 2555
Last Update : 31 สิงหาคม 2555 22:47:01 น. 0 comments
Counter : 1767 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com