ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 

รัฐสวัสดิการจะเจริญยั่งยืนด้วยภาษีเดี่ยวจากที่ดิน

รัฐสวัสดิการจะเจริญยั่งยืนด้วยภาษีเดี่ยวจากที่ดิน
(ยินดีให้ share ด้วยความขอบคุณครับ)

รัฐสวัสดิการ + ภาษีเดี่ยวจากที่ดิน = เจริญสุขทั่วหน้า + ไร้วิกฤตฟองสบู่

ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสวัสดิการ เช่น กลุ่มสแกนดิเนเวีย มีข้อเสียตรงที่เก็บภาษีจากการทำงานและการลงทุนในอัตราที่แรงมาก ซึ่งตรงข้ามกับวิธีส่งเสริมการลงทุน เป็นเหตุให้ของแพง ค่าแรงต่ำ ผลสุดท้ายคือความยากจน หรือ ไม่รวยเท่าที่ควรเป็น เช่น สวีเดนเก็บ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 25% ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 30-62% ของรายได้สุทธิ (จาก สนทนาเรื่องรัฐสวัสดิการ โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย //thaiappraisal.org/thai/market/market_view.php?strquery=market234.htm )

“ระบบภาษีของเดนมาร์กทำงานแบบสวนทางกับโจรผู้ดีที่ชื่อโรบินฮู้ด รายได้ที่เราหามาด้วยการทำงานก่อผลผลิตถูกเก็บภาษีเงินได้อย่างหนัก แต่รายได้จากมูลค่าที่ดินแทบจะไม่ถูกเก็บภาษี” (จากเว็บพรรคยุติธรรมของเดนมาร์ก ที่ //www.retsforbundet.dk/politik/english.htm ขณะนี้หาไม่พบเว็บภาษาอังกฤษนี้แล้ว อ้างใน //bbznet.pukpik.com/scripts2/view.php?user=tangnamo&board=1&id=309 เมื่อ 07/10/2009)

ถ้าภาษีที่ดินต่ำ ค่าแรงก็จะต่ำด้วย (ตามธรรมชาติของสังคม) เพราะคนรวยจะสามารถกักตุนที่ดินไว้หวังกำไรในอนาคตได้มาก เป็นอันที่ดินไม่ค่อยได้ทำประโยชน์ ผลผลิตของชาติลด การมีงานทำก็ลด คนจนต้องวิ่งแย่งกันหางานทำ ค่าแรงก็ถูกกด ทำให้ยิ่งยากจนหนักขึ้น

อีกเรื่องหนึ่งที่มีผลเลวร้ายใหญ่หลวงคือ การเก็งกำไรซื้อขายกักตุนที่ดินทำให้เกิดวิกฤตวัฏจักรฟองสบู่แฟบฟุบ ที่ว่ายากจนหนักแล้ว ก็ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก

ดังนั้น ถ้าระบบรัฐสวัสดิการใช้วิธีเพิ่มภาษีที่ดิน (แบบค่อยเป็นค่อยไป) แล้วลด-เลิกภาษีการลงแรงลงทุนชดเชยกันไป ความยากจนก็จะลด การสวัสดิการที่เคยต้องใช้เงินมหาศาลก็จะใช้เงินน้อยลง ภาษีที่ดินนั้นสามารถเพิ่มได้จนเท่ากับค่าเช่าที่ดินตามอัตราท้องตลาดแบบที่ธุรกิจเขาคิดกัน ซึ่งสำหรับสหรัฐฯ จะได้มากเกินพอสำหรับองค์การบริหารทุกระดับ (//www.oknation.net/blog/utopiathai/2012/11/19 )

เหตุผลง่ายๆ อย่างนี้ คนรวยทำเป็นไม่เข้าใจ เพราะกลัวตนเองจะเสียประโยชน์ ทั้งๆ ที่เสียประโยชน์ไปก็ไม่ได้ลำบากอะไรนักหนา หรือกลัวว่าจะหาข้าทาสบริวารไว้ปรนนิบัติบำเรอได้ยาก ไม่เกรงบ้างหรือว่า ความยากจนทำให้เกิดอาชญากรรมปล้นจี้ตีชิงวิ่งราว ลักพาตัว อุ้มเรียกค่าไถ่ บ่อยครั้งต้องบาดเจ็บหรือล้มตาย หรืออาจเกิดสงครามกลางเมือง อย่างปฏิวัติในรัสเซีย ฝรั่งเศส หรือ ทุ่งสังหารในเขมร.

(อ่านเพิ่มเติมบทความด้านแก้ความยากจนได้ที่ //www.oknation.net/blog/utopiathai ครับ)




 

Create Date : 04 ธันวาคม 2555    
Last Update : 4 ธันวาคม 2555 10:35:00 น.
Counter : 1905 Pageviews.  

ภาษีที่ดินสหรัฐฯ จะได้มากเกินพอสำหรับองค์การบริหารทุกระดับ

ภาษีที่ดินสหรัฐฯ จะได้มากเกินพอสำหรับองค์การบริหารทุกระดับ

นี่เป็นผลการวิจัยของ Prof. Mason Gaffney (The Hidden Taxable Capacity of Land: Enough and to Spare, July 3, 2008 - //economics.ucr.edu/papers/papers08/08-12old.pdf)

ก่อนหน้านั้นนักเศรษฐศาสตร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าภาษีที่ดินจะให้รายได้น้อยเกินไป

ในบทคัดย่อของเอกสารวิจัยนี้ที่ //www.emeraldinsight.com/journals.htm?articleid=1782614&show=abstract มีกล่าวไว้ว่า

ภาษีที่ใช้มูลค่าที่ดินเป็นฐานนั้นถือว่าเป็นภาษีที่ดีในหลายๆ ทาง แต่นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากไม่ยอมรับ โดยคิดว่าจะให้รายได้น้อยเกินไป บรรดาแหล่งข้อมูลขั้นมาตรฐานได้ละเว้นสิ่งที่อาจเป็นฐานภาษีจำนวนมาก และส่วนที่วัดก็คิดรายได้ให้ต่ำเกินไป ความมุ่งหมายของเอกสารนี้คือเพื่อเสนอการวัดค่าเช่าและมูลค่าที่ดินที่กว้างขวางและถูกต้องแม่นยำกว่าและเสนอวิธีหารายได้ที่นอกเหนือไปจากภาษีทรัพย์สินตามแบบเดิม

แต่อย่างไรก็ตาม ผมผู้เอาเรื่องราวมาบอกเป็นภาษาไทย ขอเรียนเตือนว่า แม้หากจะได้ภาษีที่ดินน้อย เราก็ยังควรเก็บภาษีที่ดินอยู่ดี ค่อยๆ เพิ่ม จนในที่สุดให้ภาษีที่ดินสูงเท่ากับค่าเช่าตามอัตราตลาด เพราะถ้าภาษีที่ดินต่ำจะเกิดการเก็งกำไรกักตุนที่ดิน นี่ต่างหากที่เป็นจุดมุ่งหลัก เพราะการกักตุนที่ดินทำให้ที่ดินของประเทศไทยส่วนที่บุคคลธรรมดาถือครองได้นั้นไม่ได้ทำประโยชน์ตามที่ควรถึง 70% แปลว่าทำประโยชน์ตามควรไม่ถึง 1 ใน 3 นั่นคือ มีการผลิตน้อย ผลผลิตของชาติต่ำ การกักตุนที่ดินทำให้ที่ดินแพง คนจนไม่สามารถหาที่ดินอยู่อาศัยหรือทำกินเองได้ ต้องแย่งกันง้อของานทำจากนายทุนผู้ประกอบการ ค่าแรงจึงย่อมต่ำตามกันไปตามกฎธรรมชาติของสังคม เราจึงต้องมีคณะกรรมการขึ้นมากำหนดค่าแรงขั้นต่ำซึ่งฝืนธรรมชาติ

อีกข้อหนึ่งที่ร้ายแรงมากคือ การเก็งกำไรซื้อขายกักตุนที่ดินกันเป็นการกว้างขวางทั่วไปทำให้เกิดวิกฤตวัฏจักรเศรษฐกิจฟองสบู่อสังหาฯ ซึ่งรอบหลังสุดนี้ซึ่งเกิดเมื่อปลายปี ค.ศ.2008 จากสหรัฐฯ แผ่ลามไปค่อนโลก ถึงบัดนี้ 4 ปีแล้วยังดูว่าอาจลามออกไปอีกด้วยซ้ำ.




 

Create Date : 20 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2555 8:52:49 น.
Counter : 1207 Pageviews.  

ทำไมเศรษฐศาสตร์จึงยังแก้ความยากจนและวิกฤตฟองสบู่ไม่ได้


ตอบ ข้อเขียนและคำปราศรัยของ Henry George (ค.ศ.1839-1897) ในช่วง 20 ปีสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่เสนอให้ยกเลิกภาษีทั้งสิ้น ยกเว้นให้เก็บภาษีมูลค่าที่ดินเพียงอย่างเดียว ซึ่งได้รับการต้อนรับจากคนส่วนใหญ่ ทำให้กลุ่มอำนาจที่มีผลประโยชน์มากๆ ในที่ดินต้องหาทางรักษาสถานภาพที่เป็นอยู่ (status quo) ส่วนที่สำคัญก็คือพยายามมีอำนาจควบคุมการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยสำคัญๆ ของสหรัฐฯ

ศาสตราจารย์ Mason Gaffney อธิบายว่าเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิกเริ่มขึ้นเมื่อ John Bates Clark (ค.ศ. 1847-1938 ) ผู้มีชื่อเสียงด้านพัฒนาแนวคิดเรื่องผลิตภาพหน่วยท้ายสุด (marginal productivity) ถือเอาเป็นภาระหน้าที่ของตนที่จะต้องต่อต้าน Henry George ต่อมา Clark ได้รับการย้ายไปยังมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แล้วบรรดาศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ที่คุ้นเคยกับการโต้แย้งทางจริยธรรมก็ถูกแทนที่ด้วยผู้ผ่านการศึกษาด้านทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ

สิ่งแรกที่กลุ่มนีโอคลาสสิกทำคือ การถอนเอา “ที่ดิน” ออกจากสมการเศรษฐกิจ โดยไม่ถือเป็นปัจจัยการผลิตที่แตกต่างจากทุนและสินค้าที่ผลิตขึ้นมาด้วยการใช้แรงงาน (ทำให้เกิดความคลุมเครือในความแตกต่างระหว่าง “ที่ดิน” กับ “ทุน”) โลกเศรษฐศาสตร์จึงเหลือสิ่งสำคัญพื้นฐานเพียง 2 สิ่ง คือ แรงงาน และ ทุน อิทธิพลความคิดของ Henry George และกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์เดิมที่เรียกว่า political economists แทบจะหมดไปในราวกลางทศวรรษที่เริ่มจาก ค.ศ.1920

จาก
//www.cooperativeindividualism.org/dodson-edward_a-century-of-pseudo-scientific-analysis-2003.html

Excerpts from The Corruption of Economics //politicaleconomy.org/gaffney.htm

ที่ดินไม่เหมือนทุนหรือทรัพย์สินอื่น //www.oknation.net/blog/utopiathai/2011/05/26

นิยามศัพท์และกฎมูลฐานทางเศรษฐศาสตร์แบบของจอร์จ //www.oknation.net/blog/utopiathai/2011/06/29




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2555    
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2555 0:15:04 น.
Counter : 1438 Pageviews.  

การดูหมิ่นพระผู้เป็นเจ้า (Blasphemy)

='#0000ff'>(จากตอนหนึ่งของคำปราศรัย เรื่อง คำสรรเสริญเสรีภาพ หรือ Ode to Liberty โดย เฮนรี จอร์จ ที่ซานฟรานซิสโก ในวันชาติสหรัฐฯ 4 ก.ค. ค.ศ.1877
//schalkenbach.org/library/henry-george/ode-to-liberty.html
ต่อมาได้นำเข้าไว้ในหนังสือ Progress and Poverty ปี 1879 ภาค 10 บทที่ 5 สัจธรรมศูนย์กลาง
หนังสือนี้ทำให้จอร์จมีชื่อเสียงเป็นต้นตำรับภาษีเดี่ยวจากที่ดินของสหรัฐฯ
ภาคไทยดูได้ที่ //utopiathai.webs.com/ProgressAndPoverty.html ภาค 10 บทที่ 5 หน้า 546 - 552
การแยกเป็นหัวข้อ Blasphemy ปรากฏใน //www.wealthandwant.com/themes/Blasphemy.html
ภาคไทยอยู่ใน Progress and Poverty หน้า 548 - 550)

การปรุงปรับ (adjustment) ขั้นปฐมทางสังคมของเราเป็นการปฏิเสธความยุติธรรม โดยการยอมให้มนุษย์ผู้หนึ่งได้ครอบครองที่ดิน ซึ่งมนุษย์ผู้อื่นต้องอาศัยดำรงชีวิตอยู่บนแผ่นดินนั้นและจากแผ่นดินนั้น เราก็ได้ทำให้พวกเขากลายเป็นทาสของผู้นั้นในระดับหนึ่งซึ่งจะรุนแรงขึ้นเมื่อความก้าวหน้าทางวัตถุดำเนินไป นี่คือการเล่นแร่แปรธาตุ (alchemy) อย่างแยบยล ซึ่งกำลังสกัดเอาผลแห่งการทำงานเหนื่อยยากจากมวลชนในอารยประเทศทุกแห่งไปโดยวิธีที่พวกเขาไม่รู้สึก ซึ่งกำลังสถาปนาระบบทาสที่ยากแค้นขึ้นและไร้ความหวังยิ่งขึ้นแทนที่ระบบทาสที่ถูกทำลายลงไปแล้ว กำลังทำให้เกิดระบบกดขี่ทางการเมืองขึ้นจากเสรีภาพทางการเมือง และในไม่ช้าก็จะต้องเปลี่ยนสถาบันประชาธิปไตยให้กลายเป็นอนาธิปไตย

สิ่งนี้แหละที่ทำให้พรแห่งความก้าวหน้าทางวัตถุกลายเป็นคำสาป สิ่งนี้แหละที่ต้อนให้มนุษย์เข้าไปแน่นกันอยู่ในห้องใต้ดินสกปรกและห้องเช่าซอมซ่อ ที่ทำให้มีคนเต็มคุกและหญิงเต็มซ่องโสเภณี ที่ลงปฏักทิ่มตำมนุษย์ด้วยความขาดแคลนและเผาผลาญมนุษย์ด้วยความโลภ ที่ปล้นความสง่าและความงามแห่งอิตถีเพศที่ดีพร้อมไปจากสตรี ที่พรากความรื่นเริงและความบริสุทธิ์แห่งยามอรุณของชีวิตไปจากเด็กน้อย

อารยธรรมที่อาศัยพื้นฐานเช่นนี้ย่อมไม่อาจดำเนินต่อไปได้ กฎอันยั่งยืนชั่วนิรันดร์แห่งเอกภพย่อมห้ามอารยธรรมเช่นนี้ ซากพินาศแห่งจักรวรรดิที่ตายไปแล้วบ่งชี้ว่ามันจะเป็นเช่นนี้ไม่ได้ และพยานซึ่งอยู่ในวิญญาณทุกดวงก็ตอบเช่นเดียวกัน สิ่งนี้เป็นบางสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าความเมตตากรุณา บางสิ่งที่สง่าน่าเคารพยิ่งกว่าความมีใจกุศล – เทวียุติธรรมเองเรียกร้องให้เราแก้ไขความอยุติธรรมนี้ให้ถูกต้อง ความยุติธรรมซึ่งจะไม่ถูกปฏิเสธ ซึ่งจะไม่สามารถบอกเลื่อนออกไปได้ – ความยุติธรรมซึ่งถือดาบพร้อมไปกับตราชู เราจะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงด้วยพิธีกรรมและการสวดมนต์อ้อนวอนหรือ? เราจะหลีกเลี่ยงประกาศิตแห่งกฎอันจะเปลี่ยนแปลงมิได้โดยการสร้างโบสถ์ในขณะที่ทารกซึ่งหิวโหยร้องคร่ำครวญและมารดาที่อิดโรยร่ำไห้อยู่กระนั้นหรือ?

ถึงแม้อาจจะใช้ภาษาของคำสวด แต่มันก็เป็นการหมิ่นพระผู้เป็นเจ้าที่อ้างว่าความระทมทุกข์และความมีสภาพเยี่ยงสัตว์อันเกิดจากความยากจนนั้นเป็นเพราะประกาศิตที่ยากแก่การเข้าใจแห่งพระผู้ทรงพระกรุณา การหมิ่นที่พนมมือเข้าหาพระบิดาโดยยกความรับผิดชอบในความขาดแคลนและอาชญากรรมแห่งนครใหญ่ ๆ ของเราให้แก่พระองค์ เราดูหมิ่นพระผู้ทรงเป็นนิรันดร เราใส่ร้ายพระผู้ทรงความยุติธรรม มนุษย์ผู้มีความกรุณาควรจะได้จัดระเบียบให้แก่โลก ผู้ที่รักความยุติธรรมควรจะบดขยี้จอมปลวกอันเป็นแผลฝีเช่นนั้นด้วยเท้าของเขา! มิใช่พระผู้ทรงมหิทธยานุภาพ แต่เป็นพวกเรานี่แหละที่ต้องรับผิดชอบต่อความชั่วร้ายและความทุกข์ยากซึ่งกลัดหนองอยู่ท่ามกลางอารยธรรมของเรา พระผู้สร้างทรงโปรยปรายของขวัญของพระองค์ลงมายังพวกเรา – มากเกินพอสำหรับทุกคน แต่เราเหยียบย่ำมันจมโคลนไปเสมือนหมูที่แย่งอาหารกัน – เหยียบย่ำมันจมโคลนไปในขณะที่เราฉุดกระชากลากทึ้งกันเอง!

ในใจกลางอารยธรรมของเราขณะนี้ ความขาดแคลนและความทุกข์ยากมีรุนแรงพอที่จะทำให้ผู้ที่ไม่ปิดตาของตนและทำประสาทให้แข็งเป็นเหล็กต้องใจคอเหี่ยวแห้ง เราจะกล้าหันไปหาพระผู้สร้างและขอให้พระองค์ทรงปลดเปลื้องภาวะเช่นนี้หรือ? สมมติว่าพระองค์ทรงรับฟังคำสวดอ้อนวอน และโดยพระโองการเช่นเดียวกับที่ทำให้เกิดเอกภพขึ้น ก็ได้เกิดพลังในดวงอาทิตย์มากยิ่งขึ้น บรรยากาศเต็มไปด้วยคุณความดีใหม่ เกิดพลังใหม่ขึ้นในพื้นดิน เกิดพืชขึ้น 2 เท่า และเมล็ดซึ่งเคยเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 50 เท่าก็กลายเป็นเพิ่มขึ้น 100 เท่า! ความยากจนจะลดน้อยลงหรือความขาดแคลนจะปลดเปลื้องไปกระนั้นหรือ? เห็นได้ชัดว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น! ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอันใดก็ตามจะเป็นแต่เพียงชั่วคราวเท่านั้น พลังใหม่ ๆ ที่ไหลมาสู่เอกภพจะนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้ก็แต่โดยผ่านทางแผ่นดินเท่านั้น และเมื่อที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน ชนชั้นซึ่งผูกขาดพระกรุณาแห่งพระผู้สร้างอยู่ขณะนี้ก็จะผูกขาดพระกรุณาใหม่ ๆ ของพระองค์หมดสิ้น เฉพาะแต่เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ ค่าเช่าจะเพิ่มขึ้น แต่ค่าแรงจะยังคงมีแนวโน้มไปสู่ระดับที่จะอดตายอยู่นั่นเอง!




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2555    
Last Update : 17 ตุลาคม 2555 12:53:28 น.
Counter : 1374 Pageviews.  

โลกใหม่ที่ไร้วิกฤตวัฏจักรฟองสบู่อสังหาฯ และไร้ความยากจน

โลกใหม่ที่ไร้วิกฤตวัฏจักรเศรษฐกิจฟองสบู่อสังหาฯ และไร้ความยากจน เราค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเข้าหาระบบนี้ได้ ซึ่งจะทำให้มนุษย์มีความเท่าเทียมกันดีกว่าปัจจุบัน ผู้คนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงแรงลงทุนตามส่วนกับความสามารถและความพากเพียรของเขา โดยไม่ถูกหักภาษีเงินได้และภาษีการผลิตการค้านานาชนิด ที่ไปลดรายได้และทำให้ของแพง (คือทำให้ผู้ทำงานและผู้ลงทุนยากจนลง ทั้งที่การลงแรงลงทุนผลิตและค้าได้ประโยชน์แก่ทั้งฝ่ายขายและฝ่ายซื้อ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากโดยวิธีแบ่งงานกันทำตามความชอบความถนัด)

ส่วนที่จะเก็บภาษีมีเพียงที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และการก่อความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม สำหรับที่ดินใช้วิธีค่อยๆ เก็บภาษีเพิ่มขึ้น โดยลดภาษีการลงแรงลงทุนชดเชยกัน ซึ่งในที่สุด สัก 30 ปี ภาษีที่ดินก็เท่ากับค่าเช่าที่ดิน (ไม่รวมอาคารโรงเรือน พืชผล หรือสิ่งปรับปรุงต่างๆ ที่เกิดจากการลงแรงลงทุนที่ก่อผลผลิต) ความได้เปรียบเสียเปรียบกันในการได้ถือครองที่ดินมากน้อยดีเลวต่างกันจะหมดไป

ที่เสนอให้เก็บภาษีที่ดินเพราะที่ดินไม่มีมนุษย์คนใดผลิตขึ้นมา มูลค่าที่ดินเองเกิดมีขึ้นมาได้ก็เพราะการมีชุมชนและกิจกรรมของชุมชนที่ทำให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวกสบายรวดเร็วปลอดภัยต่างๆ ในการอยู่อาศัยและประกอบอาชีพ ซึ่งทำให้ที่ดินว่างเปล่าในเมืองใหญ่ค่อยๆ เพิ่มราคาจนกลายเป็นวาละเป็นแสนเป็นล้านขึ้นมา โดยเจ้าของที่ดินไม่ได้ทำอะไรให้แก่ที่ดินนี้

ถ้าภาษีที่ดินต่ำ ก็เกิดการเก็งกำไรกักตุนค้าขายที่ดิน อย่างที่เห็นกัน ไปที่ไหนก้เจอที่ดินรกร้าง แต่มีเจ้าของแล้วอยู่ทั่วไป คนจนหมดโอกาสเป็นเจ้าของที่ดิน ต้องเช่าแพง หรือขาดที่ทำกิน ต้องแย่งกันหางานทำ ค่าแรงถูกกดต่ำ ซ้ำยังมีภาษีที่ทำให้ของแพง ก็ยิ่งเดือดร้อน
ที่สำคัญ การเก็งกำไรซื้อขายที่ดิน (และบ้าน) ทำให้เกิดวิกฤตวัฏจักรเศรษฐกิจฟองสบู่เดือดร้อนกันไปทั่ว

ถ้าภาษีที่ดินสูง ผู้คนก็จะหมดอยากที่จะเก็บที่ดินไว้เกินกว่าที่จะทำประโยชน์ได้คุ้ม ราคาค่าเช่าที่ดินก็จะต่ำลง คนจนจะมีที่ดินได้ง่ายขึ้น ได้ทำกินในที่ดิน การต้องวิ่งง้อของานทำจากนายทุนก็ลด จำนวนคนยากจนจะมีน้อยลง การสวัสดิการก็จะสามารถทำได้ทั่วถึงดีขึ้น

โลกใหม่นี้จะเกิดได้ด้วยระบบภาษีเดี่ยวจากที่ดินตามแนวของเฮนรี จอร์จ ครับ.



How to End Poverty a Quick and Easy Guide.
https://www.youtube.com/watch?v=PFJIZaV73pQ
howtoendpoverty.info/
howtoendpoverty.info/video/
A Long-Term Solution to Repetitive Economic Crises
//www.c4ej.com/




 

Create Date : 06 ตุลาคม 2555    
Last Update : 6 ตุลาคม 2555 11:01:49 น.
Counter : 1555 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com