ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
เก็งกำไรที่ดินสาเหตุสำคัญเศรษฐกิจถดถอย

เก็งกำไรที่ดินสาเหตุสำคัญเศรษฐกิจถดถอย

เวลาพิจารณาเรื่องเศรษฐกิจถดถอยหรือวัฏจักรธุรกิจ มีพูดกันเรื่องการผลิตมากเกินไป (overproduction) หรือการบริโภคต่ำกว่าระดับ (underconsumption) แล้วก็ชี้ว่าเป็นเพราะสาเหตุต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องทุนกับแรงงาน ส่วนที่มักลืมกันก็คือ “ที่ดิน” ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตปัจจัยหนึ่งใน 3 ปัจจัยร่วมกับ แรงงาน และ ทุน

ขอตัดเอาส่วนหนึ่งของวัฏจักรธุรกิจมาแสดงพอให้เข้าใจ

กล่าวคือเมื่อวัฏจักรเข้าสู่ระยะแกว่งตัวขึ้น เพราะการจ้างงานมากขึ้น ย่อมหมายความว่าจะมีการใช้จ่ายมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดกิจการมากขึ้น อสังหาริมทรัพย์ที่ว่างเหลือน้อยลง ราคาและค่าเช่าเริ่มสูง การก่อสร้างเริ่มเข้าสู่ระยะเฟื่องฟู กระตุ้นอุปสงค์ในที่ดิน ระยะฟื้นตัวกลายเป็นระยะเฟื่องฟู อัตราเพิ่ม (ความชัน) ของการแกว่งตัวขึ้นเข้าสู่ขั้นสูงสุด ระยะนี้นักเก็งกำไรจะเข้าสู่ตลาด เพราะคาดกันว่าอสังหาริมทรัพย์จะมีราคาสูงขึ้นในอนาคต จึงทำให้ที่ดินยิ่งมีราคาสูงขึ้นไปอีก การก่อสร้างส่วนใหญ่ก็เป็นการเก็งกำไร เพราะผู้ก่อสร้างก็คาดหวังว่ามูลค่าที่ดินของตนจะสูงขึ้นจะทำให้ตนได้กำไร

แต่ผู้ประกอบการเริ่มเห็นว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ชักจะสูงกว่าที่ควรสำหรับปัจจุบัน เพราะมันสูงขึ้นจากการคาดหวังสำหรับอนาคต “สิ่งขวางกั้นที่มองไม่เห็น ซึ่งทำให้ไม่มีการก่อสร้างอาคารและเมืองไม่ขยายออก คือ ราคาอันสูงของที่ดิน ราคาที่จะเพิ่มเมื่อเห็นแน่นอนว่าประชากรที่เพิ่มจะต้องใช้ที่ดิน” (Henry George, Social Problems, 1883, p.126) “มือที่มองไม่เห็น” ของแอดัม สมิธ ถูกสกัดด้วย “สิ่งขวางกั้นที่มองไม่เห็น” ของเฮนรี จอร์จ เป็นธรรมดาที่จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น ดอกเบี้ย วัตถุดิบ และแรงงาน แต่การเก็งกำไรเป็นอิทธิพลที่มีพลังสูงเป็นพิเศษที่ทำให้ราคาที่ดินขึ้นสูง

การก่อสร้างที่ชะลอตัวลงทำให้กิจการอื่นๆ ชะลอลงด้วย เช่น ความต้องการเฟอร์นิเจอร์ เหล็ก ปูน และ ไม้ ลด อุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าทุนเหล่านี้ ซึ่งได้ขยายอย่างรวดเร็ว ก็หดตัวลง คนงานที่ถูกปลดหรือลดเวลาทำงานก็ใช้จ่ายน้อยลง อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจยิ่งช้าลงอีก จนมาถึงจุดที่เส้นเฉียงขึ้นเปลี่ยนเป็นเส้นแนวนอน คือ หยุดขยาย เศรษฐกิจอยู่ที่จุดสูงสุด แต่กำลังจะต่ำลง เพราะอัตราการขยายตัวได้ลดลง และกำลังจะเป็นลบ

ภาวะถดถอยเองยิ่งทำให้เกิดการถดถอยมากขึ้น โดยที่การลดการผลิตทำให้รายได้ลด รายจ่ายก็ต้องลดตาม ซึ่งยิ่งทำให้การผลิตลดลงอีก ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังคงสูง ถึงแม้จะมีว่างมากขึ้น เพราะเจ้าของยังไม่อยากขายต่ำกว่าราคาที่เคยสูงมา ปรากฏการณ์นี้ดำเนินมาซ้ำซากทุกวัฏจักร ! แต่ในที่สุด เมื่อมีการล้มละลายมากขึ้น เจ้าของที่ดินก็ได้รับค่าเช่าน้อยลง ส่วนหนึ่งของเจ้าของที่ดินซึ่งมีรายจ่ายเกินรายได้ก็ต้องขาย ราคาอสังหาฯ จึงเริ่มหักหัวลง เจ้าของที่ดินจำนวนมากล่มจม หมดความสามารถชำระหนี้ ส่วนใหญ่มีหนี้มากเกินมูลค่าทรัพย์สินของตน เมื่อไม่มีการชำระหนี้ ธนาคารก็ขาดเงินมากมาย และล้มลงหลายแห่ง

หลังจากการหดตัวรุนแรง การล้มละลายและการหดตัวก็ลดความเร็วลง นับเป็นการถึงจุดที่เส้นโค้งลดความชัน (inflection point) ซึ่งเศรษฐกิจยังคงหดตัว แต่ความชันเปลี่ยนเป็นน้อยลง และกำลังลงไปสู่จุดต่ำสุด ซึ่งที่จุดนี้ ทรัพยากรเป็นอันมาก โดยเฉพาะคือ แรงงาน และ อสังหาริมทรัพย์ จะอยู่ว่าง และมีราคาต่ำ

อาการชะลอตัว หดตัว เหล่านี้เองที่ทำให้ผู้คนก็มีกำลังซื้อต่ำ จึงทำให้เกิดสภาพเหมือนว่ามีการผลิตมากเกินไปในสินค้าต่าง ๆ

เฮนรี จอร์จ ยอมรับว่ามีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วย ส่วนที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างมีดังนี้:

1) การผลิตมีความซับซ้อน และต้องเกี่ยวข้องพึ่งพาซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น ถ้าธุรกิจเกิดล้มหรือหยุดชะงักขึ้นส่วนหนึ่งก็จะแผ่ขยายไปยังส่วนอื่นๆ ด้วย
2) ความบกพร่องในเรื่องเงินตรา
3) การเปลี่ยนแปลงปริมาณเครดิตอย่างมากมาย
4) ภาษีอันเป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ในระหว่างพลังการผลิตด้วยกัน

อย่างไรก็ดี จอร์จถือว่าการเก็งกำไรในที่ดินมากขึ้นเป็นสาเหตุใหญ่ของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
แต่ที่จริงการเก็งกำไรที่ดินมีอยู่ทุกวัน เศรษฐกิจจึงถูกถ่วงรั้งตลอดเวลาอยู่แล้ว เป็นแต่อาการจะรุนแรงมากน้อยตามวัฏจักร

แต่แม้ในภาวะปกติก็ทำให้แรงงานขั้นพื้นฐานต้องยากจนเดือดร้อนมากอยู่แล้ว

ถ้าไม่มีการเก็งกำไรที่ดิน วัฏจักรเศรษฐกิจก็จะไม่เหวี่ยงตัวรุนแรง ความเสียหายจะลดลงมหาศาล.

(จากตำราเศรษฐศาสตร์ บทที่ 12 ของ ดร. Fred E. Foldvary ที่ //foldvary.net/sciecs/ch12.html
และหนังสือความยากจนที่ไม่เป็นธรรม หน้า 42-43 ที่ //geocities.com/utopiathai/UPp036-056ch4.doc )



Create Date : 03 มีนาคม 2550
Last Update : 19 มีนาคม 2550 10:20:32 น. 0 comments
Counter : 804 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com