ยูโทเพียไทย
เศรษฐศาสตร์
เพื่อความเป็นธรรม

 
ภาพยนตร์เรื่องสิ้นสุดความยากจน ?

ภาพยนตร์เรื่องสิ้นสุดความยากจน ?
(จาก //povertythinkagain.com/files/about-the-film-the-end-of-poverty-a-word-from-our-sponsor/ )

มูลนิธิ Robert Schalkenbach ได้ร่วมกับ Cinema Libre Studio ผลิตภาพยนตร์เรื่อง The End of Poverty? โดยหวังว่าจะเกิดคำถามขึ้นหลายคำถามในใจของผู้ชม ท่านจะหากำหนดการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ได้จาก //www.theendofpoverty.com

ความมุ่งหมายของมูลนิธิคือเพื่อแนะนำให้ผู้คนได้รู้จักกับความคิดของ Henry George นักเศรษฐศาสตร์และนักปฏิรูปสังคมในระยะปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภาพยนตร์เริ่มด้วยคำถามที่เฮนรี จอร์จได้ถามเมื่อกว่าหนึ่งศตวรรษมาแล้ว คือ ทำไมความยากจนจึงกลายเป็นปัญหาหนักขึ้นในขณะที่สังคมเจริญรุ่งเรืองขึ้น นั่นคือปฏิทรรศน์หรือความขัดแย้ง (paradox) ขั้นพื้นฐานที่เฮนรี จอร์จกล่าวในหนังสือ Progress and Poverty ซึ่งขายได้หลายล้านเล่มและแปลเป็นภาษาต่าง ๆ กว่าสิบภาษา ถือกันว่าแนวคิดของเฮนรี จอร์จเป็นทางเลือกแนวมูลวิวัติหรือหัวรุนแรงเปลี่ยนถึงรากฐาน (radical) นอกจากแนวมาร์กซ์จนถึง ค.ศ. 1917

วิธีง่าย ๆ ที่จะอธิบายความคิดที่เป็นแกนกลางของจอร์จ คือกล่าวว่า การแยกคนรวยคนจนมักจะตรงกับการแบ่งระหว่างพวกที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์และทรัพยากรธรรมชาติ กับพวกที่ไม่ใช่เจ้าของสิ่งเหล่านี้
ในประเทศที่กำลังพัฒนา คนรวยครอบครองที่ดินเกษตรและทรัพยากรแร่ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว คนรวยครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในย่านชุมชนเมือง (มีค่านับล้านล้านหรือ trillions ดอลลาร์) และหุ้นกับหุ้นกู้ของบรรษัทที่เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหรือไม่ก็เหมืองแร่ คนจนจะทำงานรับจ้างคนรวยในระบบตลาดซึ่งทำให้คนจนยังยากจนต่อไปเพราะความเหลื่อมล้ำในกรรมสิทธิ์

ส่วนที่ 2 ของสารจากจอร์จคือคนรวยไม่เพียงแต่ครอบครองทรัพยากร พวกเขายังกักตุนโดยหวังว่าราคาจะสูงขึ้น ตัวอย่างคือการเฟื่องฟูและแฟบฟุบ (boom and bust) ของธุรกิจบ้านและที่ดินทั่วโลก ค.ศ. 2008-9 นี่เอง วัฏจักรนั้นเพิ่มความยากจน 3 ทาง
1. ทำให้บ้านและที่ดินมีราคาสูงเกินกำลังซื้อของคนจน
2. กระตุ้นให้เกิดการกักตุนแทนที่จะใช้อสังหาริมทรัพย์
3. เพิ่มการว่างงานหลังจากธุรกิจหดตัวรุนแรง
ความเดือดร้อนเกิดกับทุกคนในโลก แม้แต่ผู้อยู่ในชุมชนแออัดที่โด่งดังขึ้นมาจากการเป็นเศรษฐีชาวสลัม

ภาพยนตร์นี้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกักตุนที่ดินกับความยากจน (และสิ่งที่ Miloon Kothari เรียกว่า “ความรุนแรงทางอสังหาริมทรัพย์”) อยู่บ้าง แต่โดยที่ภาพยนตร์นี้สร้างเสร็จก่อนฟองสบู่บ้านและที่ดินแตก จึงมิได้กล่าวถึงผลลัพธ์ของภัยพิบัตินั้น

ภาพยนตร์เรื่อง “สิ้นสุดความยากจน ?” ไม่ได้มุ่งที่เหตุการณ์ปัจจุบัน แต่ได้พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับวิถีโคจรระยะยาวของโครงการต่อต้านความยากจนเพื่ออธิบายว่าทำไมโครงการเหล่านี้จึงล้มเหลว ผู้ดูจะเข้าใจได้ว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากการขาดความสามารถส่วนตัวของคนจนดังที่ทัศนะแบบอนุรักษนิยมทัศนะหนึ่งต่อความยากจนอยากจะให้เราเชื่อเช่นนั้น แต่ตามประวัติศาสตร์ ความยากจนเกิดจากชาวนายุโรปถูกยึดที่ดิน ต่อมาก็มีการใช้นโยบายเดียวกันนี้ทั่วโลกด้วยลัทธิอาณานิคม ดินแดนที่ไม่ถูกล่าเป็นอาณานิคม เช่น รัฐเกรละ (Kerala) ของอินเดีย ยังมีความเท่าเทียมกันในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอยู่ในระดับสูงและไม่มีความยากจนของคนหมู่มากให้เป็นปัญหา

สภาพทางโครงสร้างก่อให้เกิดความยากจนในทุกประเทศ ทั้งประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน แต่วิธีบังคับใช้ระบอบที่ก่อความยากจนในประเทศกำลังพัฒนานั้นปรากฏเห็นได้ชัดเจนกว่าในสหรัฐฯ หรือยุโรป โดยการตรวจสอบรากเหง้าของความยากจนในโลกที่ 3 ตามที่ภาพยนตร์เรื่องนี้กระทำ ปรากฏชัดว่าความยากจนเป็นผลจากความไม่เท่าเทียมกันในอำนาจ ลัทธิอาณานิคมและระบบทาสต้องอาศัยการมีพลังอำนาจทางทหาร เมื่อลัทธิอาณานิคมจบลงเป็นทางการ รัฐที่ได้เอกราชใหม่มีภาระหนักในเรื่อง
1. กฎหมายที่ดินซึ่งกำหนดให้ที่ดินรายใหญ่ยังอยู่ในมือของผู้มาตั้งถิ่นฐาน
2. หนี้สินระหว่างประเทศซึ่งตกทอดมาจากผู้ปกครองอาณานิคมและยังคงมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
3. การขาดดุลการค้า เพราะสินค้าส่งออกเป็นวัตถุดิบ แทนที่จะเป็นสินค้าประดิษฐกรรม

สัญญาความช่วยเหลือจากต่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจเท่าที่ผ่านมามักจะเป็นการหลอกลวงที่โหดร้าย ตราบเท่าที่ยังมีโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมอยู่ ผลของการช่วยเหลือและการพัฒนาจะถูกสูบออกไปเป็นดอกเบี้ยสำหรับหนี้หรือเป็นผลประโยชน์พิเศษแก่อภิชนในท้องถิ่น ผลคือนับวันความยากจนยิ่งเลวร้ายลง

เฮนรี จอร์จเขียนหนังสือหลังจากสงครามกลางเมืองสหรัฐฯ ไม่นาน พวกจักรวรรดินิยมในยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่นยังไม่ได้เฉือนโลกแบ่งกันและแสวงอำนาจครอบครองทางเศรษฐกิจ เขาตายก่อนที่สหรัฐฯ จะยึดฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมใน ค.ศ. 1900 แม้จะดูเหมือนว่าน่าเป็นไปได้ที่เขาจะคัดค้านการล่าอาณานิคมเช่นนั้น อย่างไรก็ดี งานเขียนของเฮนรี จอร์จไม่ได้อธิบายหลาย ๆ ประเด็นในภาพยนตร์โดยตรง ด้วยเหตุนั้นภาพยนตร์นี้จึงทำให้เกิดคำถามมากพอ ๆ กับที่ตอบ

ทางมูลนิธิหวังว่าท่านจะพบว่าเว็บไซต์นี้เป็นประโยชน์ในการคิดหาวิธีที่อาจจะใช้เพื่อเลิกความยากจน กฎและระเบียบต่าง ๆ ได้ก่อปัญหาที่เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ถ้าทำงานร่วมกัน เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงกฎและระเบียบที่ทำให้ความยากจนยังคงอยู่ เราจะสามารถลบเครื่องหมายคำถามออกจากชื่อเรื่อง “สิ้นสุดความยากจน ?”


Create Date : 20 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2552 7:18:30 น. 0 comments
Counter : 729 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 
 

สุธน หิญ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




แก้ความอยุติธรรมขั้นฐานราก
ตามแนวเฮนรี จอร์จ
http://utopiathai.webs.com
เลิกภาษีการลงแรงลงทุนผลิตและค้า
เลิกภาษีเงินได้ เพิ่มภาษีที่ดิน
ค่อยๆ เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาสัก 30 ปี


เปิดเว็บต่างแดนดูไม่ได้ ให้ google ช่วยหา free anonymous proxy server ของต่างประเทศซึ่งมีอยู่มากเพื่อเปิดให้แทนครับ (ในไทยอาจมีการปิดกั้นเว็บของต่างแดน เว็บย่อยที่คนไทยอาศัยใช้กันก็พลอยถูกปิด)

เว็บหลักของผม ยูโทเพียไทย_1
* หน้ารวมลิงก์ยูโทเพียไทย_1 *

หนังสือดีเด่นแปล Progress and Poverty หนังสือ ความยากจนที่ไม่เป็นธรรม และ บทความ ของผม ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ยินดีให้เผยแพร่ต่อด้วยความขอบคุณ ยกเว้นบทความแปลกรุณาอ่านเงื่อนไขจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่อ้างไว้ครับ


- ศัพท์เศรษฐศาสตร์ ดร.บุญเสริม
- ภาษีทรัพย์สินสหรัฐฯ
- ภาวะตลาดอสังหาฯ
- ภาวะตลาดที่อยู่อาศัย 2537-51
- ราคาที่ดินทั่วไทยรายแปลง
- สรุปราคาประเมินใน กทม.ปี 2551-54
- การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินใน กทม.และปริมณฑลปี 2528-50


[Add สุธน หิญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com