ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงที่สุด

การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงที่สุดคือการปล่อยให้ที่ดินตกเป็นของเอกชนทั้งที่ที่ดินควรเป็นของส่วนรวมทุกคนเท่าเทียมกัน เพราะที่ดินไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์ผลิต และขาดที่ดินมนุษย์ตาย มูลค่าที่ดินก็มิใช่แต่ละคนทำให้เกิด เช่น ที่ดินว่างเปล่ามีหญ้าขึ้นรก 100 ตร.วากลางเมืองมีราคาสูงขึ้นเรื่อยมาจนเป็นหลายล้านบาท

"ที่ดิน" ใน The Devil’s Dictionary ปี 1911 ของ Ambrose Bierce อธิบายว่าสังคมสมัยใหม่ถือว่าที่ดินคือทรัพย์สินที่เอกชนสามารถเป็นเจ้าของได้ ซึ่งถ้าพิจารณากันจนถึงข้อยุติทางตรรกะ (logical conclusion) แล้ว ก็หมายความว่า คนบางคนมีสิทธิกีดกันคนอื่นไม่ให้มีชีวิต เพราะสิทธิเป็นเจ้าของมีนัยถึงสิทธิครอบครองเด็ดขาด ประเทศที่รับรองกรรมสิทธิ์ของเอกชนในที่ดินจะมีกฎหมายป้องกันการบุกรุก ผลก็คือถ้านาย ก, นาย ข, และนาย ค เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมด ก็จะไม่มีที่สำหรับให้ ง, จ, ฉ, ช เกิด หรือเกิดมากลายเป็นผู้บุกรุก

แต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินก็จำเป็นต่อการใช้ทำประโยชน์และดูแลเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
วิธีที่ดีจึงควรเป็นการปฏิรูปภาษี

เชื่อหรือไม่ ทุกคนไม่ควรต้องเสียภาษีเงินได้หรือภาษีอื่น ๆ จากการลงแรงลงทุนที่ก่อผลผลิตและบริการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนค้าขายของตน เพราะการแลกเปลี่ยนทำโดยสมัครใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเป็นวิถีชีวิตที่ช่วยให้ส่วนรวมสบายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาทำงานทั้งวันแล้วยังไม่ได้สิ่งที่ต้องการครบ

ระบบรัฐสวัสดิการสามารถทำได้โดยเก็บแต่เพียงภาษีที่ดิน ซึ่งถ้าไม่เก็บหรือเก็บน้อยไปจะเกิดการเก็งกำไรสะสมที่ดินอย่างปัจจุบัน ไปไหน ๆ ก็เจอแต่ที่ดินมีเจ้าของแล้ว แต่มักถูกทำประโยชน์น้อยเกินไป ผลผลิตและความเจริญก้าวหน้าของชาติต่ำกว่าปกติ ซึ่งหมายถึงมีคนต้องว่างงานมาก ค่าแรงต่ำ คนจนไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้ ต้องเช่าที่อยู่ที่ทำกินในอัตราแพงกว่าที่ควรเป็น (ส่วนแบ่งการผลิตลดต่ำกว่าปกติ)

ลัทธิภาษีเดี่ยว (Single Tax) จากที่ดิน ของเฮนรี จอร์จ จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมขั้นฐานราก แก้ความยากจน ไม่มีการเก็งกำไรที่ดิน จึงไม่เกิดวิกฤตวัฏจักรเศรษฐกิจฟองสบู่ที่รุนแรงก่อความเสียหายย่อยยับซ้ำซากแก่ทั้งคนจนและคนรวยอีกต่อไป

และเกิดผลดี คือ
1. ให้เสรีมากขึ้น ลดการถูกเรียกตรวจสอบจากเจ้าพนักงานภาษีของรัฐ เพราะเหลือแต่ภาษีที่ดิน (ควรมีภาษีหรือค่าชดเชยการทำความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญหมดเปลืองไปด้วย)

2. เกิดความยุติธรรม ใครทำงาน ใครลงทุน ได้เท่าไรก็เป็นของเขาทั้งหมด โดยตัดความได้เปรียบเสียเปรียบจากการได้ครองที่ดินมากน้อยดีเลวผิดกัน ออกไปด้วยภาษีที่ดิน

3. เกิดผลดี คือที่ดินไม่เสียเปล่ามากมายมหาศาลจากการเก็บกักเก็งกำไร การว่างงานจะลด ค่าแรงเพิ่ม และเมื่อคนไม่เสียภาษีเงินได้ก็ได้ค่าจ้างเงินเดือนกลับบ้านเต็มที่ สินค้าของกินของใช้ไม่ถูกภาษี เงินก็ไม่เฟ้อไม่เสื่อมค่า ราคาก็ต่ำลง คนจนก็สบายขึ้น สินค้าขายแข่งกับต่างประเทศได้ดีขึ้น คนต่างชาติก็จะอยากมาเที่ยวมาใช้จ่ายมาลงทุนที่เมืองไทยมากขึ้น
(ที่อาจเป็นปัญหาก็คือแรงงานต่างด้าวจะทะลักเข้าไทย)

แต่เมื่อระบบปัจจุบันกลายเป็นความเคยชิน จนกระทั่งเราไม่รู้สึกถึงความอยุติธรรมของการปล่อยให้เจ้าของที่ดินได้ประโยชน์จากที่ดินไปโดยไม่ต้องลงแรงลงทุน (unearned income) เราจะเปลี่ยนระบบทันที เจ้าของที่ดินก็จะเดือดร้อนเกินไป จึงควรเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ ค่อย ๆ เพิ่มภาษีที่ดิน เช่น ปีละ 3 % ของค่าเช่าศักย์หรือค่าเช่าที่ดินที่ควรเป็น 33 ปีก็ได้ 99 % ขณะเดียวกันค่อย ๆ ลดภาษีจากการทำงานและการลงทุนลงชดเชยกัน

จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม //utopiathai.webs.com


Create Date : 04 มีนาคม 2554
Last Update : 4 มีนาคม 2554 6:56:39 น. 0 comments
Counter : 835 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com