นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
Group Blog
 
All blogs
 
ปัตติทาน - ปัตตานุโมทนะ (การอุทิศส่วนบุญ - การอนุโมทนา)


ปัตติทาน

แสดงวจนัตถะว่า “ปตฺตพฺพาติ ปตฺติ” “ปตฺติยา ทานํ ปตฺติทานํ” ธรรมชาติใดที่ผู้กระทำได้ถึงแล้ว ฉะนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่าปัตติ ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา ที่เกิดขึ้นแล้วในสันดานของตน การให้ส่วนบุญที่ตนได้มาชื่อว่าปัตติทาน ได้แก่การอุทิศส่วนบุญให้ บิดา มารดา ครู อาจารย์ ญาติพี่น้อง ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งปวงที่ล่วงลับไปแล้ว

ตามวจนัตถะข้อนี้เป็นการแสดงโดยบุคคลาธิษฐาน แต่เมื่อจะแสดงโดยธรรมาธิษฐานแล้วก็มีดังนี้ “ปตฺตึ ททนฺติ เอเตนาติ ปตฺติทาน” ผู้ใจบุญทั้งหลายย่อมให้ส่วนบุญที่ตนได้มาแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้นธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการให้นั้นชื่อว่าปัตติทาน ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในมหากุศลจิตตุปบาทที่เกิดขึ้นในขณะที่ตั้งใจอุทิศส่วนบุญ

เมื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่บุคคลอื่นเช่นนี้แล้ว บุญนั้นจะลดน้อยถอยลงไปหรือไม่ ? ข้อนี้แก้ว่าไม่ลดน้อยถอยลงเลยแต่อย่างใด มีแต่จะกลับเพิ่มพูนยิ่งขึ้นไปอีก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าการให้ซึ่งบุญนั้นต่างกันกับการให้วัตถุสิ่งของที่มีอยู่ ที่กล่าวว่ามีแต่จะเพิ่มพูนยิ่งขึ้นไปนั้น ข้อนี้เสมือนหนึ่งการจุดเทียนขึ้นไว้หนึ่งเล่ม แม้ว่าจะนำเทียนเล่มอื่นๆ มาจุดต่อมีจำนวน

(หน้าที่ 212)

ตั้งหลายร้อยหลายพันเล่มก็ตาม แสงสว่างที่มีอยู่กับเทียนเล่มแรกก็มิได้หมดสิ้นไปแต่ประการใด มีแต่จะได้รับแสงสว่างเพิ่มขึ้นใหม่จากแสงเทียนเหล่านั้นเป็นทวีคูณฉันใด การอุทิศส่วนบุญให้แก่บุคคลอื่นก็ย่อมช่วยทำให้กุสลที่ตนได้มามีอำนาจมากยิ่งๆขึ้นไป ทุกครั้งที่ทำการอุทิศให้ฉันนั้น




-------------------------------------------------







ปัตตานุโมทนะ (การอนุโมทนาบุญ)

แสดงวจนัตถะว่า “ปตฺติยา อนุโมทน ปตฺตานุโมทนํ” การเห็นดีคล้อยตามด้วยความอิ่มใจซึ่งส่วนที่เขาอุทิศมาให้ชื่อว่าปัตตานุโมทนะ ได้แก่การอนุโมทนารับส่วนบุญที่เขาอุทิศมาให้

คำว่า “ปัตติ” ในปัตติทานนั้นเป็นทาน ศีล ภาวนา ที่ตนพยายามก่อสร้างให้เกิดขึ้นแล้วอุทิศให้แก่บุคคลอื่น ส่วนคำว่า “ปัตติ” ที่ในปัตตานุโมทนะนั้นได้แก่กุศลที่เขาอุทิศมาให้นั้นได้มาถึงตนแล้วโดยทางวาจาและหนังสือ ดังนั้นจึงแสดงวจนัตถะอีกนัยหนึ่งว่า “ปาปิยตีติ ปตฺติ” กุสลที่คนอื่นพึงอุทิศให้ ฉะนั้น ชื่อว่าปัตติ “ปตฺติ อนฺโมทนฺติ สาธุการํ ททนฺติ เอเตนาติ ปตฺตานุโมทนํ” ชนทั้งหลายย่อมอนุโมทนาซึ่งบุญกุศลที่เขาอุทิศมาให้โดยการเปล่งวาจาว่า สาธุ โดยเจตนานั้น ฉะนั้น เจตนานั้นชื่อว่า ปัตตนุโมทนะ ได้แก่ มหากุศลเจตนาที่เกี่ยวกับการอนุโมทนา

เมื่อพิจารณาดูตามหลักวจนัตถะที่แสดงแล้วนี้ ก็จะพึงเห็นได้ว่าเจตนาที่อยู่ใน มหากุศลโสมนัสดวงใดดวงหนี่งนั้นแหละ เป็นปัตตานุโมทนากุศลอย่างสมบุรณ์เต็มที่ ส่วนเจตนาที่อยู่ในมหากุศลอุเบกขาดวงใดดวงหนึ่งนั้นเป็นปัตตานุโมทนกุศลไม่สมบูรณ์ เพราะว่าจิตใจในขณะนั้นขาดปิติโสมนัสต่อบุญกุศลที่เขาอุทิศมาให้ เพียงแต่ทำให้เปล่งวาจาว่า สาธุ หรือดีแล้วๆ ตามภาษาของตนๆเท่านั้น ฉะนั้นการอนุโมทนาที่จะเป็นปัตตานุโมทนกุศลอย่างสมบูรณ์ได้จะต้องมีจิตใจประกอบด้วยปิติโสมนัส ถ้ายิ่งเป็นญาณสัมปยุตตโสมนัสด้วยแล้วก็จะเป็นปัตตานุโมทนกุศลอย่างดียิ่ง

การอนุโมทนาส่วนบุญ

ที่ไม่ได้ชื่อว่าปัตตานุโมทนกุศลโดยตรง

การอนุโมทนาส่วนบุญที่ไม่ได้ชื่อว่าปัตตานุโมทนกุศลโดยตรงนั้นคือ เมื่อได้เห็นเขากำลังทำบุญ คือการบริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา หรือได้เห็นคำจารึกชื่อเจ้าของติด

(หน้าที่ 213)

อยู่ในวัตถุที่สร้างถวายก็เกิดปิติโสมนัสด้วย โดยที่เขาไม่ได้บอกกล่าวหรืออุทิศส่วนบุญนั้นให้แต่อย่างใด ความปิติโสมนัสต่อการงานที่ดีของบุคคลอื่นอย่างนี้นั้นจะเปล่งวาจาว่า สาธุหรือดีๆก็ตาม หรือไม่ได้เปล่งวาจาก็ตาม ไม้ได้ชื่อว่าเป็นปัตตานุโมทนกุศลโดยตรง เพียงแต่เป็นโดยอนุโลมเท่านั้น สำหรับการอนุโมทนาส่วนบุญที่ได้ชื่อว่าเป็นปัตตานุโมทนากุสลแท้ๆนั้น ได้แก่บุญกุศลที่ผู้กระทำได้พยายามก่อสร้างขึ้น แล้วนำมาบอกกล่าวอุทิศให้ การอนุโมทนาส่วนบุญที่เจ้าของบอกกล่าวอุทิศให้เช่นนี้ จึงจะได้ชื่อว่าปัตตานุโมทนากุศลโดยตรง

ปตฺติ (ส่วนบุญที่เขาแผ่ให้) ๒ ประการ
๑. อุทฺทิสฺสิกปตฺติ ส่วนบุญที่เขาแผ่ให้โดยเจาะจง
๒. อนุทฺทิสฺสิกปตฺติ ส่วนบุญที่เขาแผ่โดยไม่เจาะจง

เมื่อแยกบทตามบาลีไวยากรณ์แล้วมีดังนี้ อุทฺทิสฺส + อิก + ปตฺติ = อุทฺทิสฺสิก ปตฺติ, อุทฺทิสฺส = การเจาะจง, อิก = มี, ปตฺติ = กุศลที่เขาแผ่ให้ เมื่อรวมบททั้ง ๓ นี้เข้าด้วยกันแล้วก็แปลว่า กุศลที่เขาแผ่ให้โดยมีการเจาะจง น + อุทฺทิสฺส + อิก + ปตฺติ = อนุทฺทิสฺสสิกปตฺติ, น = ไม่, อุทฺทิสฺส = การเจาะจง, อิก = มี, ปตฺติ = กุศลที่เขาแผ่ให้เมื่อรวมบททั้ง ๔ นี้เข้ากันแล้วก็แปลว่า กุศลที่เขาแผ่ให้โดยไม่เจาะจง

การแผ่ส่วนบุญทั้งสองประการนี้ ผู้ที่ได้รับส่วนบุญชนิดที่เป็นอุททิสสิกปัตติ เมื่อได้เปล่งวาจาว่าสาธุๆ แล้วก็ได้รับผลทันที เช่น พวกเปรตที่เป็นญาติกับพระเจ้าพิมพิสารแต่ในชาติปางก่อน เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสร้างวัดเวฬุวนารามถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท้าวเธอมิได้ทรงแผ่ส่วนบุญโดยเจาะจงให้แก่พวกเปรตเหล่านี้เลย เพียงแต่ทรงแผ่ไปโดยไม่เจาะจงเท่านั้น ดังนั้นพวกเปรตเหล่านี้จึงได้พากันส่งเสียงร้องขอต่อท้าวเธอ พอวันรุ่งขึ้นท้าวเธอก็รีบเสด็จไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กราบทูลถามถึงเรื่องที่ได้ประสบมานั้นแต่พระพุทธองค์
พระพุทธองค์จึงรับสั่งว่า เป็นเสียงของเปรตที่เป็นญาติมาร้องขอส่วนบุญ เพราะพระองค์มิได้ทรงอุทิศส่วนบุญทั้งปวงที่ทรงบำเพ็ญให้เขาโดยเจาะจงเลย เขาเหล่า

(หน้าที่ 214)

นั้นได้ตั้งใจคอยเพื่อจะได้รับส่วนบุญจากพระองค์มาช้านานแล้ว ดังนั้นพระเจ้าพิมพิสารจึงได้ทรงจัดการทำบุญขึ้นใหม่อีกเป็นครั้งที่สอง แล้วได้ทรงแผ่ส่วนบุญนั้นให้แก่เปรตเหล่านั้นโดยเจาะจง ส่วนพวกเปรตทั้งหลายเมื่อได้รับส่วนบุญจากพระเจ้าพิมพิสารทรงแผ่ให้โดยเจาะจงแล้ว ก็พากันเปล่งวาจาว่าสาธุๆ ผลบุญก็ปรากฏขึ้นทันทีโดยได้รับอาหารมาบริโภคบรรเทาความหิวโหย อดอยาก มาเป็นเวลาช้านานลงได้ในขณะนั้นเอง นี้เป็นผลที่ได้รับโดยปรากฏชัดจากการแผ่ส่วนบุญโดยเจาะจง

สำหรับผู้ที่ได้รับส่วนบุญชนิดที่เป็นอนุททิสสิกปัตตินั้น หาได้รับผลปรากฏชัดในทันทีทันใด เหมือนผู้ที่ได้รับส่วนบุญชนิดอนุททิสสิกปัตตินั้นไม่ แต่จะอย่างไรก็ตามทีอานิสงส์แห่งการอนุโมทนาส่วนบุญชนิดที่เป็นอุททิสสิกปัตติของพวกเปรตเหล่านั้นก็ไม่สุญหายไปข้างไหน ต่อเมื่อได้รับส่วนบุญชนิดที่เป็นอนิทิสสิกปัตติเวลาใด เวลานั้นการอนุโมทนาส่วนบุญชนิดที่เป็นอนุทิสสิกปัตติก็เข้าอุดหนุนส่งเสริมการอนุโมทนาส่วนบุญชนิดที่เป็นอุททิสสิกปัตติให้มีกำลังกล้าแข็งยิ่งขึ้นทันทีทันใดในขณะนั้น

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ มุ่งหมายถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ไปถือกำเนิดเป็นปรทัตติปชีวิกเปรตพวกหนึ่ง กับวินิปาติกอสุราและเวมานิกเปรตที่เป็นพวกเทวดาชั้นต่ำในจาติมหาราชิกาภูมิอีกพวกหนึ่งเท่านั้น สำหรับในหมู่มนุษย์ด้วยกันนี้ก็มีการอนุโมทนาส่วนบุญชนิดที่เป็นอุททิสสิกปัตติ หรืออุททิสสิกปัตติเหมือนกัน แต่ผลที่ได้รับนั้นหาใช่เป็นข้างของเงินทอง อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เหมือนกันกับเปรตได้รับนั้นไม่ เพียงแต่ได้รับผล คือมีจิตใจสุขสบายไม่เดือดร้อน หน้าตาชุ่มชื่นแจ่มใสไม่ขุ่นมัวเท่านั้น

วิธีแผ่ส่วนบุญชนิดอุททิสสิกปัตติ

วิธีแผ่ส่วนบุญชนิดอุททิสสิกปัตตินั้นมีการแผ่ดังนี้

อิทํ เม ปุญฺญํ มาตาปิติอาจริยญาตามิตฺตสมูหานํ เทมิ ฯ ขออุทิศการทำบุญที่เกี่ยวกับทาน ศีล ภาวนา ของข้าพเจ้านี้ให้แก่ บิดา มารดา ครู อาจารย์ ญาติ มิตร ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นด้วยเทอญ,

(หน้าที่ 215)

วิธีแผ่ส่วนบุญชนิดอนุททิสสิกปัตติ

สำหรับวิธีแผ่ส่วนบุญชนิดอนุททิสสิกปัตตินั้นมีวิธีแผ่ดังนี้

อิทํ เม ปุญฺญํ สพฺพสตฺตานํ เทมิฯ ขออุทิศการทำบุญที่เกี่ยวกับทาน ศีล ภาวนา ของข้าพเจ้านี้ให้แก่บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยกันทั้หมดเทอญ,


--------------------------------------------------------
(ที่มา ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา
ปริเฉทที่ ๕: วีถิมุตตสังคหะ เล่ม ๒ )



Create Date : 27 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 20 มีนาคม 2555 16:56:21 น. 2 comments
Counter : 1709 Pageviews.

 
อนุโมทนาสาธุครับ การแสดงมุทิตาจิต ของผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อละอิจฉาและริษยา ย่อมไม่มีในผู้มี อิสรามานะครับ


โดย: shadee829 วันที่: 28 พฤศจิกายน 2554 เวลา:11:20:06 น.  

 
อนุโมทนาสาธุเนื่องในวันมาฆบูชาครับ


โดย: shadee829 วันที่: 6 มีนาคม 2555 เวลา:20:45:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชาวมหาวิหาร
Location :
Germany

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




Thepathofpurity.com
Friends' blogs
[Add ชาวมหาวิหาร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.