ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
กรุงเทพวันวาน....ภาค 2 ค่ะ (ภาพเก่าและย่านเก่าของเมืองบางกอก)

วัดเบญจมบพิตร 1951

ถนนราชดำเนินนอก ปีค.ศ.1959 ถนนโล่งและว่างจริงๆเลยค่ะ มีรถวิ่งแทบจะนับคันได้ ***คันที่เห็นอยู่กลางแยกน่าจะเป็น austin van

รถเจ็ก หรือรถลากที่มีบริการผู้โดยสาร หน้าหัวลำโพง ปี1920


รถสามล้อถีบวิ่งให้บริการผู้โดยสาร ในยุคน้ำท่วมใหญ่ ปี 2485  ชอบรถคันสีดำจริงๆ เมื่อก่อนตอนเด็กๆที่บ้านเคยมีแบบเดียวกันนี้ด้วยค่ะ ยี่ห้อเบนซ์ สีฟ้าน้ำทะเลเคยนั่งอยู่หลายปีเลยนะ

ถสามล้อวิ่งให้บริการมากมายบนถนน  ภาพปี 2490

รูปร่างของรถเจ็ก หรือ รถลากในสมัยนั้น ที่จอดรอผู้โดยสารแถววัดโพธิ์


อีกภาพหนึ่ง เป็นป้ายโฆษณาโค้กกับวิถีชาวบ้าน  ปล.ผู้หญิงในสองคนที่ยืนอยู่ปัจจุบันนี้ไม่เสียชีวิตไปแล้วก็แก่รุ่นย่ารุ่นยายแล้วนะค่ะ อย่าคิดลึกกันนะ ^^ 
Date taken: March 29, 1950 (2493)

ภาพรูปมุมสูง วัดเบญจมบพิตและบริเวณโดยรอบ  ทางขวาคือถนนศรีอยุธยา และ อาคารที่เห็นคือ อาคารของสำนักงานแห่งแรกของ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหรือ อ.ส.ท ภาพถ่ายปี 1960 photos of Bangkok from Life magazine taken by Dmitri Kessel in 1960. The first one is the Marble Temple

จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปี 1951

วัดโพธิ์และที่จอดรถรับจ้าง สามล้อ,รถเมล์โดยสาร ปี 1951

ราชดำเนิน ปี1950 taken by Dmitri Kessel in 1950 for Life Magazine อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นผลงานการออกแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล อันเป็นแบบที่ชนะการประกวดการออกแบบอนุสาวรีย์แห่งนี้ การออกแบบได้นำสถาปัตยกรรมแบบไทยมาผสมผสาน ตรงกลางเป็นสมุดไทยที่สื่อถึงรัฐธรรมนูญประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า นอกจากการเป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงประชาธิปไตยนั้น อนุสาวรีย์แห่งนี้ ยังเป็นหลักกิโลเมตรที่ศูนย์ของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย

แนวความคิดและพิธีก่อฤกษ์ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีดำริที่จะจัดสร้างอนุสรณ์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึงความสามัคคีกลมเกลียวในชาติ และพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญของชาติ ตลอดจนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนี้นำมาซึ่งความสถาพรแก่ชาติ รัฐบาลจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างอนุสาวรีย์ เมื่อพิจารณาที่เหมาะสมนั้น จึงเห็นว่าบริเวณถนนราชดำเนินที่กำลังมีการปรับปรุงอยู่ในขณะนั้น เป็นพื้นที่ที่้เหมาะสม ประกอบกับขณะนั้นกำลังมีการก่อสร้างสะพานเฉลิมวันชาติในบริเวณเดียวกัน การสร้างอนุสาวรีย์จะยิ่งสร้างความสง่างามแก่บ้านเมือง รัฐบาลได้จัดการประกวดการออกอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนี้ โดยแบบที่ได้รับรางวัลและนำมาจัดสร้างคือแบบของหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล  โดยรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการการก่อสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อควบคุมกำกับการก่อสร้าง โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างและ สิทธิเดช แสงหิรัญ เป็นผู้ช่วยปั้นอนุสาวรีย
พิธีก่อฤกษ์อนุสาวรีย์ได้ถือฤกษ์วันชาติไทยในขณะนั้นคือ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 เป็นวันก่อฤกษ์ โดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เป็นประธานในพิธีมณฑล พิธีเริ่มต้นขึ้นในเวลา 9 นาฬิกา 16 นาที เสร็จสิ้นเมื่อเวลา 9 นาฬิกา 57 นาที

โรงแรมรัตนโกสินทร์ taken by Dmitri Kessel in 1950 for Life Magazine

การจราจรติดขัดและรถสามล้อที่หัวลำโพง taken by Dmitri Kessel in 1950 for Life Magazine

รถแท๊กซี่ ยี่ห้อ austin van1965 สีเทาสองประตู พ่อเราเคยเรียกจากบางเขนเข้ามาในกรุงเทพฯ ตอนนั้นบางเขน คือ ย่านชานเมืองนะค่ะ

รถออสติน แวน ไม่แน่ใจว่าเป็น taxi หรือเปล่า ย่านตลาดบางรัก ช่วงปี 1959-1960 ปล.แฟชั่นกระโปรงสุ่มยุคนั้นสวยจริงๆค่ะ  เจ้าของกระทู้ตอนเด็กๆแม่ชอบพาไปซื้อชุดนักเรียนที่ตลาดบางรัก แล้วพาไปกินขนมในตลาด พอโตขึ้นก็ไปเดินเล่นที่สหกรณ์บางรัก ชั้นสอง ไม่รู้ยังมีอยู่หรือป่าว

รถสามล้อถีบรอรับผู้โดยสารที่หน้ากองสลากเก่า บนถนนราชดำเนินในปี 2501 ก่อนที่จะถูกทางการสั่งห้ามวิ่งในเขตกรุงเทพ เมื่อปี 2507 สามล้อถีบจึงได้ย้ายไปบริการอยู่ย่านชานเมืองแทน เช่น นนทบุรี สมุทรปราการฯ ในภาพจะเห็นรถ Morris กับ เจ้าออสตินสีเทาสามประตูที่เป็น Taxi สมัยนั้นค่ะ

ภาพถ่ายทางอากาศ ของโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนลตัล (โรงแรมหมวก) ในอดีต

ภาพเด็กสาว 3 คน ใส่ผ้าถุงยืนขายพวงมาลัย กลางถนนพหลโยธิน บริเวณสนามเป้าใกล้ๆกับอนุสาวรีย์ชัย ช่วงปี 1970 สังเกตุจะเห็น ร้านดังฮะเซ้งมอเตอร์รับทำท่อไอเสีย ร้านเก่าแก่ประจำย่านนี้ค่ะ ในภาพเห็นรถเมล์ สีเทา สาย 59 ของบริษัท สหายยนต์ วิ่งระหว่างสะพานใหม่-สนามหลวง....Photo Series of BKK in 1970 by Khun Mike Schmicker

ภาพคนข้ามถนนหน้าวัดพระแก้ว เพื่อนๆจะเห็นป้ายหาเสียง ของคุณชำนาญ ยุวบูรณ์ ที่กำลังหาเสียงเพื่อแข่งกันเป็นสมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 15 สิงหาคม 1971 (2514) และครั้งนั้นนายสมัคร สุนทรเวช ได้ตำแหน่งนี้ไป...... Photo Series of BKK in 1970 by Khun Mike Schmicker

ถนนราชดำเนิน ช่วงปี 1950 มองจากทางด้านสนามหลวงย้อนไปทางภูเขาทอง เห็นภูเขาทองลิบๆ (ที่อยู่ตรงกลางส่วนบนสุดของภาพพอดี..ยอดสามเหลี่ยมเล็กๆสีขาว) แยกแรกบนถนนที่เห็นคือแยกคอกวัว..ซ้ายไปย่านบางลำภู...ขวาไปย่านเสาชิงช้า ภาพถ่ายปี 1950

Yaowaraj Road at Chloem Buri junction 1925 ถนนเยาวราช ตรงบริเวณ แยกเฉลิมบุรี ปี 1925

ภาพถ่ายมุมสูง สถานีรถไฟบางกอกน้อย ที่เคยถูกเครื่อง B-29 ของฝ่ายสัมพันธมิตรมาทิ้งระเบิดจนเสียหายอย่างหนัก....ภาพนี้ถ่ายปี 1964 (2507)

หลังคาทรงโค้งด้านมุมขวาบนคือโรงเก็บเรือพระราชพิธี ตรงปากคลองบางกอกน้อย   รถเมล์สองคันที่เห็นน่าจะเป็นสาย 83 ตลิ่งชัน - หัวรถไฟ ใช้รถหน้ายาว ส่วนอีกคันเป็นรถเมล์สาย 58 ใช้รถฮีโน่หน้าตัด วิ่งมินบุรี หัวรถไฟ

อาคารบริเวณสถานีขวาสุดเป็นโกดังไม้เป็นที่เก็บสินค้าที่มาจากภาคใต้  จะมีพวกมะพร้าวเป็นส่วนใหญ่ส่วนอาคารที่สองจากขวาคือที่ส่งสินค้าทั่วไปและสินค้าที่จะส่งไปภาคใต้ ส่วนวงเวียนปลูกต้นเข็มล้อมรอบวงรีตัดแต่สวยงาม ต้นตาลคู่ยังเห็นอยู่ตอนไปดูแห่เรือฉลองกรุงเทพฯ 200 ปีปัจจุบันไม่เห็นแล้วนะค่ะ  ภาพนี้น่าจะถ่ายตอนสายมากแล้ว เพราะไม่เห็นร่มที่กางขายของคือตลาดศาลาน้ำร้อนด้านซ้ายของภาพส่วนรางรถไฟด้านซ้ายสุดเมื่อวิ่งถึงโค้งคือโบถ์หลวงพ่อโบถ์น้อยวัดอรุณอัมรินทร์ 

แต่น่าเสียดายมากค่ะ ที่การรถไฟฯ ไม่ให้ความสำคัญของสถานีแห่งนี้ในฐานะสถานีรถไฟชานเมืองสายใต้ เลยกลายเป็นส่วนหนึ่งของ ร.พ.ศิริราชไปแล้ว ปล.อังศุมาลินนอนกอดร่างโกโบริที่โดนสะเก็ดระเบิดตายแถวนี้แหละ

1926 Mahachai Road, Wnag Boorapha Phirum {left}, and Fort Mahachai  วังบูรพาอยู่ทางซ้าย ป้อมมหาชัยอยู่ขวาค่ะ

1922 Metropolitan Police Station #1 {now Phra Rajwang Police Station} ที่ทำการตำรวจนครบาลที่1
หรือ สน.พระราชวังในปัจจุบันนั่นเอง ภาพปี 1922


Phyathai road at Rajthewee Intersection - Spotting Asia Hotel ถนนพญาไท มองจากฝั่งอนุสาวรีย์ชัย ไปยังด้านแยก ราชเทวี ในปี 1970 มองไปตรงกลางภาพจะเห็น บ.วิทยาศรม ที่่ปัจจุบันรู้สึกว่าจะเป็นคอนโดไปแล้วนะ ฝั่งตรงข้ามจะเป็นโรงหนังเอเธนส์ ที่ถูกรื้อไปสร้างเป็นคอนโดแล้วเหมือนกันค่ะ

1967-rajaprasong-square  ภาพการจราจร ที่สี่แยกราชประสงค์ ในปี 1967 สมัยที่อาคาร BOAC เพิ่งเริ่มก่อสร้าง

Sikak Phya Sri crossing on Charoen Krung Road - 1912 ภาพปี1912ที่ สี่กั๊กพระยาศรี ที่ตัดกับแยกถนนเจริญกรุง
สังเกตุเห็นป้ายและอาคารห้างขายยา สี่กั๊ก ดิสเพนนารี่  และคนหาบน้ำ น่าจะเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพหาบน้ำขายในสมัยก่อน  ปล.เลิกไปในปี 2460 เพราะเป็นทรัพย์สินชนชาติศัตรู (เยอร์มัน) จากนั้นก็โดนขายเลหลังไปแล้วโรงพิมพ์หนังสือพิมพ์จีน มาซื้อที่ตั้งโรงพิมพ์แทนค่ะ (โดย Moderator Wiz)

1905 - life along Mahachai Road. City Prison [left] and Sanam Luang [right] ...ภาพปี 1905 คนกำลังลากรถรับจ้างอยู่บนถนนมหาชัย เจ๊กลากรถ กะ คุกใหม่ (ปัจจุบันคือสวนรมมนีนารถ) ริมถนนมหาชัยแล้วยังมี ป้อมหมูทะลวง และ รถรางสายรอบเมืองเห็นอยู่ลิบๆ

1912 version of Charoen Krung Road [New Road], Bangkok ภาพปี 1912 ตรงแยกสี่พระยา มุ่งหน้าไปตลาดน้อย ตำรวจจราจร กำลังทำหน้าที่ในป้อมที่อยู่กลางแยก คอยบอกสัญญาณเหมือนไฟเขียว ไฟแดง

ภาพเก่าสะพานมหาดไทยอุทิศหน้าภูเขาทอง เขียนไว้ว่า สร้างในสมัยรัชกาลที่6 ภาพนี้เป็นภาพปี1904

View from 1898 Golden Mount.from the north..ภาพแทนสายตาเมื่อมองลงมาจากยอดภูเขาทองมายังถนนราชดำเนิน จะมองเห็นยอดป้อมมหากาฬอยู่กลางภาพ ถัดไปทางขวาเป็นสะพานผ่านฟ้าลีลาศทอดข้ามคลองรอบกรุง(หรือคลองโอ่งอ่าง)...ในตอนนั้นผู้คนยังใช้เรือเป็นพาหนะสัญจรไปมาตามลำคลองอยู่เลยค่ะ

ปล.ตรงสามแยกปากคลองมหานาค บริเวณด้านหลังป้อมมหากาฬ มีตึกโบราณหลังหนึ่ง เป็นอาคารชั้นเดียวที่พระยาญาณประกาศ (เลื่อน ศุพศิริวัฒน์) ปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ เป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2459 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อาคารหลังนี้ใช้เป็นท่าเรือต้นทางสำหรับเจ้านายและข้าราชการที่จะเดินทางไปเฝ้าฯสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งทรงย้ายไปประทับที่วังสระปทุม ริมคลองแสนแสบ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2459 นอกจากนั้นแล้ว ยังเล่ากันว่า อาคารท่าเรือหลังนี้ได้ใช้เป็นที่ประทับของเจ้านายที่เสด็จมาทอดพระเนตรการเล่นสักวาในคลองโอ่งอ่าง ซึ่งในระยะหลังการเล่นสักวามักมีในช่วงงานภูเขาทอง กลางเดือน 12 วันลอยกระทง งานมีถึง 10 วัน 10 คืน

The broad expanse of 1947 era Ratchadamneon Road....ภาพถ่ายทางอากาศ ถนนราชดำเนิน ปี 1947 ตึกตรงหน้าคือ โรงแรมรัตนโกสินทร์ ..สังเกตุเห็นภูเขาทองอยู่ ลิบๆ สีขาว ด้านบนของภาพ

ปล.ห้างแบดแมน มีชื่อเต็มๆว่า ห้างแบดแมน แอนด์ กำปะนี (Harry A. Badman and Go.,) สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) นับว่าเป็นห้างฝรั่งรุ่นแรกๆของเมืองไทยเลยค่ะ  เดิมที "ห้างแบดแมน" ตั้งอยู่ที่หัวมุมกระทรวงมหาดไทย ถนนบำรุงเมือง ก่อนจะย้ายมาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา หัวถนนราชดำเนินกลาง แต่ในเวลาต่อมาเมื่อห้างแบดแมนได้ปิดตัวลง กรมประชาสัมพันธ์ก็ได้ใช้ตึกเป็นสถานที่ทำงาน แต่ในปัจจุบันบริเวณที่เคยเป็น "ห้างแบดแมน" ได้กลายเป็นที่ขายสลากกินแบ่งรัฐบาลไปแล้วค่ะ...

ส่วนตึกตรงข้ามการไฟฟ้าวัดเลียบที่เห็นเป็นตึกใหญ่ๆน่าจะเป็นอาคารของบริษัท ไฟฟ้าสยาม ทุน จำกัด นะ ที่เป็นบริษัทที่เข้าดำเนินการสร้างรถรางไฟฟ้าแห่งแรกในเมืองไทย การสร้างเส้นทางรถรางใช้ไฟฟ้าเป็นตัววิ่ง บริษัทจึงได้สร้างโรงไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของ "โรงไฟฟ้าวัดเลียบ" และมีอาคารสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่อย่างที่เห็น และบริษัทก็เจริญก้าวหน้าและขาดทุนไปและโอนกิจการให้รัฐบาลต่อมา กลายเป็นที่ทำการสำนักงานใหญ่ไฟฟ้าในเวลาต่อมาค่ะ

ภาพเก่า ถนนสีลม ในยุคที่ยังมี ธนาคาร กวางตุ้ง และ บริษัทซัมมิท ปล.น้ำมัน Summit ตอนนี้ไม่มีแล้วค่ะ เพราะคืนโรงกลั่นให้บางจากไปแต่ปี 2523  แบร์ลิทซ์ โรงเรียนสอนภาษาที่ดังมากในยุคนั้นเลยนะ

Lumphinee Park with Khing Vajiravudh Monument...ภาพคนเข็นรถ(คล้ายๆเกวียน)บรรทุกสิ่งของที่หน้าสวนลุม ปี 1950

ปล.หน้าจะเป็นฉากหนึ่งของภาพยนต์เรื่อง สวรรค์มืด ที่มี ครูสุเทพ วงศ์กำแหง แสดงเป็นพนักงานรักษาความสะอาดของกรุงเทพ ลากรถเก็บขยะแบบนี้ทาสีเขียวมีตราเทศบาลติดอยู่ด้วย 

Seng Hen Lee Gold shop at Yaowaraj 1950  ภาพผู้คนบนถนนเยาวราช หน้าร้านทอง เซ่ง เฮง หลี ปี 1950

 วงเวียน 22 กรกฎาคม ปี 1960

Erawan Shrine & the original Erawan Hotel at Ratchaprasong intersection 1965 ภาพตำรวจจราจรกำลังโบกรถที่สี่แยกราชประสงค์ (สังเกตุมีแท่นเล็กๆให้ขึ้นไปยืนโบกรถได้ด้วย) ภาพปี 1965 มีแต่รถสวยๆทั้งนั้นเลยค่ะ

ภาพถ่ายเก่าของชาวญี่ปุ่น ที่ประตูน้ำ ปี 1970  ในภาพ รถเมล์ ขาวนายเลิศ สาย 72 วิ่งอยู่ทางขวาของภาพ ก่อนที่จะมีสะพานลอยให้รถข้าม แยกนี้ก็เคยมีวงเวียนเหมือนกันค่ะ สังเกตุตรงระหว่างตอม่อใต้สะพานลอย

ภาพถ่ายเก่าของชาวญี่ปุ่น...ประตูน้ำ ปี 1970 ร้านค้าและรถที่จอดอยู่ข้างทาง ในภาพเลยไปหน่อยจะมีร้านข้าวมันไก่ ซึ่งตอนนี้ย้ายไปอยู่อีกมุมหนึ่ง ที่ฝั่งเดียวกับโรงหนังเพชรรามา รู้จักกันในนาม มิดไนท์ไก่ตอน เราเห็นมาตั้งแต่เด็กๆเลยค่ะ

ภาพถ่ายเก่าของชาวญี่ปุ่น ประตูน้ำ ปี 1970 ภาพความวุ่นวายและ พลุกพล่านของคนข้ามถนน กับการค้าขายของแม่ค้าริมถนนทำให้ประตูน้ำดูโกลาหลที่สุด...รถเมล์เหลืองในภาพน่าจะเป็น สาย 13 ของบริษัท บุญผ่องจำกัด

Arndt Voigt Thailand 1961. ภาพปี 1961....แยกพาหุรัด ครุฑที่เห็นนั่นคืออาคารของห้างรัตนมาลา จำกัดสินใช้ ห้างดังในอดีต...ที่ปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของดิโอลด์สยาม  ปล.แยกเพาะช่าง มองไปคือถนนตรีเพชรค่ะ  ขวามือ เรียกว่าตลาดมิ่งเมือง ซ้ายมือถัดไป มีร้านฉายาจิตรกร ห้างไนติงเกล ในเวลาต่อมา

Bangkok city 1979  แยกปทุมวัน ปี 1979  ซ้ายมือเป็นอาคารพาณิชย์ก่อนที่จะมีห้างมาบุญครอง ลานกว้างใหญ่ที่เห็นเก้าอี้สีเหลือง คือ Kloster beer garden ลานเบียร์ แห่งแรกในกรุงเทพ ป้ายโฆษณาคอนเสิร์ท Guys n Dolls บนอาคาร ด้านขวา แลเห็นเสาไฟสปอร์ตไลท์สนามศุภฯอยู่ไกลๆ ภาพนี้ถ่ายจากอาคารสยามเซนเตอร์

ภาพถนนเพชรบุรี ในปี พ.ศ. 2509 น่าจะถ่ายจากสะพานลอยประตูน้ำ ซ้ายมือจะเห็นร้านใบชาตราสามม้าเดี๋ยวนี้ยังมีขายหรือเปล่าก็ไม่รู้นะค่ะ ด้านหลังอาคารเป็นตลาดโต้รุ่งนายเลิศ   ขวามือ บริษัทกันยง ตัวแทนมิตซูบิชิ ถัดไปเป็นโรงหนังพาราเมาท์ ที่ฉายหนังของ Paramount เป็นหลัก เลยไปจะเห็น โรงหนังเมโทร ตรงนั้นเข้าซอยไปหลังตึกขวามือจะเป็นลานสเก็ตดัง

Rex Sket วงดนตรีดังเกิดจากที่นี่หลายวง ส่วนตึกแถวริมถนนจะเป็นห้างอมร ไม่ใช้ร้านซ่อมเครื่องไฟฟ้านะแต่เป็นร้านของเล่นที่ดังมาก ขวัญใจเด็กยุคนั้นเลยค่ะ  วันตรุษจีนแย่งกันซื้อเหมือนแจกฟรี ติดกับโรงหนังโรงแรมเฟริส์เปิดแล้ว เป็นที่พักของทหารอเมริกัน พอปี 2511 หลังการประกวดสตริงคอมโบ้ชิงแชมพ์ประเทศไทย ได้วงดนตรี The Impossibles ชนะเลิศ ตรงชั้นสอง พอเข้าประตูหน้าไป จะมีบันไดขึ้นทางด้านขวามือเป็นคลับดังแห่งยุค The Bell Club วงดนตรี The Im อยู่ประจำหลายปี จนที่เพลินจิตอาเขตเปิด Impossible Cafe จึงย้ายไปประจำส่วนที่ The Bell พอไฟไหม้ ก็ปิดปรับปรุง ผู้บริหาร The Bell Club ก็มาเช่าที่ชั้นสอง ตึกนายเลิศ ตรงริมทางรถไฟเพลินจิต เปิดเป็น The Bell Club อยู่ได้ไม่นาน ก็กลับไปใช้ชื่อเดิม Topper Club และดังมากเพราะได้วงดนตรี Silver Sands มาประจำ ส่วนที่ First Hotel คลับปรับปรุงเปิดใหม่ ชื่อ Fire Creker Club งดงามมากค่ะ ทางเดินทำเป็นอุโมงค์ไฟ สวยงามมาก ได้วงดนตรีในเครือเดียวกับดิอิม คือวง The Black Hornets มาประจำ ก่อนที่จะถูก Disco เข้ามาจึงเปิดเป็น Disco แต่ไม่ดังในภาพซ้ายมือสังเกตุดูจะมียอดแหลม ๆ ไม่ใช้อนุสาวรีย์นะ แต่เป็นโรงเรียนเสริมสวยดาวรุ่ง ด้านบนเขาจะทำเป็นหอไอเฟลจำลองไว้เก๋ดี มองไปจะเห็นน้ำพุราชเทวี
ปล.หลังโรงแรมเฟิริส์มีหอพักชื่อพอละออรัตน์โดยมากเด็กที่จบ ม.ศ3 -5มักมาพักที่นี่กันค่ะ เพื่อเรียนต่อชั้นสูงขึ้นหรือเรียนมหาวิทยาลัย โดยมากเป็นเด็กเหนือ เป็นหอพักที่ดีมาก และราคาถูก เจ้าของเอาใจใส่ดี เดี๋ยวนี้ถูกลื้อไปแล้วค่ะ 
โรงหนัง Hollywood ที่อยู่ฝ้่งซ้ายสมัยก่อนฉายแต่หนังฝรั่ง ก่อนถึงวงเวียนราชเทวี และละแวกนี้มีร้านขายแว่นตาดังๆอยู่หลายร้าน ก่อนจะมาถึงยุคสยามสแควร์  
***สะพานลอยประตูน้ำ เป็นสะพานลอยแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นประมาณปี 2508 
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร(บางขุนพรหม) ปีค.ศ.1961
ภาพมุมสูง ย่านถนนเยาวราช ปี 1920
รงแรม ทรอคาเดโร 1920 และ ภาพในยุคปัจจุบัน
ภาพตรงบริเวณ ที่เป็น 5 แยกลาดพร้าวค่ะ ถ่ายในปี พ.ศ 2509 ก่อนที่จะมีการสร้างสะพานลอยข้ามทางแยกและทางด่วนคร่อมบนสะพานลอยอีกที ในภาพเป็นตอนที่เริ่มมีการจราจรคับคั่งจนต้องติดตั้งสัญญาณไฟจราจรไว้เพื่อความปลอดภัย (ที่โล่งด้านหลังตรงที่เห็นเป็นต้นก้ามปูนั้น... ปัจจุบันเป็นศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว) ทิศทางในภาพคือ ทางที่รถเมล์สีเขียว(น่าจะสาย 26)และส้ม(น่าจะสาย34)หันหน้าไปคือทางไปแถวเกษตรศาสตร์ ส่วนถนนที่ตัดขวางจากมุ่มขวาไปซ้ายก็คือจากดินแดงมุ่งหน้าดอนเมือง..
ตึกถาวรวัตถุข้างวัดมหาธาตุ แต่ก่อน ใช้เป็นหอสมุดแห่งชาติ อยู่พักใหญ่ ตอนนี้เป็นศูนย์นราธิป (โดย Moderator Wiz)  ถนนหน้าพระธาตุ  เป็นถนนในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตั้งต้นจากถนนหน้าพระลาน เลียบสนามหลวงด้านตะวันตก ไปทางทิศเหนือจนถึงถนนราชินี
ถนนหน้าพระธาตุเป็นถนนที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่เป็นถนนในลักษณะพูนดินให้สูง เป็นถนนเชื่อมระหว่างพระราชวังหลวงกับพระราชวังหน้า ใช้เป็นเส้นทางเสด็จของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไปยังพระบรมมหาราชวัง ผ่านวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จึงชื่อว่าถนนหน้าพระธาตุ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม...ในภาพเป็นถนนหน้าพระธาตุในช่วงรัชกาลที่5 เปรียบเทียบกับในยุคปัจจุบัน
KING-RAM-I-STREET-BANGKOK-Thailand-1970  น่าจะถ่ายจากโรงแรมเพรสซิเด้นท์ มองไปข้างหน้าจะเป็นแยกราชประสงค์และข้ามตรงไปจะไปทางด้านสยามสแควร์ มุมด้านขวาที่เห็นเป็นหลังคาทรงจั่วคือส่วนหนึ่งของบริเวณโรงแรมเอราวัณ และตรงต้นจามจุรีด้านซ้ายมือที่เลยแยกไปหน่อยจะเป็นบริเวณของโรงพยาบาลตำรวจ
ภาพเก่าบริเวณแยกสามย่านแถวหน้าวัดหัวลำโพง ปี 2527  ตึกแถวที่เห็นปัจจุบันคือบริเวณของจามจุรีสแควร์  ส่วนตึกแถวในภาพที่เห็นคือร้านโจ๊กสามย่านอันโด่งดังค่ะ และด้านข้างตึกนี้มีซอยเรียกซอยข้างพานิชจุฬา ที่ตั้งของสมบูรณ์ภัตตาคารอันลือชื่อเรื่องปูผัดผง... และทางขวาของตึกนี้เปนที่ทำการรถทัวร์ถาวรฟาร์ม ไปเชียงใหม่ รถทัวร์จะจอดอยู่หลังตึกสามารถขึ้นที่นี่ก็ได้ ก่อนจะวิ่งไปรับคนที่หมอชิตเก่าอีกที คุ้นๆว่ามีตลาดอยู่ด้วยนะค่ะ คนละตลาดกับตลาดสามย่านซึ่งอยู่อีกฝั่งถนน
ถนนแถวหน้าโรงหนังลิโด้และสยาม ในปี 1992 สมัยที่ยังไม่ถูกปกคลุมด้วยรางรถไฟลอยฟ้า  

The East Asiatic Wharf near the Oriental Hotel of 1920 Bangkok  ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ประเทศในแถบทวีปเอเชียถูกรุกรานโดยชาติมหาอำนาจจากยุโรป และด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ จึงทรงตัดสินพระทัยเจริญสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรเดนมาร์ก พร้อมกับการก่อกำเนิดท่าเรือของบริษัท อีสท์ เอเชียติก ซึ่งมีนายฮันส์ นิลล์ แอนเดอร์เซน ชาวเดนมาร์กเป็นเจ้าของ เพื่อการค้าไม้สักไปต่างประเทศ จึงสร้างท่าเรือขนถ่ายสินค้าขึ้น ณ ท่าเรือแห่งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของประตูการค้าสากลระหว่างสยามประเทศและยุโรป เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้สยามดำรงความเป็นเอกราชมาจนปัจจุบัน ..
ภาพภัตตาคาร ห้อย เทียน เหลา หรือ หยาดฟ้าภัตตาคาร อันโด่งดัง ในอดีต บนถนนเยาวราช    ห้อยเทียนเหลา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2475 ปีเดียวกับที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง  โดยคนจีนเชื้อสายจีนแคะที่ชื่ออึ้งยุกหลงต้นตระกูล "ล่ำซำ" เป็นเจ้าของ โดยร่วมทุนกับญาติๆ และเพื่อนพ่อค้ารวม 23 คน แรกทีเดียวก่อตั้งภัตตาคารภายใต้ชื่อว่า "หน่ำเทียนเหลา" ต่อมาในปี 2477 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นห้อยเทียนเหลา 

กิจการของต้นตระกูล "ล่ำซำ" แห่งนี้ ครั้งแรกตั้งอยู่ที่ตรอกตั้งโต๊ะกัง ถนนเจริญกรุง แต่ถูกไฟไหม้ในปี 2477 ที่เปลี่ยนชื่อเป็นห้อยเทียนเหลาก็เลยต้องย้ายมาที่ถนนเสือป่าซึ่งก็คือสถานที่สุดท้ายและได้ปิดตัวลงที่นี่... ห้อยเทียนเหลามีชื่ออีกชื่อหนึ่งซึ่งตั้งขึ้นในช่วงปี 2484 ว่าหยาดฟ้าภัตตาคารและใช้เป็นชื่อบริษัทที่เป็นผู้บริหารห้อยเทียนเหลาด้วย กล่าวกันว่าชื่ออันไพเราะนี้ถูกตั้งขึ้นโดยพระยาอนุมานราชธนซึ่งท่านเขียนไว้ใน "ฟื้นความหลัง" 
ห้อยเทียนเหลาเป็นอดีตนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความ "FIRST CLASS" เศรษฐีและคนใหญ่และคนโตมาหลายยุคหลายสมัย ถ้ารวยจริงหรือใหญ่จริงส่วนมากแล้วจะคุ้นเคยกับห้อยเทียนเหลา แม้แต่แขกบ้านแขกเมืองก็เคยลิ้มรสซาลาเปากับหูฉลามอันเลิศรสของห้อยเทียนเหลามาแล้วนะค่ะ คนที่เคยไปที่นี่จะต้องจำการเข้าลิฟท์ของที่นี่ ที่มีความคลาสิกมาก เป็นลิฟท์โบราณ มีประตูเปิดได้ เข้าไปแล้วมีลูกรงปิด อีกชั้นหนึ่ง กระจกประตูเป็นฝ้าหนาๆ เห็นแต่แสงที่ลอดเข้ามา ...
เมื่อขึ้นถึงชั้นสอง ก็เป็นโถง มีโต๊ะกลมๆ ผ้าปูสีแดง แก้วน้ำเพนท์สี ซาลาเปา ขนมจีบ อร่อยมากค่ะ

1967, Bangkok, Thailand --- Cars, trucks, and a motorcyclist travel Tripet Road in front of Wat Rajburana. Bangkok, Thailand. --- Image by © Dean Conger/CORBIS © Corbis. All Rights Reserved.

ภาพบริเวณเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งพระนคร จะเห็นวัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ) และ รถรางเป็นฉากหลัง การจราจรยังโล่งมากๆเลยค่ะ ไม่ติดขัดเหมือนเดี๋ยวนี้   ปล.ในภาพเพื่อนๆจะเห็น รถรางสายรอบเมืองที่โดนตัดเป็น 2 ท่อนไม่ติดกัน คือ สายสั้น จากบ้านมะลิวัลย์ ถนนพระอาทิตย์ ไป หน้าร้านกมลสุโกศลแถววังบูรพา และ จากการไไฟ้านครหลวงที่วัดเลียบ ไปถึงอนุสาวรีย์ทหารอาสา

ภาพเก่าของถนนเพชรบุรี สมัยปี 1970(2513) มองจากด้านสะพานลอยประตูน้ำไปยังแยกราชเทวี ยังเห็นวงเวียนน้ำพุที่กลางแยกราชเทวีอยู่
ภาพเก่าปี 1970(2513) สะพานลอยข้ามแยกประตูน้ำนับเป็นสะพานลอยข้ามแยก(สำหรับให้รถยนตร์วิ่งข้าม)เป็นแห่งแรกของประเทศไทย...เปิดใช้เมื่อต้นปี 2509 ถ้าใครเกิดทันต้องจำป้อมตำรวจจราจรที่อยู่ติดกับสะพานแห่งนี้ได้..น่าจะเป็นป้อมจราจรป้อมเดียวที่มีทรงสูงๆ แบบนี้...นับเป็นเอกลักษณ์ที่อยู่คู่กับสะพานลอยนี้มาช้านาน...สงสารก็แต่ตำรวจที่ประจำที่ป้อมนี้ไม่รู้ต้องปีนขึ้น ปีนลง วันละกี่รอบ เมื่อจะไปเข้าห้องน้ำหรือ กินข้าว...ในภาพยังเห็นป้ายโรงหนังเพชรรามาอยู่  
***ในทศวรรษที่ 1960 เขตการค้าได้ขยายไปถึงราชประสงค์ ประตูน้ำและถนนเพชรบุรี โดยเฉพาะย่านประตูน้ำ การสร้างถนนเพชรบุรีตัดใหม่ให้เชื่อมต่อกับถนนเพชรบุรีเดิม ส่งให้โฉมหน้าของย่านประตูน้ำ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง ผ่านช่วงเวลามาอีก 20 ปี เนื่องจากประชากรในกรุงเทพฯได้เพิ่มขยายขึ้นอย่างรวดเร็ว ประตูน้ำจึงกลายเป็นย่านที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นที่สุดย่านหนึ่งขึ้นมาเลยค่ะ ย่านประตูน้ำในวันนี้จึงอยู่ในสภาพเบียดเสียดแออัด คึกตักทั้งรถราและผู้คน กระทบส่งให้ย่านเยาวราชชิดช้ายไปเลย
ทางรถรางในอดีตที่เลี้ยวมาจากถนนเพชรบุรีและสิ้นสุดลงตรงหัวสะพานประตูน้ำถูกรื้อไปนานแล้วนะ  คลองเล็กคลองน้อยที่พาดผ่านก็หายสาบสูญกลายเป็นถนนไปหมด“ ประตูน้ำ”บานเก่ายังคงอยู่ แต่ใช้การอะไรไม่ได้อีกต่อไปแล้วค่ะ คนหนุ่มสาวในปัจจุบันอาจจะไม่รู้จักความเป็นมาของคำว่า“ประตูน้ำ” ไม่รู้ว่าที่นั่นมีประตูน้ำเล็กๆอยู่แห่งหนึ่ง“สะพานลอย”ข้ามสี่แยกประตูน้ำ สร้างเสร็จเมื่อปี 1966(พ.ศ.2509) เพื่อเชื่อมถนนเพชรบุรีกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ให้ไปถึงงานนิทรรศการสินค้านานาประเทศที่จัดขึ้นที่หัวหมากในปีนั้น“สะพานลอย”ประตูน้ำจึงเป็น“สะพานลอย”บนทางหลวงแห่งแรกของกรุงเทพฯปัจจุบัน “สะพานลอย”บนทางหลวงเช่นนี้ ในกรุงเทพฯมีไม่ต่ำกว่า 10 แห่ง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณประตูน้ำเป็นแหล่งรวมศูนย์ของชาวไร่เลยนะค่ะ  ข้างถนนประตูน้ำ มีร้านค้าเล็กๆเรียงรายเป็นห้องไม้ไม่กี่ห้อง แล้วก็มีตลาดประตูน้ำ เป็นแหล่งรวมศูนย์ของผัก ชาวสวนผักที่อยู่ใกล้เคียง(ส่วนใหญ่เป็นชาวฮากกากึ่งแต้จิ๋ว ที่เรียกกันว่า“ปั๊วซัวแขะ”) ทุกเช้าก่อนฟ้าสางจะใช้เรือเล็กบรรทุกผักจากคลองเล็กๆมาสู่ตลาดประตูน้ำ พ่อค้าผักทั้งจากตลาดเก่าและตลาดใหม่เยาวราชมากันเป็นกลุ่มๆ นั่งกันมาในรถบรรทุกขนาดเล็กหรือไม่ก็รถลาก รับซื้อผักเป็นเข่งๆ โดยตรงจากชาวสวนผักที่ตลาดประตูน้ำนี้ แล้วนำมาขายปลีกให้แก่แม่บ้านและพ่อครัวในห้างร้านที่อยู่ในกลางเมือง ปัจจุบันตลาดผักสดนี้ได้กลายเป็นถนนไปแล้ว ชาวสวนผักก็ต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น





ที่มา: //www.facebook.com/media/set



Create Date : 19 เมษายน 2557
Last Update : 19 เมษายน 2557 11:03:31 น. 0 comments
Counter : 5172 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.