สอบเข้าคณะนิติศาสตร์ คลิ๊ก ... http://tutorlawgroup.blogspot.com/
Group Blog
 
All blogs
 
สรุปหลักกฎหมายมรดก

บรรพ 6 ว่าด้วย มรดก

มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ

เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวผู้ตายโดยแท้ อย่างไรก็ดี

ความรับผิดของทายาทจะมีขอบเขตจำกัด คือ กฎหมายกำหนดว่าทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน

มรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อใด

มรดกจะตกทอดแก่ทายาท เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ความตาย ในที่นี้หมายความรวมถึงความตายซึ่งตามกฎหมายถือว่าบุคคลนั้นได้ตายแล้วด้วย เมื่อบุคคล
ใดต้องถึงแก่ความตายดังกล่าว กองมรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม โดยทายาทซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายเรียกว่า
ทายาทโดยธรรม ทายาทซึ่งมีสิทธิตามพินัยกรรมเรียกว่าผู้รับพินัยกรรม มรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรมเมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาทในกรณีที่มีทายาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเรียกว่า ทายาทโดยธรรม ได้แก่ ญาติและคู่สมรส

การเป็นทายาท

บุคคลที่จะเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกนั้น ถ้าเป็นทายาทโดยธรรมต้องเป็นบุคคลธรรมดา และบุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทได้ต้องมีสภาพบุคคล ซึ่งสภาพ
บุคคลนี้ย่อมเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อบุคคลนั้นได้คลอดออกมาแล้วอยู่รอดเป็นทารก

ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่
1. ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อ
2. บิดามารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
7. คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย

การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
1. ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลำดับชั้นต่าง ๆ หลายชั้น ทายาท
โดยธรรมในลำดับต้นจะได้รับมรดกไปก่อน ส่วนทายาทโดยธรรมในลำดับรอง
ลงมาไม่มีสิทธิได้รับมรดก
2. กรณีที่ผู้ตายมีคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ แม้ผู้
ตายจะมีทายาทโดยธรรมในลำดับใดก็ตาม คู่สมรสของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดก
เสมอ ส่วนจะได้ส่วนแบ่งเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
กล่าวคือ
(1) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดาน และมี
คู่สมรส กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นบุตรของผู้
ตาย
(2) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 3 คือ พี่น้องร่วมบิดา
มารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 2 คือ บิดามารดาและผู้ตายมีคู่
สมรสซึ่งยังมีชีวิตอยู่ กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง
(3) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 4 คือ พี่น้องร่วมบิดาหรือ
ร่วมมารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 5 คือ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือมี
ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 6 คือ ลุง ป้า น้า อา และมีคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ กรณี
เช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก 2 ใน 3 ส่วน
(4) ถ้าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลย คงมีแต่คู่สมรสเท่านั้น
กรณีเช่นนี้คู่สมรสได้รับมรดกทั้งหมด
3.ในกรณีที่มีทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันหลายคน ทายาทโดย
ธรรมเหล่านั้นจะได้รับมรดกคนละส่วนเท่า ๆ กัน
4. ในกรณีที่มีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดานหลายชั้น เช่น
เจ้ามรดกมีทั้งลูกและหลาน ลูกมีสิทธิได้รับมรดกก่อน หลานจะไม่มีสิทธิได้รับ
มรดก เว้นแต่ ลูกจะได้ตายไปก่อนเจ้ามรดก หลานจึงจะเข้ารับมรดกได้โดยการ
รับมรดกแทนที่
5. ทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดานนั้นในกรณีที่เป็นบุตร
บุตรซึ่งจะมีสิทธิได้รับมรดกจะต้องเป็นบุตรในกรณีดังต่อไปนี้ คือ
(1) บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้จด
ทะเบียนสมรสกัน
(2) บุตรบุญธรรม ซึ่งผู้รับบุตรบุญธรรมได้จดทะเบียนรับเด็กเป็น
บุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
(3) บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
6. ในกรณีที่สามีภริยาร้างกัน หรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่าขาดจากกัน
ตามกฎหมาย กรณีเช่นนี้ทั้งสามีและภริยายังคงมีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกัน
7. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรบุญธรรม แต่บุตร
บุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม และทั้งมีสิทธิได้รับมรดก
ของบิดามารดาเดิม
8. บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของคู่สมรส ของผู้รับบุตรบุญ
ธรรม เว้นแต่คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมจะได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญ
ธรรมด้วย
9. ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลย และผู้ตายก็มิได้ทำพินัยกรรมไว้ กรณีเช่นนี้มรดกจะตกทอดได้แก่แผ่นดิน


แบบพินัยกรรม
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
(1) ต้องทำพินัยกรรมเป็นหนังสือ
(2) พินัยกรรมที่ทำขึ้นต้องลงวันที่ เดือน ปี ขณะที่ทำพินัยกรรม
ถ้าไม่ลงไว้พินัยกรรมเป็นโมฆะ
(3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
พร้อมกัน แล้วให้พยานทั้งสองนั้นลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมใน
ขณะนั้นด้วย ซึ่งพยานที่ลงลายมือชื่อรับรองดังกล่าว จะต้องเขียนชื่อตัวเองเป็น
มิฉะนั้นแล้วไม่สามารถเป็นพยานในพินัยกรรมได้
(4) ถ้าจะมีการแก้ไขพินัยกรรมโดยการขูดลบตกเติมจะต้องทำเป็น
หนังสือ ลงวัน เดือน ปี และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่าง
น้อย 2 คนพร้อมกัน
2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมเป็นหนังสือด้วย
ลายมือตนเองจะให้ผู้อื่นเขียนให้มิได้
(2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงวันที่ เดือน ปี และลายมือชื่อของตนใน
พินัยกรรม จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานรับรอง 2 คนไม่ได้
(3) กรณีที่จะมีการขูดลบ ตกเติม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม
ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องทำเอง แล้วลงลายมือชื่อกำกับ มิฉะนั้นพินัยกรรมในส่วนนี้ไม่
สมบูรณ์
3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ลงไว้ใน
พินัยกรรมของตนต่อนายอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน
(2) การแจ้งข้อความตามข้อ (1) ก็เพื่อให้ผู้อำนวยการเขต หรือนาย
อำเภอจดข้อความเสร็จแล้วต้องอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
(3) เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่า ข้อความนั้นถูกต้อง
แล้ว ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
(4) ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ ต้องลงลายมือชื่อและลงวัน เดือน
ปี พร้อมกับเขียนลงไปในพินัยกรรมด้วยว่า พินัยกรรมนั้นได้ทำถูกต้องเสร็จแล้ว
ประทับตราประจำตำแหน่ง
(5) กรณีที่มีการขูดลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแบบ
เอกสารฝ่ายเมืองนี้ ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอจะ
ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ มิฉะนั้น พินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม
(2) ผู้ทำพินัยกรรมต้องทำพินัยกรรมใส่ซองแล้วปิดผนึก เสร็จแล้วลง
ลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น
(3) ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อผู้อำนวย
การเขต หรือนายอำเภอ และพยานอีกอย่างน้อย 2 คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคล
ทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมไม่ได้เป็น
ผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนให้ทราบด้วย
(4) เมื่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ จดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม
และวัน เดือน ปี ที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซอง และประทับตราประจำตำแหน่ง
แล้ว ผู้ทำพินัยกรรม พยานและผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอต้องลงลายมือชื่อ
(5) การขูดลบ ตกเติม หรือแก้ไขพินัยกรรมแบบเอกสารลับ ผู้ทำพินัย
กรรมต้องลงลายมือกำกับไว้ มิฉะนั้นพินัยกรรมในส่วนนี้ไม่สมบูรณ์
5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
(1) ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงความประสงค์จะทำพินัยกรรมต่อหน้า
พยาน 2 คนพร้อมกัน ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น
(2) พยานทั้ง 2 คนนั้นต้องไปแสดงตัวต่อผู้อำนวยการเขต หรือนาย
อำเภอโดยไม่ชักช้าและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา ทั้งต้องแจ้ง
วัน เดือน ปี สถานที่ทำพินัยกรรมและ พฤติการณ์พิเศษด้วย
(3) ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ ต้องจดข้อความที่พยานแจ้ง
ดังกล่าว
(4) พยานทั้ง 2 คนต้องลงลายมือชื่อไว้ ถ้าเขียนชื่อตนเองไม่เป็นจะลง
ลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมืออย่างน้อย 2 คนก็ได้



Create Date : 27 กรกฎาคม 2550
Last Update : 27 กรกฎาคม 2550 16:28:19 น. 0 comments
Counter : 20383 Pageviews.

hanayo_boyz
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




NEWS UPDATED!! ** hanayolaw@gmail.com **

อ่านความรู้เกี่ยวกับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

คลิ๊ก .. http://tutorlawgroup.blogspot.com ครับ

ขอบคุณสำหรับ
การติดตามและกำลังใจมากมายของทุกๆท่านครับ


หากมีข้อสงสัยหรือปัญหากฎหมาย

** อีเมลติดต่อผมได้โดยตรงครับ **

** hanayolaw@gmail.com **
หรือ
** hanayo_dona@hotmail.com **



** อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามได้นะครับ

** ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดครับ...
Friends' blogs
[Add hanayo_boyz's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.