ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
วิธีแก้ไขวิกฤตสินเชื่อ

วิธีแก้ไขวิกฤตสินเชื่อ
(เผยแพร่ต่อได้ถ้าระบุว่านำมาจากเรื่อง How to Solve the Credit Crisis ที่ //progress.org/2008/fold580.htm โดย Fred E. Foldvary บรรณาธิการอาวุโสเว็บไซต์ The Progress Report)

ร่างกฎหมายช่วยเหลือสัญญาจำนอง 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านสภาแล้ว แต่กว่าจะมีผลใช้บังคับได้ก็อีกหลายสัปดาห์ ขณะนี้การว่างงานกำลังสูงขึ้น ธุรกิจจำนวนมากยังไม่ได้รับสินเชื่อที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงาน ข้าพเจ้าจึงขอเสนอแผนต่อไปนี้เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ความน่าจะเป็นที่ฝ่ายบริหารจะรับพิจารณาจะแทบเป็นศูนย์ก็ตาม:

1. แจกเงินสดแก่คนสัญชาติสหรัฐฯ คนละ 6,000 ดอลลาร์ รัฐสภาอนุมัติให้กระทรวงการคลังพิมพ์ธนบัตรใบละ 1,000 ดอลลาร์เพื่อแจกให้แก่พลเมืองและผู้อยู่อาศัยเป็นการถาวรในสหรัฐฯ คนละ 6 ใบ ซึ่งจะช่วยให้เกิดสภาพคล่องและบรรเทาความเดือดร้อนที่จำเป็นเร่งด่วน ส่วนผู้ที่ต้องการเงินทันทีก็ให้สามารถกู้ยืมจากกองทุนต่าง ๆ ก่อนได้ โดยให้ธนาคารกลางเพิ่มการสำรองเพื่อการกู้ยืมนี้รายละ 6,000 ดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ แต่เงินเฟ้อจะมีประโยชน์ในการลดมูลค่าที่แท้จริงของหนี้ทั้งสิ้นที่กำหนดเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ผู้ให้กู้จะได้รับเงินคืนคิดเป็นมูลค่าแท้จริงต่ำลง แต่ย่อมดีกว่าที่จะไม่ได้รับคืนเลย

2. เลิกจำกัดโควตาคนเข้าเมือง ให้ทุกคนเข้าสหรัฐฯ ได้ถ้าไม่ใช่อาชญากรหรือผู้ก่อการร้าย และไม่เป็นโรคติดต่อ ผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศใหม่ 2-3 ล้านคนจะเข้าอยู่ในบ้านที่ขณะนี้ว่างอยู่เต็มหมดในเวลาอันรวดเร็ว

3. พักการใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำไว้ชั่วคราว รวมทั้งข้อจำกัดต่าง ๆ สำหรับกิจการที่ไม่ขัดกับความสงบเรียบร้อยและสุจริต ยอมให้ทุกคนทำงานหรือดำเนินกิจการโดยไม่มีข้อจำกัดถ้าไม่เป็นการคุกคามความปลอดภัยของผู้อื่น ผู้ที่เพิ่งอพยพเข้ามาจะทำงานของตนเองทันที เพราะอุปสงค์ในบางสิ่งย่อมจะมีอยู่เสมอ อุปสงค์เหล่านี้จะเป็นประเภทที่มีประสิทธิผล (คือมีความสามารถซื้อ) เพราะทุกคนจะมีเงินที่จะใช้จ่ายได้อย่างน้อย 6,000 ดอลลาร์

4. ออกมาตรการฉุกเฉินทันทีเพื่อเก็บภาษีมูลค่าที่ดินทุกแห่ง 90 % ของค่าเช่าศักย์รายปี ราคาที่ดินก็จะลดเหลือ 1 ใน 10 ของราคาเดิม นี่จะเป็นการขจัดฟองสบู่ของราคาที่ดิน เจ้าของที่ดินจะได้รับชดใช้ราคาขายส่วนที่ลดลงไปด้วยพันธบัตรของกระทรวงการคลังที่ไม่มีกำหนดไถ่ถอน (perpetual) ข้อนี้จะทำให้หนี้สินของรัฐบาลกลางเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ในทางเศรษฐกิจ พันธบัตรนี้จะแทนที่หนี้สินจากการจำนองที่ดิน และพันธบัตรจะได้รับการหนุนหลังจากการเก็บภาษีมูลค่าที่ดินจากเจ้าของที่ดินทุกคน

ปัญหาการจำนองที่ดินจะหมดไป เพราะจะไม่มีการจำนองที่ดินอีก [สงสัยว่าราคาที่ดินยังเหลือ 1 ใน 10 ของราคาเดิม แล้วเหตุใดจึงจะไม่มีการจำนองที่ดินอีก – ผู้แปล] แต่จะยังมีการจำนองตัวอาคารอยู่ หนี้สินที่เพิ่มขึ้นมาจะทำให้รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเพียงเล็กน้อย เพราะพันธบัตรกระทรวงการคลังมีดอกเบี้ยต่ำมาก และรัฐบาลจะเก็บภาษีมูลค่าที่ดินได้ถึงปีละสองล้านล้านดอลลาร์ เจ้าของที่ดินจะชำระภาษีด้วยพันธบัตรนี้และเงินสดที่ได้รับแจก 6,000 ดอลลาร์ก็ได้

การที่ราคาที่ดินลดลงถึง 90 % จะทำให้ผู้คนกลับมีความสามารถซื้อบ้านพร้อมที่ดินได้ใหม่ ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะฟื้น เจ้าของที่ดินที่มีหนี้สินน้อยอาจขายพันธบัตรเอาเงินฝากธนาคารเพื่อจะได้ดอกเบี้ยสูงขึ้น ซึ่งก็เป็นการช่วยให้ธนาคารเองมีความสามารถปล่อยกู้สูงขึ้นด้วย จะไม่มีปัญหาในการขายพันธบัตรของกระทรวงการคลัง เพราะขณะนี้ทั่วโลกต้องการพันธบัตรนี้

ทำไมจึงไม่มีผู้อื่นเสนอวิธีแก้เช่นนี้ ? เพราะแทบทุกคนติดอยู่กับความคิดแบบสถานะเดิม (status-quo thinking) โชคไม่ดี ความคิดแบบสถานะเดิมนั้นเป็นการขัดกับระบบตลาดเสรี ทุกแห่งมีแต่การกล่าวหาว่าระบบตลาดเสรีล้มเหลว ทั้งนักการเมือง นักวิจารณ์ และ ผู้อยู่ในวงการการเงิน ต่างสรุปอย่างผิด ๆ ว่าเป็นเพราะขาดกฎระเบียบ แต่ปัญหาคือการมีกฎระเบียบผิด ๆ มิใช่มีกฎระเบียบน้อยไป ปัญหาที่ใหญ่กว่าคือการแทรกแซง ซึ่งนอกจากกฎระเบียบแล้วยังรวมถึงเรื่องภาษีและการอุดหนุนด้วย การอุดหนุน (subsidies) หมายรวมถึงการที่รัฐบาลรับประกันอสังหาริมทรัพย์ สัญญาจำนอง และ บัญชี และรวมถึงการรับประกันของ Freddie (หรือ Freddie Mac = Federal Home Loan Mortgage Corporation ย่อว่า FHLMC) และ Fannie (หรือ Fannie Mae = Federal National Mortgage Association (FNMA) และเหนือสิ่งอื่นใดคือการทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นเนื่องจากบริการของรัฐซึ่งได้จากภาษีจากผู้ลงแรงลงทุน

เมื่อเราลงโทษผู้ลงแรงลงทุนด้วยภาษีและข้อจำกัดต่าง ๆ และให้รางวัลแก่ผู้เก็งกำไรที่ดินด้วยการอุดหนุนทั้งหลาย เราจะคาดหวังอะไรนอกจากการเฟื่องฟูและแฟบฟุบทางเศรษฐกิจเป็นระยะ ๆ กระนั้นผู้คนก็ยังโทษว่าความเดือดร้อนนั้นเป็นเพราะระบบตลาดเสรี ซึ่งหาได้มีอยู่ไม่ ถ้าจะว่ากันถึงที่สุดแล้ว สาเหตุแห่งปัญหาเศรษฐกิจที่ฝังรากลงลึกก็คือ ผู้คนไม่เข้าใจแนวคิดหรือมโนทัศน์ (concept) ของระบบตลาดเสรี.

(จากเว็บเศรษฐศาสตร์เพื่อความเป็นธรรม //geocities.com/utopiathai )


Create Date : 17 ตุลาคม 2551
Last Update : 17 ตุลาคม 2551 0:05:48 น. 7 comments
Counter : 690 Pageviews.

 


สวัสดีจ๊ะ แวะมาบอกว่าหน่อยอัพบล็อกใหม่แล้ว มีความสุขในการทำงานวันศุกร์นะจ๊ะ



โดย: หน่อยอิง วันที่: 17 ตุลาคม 2551 เวลา:12:17:04 น.  

 
อันนี้ แค่ฮาๆๆ ไม่ได้เอาจริงใช่มั้ย?


โดย: tai_tu วันที่: 17 ตุลาคม 2551 เวลา:22:31:08 น.  

 

ผมเชื่อว่าผู้เขียนเขาเอาจริงนะครับ Dr Foldvary เป็นอาจารย์เศรษฐศาสตร์ด้วยที่ Santa Clara University

เรื่องที่ผมแปลมานี้ ผมชอบที่เขาลงท้าย 2 ย่อหน้า ดังนี้ครับ

ทุกแห่งมีแต่การกล่าวหาว่าระบบตลาดเสรีล้มเหลว
ทั้งนักการเมือง นักวิจารณ์ และ ผู้อยู่ในวงการการเงิน ต่างสรุปอย่างผิด ๆ ว่าเป็นเพราะขาดกฎระเบียบ
แต่ปัญหาคือการมีกฎระเบียบผิด ๆ มิใช่มีกฎระเบียบน้อยไป
ปัญหาที่ใหญ่กว่าคือการแทรกแซง ซึ่งนอกจากกฎระเบียบแล้วยังรวมถึงเรื่องภาษีและการอุดหนุนด้วย
การอุดหนุน (subsidies) หมายรวมถึงการที่รัฐบาลรับประกันอสังหาริมทรัพย์ สัญญาจำนอง และ บัญชี
และรวมถึงการรับประกันของ Freddie และ Fannie
และเหนือสิ่งอื่นใดคือการทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นเนื่องจากบริการของรัฐซึ่งได้จากภาษีจากผู้ลงแรงลงทุน

เมื่อเราลงโทษผู้ลงแรงลงทุนด้วยภาษีและข้อจำกัดต่าง ๆ
และให้รางวัลแก่ผู้เก็งกำไรที่ดินด้วยการอุดหนุนทั้งหลาย
เราจะคาดหวังอะไรนอกจากการเฟื่องฟูและแฟบฟุบทางเศรษฐกิจเป็นระยะ ๆ
กระนั้นผู้คนก็ยังโทษว่าความเดือดร้อนนั้นเป็นเพราะระบบตลาดเสรี ซึ่งหาได้มีอยู่ไม่

(คือการเก็บภาษีที่ดินน้อยไป ทำให้เกิดการเก็งกำไรที่ดิน ไปที่ไหน ๆ ที่ดินก็มีเจ้าของแล้ว แถมยังหาตัวติดต่อยากอีกด้วย ราคาที่ตั้งไว้ก็แพงเกินจริง ผล - คนจนหาที่ทำกินยาก คนว่างงานมาก ค่าแรงต่ำ

และเมื่อต้องหันมาเก็บภาษีจากการลงแรงลงทุน เช่น ภาษีกำไร ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ทำให้รายได้ลด ของแพง คนจนยิ่งลำบากมากขึ้น

แล้วจะว่ามีตลาดเสรีได้อย่างไรครับ)


โดย: สุธน หิญ วันที่: 18 ตุลาคม 2551 เวลา:8:05:27 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคอมเมนท์ค่ะ..

ตลาดเสรีมีจริงหรอค่ะคุณอา(ขออนุญาตเรียก "คุณอา" ได้ไหมคะ)

ถ้าเสรีจริงๆทำไมยังมีการผูกขาดของบรรษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ นานาอยู่?? สงสัยแต่หาคนตอบยากอยู่หน่อย ว่าเสรีตรงไหน

หนูสนใจเรื่องพวกนี้อยู่ค่ะ อีกอย่างสนใจและศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองอยู่ด้วยค่ะ (แต่ก็ยังรู้น้อยอยู่ดี)

คุณอามีสิ่งใดแนะนำก็บอกกันได้นะคะ

ขอติดตามอ่านบทความต่อไปของคุณอานะคะ


^__________________________^



โดย: โรตีเกิร์ล_ใส่นม วันที่: 30 ตุลาคม 2551 เวลา:0:18:13 น.  

 
ขอบคุณนะคะที่แวะไปเยี่ยมกัน แล้วแนะนำเรื่องราวให้ วันขอบคุณพระเจ้าดูเหมือนมีสองสามตำนาน แต่ดิฉันใส่เรื่องราวที่คุณแนะนำแล้วค่ะ


โดย: หลักไมล์ วันที่: 30 ตุลาคม 2551 เวลา:9:42:22 น.  

 
ขอบคุณคุณ โรตีเกิร์ล_ใส่นม ครับ เรียกผมว่าอาก็ได้ แต่ผมแก่กว่านั้นครับ

การเก็บภาษีที่ดินน้อยไป ทำให้เกิดการเก็งกำไรเก็บกักที่ดิน ไปที่ไหน ๆ ที่ดินก็มีเจ้าของแล้ว แถมยังหาตัวติดต่อยากอีกด้วย ราคาที่ตั้งไว้ก็แพงเกินจริง จึงมีลักษณะเป็นการรวมหัวผูกขาดแบบไม่ต้องมีการนัดหมาย จึงไม่ใช่ระบบตลาดเสรี ไม่ใช่ทุนนิยมเสรี

ผล - คนจนหาที่ทำกินยาก คนว่างงานมาก ค่าแรงต่ำ
และเมื่อต้องหันมาเก็บภาษีจากการลงแรงลงทุน เช่น ภาษีกำไร ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ทำให้รายได้ลด ของแพง คนจนยิ่งลำบากมากขึ้นไปอีก

ระบบปัจจุบันทำให้เจ้าของที่ดินมีอำนาจผูกขาด คนจนต้องออกไปอยู่ชายขอบ (ซึ่งอยู่ห่างชุมชนออกไปมากเกินควร เพราะที่ดินถูกเก็บกักปล่อยว่างกันไว้มาก) มิฉะนั้นก็ต้องเช่าที่อยู่อาศัย ที่ทำกินจากคนอื่น ขนาดนี้แล้วจะว่าเราเป็น ระบบตลาดเสรี หรือ ทุนนิยมเสรี ได้อย่างไร

เวลาปกติ คนจนก็เดือดร้อนอยู่แล้ว เพราะถูกพรากสิทธิที่จะเข้าถึงที่ดินอย่างเท่าเทียมกัน ถึงเวลาเศรษฐกิจถดถอย คนจนจึงยิ่งเดือดร้อนหนัก

ลองดูหน้าแรกของ //geocities.com/utopiathai และบทความของผมที่ //geocities.com/utopiathai/ArticlesAndWebboard.html จะตอบปัญหาเศรษฐศาสตร์การเมืองได้บ้างไหมครับ


โดย: สุธน หิญ วันที่: 30 ตุลาคม 2551 เวลา:20:06:51 น.  

 
ไปดูมาแล้วครับที่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=storyinletters&date=29-10-2008&group=12&gblog=1
โอ้โห! เอาลงเต็มที่ตลอดเรื่องเลย ขอบคุณคุณหลักไมล์มากครับ


โดย: สุธน หิญ วันที่: 30 ตุลาคม 2551 เวลา:20:26:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com