สอบเข้าคณะนิติศาสตร์ คลิ๊ก ... http://tutorlawgroup.blogspot.com/
Group Blog
 
All blogs
 
สรุปวิกฤตการณ์การเมืองไทย(6)

สรุปวิกฤตการณ์การเมืองไทย(ตอนที่6)

การขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2547 ในช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อมีการรวมตัวของกลุ่มคนในนาม กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ และมีการชุมนุมปราศรัยเพื่อขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547 เป็นครั้งแรก และเริ่มขยายเป็นวงกว้างขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2548 ส่วนหนึ่งจากการนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ทางช่อง 9 และขยายตัวในวงกว้าง ไปยังบุคคลในหลายสาขาอาชีพ ในเวลาต่อมา

ในการรณรงค์ขับไล่นี้ มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ในกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีลาออกก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นหลาย ๆ กลุ่ม ในเรื่องกระบวนการและประเด็นในการขับไล่ ส่วนในกลุ่มที่สนับสนุน ซึ่งประกอบด้วยประชาชนจำนวนไม่น้อย รวมไปถึงกลุ่มคาราวานคนจน และขบวนรถอีแต๋นเดินทางมาจากต่างจังหวัด ก็ได้รวมตัวชุมนุมเพื่อสนับสนุนพ.ต.ท. ทักษิณให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป โดยปักหลักอยู่ที่สวนจตุจักรและตามตัวเมืองหัวเมืองจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทยอีก

ผลการเลือกตั้ง ที่อดีตพรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค: พรรคประชาธิปปัตย์ พรรคมหาชน และ พรรคชาติไทย ไม่ได้ร่วมลงแข่งขัน ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทย ที่ พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรค ยังคงได้รับคะแนนเสียงข้างมาก (56.45% ในผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ) แต่ในหลายพื้นที่ได้เกิดปรากฏการณ์ "ไม่เอาทักษิณ" ด้วยการที่ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้คะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ออกเสียงและบัตรเสีย แต่ในท้ายที่สุดการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้เป็นโมฆะ และได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549

ในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีกลุ่มเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ล่าชื่อกว่า 92 คน ปลุกกระแส "ต้านทักษิณ" และออกแถลงการณ์ให้พ.ต.ท. ทักษิณ ยุติบทบาท นายกฯ ทันที ซึ่งในการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการรวมตัวกันครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของแกนนำเครือข่ายการต่อต้าน พ.ต.ท. ทักษิณ

การขับไล่พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หลังการเกิดรัฐประหารนำโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ก่อนวันที่จะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรฯและเครือข่ายในวันที่ 20 กันยายน

ประเด็นในการขับไล่
การต่อต้าน ระบอบทักษิณ ซึ่งนายแก้วสรร อติโพธิ ได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ ดังนี้
o ยักยอกรัฐธรรมนูญ ยึดครองประชาธิปไตย
o หลงใหลทุนนิยมใหม่จนลืมประเทศชาติ
o โกงกินชาติบ้านเมือง
o ทำให้บ้านเมืองสิ้นความสงบสุข
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
o สำหรับ ปตท. เช่น เรื่องการกระจายหุ้นที่ไม่เป็นธรรม ราคาขายหุ้นที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐที่ลดลงมาก การถือหุ้นผ่านกองทุนของต่างชาติ กำไรจากการขายก๊าซให้ กฟผ. ในราคาสูง
o การแปรรูป กฟผ. นั้นมีคำสั่งจากศาลปกครองว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การแก้สัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
การทุจริตในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเรื่องเครื่องสแกนสัมภาระซีทีเอกซ์
การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
การใช้อำนาจรัฐแทรกแซงและคุกคามสื่อ
การทุจริตข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่เกี่ยวข้องกับบุตรสาวของนายกฯ และ นายวรเดช จันทรศร
การยุบสภาอย่างไม่สมควร
ประเด็นที่กลุ่มเครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณใช้อ้างเป็นเหตุผลในการขับไล่
o ผลประโยชน์ทับซ้อน
o ปกปิดข้อมูลข่าวสาร
o ทำผิดจริยธรรม
o นโยบายสร้างปัญหา
o รวยเพราะผูกขาดกีดกัน
o เอฟทีเอแลกผลประโยชน์
o สถานการณ์ความไม่สงบสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
o วาทะปากพาแตกแยก
o แปรรูปผิด ไม่รับผิด
o คนรอบข้างยังชิงลาออก
o ประชานิยมสร้างปัญหา
o เอฟทีเอ & ต่างประเทศ
กลุ่มผู้สนับสนุนพ.ต.ท. ทักษิณ และไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมฯ

กลุ่มคนผ่านฟ้า เว็บไซต์ผู้สนับสนุนและให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีและ กกต.

กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม นำโดยกลุ่มคาราวานคนจนเพื่อประชาธิปไตย ที่เคลื่อนพลโดยรถอีแต๋นและเดินเท้ามาจากหลายจังหวัด โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาปักหลักที่บริเวณสวนจตุจักร วัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง ไปตามระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 2 เมษายนพ.ศ. 2549 ซึ่งได้มีการสมทบกับ ร.ต. ฉลาด วรฉัตร นักเคลื่อนไหวที่มีชื่อเสียงเรื่องการอดอาหารประท้วงในครั้งนี้ด้วย ร.ต. ฉลาด วรฉัตร กล่าวว่าจะทำการแขวนคอตายหากไม่มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนเกิดขึ้น

กลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มนี้ และกลุ่มย่อยอื่นๆที่สนับสนุนแนวทางการดำเนินการทางการเมือง ตามแบบที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้กระทำไป มีหลายกลุ่มเช่นกัน เช่น กลุ่มผู้มาให้กำลังใจมอบดอกกุหลาบแดงให้ ในหลายวาระ รวมทั้งการรวมพลปราศรัยครั้งใหญ่ที่สนามหลวงในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2549

กลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ เช่น
อ. สุนีย์ สินธุเดชะ (อาจารย์แม่) อธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
พ.ต.ท. สำเนียง ลือเจียงคำ รองผู้กำกับสืบสวนสอบสวน สภ.อ.เมือง อ.เมือง จ.ยโสธร ผู้ฟ้องร้องนายสนธิและนางสาวสโรชา
กลุ่มผู้ให้บริการแทกซี่/กลุ่มมอเตอร์ไซด์รับจ้าง
กลุ่มชาวบ้านจากจังหวัดในภาคเหนือ
กลุ่มนักธุรกิจ ในเครือซีพี
กลุ่มรักเมืองไทย-ให้กำลังใจนายก กลุ่มคนผ่านฟ้า
กลุ่มวายุภักษ์ รักษ์แผ่นดิน
หมอดูอีที ชาวพม่า
คลื่นวิทยุ Wisdom Radio FM 105 Mhz, FM.94.25 Mhz โดยเฉพาะช่วง รายการ "เปิดแฟ้มความคิด" โดย นายมังกรดำ หรือนายธรชัย ศักดิ์มังกร และปกภูมิ เดชดีหนูแก้ว ซึ่งต่อมาได้ถูกปิดรายการลงหลังจากมีกรณีหมิ่นศาล
รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเอเปคฯ (ฝ่ายสัมมนาและเผยแพร่) เจ้าของแนวความคิด "ไม่เลือกทักษิณ หรือจะเลือกทุนนิยมล้าหลัง?"
นายเทพพนม ศิริวิทยารักษ์ ประธานสมัชชาภาคอีสานพิทักษ์รัฐธรรมนูญ และในฐานะแกนนำ ผู้ประสานนำตัว 16 ผู้สนับสนุน กกต. ในกรณีเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล
ผศ. เสถียร วิพรมหา อาจารย์จากมหามกุฎราชวิทยาลัย เลขาธิการเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และแกนนำ ผู้สนับสนุน กกต.อีก 14 คน ที่ต้องโทษกรณีหมิ่นศาล
นายธนา เบญจาธิกุล ทนายความ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกลุ่มบุคคลผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีและ กกต. 12 คน ซึ่งมีพฤติการณ์เข้าข่ายกระทำละเมิดอำนาจศาล ที่เข้ามาก่อความวุ่นวายภายในศาลในระหว่างการพิจารณาคดีอดีต 3 กกต. ประกอบด้วย 1) นางลาวัลย์ สุทธิชัยศิริ อายุ 72 ปี อาชีพแม่บ้าน 2) น.ส.ฐิติรัตน์ สุรัตนกุลชัย อายุ 51 ปี แม่บ้าน 3) นายสมชาย รัดทวย อายุ 34 ปี เจ้าหน้าที่ธุรการ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 4) นางวลัยพร พรรณบุบผา อายุ 50 ปี แม่บ้าน 5) พ.จ.อ.เสริมศักดิ์ เอกวัฒน์ อายุ 64 ปี ทหารนอกราชการ 6) นายสมยศ ควงพัตรา อายุ 56 ปี อาชีพวิศกรอิสระ 7) นางธรรมรส สุนทรพล อายุ 49 ปี อาชีพค้าขาย 8) นายยุทธนา ฉายสินสอน อายุ 34 ปี อาชีพค้าขาย 9) นางวัณณา ไหมสีทอง อายุ 62 ปี อาชีพแม่บ้าน 10) นางธนนันท์ ประถมเสาร์ อายุ 45 ปี อาชีพค้าขาย 11) นางเรณู จิตร์ประสาร อายุ 53 ปี อาชีพแม่บ้าน และ 12) นางมะลิ เนตรขำ อายุ 40 ปี อาชีพรับจ้าง (โดยมีผู้ถูกกล่าวหาอีก 4 คนไม่ได้มาฟังการไต่สวน)
นายพันธุ์ศักดิ์ ซาบุ ตัวแทนองค์กรประชาชนรักความสงบ ผู้สนับสนุน พ.ต.ท. ทักษิณ และขัดแย้งกับกลุ่ม เครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณ ในกรณีพิพาท เมื่อวันที่ 19-20 สิงหาคม จากกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณถูกต่อต้านที่สยามพารากอน
ผู้ที่มอบตัวจำนวน 2 คน ในคดีทำร้ายร่างกายผู้ต่อต้านพ.ต.ท. ทักษิณ ในเหตุการณ์วันที่ 21 สิงหาคมที่เซ็นทรัลเวิลด์พลาซา ชาย 2 คนแสดงตัวว่าชื่อนายจรัญ จงอ่อน อ้างตัวว่าเป็นชาวสุราษฎร์ธานี ประกอบอาชีพสวนยาง และนายชัยสิทธิ์ ลอม๊ะห์ อ้างว่าขับรถจักรยานยนต์รับจ้างอยู่ย่านลาดกระบัง ทั้งสองอ้างว่าทนไม่ได้ที่ได้ยินกลุ่มต่อต้านตะโกนด่าว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ทั้ง 2 ได้แต่งตัวคล้ายตำรวจนอกเครื่องแบบ เข้าทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนทำให้บาดเจ็บ ต่อหน้าตำรวจชั้นผู้ใหญ่ โดยมีการสนทนาด้วยและไม่มีการเข้าห้ามปรามแต่อย่างใด นอกจากนี้ในเหตุการณ์วันเดียวกันนี้ยังมีกลุ่มชายวัยรุ่นจำนวนประมาณ 15 คน ส่วนใหญ่สวมรองเท้าสีขาวใหม่เอี่ยมยี่ห้อลาคอสต์ เสื้อยืดดำ และริสต์แบนขาว (ตรวจสอบแล้วพบมีประวัติอาชญากรรม อ้างอิงเว็บไซต์รัฐสภา ร่วมทำร้ายร่างกายผู้ตะโกนต่อต้านด้วยการรุมแตะอีกด้วย อ้างอิงเว็บไซต์ ผู้จัดการ มีคลิปวีดีโอ
นายมงคล เสมอภาพ แกนนำ กลุ่มรักสันติสามัคคีเพื่อประชาธิปไตย ราว 100 คน เป็นกลุ่มที่จะชุมนุมให้กำลังใจกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ทุกวันตามสถานที่สำคัญทั่วกรุงเทพฯ

นอกจากนี้ได้มีบางส่วนของกลุ่มคาราวานคนจน มาปิดล้อมสำนักงานหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ในเครือเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป เนื่องจากตีพิมพ์ข่าวไม่เหมาะสม (ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นความผิดของ นสพ.คมชัดลึก เอง) เกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งหมิ่นเบื้องสูง โดยอ้างอิงถึงคลิปวิดีโอการให้สัมภาษณ์ จากการออกมาปฏิเสธของ นสพ. คมชัดลึก จึงทำให้เหตุการณ์บานปลายออกไปจนถึงขั้นมีเหตุการณ์ชุลมุน และมีการสันนิษฐานว่ากลุ่มเดียวกันนี้ เป็นขบวนรถมอเตอร์ไซด์หลายร้อยคันไปชุมนุมที่บ้านพระอาทิตย์ สำนักงานหนังสือพิมพ์ผู้จัดการในวันเดียวกัน แต่การชุลมุนก็จบลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด

สำหรับผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของกลุ่มต่างๆ เห็นพ้องว่า การที่มีการชุมนุมขนาดใหญ่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งยาวนานต่อเนื่องกลางเมืองหลวงนั้น เป็นการสร้างปัญหาขึ้นมากมาย เช่น ปัญหาจราจรทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุให้เศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศหยุดชะงัก และเศรษฐกิจภายในประเทศพังทลาย



ลำดับเหตุการณ์

เมื่อกลางปี พ.ศ. 2547 มีการรวมตัวของ กลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ โดยมีแกนนำประกอบด้วย นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ เอกยุทธ อัญชันบุตร ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อมรินทร์ คอมันตร์ พลโท เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม นายสมาน ศรีงาม ประพันธ์ คูณมี เพียร ยงหนู ได้มีการชุมนุมปราศรัยที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2547 และมีการจัดรายการวิทยุ ทางคลื่นวิทยุชุมชน FM 92.25 MHz เว็บไซต์ fm9225.net ของนายประชัย และไทยอินไซเดอร์ของนายเอกยุทธ
การวิพากษ์วิจารณ์ผลงาน และการทุจริตในรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เริ่มขยายสู่วงกว้างขึ้น ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2548 เมื่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ออกอากาศทางช่อง 9 โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล เริ่มวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอความเห็นในเชิงสนับสนุนรัฐบาลมาตลอด

จุดเปลี่ยนของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ อยู่ที่การออกอากาศในคืนวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 นายสนธิ อ่านบทความเรื่อง ลูกแกะหลงทาง /ดูบทความเรื่อง " ลูกแกะหลงทาง " ในเวบบอร์ดของจริง (คห.9) บทความซึ่งมีผู้โพสต์เข้าไปเข้าไปในเว็บไซต์ผู้จัดการ ออกอากาศ ทางโทรทัศน์ ส่งผลให้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ถูกถอดออกจากผังรายการอย่างกระทันหัน โดยนายธงทอง จันทรางศุ บอร์ด อสมท.ให้เหตุผลว่าเป็นการจาบจ้วงสถาบัน /อ้างอิงเว็บไซต์ผู้จัดการ

รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ จึงปรับรูปแบบเป็นรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร จัดขึ้นนอกสถานที่ ทุกเย็นวันศุกร์ ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี และสื่ออื่นๆในเครือผู้จัดการ ต่อมาเมื่อมีผู้ชมรายการมากขึ้นจึงขยับขยายมาจัดที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และย้ายไปจัดที่อาคารลีลาศ สวนลุมพินี มีการถกเถียงเรื่องจำนวนผู้มาชุมนุมว่ามีมากน้อยเพียงใด
หลังรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 14 ในคืนวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2549 มีการเปิดตัวผู้สนับสนุนคือ พลตำรวจเอกประทิน สันติประภพ นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ และสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่าน มีการเดินเท้าเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมจากสวนลุมพินีมาที่ทำเนียบรัฐบาลโดยไม่มีการปิดล้อม ก่อนสลายตัวกลับ แต่ยังมีผู้ชุมนุมบางส่วนยังชุมนุมต่อและถูกใช้กำลังสลายตัวในเช้าวันรุ่งขึ้น /อ้างอิงเว็บไซต์ไทยโพสต์ เหตุการณ์นี้เป็นเหตุให้รัฐบาลเริ่มเพ่งเล็งและมีมาตรการเด็ดขาดขึ้น
การชุมนุมครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 นัดชุมนุมที่สนามหลวง แต่สนามหลวงถูกจองใช้ จึงย้ายมาจัดที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถนนราชดำเนินนอก จากด้านหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมถึงสี่แยกสวนมิสกวัน การชุมนุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการชุมนุมยืดเยื้อข้ามคืน มีการถวายฎีกาแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านทางพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และสำนักราชเลขาธิการ โดยมี พล.ร.ท.พะจุณ ตามประทีป เป็นตัวแทนรับ และยื่นหนังสือเรียกร้องให้ทหารแสดงจุดยืนต่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทองทัพบก ในครั้งนี้มีการเปิดตัวกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำในการชุมนุมครั้งต่อๆไป นอกจากนี้การชุมนุมครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ใช้ชื่อว่า "การชุมนุมกู้ชาติ" การชุมนุมครั้งนี้มีผู้มาชุมนุมมากกว่าทุกครั้งเนื่องจากความไม่พอใจในข่าวการขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของครอบครัวนายกรัฐมนตรีให้กับเทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์โดยไม่ต้องเสียภาษีโดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย /อ้างอิงเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

การชุมนุมครั้งถัดมาจัดที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2549 ใช้ชื่อว่า "ปิดบัญชีทักษิณ" มีผู้ร่วมชุมนุมหลากหลายขึ้นเนื่องจากเปลี่ยนผู้นำการชุมนุม ในครั้งนี้รัฐบาลได้พยายามขัดขวางเนื่องจากมีความไม่เหมาะสมและไม่สมควร เพราะสถานที่ที่นี้เป็นเขตพระราชฐาน จึงมีการนัดชุมนุมใหญ่ครั้งต่อไปที่สนามหลวงในวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 โดยจะเป็นการชุมนุมยืดเยื้อไม่มีกำหนด จนกว่านายกรัฐมนตรีจะลาออกจากตำแหน่ง

การชุมนุมที่สนามหลวงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 ได้รับการสนับสนุนจากพลตรีจำลอง ศรีเมืองว่าจะนำเครือข่ายกองทัพธรรมและสันติอโศกเข้าร่วมชุมนุม ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงเชิญพลตรีจำลองร่วมเป็นหนึ่งในแกนนำด้วย การประกาศตัวของพลตรีจำลองเป็นสัญญาณว่าการชุมนุมนี้จะยืดเยื้อยาวนาน และสร้างความกังวลให้กับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรจนประกาศยุบสภาในวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 กำหนดเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2549

มีการชุมนุมยืดเยื้อที่สนามหลวงใช้ชื่อว่า "เอาประเทศไทยของเราคืนมา" สลับกับการเคลื่อนขบวนใหญ่เพื่อกดดันสองครั้ง ในคืนวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 จากสนามหลวงมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเช้าวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2549 จากสนามหลวงมาที่ทำเนียบรัฐบาลระหว่างมีการประชุมคณะรัฐมนตรี และย้ายการชุมนุมมาปักหลักบริเวณสี่แยกสะพานมัฆวานรังสรรค์สลับกับสี่แยกสวนมิสกวันและถนนพิษณุโลกช่วงข้างทำเนียบรัฐบาล ประมาณจำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ราว 3 แสนคน ในช่วงนี้จะสังเกตได้ว่านายกรัฐมนตรีออกปฏิบัติภารกิจในต่างจังหวัด และไม่เข้ามาทำงานในทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลากว่าสองสัปดาห์ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการปะทะกันกับกลุ่มผู้ชุมนุมและหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงที่จะมีขึ้นจากผู้ชุมนุม /อ้างอิงเว็บไซต์ผู้จัดการ

มีการเคลื่อนขบวนย่อยไปชุมนุมที่สถานที่ต่าง ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง สถานทูตสิงคโปร์ ถนนสีลม การชุมนุมครั้งสำคัญสืบเนื่องจาก การเคลื่อนขบวนจากสนามกีฬาแห่งชาติ มาบริเวณสยามสแควร์และถนนสุขุมวิท ในวันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม 2549 จากนั้นแกนนำได้ดำริที่จะจัดการชุมนุมใหญ่ ที่บริเวณหน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน ในวันพุธที่ 29 มีนาคม 2549 การชุมนุมครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่กลางศูนย์ธุรกิจหลักประเทศ และเป็นการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยขนาดใหญ่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศ ที่ไม่เสียเลือดเสียเนื้อ เพราะรัฐบาลให้เสรีภาพในการชุมนุมอย่างเสรีและไม่มีการปะทะกันใดๆ ทั้งสิ้น

หลังจากได้ผ่านพ้นการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 แล้ว กลุ่มผู้ที่ไม่ยอมรับในผลการลงคะแนนเสียงตามระบอบประชาธิปไตยและพยายามผลักดันให้ยกเลิกการเลือกตั้งครั้งนั้น ได้มีการร้องต่อศาลยุติธรรม ซึ่งต่อมาได้มีการตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายนเป็นโมฆะ นับเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นผลให้การเคลื่อนไหวต่อต้านนายกรัฐมนตรีรุนแรงมากขึ้น ระหว่างเดือนมิถุนายน 2549 กิจกรรมต่อต้านนายกรัฐมนตรีเบาบางลงชั่วคราว เนื่องจากเป็นช่วงเดือนที่มีงานเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี และในเดือนกรกฎาคม จึงมีการชุมนุม อภิปราย และสัมนาขนาดย่อยๆอีกหลายครั้งโดยองค์การและสถาบันบางส่วนต่างๆ นายสนธิและนางสาวสโรชาได้กลับมาจัดการชุมนุมที่สวนลุมในอีกรูปแบบหนึ่งเรียกว่าเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร "คอนเสิร์ตการเมือง" ในระหว่างนั้นมีคดีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กกต.ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา อันนำมาซึ่งคำพิพากษาให้ กกต.ต้องโทษจำคุก และออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม จนมีการสรรหา กกต.ใหม่ และคาดว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ได้ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549

ในระหว่างที่ศาลได้มีคำตัดสินในกรณี กกต.นั้นได้มีกลุ่มผู้สนับสนุนนายกรัฐมนตรีหลายกลุ่มได้มาชุมนุมให้กำลังใจ กกต. จนเกิดกระทบกระทั่งกันกับกลุ่มฝ่ายตรงข้าม และต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาให้ผู้ที่เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายรับโทษในกรณีหมิ่นศาล ผู้ดำเนินรายการสถานีวิทยุและเว็บไซต์ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์คำสั่งศาลได้ปิดตัวลง
ในวันที่ 19 สิงหาคม ระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณ ไปเปิดงานในฐานะประธานเปิดตัวหนังสือและซีดีที่ระลึก นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปีที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ได้มีเสียงประชาชนกลุ่มเล็กๆ จำนวนประมาณ 20-30 คน ได้ตะโกนเสียงดังขึ้นมาว่า "นายกฯ....คนเลว...ออกไป" จนในที่สุดเกิดเหตุการณ์ชุลมุนจากทั้งกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านนายกจนเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ รปภ.จึงเชิญตัวให้ออกไปจากสถานที่

หลังจากเหตุการณ์ที่สยามพารากอน ในวันที่ 20 สค.2549 ได้มีการประชุมต่อเนื่องจากเหตุการณ์ทำร้ายกลุ่มผู้ต่อต้าน โดย ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ แกนนำเครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ ร่วมกับสมาชิกเครือข่ายจำนวนหนึ่ง ได้จัดแถลงข่าว ที่อาคารสำนักวิทยบริการ ชั้น 8 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และได้ให้ประชาชน 6 คน ที่ถูกกลุ่มสนับสนุนนายกฯ รุมทำร้าย ขณะเกิดเหตุการเปิดงานเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนมาแสดงตัว ขณะที่ประชุม ที่ลานข้างล่างหน้าอาคารได้มีกลุ่มผู้สนับสนับสนุนนายกฯใช้ชื่อว่ากลุ่มตัวแทนองค์กรประชาชนรักความสงบ ราว 50-60 คนที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนถือป้ายผ้าและโปสเตอร์ด้วยความสงบเพื่อต่อต้าน ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ และมีการปะทะคารมกัน

เหตุการณ์ยังคงไม่คลี่คลาย มาจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม ได้เกิดเหตุในลักษณะเดียวกันอีกครั้ง ทั้งที่มีการวางกำลังตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ อารักขานายกฯ ขณะไปเปิดงานอุทยานเรียนรู้ - ดิจิตอล ทีเคปาร์ค ที่ชั้น 8 เซ็นทรัลเวิลด์เพราะเกรงว่าอาจถูกลอบฆ่าตามที่ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รายงานมาก่อนหน้า หรือกลัวถูกตะโกนด่าซ้ำรอยที่สยามพารากอน โดยได้มีการปะทะคารมกันของฝ่ายผู้สนับสนุนนายกฯและฝ่ายต่อต้าน จนเป็นเหตุให้ รปภ.และชายฉกรรจ์ในชุดสีเข้มไม่ทราบสังกัด ทำร้ายร่างกาย เป็นชนวนให้เกิดการปะทะกันรุนแรงขึ้น ผลคือมีการบาดเจ็บกันหลายคน ทั้งกลุ่มผู้ที่ต่อต้านนายกฯ และกลุ่มที่สนับสนุน บางส่วนของผู้ต่อต้านนายกฯยังถูกตำรวจจับในข้อหารบกวนความสงบเนื่องจากเป็นต้นเหตุการก่อให้เกิดเสียงเอะอะรำคาญ [20] เหตุการณ์ทั้งสองถูกประนามว่านายกรัฐมนตรีและฝ่ายต่อต้านนายกฯน่าจะต้องมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันทั้งสองฝ่ายเพราะเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาท แต่ ทั้งสองฝ่าย ก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบแต่อย่างใด

นอกจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล แล้ว ยังมีเหตุการณ์ต่อต้านนายกฯทักษิณโดยกลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ในหลายพื้นที่ รวมทั้งการรวมตัวครั้งใหญ่ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2549 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีกลุ่มที่ใช้ชื่อว่าเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกลุ่มคนบางส่วนของหน่วยงานที่อ้างเหล่านั้น ทำการล่าชื่อ ปลุกกระแส "ต้าน"ทักษิณ"ออกแถลงการณ์ให้ยุติบทบาท"นายกฯ" ทันที" มีการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการร่วมกันแก้ไขวิกฤตปัญหาของบ้านเมือง เน้นการต่อต้านทักษิณตามแนวทางอหิงสาด้วยกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการถวายสัตย์ปฏิญญาในฐานะข้าราชการต่อพระบรมรูป 2 รัชกาลที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การขับไล่ทักษิณ ชินวัตร สิ้นสุดลง ในวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังการเกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ก่อนจะมีการชุมนุมอย่างยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรฯและเครือข่าย โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ประกาศยุติการชุมนุมทันที ทั้งที่ได้มีการนัดหมายกันในวันที่ 20 กันยายน 2549 เวลา 15.00 น. ที่บริเวณลานพระรูป เนื่องจากมีการทำรัฐประหารเป็นที่เรียบร้อยแล้วและอาจจะเป็นการไม่ปลอดภัย


ลักษณะกิจกรรมการต่อต้าน

สนธิ ลิ้มทองกุล และกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมสร้างและเผยแพร่ทฤษฎี "แผนฟินแลนด์" และ้กล่าวหาว่า ทักษิณ ชินวัตร ได้สมคบคิดกับอดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อล้มล้างราชวงศ์จักรี ยึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทย และก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ ผู้ร่วมสร้างทฤษฎี ไม่เคยแสดงหลักฐานแต่อย่างใด เพื่อพิสูจน์ว่า ทฤษฎีสมคบคิดนี้มีจริง ทักษิณ ชินวัตร ได้ปฏิเสธว่า แผนสมคบคิดนี้ มีจริง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หลังจากที่ปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทยไว้ได้ ไม่ได้ตรวจสอบ หรือสอบสวนรายละเอียดของแผนฟินแลนด์ แต่อย่างใด[21][22][23]

การชุมนุมในแต่ละครั้งของกลุ่มพันธมิตรฯ มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เสริมบรรยากาศในการชุมนุม เช่น การแสดงดนตรี การแสดงงิ้วการเมือง การละเล่นและบรรเลงเพลงพื้นบ้านภาคต่าง ๆ ละคอนศาลจำลอง (การแสดงการพิจารณาพิพากษาคดีทางการเมือง) การนำบุคคลต่าง ๆ และแขกรับเชิญนอกเหนือจากกลุ่มพันธมิตรฯ มาสัมภาษณ์ รายการเสียงจากประชาชน (การพูดปราศรัยสั้น ๆ ของประชาชนโดยทั่วไปที่อาสาขึ้นเวที) กิจกรรมเกมส์ต่อต้านระบอบทักษิณ และกิจกรรมระดมทุน/รับบริจาคและขายของที่ระลึก เป็นต้น ของที่ระลึกที่เป็นที่นิยมในการประชุม ได้แก่ ผ้าพันคอและผ้าโพกศีรษะสีเหลือง/สีขาวที่สกรีนข้อความ "กู้ชาติ" ผ้าผูกข้อมือ เสื้อยืด เอกสารแผ่นพับ โปสเตอร์/แฮนด์บิลล์ ซีดีเพลง/บันทึกรายการในแต่ละครั้ง และอื่นๆที่ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรของแต่ละกลุ่ม บทเพลงยอดนิยมที่ผู้แต่งเพลงนิรนามส่งมาให้กลุ่มผู้ชุมนุมใช้เปิด มีหลายบทเพลง เป็นบทเพลงที่บรรยายความไม่ชอบธรรมของระบอบทักษิณ และมีเนื้อหารุนแรง เพลงหนึ่งที่มีชื่อเสียงคือเพลง คนหน้าเหลี่ยม [4] [24]
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะถูกแม่ค้าตะโกนไล่
ครั้งหนึ่งของการเดินทางช่วยผู้สมัครของพรรคไทยรักไทยหาเสียงของรักษาการณ์นายกรัฐมนตรี ในพื้นที่กรุงเทพฯ บริเวณซอยละลายทรัพย์ ถนนสีลม ได้มีปรากฏการณ์การต่อต้านทางสังคม (Social Sanction) เกิดขึ้น โดยมีกลุ่มแม่ค้าในพื้นที่จำนวนหลายคน อาทิ เจ๊ไก่ ออกมาตะโกนขับไล่รักษาการนายกฯ และกลุ่มผู้ติดตาม ด้วยวลีที่ใช้ในกลุ่มพันธมิตรฯ ว่า "ทักษิณ...ออกไป!" "คนขายชาติ..กินลงด้วยเหรอ" "ไปอยู่อังกฤษเลยไป" อ้างอิง เว็บไซต์ผู้จัดการ

กิจกรรมการต่อต้านระบอบทักษิณ ยังรวมไปถึงการรณรงค์เรื่อง อหิงสา และอารยะขัดขืน (civil disobedience) และนำไปสู่รูปแบบการต่อต้านในภาคประชาชน ในการเลือกตั้งที่กลุ่มผู้ต่อต้านอ้างว่า "ไม่ชอบธรรม" เริ่มต้นจากการรณรงค์ให้ไม่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2549 ต่อมาเป็นการให้ออกมาเลือกตั้งแต่กาในช่อง "ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ใคร" (No Vote) การกาด้วยปากกาแดง นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวจากปัจเจกชน เช่น การฉีกบัตรลงคะแนน ที่นำโดย รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ซึ่ง นายแก้วสรร อติโพธิ ได้เข้ามาร่วมสนับสนุนว่า [[การฉีกบัตรลงคะแนนเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งที่เป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้งที่สุดเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน]] หรือการกรีดเลือกที่ปลายนิ้วเพื่อการบัตรลงคะแนนโดยอาจารย์มหาวิทยาลัย ชื่อ นายยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ส่วนในกรณี นพ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (มอ.) แกนนำกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ กู้ประชาธิปไตย จังหวัดสงขลา และชาวบ้านอีก 6 คน ได้แก่ 1.นางปราณี วีรวงศ์ 2.น.ส.จินตนา จินเดหวา 3.นางสุมล ตุลา 4.นางสะอาด จินเดหวา 5.น.ส.วลัย ยนประเสริฐ 6.นายนิกร ยอดหนูขุน ซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีกระทำความผิดฐานทำลายบัตรเลือกตั้งและทำให้เสียทรัพย์ กรณีฉีกบัตรเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2549 ศาลได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้นแล้ว และได้มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยระบุว่าการเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 เมษายน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีที่จังหวัดตรัง ซึ่งศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้อง นายทศพร กาญจนะภมรพัฒน์ อดีตผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เมื่อปี 2548 และหนึ่งในสมาชิกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จำเลยในคดีฉีกบัตรเลือกตั้ง ส.ส. จำนวน 2 ใบ ทั้งในระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การฉีกบัตรเลือกตั้งนั้น เป็นการกระทำผิดอย่างชัดเจนต่อระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญทุกฉบับทิ้ง แต่ที่หลุดพ้นไปได้เนื่องมาจากการเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ ผู้ที่ฉีกบัตรเลือกตั้งจึงรอดพ้นการถูกจำคุก ไปได้อย่างหวุดหวิดอ้างอิงข่าวมติชน 5 พค.49
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆจากหลายกลุ่มองค์กร เช่น
กิจกรรมต่อต้านทางสังคม ที่เสนอโดยเครือข่ายประชาสังคม หยุดระบอบทักษิณ
กิจกรรมสัมมนา เวทีอภิปรายในสถานศึกษา หรือถ่ายทอดทางสถานีวิทยุ 92.25, 97.75 และเอเอสทีวี
การจัดทอล์คโชว์ เช่น แผนลอบสังหารท่านผู้นำของผม ที่ล้มเหลวและน่ารำคาญ โดย นายจรัสพงษ์ สุรัสวดี หรือ ซูโม่ตู้
การเรียกร้องขอให้ข้าราชการอย่าทำตามคำสั่งที่ไม่ชอบธรรมของนักการเมือง โดยเครือข่ายเครือข่ายแพทย์ เภสัช พยาบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย 43 องค์กร 11 มหาวิทยาลัย และจัดกิจกรรมต่อเนื่องอื่นๆตามแนวทางอหิงสา (จากการประชุมเครือข่ายครั้งใหญ่ ในวันที่ 2 กันยายน 2549) [25] ได้แก่
1. เรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยุติบทบาททางการเมืองโดยเด็ดขาดทันที เพื่อเปิดโอกาสให้องค์กรตรวจสอบที่เป็นกลางเข้ามาพิสูจน์ข้อกล่าวหาต่างๆ ที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ
2. เรียกร้องให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐคำนึงถึงศักดิ์ศรีว่ามิใช่ข้าพนักงานของบริษัทรัฐบาลที่ไร้ความชอบธรรม
3. เรียกร้องให้ประชาชนอย่าได้เคารพกราบไหว้บุคคลผู้ไร้สัตย์ อย่าต้อนรับ อย่าให้ความสำคัญกับบุคคลประเภทนี้ไม่ว่าบุคคลประเภทนี้จะไปปรากฏกาย ณ สถานที่ใดๆ และร่วมกันแสดงพลังคัดค้านและประท้วงโดยสันติทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องจนกว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะยุติบทบาททางการเมืองโดยเด็ดขาด ทำกิจกรรมที่เน้นหลักอหิงสา ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้กำลัง แต่จะใช้ความอดทน เช่น

การเคลื่อนไหวของสังคมออนไลน์

thaksingetout.org การรณรงค์ให้เจ้าของเว็บไซต์ร่วมแสดงจุดยืนในการขับไล่ทักษิณ โดยคาดแถบข้อความว่า "Thaksin Get Out" ในขณะที่มีเวปบอร์ดอื่น ๆ อีกจำนวนมากมายที่คาดแถบ "เรารักทักษิณ เรารักทักษิณ" ก่อนที่ทักษิณจะประกาศเว้นวรรคทางการเมือง
มีการถ่ายถอดเสียงการชุมนุมขับไล่ทักษิณผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ เช่น สถานีวิทยุประชาชน 92.25 Mhz หรือ fm9225.net, สถานีวิทยุผู้จัดการ (คลื่นยามเฝ้าแผ่นดิน) 97.75 Mhz หรือ managerradioและมีการถ่ายถอดเสียงการต่อต้านการชุมนุมขับไล่และให้กำลังในนายกทักษิณ โดย FM94.25 คลื่นคนรักชาติ
มีการรณรงค์ต่อต้านการแสดงความเห็นลักษณะจัดตั้งของผู้สนับสนุนรัฐบาล ซึ่งเกิดขึ้นในเวบบอร์ดยอดนิยมพันธ์ทิพย์ ห้องการเมืองที่ใช้ชื่อว่าราชดำเนิน โดยกลุ่มสมาชิกราชดำเนินเดิมกลุ่มหนึ่ง มีจำนวนกว่า 300 คน ได้จัดตั้งเวบบอร์ดขึ้นมาใหม่เป็นเวทีพูดคุยแทนห้องราชดำเนิน โดยใช้ชื่อว่า ขบวนการเสรีไทยในเวบบอร์ดในทางกลับกัน ก็มีกลุ่มสมาชิกราชดำเนินอีกกลุ่มที่คัดค้านการต่อต้านและให้กำลังใจนายกทักษิณฯ ชื่อกลุ่ม รักเมืองไทย-ให้กำลังใจนายก มีสมาชิกร่วมให้กำลังใจเป็นจำนวนประมาณกว่า 1,500 คน และอีกกลุ่มที่ต่อต้านการขับไล่นี้ที่ชื่อกลุ่ม ฅนผ่านฟ้ารักษาประชาธิปไตยเน้นตรวจสอบสื่อ สมาชิกประมาณ 300 คน มีแกนนำบางคนมาจากกลุ่มรักเมืองไทยฯ
ในช่วงก่อนวันเสาร์อาทิตย์ที่ 29-30 สิงหาคม 2549 ได้มีเหตุการณ์วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในเว็บบอร์ดพันธุ์ทิพย์ เกี่ยวเนื่องกับกรณีคดี กกต. ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และการสนับสนุนให้ทั้งนายกทักษิณและ กกต.ให้ทำงานต่อ ทำให้เว็บบอร์ดต้องปิดตัวชั่วคราวระหว่างวันสุดสัปดาห์2วันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขัดแย้งและกระทู้ที่หมิ่น/ละเมิดอำนาจศาล และเปิดทำการใหม่ตามปรกติในวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม
เว็บไซต์ เครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณได้มีการเชื้อเชิญให้ติดแผ่นป้ายต้านระบอบทักษิณ เพื่อเป็นการแสดงจุดยืน โดยสันติวิธี
เว็บไซต์ รายการโทรทัศน์ออนไลน์ของ The Reporterได้จัดรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเคเบิล โดยมีโครงการเริ่มต้นที่ UBC9 (TATV-โทรทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวทาง UBC) แต่ต่อมาอ้างว่ามีความขัดข้องทางเทคนิค แล้วย้ายมาจัดทางอินเทอร์เน็ตแทนที่นี่แทน รายการที่ได้รับการประชาสัมพันธ์และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จัดโดย สมัคร สุนทรเวช และดุสิต ศิริวรรณ เนื้อหาเป็นการสนทนาปัญหาบ้านเมืองในแนวทางสนับสนุนนายกฯ และต่อต้านสื่ออื่นๆทุกรูปแบบ เนื่องจากกลุ่มนี้เชื่อว่าสื่อส่วนใหญ่บิดเบือนข่าวและให้ร้ายต่อนายกฯ
ในวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เว็บไซต์ที่สนับสนุนนายกฯ ได้ปิดทำการไปทั้งหมด รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ MV1 และเว็บไซต์ของพรรคไทยรักไทย และได้มีการออกคำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ 5/2549 เรื่อง ให้กระทรวง ICT ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร






Create Date : 11 กรกฎาคม 2550
Last Update : 11 กรกฎาคม 2550 12:58:51 น. 0 comments
Counter : 1383 Pageviews.

hanayo_boyz
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




NEWS UPDATED!! ** hanayolaw@gmail.com **

อ่านความรู้เกี่ยวกับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

คลิ๊ก .. http://tutorlawgroup.blogspot.com ครับ

ขอบคุณสำหรับ
การติดตามและกำลังใจมากมายของทุกๆท่านครับ


หากมีข้อสงสัยหรือปัญหากฎหมาย

** อีเมลติดต่อผมได้โดยตรงครับ **

** hanayolaw@gmail.com **
หรือ
** hanayo_dona@hotmail.com **



** อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามได้นะครับ

** ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดครับ...
Friends' blogs
[Add hanayo_boyz's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.