สอบเข้าคณะนิติศาสตร์ คลิ๊ก ... http://tutorlawgroup.blogspot.com/
Group Blog
 
All blogs
 
วิธีการเพื่อความปลอดภัย

วิธีการเพื่อความปลอดภัย

กักกัน
(ม.41) หลักเกณฑ์ ต้องครบทุกข้อ
1. เป็นผู้กระทำผิดติดนิสัย
- เคยถูกพิพากษาให้กักกันมาแล้ว กระทำผิดซ้ำอีก
- เคยถูกลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง
2. ได้กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งใน ม.41 อีกภายใน 10 ปี
(ความผิดเกี่ยวกับ ความสงบสุขของประชาชน, การก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน,
เงินตรา, เพศ, ชีวิต, ร่างกาย, เสรีภาพ, ทรัพย์)
3. ศาลลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนในความผิดครั้งหลัง
4. กระทำความผิดในขณะอายุเกิน 17 ปี
ศาลอาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย อาจให้กักกัน ไม่น้อยกว่า 3 ปี และไม่เกิน 10 ปี ได้
(ม.43) อำนาจการฟ้องคดีขอให้กักกัน เป็นของ อัยการ เท่านั้น
(ม.97) ต้องฟ้องภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกัน
(ม.100) เมื่อมีการพิพากษาถึงที่สุดให้กักกัน ถ้าหลบหนีพ้นกำหนด 3 ปี จะกักกันอีกไม่ได้
(ม.190) เมื่อฝ่าฝืนการกักกัน โทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
- ถ้าใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง หรือร่วมกระทำผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
- ถ้ากระทำโดยมี หรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด เพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง

ห้ามเข้าเขตกำหนด
1. (ม.45) หลักเกณฑ์ : เมื่อพิพากษาให้ลงโทษแล้ว ถ้าศาลเห็นสมควร ไม่ว่าจะมีคำขอหรือไม่
ศาลอาจสั่งห้ามเข้าเขตที่กำหนดหลังพ้นโทษแล้ว ไม่เกิน 5 ปี
2. (ม.194) ถ้าผ่าฝืน โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

เรียกประกันทัณฑ์บน
(ม.46) หลักเกณฑ์ :
1. ศาลไม่ได้ลงโทษผู้ถูกฟ้อง แต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้าย
ศาลสามารถสั่งให้ทำทัณฑ์บนได้ ไม่เกิน 5,000 บาท และไม่เกิน 2 ปี จะสั่งให้มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
2. ถ้าไม่ยอมทำ หรือหาประกันไม่ได้ให้กักขังไว้ก่อนได้ แต่ไม่เกินกว่า 6 เดือน
หรือสั่งห้ามเข้าเขตที่กำหนดไว้ก็ได้
3. ไม่รวมการกระทำของเด็กอายุไม่เกิน 17 ปี
4. เป็นดุลพินิจของศาล ไม่ต้องมีคำขอจากอัยการก็ได้
(ม.101) อายุความ
1. ต้องดำเนินการบังคับภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
2. การร้องขอให้ศาลสั่งใช้เงิน ต้องร้องขอภายใน 2 ปี นับแต่ประพฤติผิดทัณฑ์บน

คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
(ม.48) ทำความผิดและวิกลจริต
1. ถ้าศาลเห็นว่าปล่อยตัวผู้วิกลจริต จะไม่ปลอดภัยศาลจะส่งตัวไปคุมไว้ในสถานพยาบาลก็ได้
2. คำสั่งนี้ศาลจะสั่งเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ (อาจต้องอยู่ตลอดชีวิต)
(ม.49) ทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับเสพสุราเป็นอาจินต์ หรือติดยาเสพติดให้โทษ
1. ศาลพิพากษาลงโทษแล้ว(เฉพาะโทษจำคุก รอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษ)
และเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการเสพสุรา หรือ ยาเสพติด
ศาลอาจกำหนดให้งดสุราและยาเสพติด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันพ้นโทษ หรือวันปล่อยตัว
2. ถ้าไม่ทำตาม ศาลอาจสั่งให้ไปคุมตัวในสถานพยาบาล ไม่เกิน 2 ปีได้
3. กรณีฝ่าฝืน
1. (ม.195)หลบหนีจาก ม.49 โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2. หลบหนีจาก ม.48 มีโทษตาม ม.190 แต่ได้รับการเว้นโทษ หรือหย่อนโทษ เนื่องจากยังไม่รู้ผิดชอบ

ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง
(ม.50) หลักเกณฑ์ :
1. เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษ(ไม่จำกัดว่าเป็นโทษอะไร)
และเห็นว่ากระทำผิดจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ อาจห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้น
2. มีกำหนดไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ
บทลงโทษเมื่อฝ่าฝืนคำสั่ง : จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 ,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



Create Date : 23 กรกฎาคม 2550
Last Update : 23 กรกฎาคม 2550 17:12:43 น. 0 comments
Counter : 617 Pageviews.

hanayo_boyz
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




NEWS UPDATED!! ** hanayolaw@gmail.com **

อ่านความรู้เกี่ยวกับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

คลิ๊ก .. http://tutorlawgroup.blogspot.com ครับ

ขอบคุณสำหรับ
การติดตามและกำลังใจมากมายของทุกๆท่านครับ


หากมีข้อสงสัยหรือปัญหากฎหมาย

** อีเมลติดต่อผมได้โดยตรงครับ **

** hanayolaw@gmail.com **
หรือ
** hanayo_dona@hotmail.com **



** อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามได้นะครับ

** ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดครับ...
Friends' blogs
[Add hanayo_boyz's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.