Nichar love Beauty ^^ Beauty love Nichar
 
 

แม่เจ้า !!! เครื่องดูดฝุ่นทองคำ ค่าตัว 31 ล้าน

แม่เจ้า !!! เครื่องดูดฝุ่นทองคำ ค่าตัว 31 ล้าน
 

เว็บไซต์จำหน่ายเครื่องดูดฝุ่นออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา เปิดตัว “เครื่องดูดฝุ่นแพงที่สุดในโลก” ซึ่งมาพร้อมทองคำ 24เค และมีค่าตัวสูงถึง ,000,000 หรือกว่า 31.5 ล้านบาท

เว็บไซต์ “โก แวคคัม (GoVacuum)” ผู้จำหน่ายเครื่องดูดฝุ่นและอุปกรณ์ แนะนำสินค้าใหม่สุดฮือฮา ภายใต้ชื่อ ”GoVacuum GV62711″ ซึ่งเป็นเครื่องดูดฝุ่นชุบทองคำ 24เค ที่มาพร้อมความหรูหรา ทรงพลัง และประสิทธิภาพในการทำความสะอาดอันน่าทึ่ง สามารถขจัดเศษวัสดุ ขนสัตว์ ขี้ฝุ่น และสิ่งสกปรกได้อย่างง่ายดายทุกซอกทุกมุม ด้วยพลังดูดที่เหนือกว่าจากมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 10 แอมแปร์

เครื่องดูดฝุ่นดังกล่าวมีหัวแปรงกว้าง 14 นิ้ว มาพร้อมถุงเก็บฝุ่นละอองและแผ่นกรอง HEPA สามารถตั้งค่าการทำงานได้หลายรูปแบบ ตัวเครื่องมีน้ำหนักเบา รับประกันคุณภาพตลอดอายุการใช้งาน แต่จะเปิดให้สั่่งจองในช่วงเวลาจำกัด และจะจำหน่ายเพียง 100 เครื่องเท่านั้น (ทุกเครื่องมาพร้อมซีเรียลนัมเบอร์ และใบรับประกัน)

หากมีผู้สั่งซื้อ เว็บไซต์ “โก แวคคัม” จะทำการออกแบบลวดลายหรือใส่ลายละเอียดต่างๆ ลงบนตัวเครื่องตามคำสั่งของลูกค้า ก่อนที่จะส่งเครื่องดูดฝุ่นโลหะ (ที่ผลิตในประเทศจีน) ไปชุบทองคำ (ในอเมริกา) เพื่อเพิ่มความหรูหรา หลังจากนั้นจึงจัดส่งให้ลูกค้า (ส่งฟรีทั่วโลก) รวมเบ็ดเสร็จแล้วใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน

แม้จะถูกนำมาเปิดตัวด้วยสนนราคาหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 31.5 ล้านบาท แต่ราคาจำหน่ายหน้าเว็บอยู่ที่ 9,999 (ประหยัด 1 เหรียญ) และนี่ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นขำๆ เพราะเว็บไซต์ ”โก แวคคัม” ยืนยันว่านี่เป็นราคาพิเศษช่วงแนะนำ ทั้งยังบอกด้วยว่าการเปิดตัวตัวเครื่องดูดฝุ่นรุ่นนี้ไม่ใช่แผนโปรโมทเว็บไซต์ แต่ต้องการจำหน่ายเครื่องดูดฝุ่นราคาหนึ่งล้านเหรียญจริงๆ ถ้าไม่เชื่อ (และมีเงินในกระเป๋า) ให้ลองสั่งซื้อดู เพราะทางเว็บฯ มีของรออยู่แล้ว เหลือแค่การออกแบบ สลักชื่อ เครื่องหมาย หรือลวดลายตามความต้องการของลูกค้า และนำเครื่องดูดฝุ่นไปชุบทองคำเท่านั้น



ที่มา
//paow007.wordpress.com/
teenee.com




 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 16 กรกฎาคม 2555 13:06:16 น.   
Counter : 799 Pageviews.  


"ออมเงิน (Saving)" อย่างไรให้เติบโตและเบิกบานใจ

"ออมเงิน (Saving)" อย่างไรให้เติบโตและเบิกบานใจ
 

ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคสมัยแห่งโอกาสและความหวัง โดยเฉพาะในเรื่องนำเงินออมไปลงทุนให้เติบโตยิ่งขึ้น คนธรรมดาทั่วไปจึงไม่ต้องทำงานเพื่อแลกเงินเพียงอย่างเดียว แต่ยังใช้เงินให้ทำงานได้อีกด้วย

น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ที่ลึกซึ้งในการจัดการเงิน จึงทำให้เงินออมที่สะสมไว้ไม่สามารถขยับขยายไปเพิ่มผลตอบแทนได้

1. เข้าใจเรื่อง “ปัจจัยพื้นฐาน” ของสินทรัพย์แต่ละประเภท ที่เราเข้าไปลงทุน

ทองคำเป็นตัวอย่างที่ดีของสินทรัพย์ที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจลึกซึ้ง จึงเกิดความเชื่อฝังหัวว่าทองคำมีแต่ขึ้นไม่มีลง โดยไม่ได้ดูประวัติศาสตร์ย้อนหลังให้ยาวไกลเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงปี 1980-1990 ยิ่งไม่ต้องเอ่ยอ้างถึงการรู้จักเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ประเภทอื่นว่าอะไรจะให้ผลตอบแทนมากกว่ากัน

ทองคำมีแนวโน้มจะขึ้น 10 ปี วิ่งลงไปเซื่องซึมอยู่ 20 ปี แล้วจึงได้เวลากลับมาฟู่ฟ่าอีกครั้ง

หากคิดเฉลี่ยทั้งปีที่รุ่งเรืองและซึมเศร้า กินเวลารอบละ 30 ปี ผลตอบแทนของทองคำ ก็อาจใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ซึ่งไม่น่าตื่นตาตื่นใจแต่ประการใด

การที่ราคาทองคำขึ้นไปเป็นเวลา 10 ปี ให้คนเกิดความตื่นเต้น ขึ้นไปเกินระดับราคาพื้นฐานที่เป็นจริง ก่อนจะตกลงมาชดเชยแน่นิ่งเป็นเวลา 20 ปี ก็เพื่อเรียกร้องความสนใจให้รายย่อยเข้ามาลงทุน เพราะถ้าค่อยๆเพิ่มอย่างเชื่องเช้าเท่ากันเป็นเวลา 30 ปี คนส่วนใหญ่ก็จะรู้ความจริงและรับไม่ได้กับอัตราเติบโตที่น้อยนิดนี้

ทองคำในฐานะเครื่องมือลงทุนก็จะไม่มีใครสนใจ

นักลงทุนที่ดีจะต้องอ่านปัจจัยพื้นฐานและจิตวิทยาให้กระจ่าง ไม่ใช่ติดแต่ภาพที่เห็นเฉพาะหน้า

“กองทุนหุ้น” ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งคนส่วนใหญ่เชื่อว่าก็คงไม่แตกต่างจากการที่เราไปเลือกซื้อหุ้นเอง แถมยังดียิ่งกว่า เพราะผู้จัดการกองทุนมีความเป็นมืออาชีพ มีความเชี่ยวชาญ และยังมีเวลาว่างมากกว่าเรา

สิ่งที่ลืมนึกไปก็คือ กองทุนหุ้นก็มีข้อจำกัดมากมายในการลงทุน ไม่สามารถทำหลายสิ่งหลายอย่างที่นักลงทุนธรรมดาสามารถกระทำได้ ผลตอบแทนของกองทุนจึงไม่มีความโดดเด่นแตกต่างมากนัก ส่วนใหญ่ก็จะมีผลตอบแทนใกล้เคียงกับ SET

เมืองไทยยังไม่มีนโยบายที่เอื้ออำนวยให้เกิดกองทุนที่มีอิสระมากมายแบบในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแม้จะทำให้นักลงทุนบางส่วนโดนหลอกไปบ้าง แต่สำหรับนักลงทุนที่ฉลาดเฉลียว ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ก็จะได้พบเจอกับผลตอบแทนที่โดดเด่นกับผู้จัดการกองทุนแบบ Peter Lynch

โดยเฉพาะเมื่อคนไทยส่วนใหญ่ ยังคงเสพติดการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแบบรายวัน อ่อนไหวไปกับข่าวดีข่าวร้ายโดยไม่เข้าใจเบื้องลึกเบื้องหลัง ก็ยากที่กองทุนที่เน้นลงทุนระยะยาวในหุ้นเติบโต (Growh Stock) จะได้รับความนิยม

เมื่อเข้าใจเรื่องปัจจัยพื้นฐานในระดับหนึ่งแล้ว ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้กับเงินออมอย่างยั่งยืนได้ แน่นอนว่ามีความเสี่ยงที่จะล้มเหลวพอควร แต่โอกาสสำเร็จย่อมมีมากกว่า

การลงทุนในหุ้นเติบโต (Growth Stock) ตามแนวทางของ Fisher ลงทุนในหุ้นแข็งแกร่งแบบ Buffett หรือลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีแบบรอบด้านของ Peter Lynch ก็คือ การมอบเงินออมให้กับผู้บริหารธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ให้ช่วยดูแลผลกำไรแทนเรา

การเลือกลงทุนในกองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนที่ยิ่งใหญ่ หรือเลือกหุ้นที่มีผู้บริหารที่ยิ่งใหญ่ ก็อาจให้ผลตอบแทนที่ดีเฉกเช่นเดียวกัน

ถ้าคุณยังไม่เชื่อใจตนเองว่าจะเลือกหุ้นสุดยอดได้ ก็จงมองหาคนเก่งที่ไว้ใจได้มาช่วยดูแลเงินของคุณ

แต่จะตรวจสอบได้อย่างไรว่าเขาเก่ง จะรู้ได้ยังไงว่าเขาไม่โกง สุดท้ายก็ต้องใช้ความรู้ลึกซึ้ง

ถ้าอยากรวย ก็ต้องหาความรู้

2. เข้าใจเรื่องจังหวะการลงทุน โดยเฉพาะทฤษฎีของ Soros และกลยุทธ์การซื้อขายแบบจูงแพะติดมือ

จังหวะการลงทุนของ “ทองคำ” ได้ผ่านพ้นไปแล้ว เพราะครบกำหนด 10 ปี

ทำไมต้อง 10 ปี เพราะมันจะได้ยาวนานเกินพอที่ทำให้นักลงทุนหลงลืมความเจ็บปวดของทศวรรษ 1980 ที่ทองคำได้ไหลลงอย่างรุนแรง แล้วมั่นใจว่าทองคำจะขึ้นไม่มีวันลง

นี่คือ จังหวะขายที่ดีที่สุด โดยแม้จะมีข่าวร้ายมาผสมบ้าง คนก็ยังเชื่อมั่นและเข้าไปรับอย่างเต็มที่

หากจะลงทุนในทองคำ อย่างน้อยต้องเริ่มตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว และค่อยมาเลิกในช่วงนี้

เมื่อเข้าใจปัจจัยพื้นฐานของ AEC และประเทศไทยว่าจะเติบโตในช่วง 5-10 ปีนี้ ก็ยังไม่พอสำหรับการลงทุน เพราะนี่ไม่ใช่ตำราคณิตศาสตร์ หากเป็นสงครามระหว่างรายใหญ่และรายย่อย

เราจึงต้องเข้าใจว่าในระยะสั้น จะต้องทุบหุ้นลงมาให้นักลงทุนรายย่อยเทขาย ก่อนที่จะปล่อยข่าวดีและลากหุ้นขึ้นไปสู่ปัจจัยพื้นฐานในอนาคต ตั้งแต่ 1400-2000 จุด

บางทีหุ้นไทยอาจต้องหลุด 1000 จุด รายย่อยจึงจะกลัวและเทขาย

แต่จะลงเมื่อไรก็ไม่รู้ และจะดีดกลับเมื่อไรก็ไม่ทราบ

ใครที่อยากจะได้กำไรก็ต้องกล้าเสี่ยง แต่จะเสี่ยงอย่างไรให้ได้เปรียบ

ก็ต้องใช้กลยุทธ์จูงแพะติดมือ ทะยอยซื้อเฉลี่ย เมื่อราคาลดลง 5-10 % จึงค่อยซื้อ 1 ครั้ง แล้วเมื่อราคาหุ้นเด้งขึ้นมา ก็ให้ทะยอยขายไปบ้าง เพือทำกำไรระยะสั้น

แต่ก็ต้องเก็บหุ้นไว้ 50 % ของจำนวนเงินที่ตั้งใจจะลงทุน เพื่อว่าเมื่อหุ้นกลับไปเป็นขาขึ้น เราจะได้มีกำไรเป็นกอบเป็นกำ

สิ่งสำคัญคือ จะต้องเลือกซื้อสินทรัพย์ที่เติบโตดี ในจังหวะเวลาที่เหมาะสม

หุ้นเติบโตบางตัว ที่ราคาได้ขึ้นมาแล้ว 3-5 เท่า ภายในเวลา 3-5 ปี ในทางทฤษฎี ก็อาจจะโตต่อไปได้อีก แต่ในทางปฏิบัติ มีน้อยตัวนักที่ราคาจะขึ้นไปได้ต่อ

ส่วนหนึ่งก็คือ เมื่อบริษัทเติบโตถึงระดับหนึ่ง ก็จะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารให้รองรับการเติบโตต่อไป ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี

ที่สำคัญ หุ้นเติบโตเมื่อสร้างราคาขึ้นมา 3-5 เท่า ก็ย่อมทำให้ชื่อเสียงหอมหวน นักลงทุนรายย่อยก็อยากเข้ามาจับจอง จึงทำให้นักลงทุนรายใหญ่ต้องขายให้ก่อน แล้วกดราคาลงมาให้หนักหน่วง เพื่อให้นักลงทุนรายย่อยคายของออกมาให้หมด ก่อนที่จะเติบโตต่อไป

3. กระจายความเสี่ยง ตั้งแต่การมีแหล่งรายได้ที่หลากหลาย ไปจนถึงแหล่งลงทุนที่แตกต่าง


หลักข้อแรกของการกระจายความเสี่ยง คือ อย่าทำให้ตัวเองเสี่ยงมากขึ้น เพราะกระจายเงินไปในสินทรัพย์ที่ดี แต่กำลังอยู่ในช่วงขาลง

ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ดี แต่เมื่อได้ขึ้นมา 10 ปีแล้ว และกำลังมีแนวโน้มขาลง ก็ยังไม่ควรเข้าไปลงทุน

ในศตวรรษที่ 21 มีทางเลือกของการออมเงินให้มากมาย ดังนั้น จงเลือกกระจายความเสี่ยง เฉพาะสินทรัพย์ที่ดี และอยู่ในช่วงขาขึ้นเท่านั้น
ไม่จำเป็นต้องกระจายให้ครอบคลุมทุกอย่าง แต่เลือกสินทรัพย์ที่ดีและแตกต่างกัน 5-10 ชนิดก็พอแล้ว

บางคนให้ความสำคัญกับการกระจายความเสี่ยงของเงินออม แต่ลืมนึกถึงเรื่องรายได้

การออมเงินที่ดี คือ มีเงินสดให้น้อยที่สุด ดังนั้น เมื่อเรามีแหล่งรายได้แค่ทางเดียว เราก็ต้องเหลือเงินสดสำรองไว้มากพอ เผื่อว่ารายได้มีการสะดุดลง จะได้ถอนเงินออกมาใช้ได้

ดังนั้น หากเรามีแหล่งรายได้ที่กระจายความเสี่ยงเพียงพอ เราก็จะสามารถนำเงินออมไปลงทุนได้เต็มที่ ไม่ต้องสำรองเงินสดไว้จำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้ผลตอบแทนโดยรวมมีระดับลดลง

สรุปแล้ว การสร้างความมั่งคั่งของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเต็มไปด้วยโอกาสมากมายนั้น จำเป็นต้องอาศัยความรู้ที่ลึกซึ้ง และหลากหลายรอบด้าน ตั้งแต่การวิเคราะห์คน วิเคราะห์ธุรกิจ ไปจนกระทั่งถึงจิตวิทยามวลชน

การแสวงหาความรู้ อาจทำให้เราเหน็ดเหนื่อย

แต่มันก็คุ้มค่า หากว่าเงินออมสามารถทำงานแทนเราได้

เราก็จะสามารถมีเวลาไปเสพสุขกับชีวิตและความมั่งคั่งได้ อย่างที่ใจปรารถนามานาน


ขอบคุณ  : prachachat

อ่านเนื้อหาข่าวเพิ่มเติมจาก :"ออมเงิน (Saving)" อย่างไรให้เติบโตและเบิกบานใจ




 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 16 กรกฎาคม 2555 13:02:39 น.   
Counter : 1214 Pageviews.  


เลิกบุหรี่มีผลกับน้ำหนักตัวจริงหรือ?

เลิกบุหรี่มีผลกับน้ำหนักตัวจริงหรือ?
 

ข้อสงสัยที่ว่า หลังเลิกบุหรี่แล้วน้ำหนักตัวจะลดหรือเพิ่มนั้น ทำให้นักวิจัยของฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรร่วมกันค้นหาคำตอบ ล่าสุด เฮนรี-จีน เออบิน ผู้เชี่ยวชาญบำบัดผู้ติดสารเสพติด แห่งโรงพยาบาล พอล เบราส์ ในฝรั่งเศส ได้เปิดเผยผลวิจัยเรื่องดังกล่าวออกมา

ในการทำวิจัยกับ 62 กรณีศึกษา ได้มีการตรวจสอบน้ำหนักก่อนเลิกบุหรี่กับน้ำหนักหลังเลิกบุหรี่ไปแล้ว 12 เดือน เพื่อดูความผันผวนของน้ำหนักตัวในผู้ที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จและไม่ต้องบำบัดโดยนิโคตินทดแทน พบว่า ส่วนใหญ่คนเลิกสูบบุหรี่มักจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากตอนที่ยังมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ โดยน้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 8-11 ปอนด์ ภายในปีแรก ทั้งนี้ น้ำหนักตัวจะเพิ่มมากในช่วง 3 เดือนแรกหลังเลิกบุหรี่ได้

ความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวยังสามารถแยกได้ว่า เดือนแรก น้ำหนักขึ้น 2.5 ปอนด์ ส่วนเดือนต่อมาเพิ่ม 5 ปอนด์ สู่เดือนที่สาม 6.5 ปอนด์ กระทั่งเดือนที่หก ได้น้ำหนักเพิ่ม 9 ปอนด์ และเมื่อครบปีจะมีเพิ่มราว 10.5 ปอนด์ ส่วนผู้ที่เลิกบุหรี่แต่ต้องพึ่งนิโคตินทดแทนเป็นตัวช่วยก็มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องน้ำหนักตัวหลังการหยุดสูบบุหรี่ ไม่ใช่มีแต่เพิ่ม ทว่ามีความผันผวนที่หลากหลาย เพราะยังมีผู้ที่เลิกบุหรี่ร้อยละ 16 น้ำหนักลดลงหลังเลิกบุหรี่ ส่วนร้อยละ 13 มีน้ำหนักเพิ่มถึง 22 ปอนด์หลังเลิกไปหนึ่งปี

ผู้วิจัยย้ำว่า การเลิกบุหรี่เป็นความคิดที่ดีและควรทำให้สำเร็จ ส่วนเรื่องน้ำหนักตัวก่อนกับหลังพฤติกรรมสูบบุหรี่นั้นไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวลกันมาก ทว่าสุขภาพโดยรวมที่ดีขึ้นและความเสี่ยงป่วยโรคร้ายจากบุหรี่ลดลงนี่สิ น่าคิดกว่ากันเยอะ.

teenee.com




 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 16 กรกฎาคม 2555 12:57:21 น.   
Counter : 825 Pageviews.  


รู้หรือไม่ว่าโลกนี้มีคนเกิดมาแล้วกี่คน ?

รู้หรือไม่ว่าโลกนี้มีคนเกิดมาแล้วกี่คน ?
 

วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ (ค.ศ. ๒๐๑๑) อาจถือได้ว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก เนื่องจากองค์การสหประชาชาติระบุว่าเป็นวันที่โลกมีประชากรครบ ๗ พันล้านคน

อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญไม่ใช่ว่าวันดังกล่าวโลกมีประชากร ๗ พันล้านพอดีเป๊ะหรือไม่ เพราะการประมวลข้อมูลจากประเทศต่าง ๆ ย่อมมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น (เช่น ใช้ข้อมูลล่าสุดเมื่อ ๒ ปีก่อน) แต่แก่นสาระอยู่ที่ว่าตัวเลขนี้เตือนให้เรารู้ว่าบัดนี้เรามีเพื่อนมนุษย์ ร่วมชะตากรรมจำนวนมหาศาล และเราจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อให้โลกนี้ดีขึ้น ดังที่นายบันคีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้กล่าวไว้ในการแถลงข่าวบางตอนดังนี้ (สังเกตดี ๆ จะเห็นว่าท่านย้ำคำว่า ๗ พันล้านบ่อยมาก)

“สภาพของโลกแบบไหนที่ทารกคนที่ ๗ พันล้านได้ถือกำเนิดขึ้นมา ?  สภาพของโลกแบบไหนที่เราอยากให้ลูกหลานของเราในอนาคตได้อยู่อาศัย ?” และ

“ผมเป็นหนึ่งใน ๗ พันล้าน ท่านก็เป็นหนึ่งใน ๗ พันล้าน เราสามารถเป็นประชากร ๗ พันล้านที่เข้มแข็ง โดยการทำงานร่วมกันอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว เพื่อให้โลกดีขึ้นสำหรับทุกคน”

ก่อนหน้าวันสำคัญนี้เพียง ๕ วัน คือในวันที่ ๒๖ ตุลาคม เว็บ BBC News ก็นำเสนอหัวข้อ “7 billion people and you: What’s your number?” โดยมีโปรแกรมสนุก ๆ เพียงคุณเติมวันเดือนปีเกิด (ใช้ได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๑๐ เป็นต้นมา) ก็จะได้คำตอบว่า ขณะที่คุณเกิดนั้น คุณเป็นคนที่เท่าไรบนโลก ?  และหากเริ่มนับตั้งแต่ประวัติศาสตร์เริ่มต้นขึ้น คุณเป็นคนที่เท่าไร ? (ในการแสดงผลใช้คำว่า “…since history began” แสดงว่าเริ่มคำนวณตั้งแต่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร)

ผมลองใส่วันเกิดของตัวเองลงไป คือ ๓ กันยายน ๑๙๖๖ พบว่าในวันนั้น ผมเป็นคนที่ ๓,๔๑๔,๙๒๘,๐๗๑ (ตัวเลขนี้คือจำนวนประชากรโลกในขณะนั้น ราว ๓.๔ พันล้านคน) และเป็นคนที่ ๗๗,๓๗๘,๐๘๒,๒๘๒ นับตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์เริ่มขึ้น

แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าตัวเลขทั้งคู่นี้เป็น เพียงค่าโดยประมาณ แต่ผมก็คิดว่าน่าสนุกดี ถ้าตี๊ต่างว่าตัวเลขตัวหลัง หรือ ๗๗,๓๗๘,๐๘๒,๒๘๒ เป็น “รหัสสมาชิกโลก” ของตัวเอง (ส่วนคุณผู้อ่านจะตีความอย่างไรก็สุดแล้วแต่)

ตัวเลขตัวหลังนี้ยังอาจทำให้ถามต่อได้ ว่า ณ วันนี้ (วันที่คุณผู้อ่านกำลังอ่านบทความนี้) โลกกลม ๆ ใบนี้มีมนุษย์เกิดมาแล้วทั้งหมดกี่คน ?

หากใช้โปรแกรมของ BBC แล้วเติมข้อมูล ณ วันที่ผมเขียนต้นฉบับบทความนี้ (๑๐ ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๑๑) ก็จะพบว่า โลกได้มีมนุษย์ ๘๓,๒๑๙,๐๐๙,๕๕๗ คน (ประมาณ ๘๓,๐๐๐ ล้านคน) เกิดมาแล้วนับแต่ยุคประวัติศาสตร์

ตัวเลขคำตอบทำนองนี้มาจากไหน ? นักประชากรศาสตร์ได้ครุ่นคิดวิธีการคำนวณค่านี้ (โดยประมาณ) มาระยะหนึ่งแล้ว ในที่นี้จะขอนำเสนอตัวอย่างสัก ๒ วิธี ได้แก่

วิธีแรก การคำนวณโดยใช้จำนวนประชากร ณ เวลาหนึ่ง ๆ และอายุขัยเฉลี่ย

วิธีที่ ๒ การคำนวณโดยใช้จำนวนคนที่เกิดในแต่ละช่วงเวลา

ทั้งสองวิธีนี้มีจุดคล้ายคลึงและจุดแตกต่างกันอย่างไร ลองมาดูกันครับ



การคำนวณโดยใช้จำนวนประชากรและอายุขัยเฉลี่ย

วิธีแรกพิจารณาจำนวนประชากรที่เวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งใช้ฟังก์ชันคณิตศาสตร์ N(t) เป็นตัวแทน โดย N(t) คือ จำนวนประชากรของโลก ณ เวลา t

หากใช้คณิตศาสตร์ที่เรียกว่า แคลคูลัส (Calculus) ทำการอินทีเกรตฟังก์ชันนี้ในช่วงเวลา a ถึง b  ค่าผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นตัวเลขที่มีหน่วยเป็นจำนวนคนคูณกับเวลา (เช่น คน-ปี)  ดังนั้น หากเราหารค่าดังกล่าวนี้ด้วยอายุขัยเฉลี่ย ก็จะได้จำนวนคนในช่วงเวลาดังกล่าว (เวลาที่ใช้มักมีหน่วยเป็นปี)

นักประชากรศาสตร์ชื่อ นาทาน คีย์ฟิตซ์ (Nathan Keyfitz) ได้แบ่งเวลาออกเป็นช่วง ๆ โดยในแต่ละช่วงใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับจำนวนประชากรซึ่งมีรูปแบบ เดียวกันดังนี้

N(t) =  C exp(rt)

โดยที่ exp() คือ ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ส่วนค่าคงที่ C และอัตราการเพิ่มของประชากร r สำหรับแต่ละช่วงเวลามีค่าแตกต่างกัน

จากสมมุติฐานนี้ เราสามารถหาสูตรคำนวณค่าจำนวนคน-ปี ในช่วงเวลา a ถึง b ได้ดังนี้

จำนวนคน-ปีในช่วงเวลา a ถึง b = [N(b)-N(a)] x (b-a) / Ln[N(b)/N(a)]

โดยที่ Ln() คือ ฟังก์ชันลอการิทึมธรรมชาติ (natural logarithm)

ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. ๑๙๙๐ และ ๒๐๐๐ โลกมีจำนวนประชากร ๕,๒๗๕ และ ๖,๑๙๙ ล้านคนตามลำดับ จะได้ว่า a = 1990, b = 2000, N(a) = 5,275,000,000 และ N(b) = 6,199,000,000 เมื่อนำค่าต่าง ๆ แทนเข้าไปในสูตรข้างต้นจะพบว่า

จำนวนคน-ปีในช่วงเวลา ค.ศ. ๑๙๙๐-๒๐๐๐ = 5.72 x 1010 คน-ปี

ตารางที่ ๑ สรุปค่าต่าง ๆ ที่อาจเป็นไปได้  คุณผู้อ่านที่ชอบคณิตศาสตร์อาจลองสุ่มตรวจสอบค่าที่ให้ไว้ในคอลัมน์สุดท้าย โดยการคำนวณในทำนองเดียวกับตัวอย่างปี ๑๙๙๐-๒๐๐๐

จุดน่าสังเกตบางประการ เช่น คีย์ฟิตซ์เริ่มคำนวณตั้งแต่เวลา ๑ ล้านปีก่อน ค.ศ. โดยสมมุติจำนวนคนต่ำสุดที่ต้องมี นั่นคือ ๒ คน (อาจคิดเล่น ๆ ว่าเป็น อาดัมกับอีฟ ก็น่าจะพอได้)

ส่วนช่วงเวลา ๙,๐๐๐ ปีก่อน ค.ศ. ในตารางนี้ น่าจะเป็นช่วงเวลาโดยประมาณที่การปฏิวัติเกษตรกรรม
เริ่ม ถือกำเนิดขึ้น  อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่แม่นยำกว่าในปัจจุบันระบุว่า การปฏิวัติเกษตรกรรม หรือที่เรียกว่า การปฏิวัติยุคหินใหม่ (Neolithic Revolution) ถือกำเนิดขึ้นในช่วง ๘,๐๐๐-๕,๐๐๐ ปีก่อน ค.ศ. ตัวอย่างเช่น ชาทัลฮูยุก (Catal Huyuk) (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี) ก่อตั้งขึ้นราว ๗,๒๐๐ ปีก่อน ค.ศ. เป็นชุมชนที่ผู้คนเริ่มเปลี่ยนผ่านจากการเร่ร่อนล่าสัตว์ ลงหลักปักฐานสร้างที่อยู่อาศัยและทำเกษตรกรรม

ในการคำนวณจำนวนมนุษย์ที่เคยอยู่บนโลก ทั้งหมด นับจาก ๑ ล้านปีก่อนถึงปี ค.ศ. ๒๐๐๐ เรานำค่าจำนวนคน-ปีในคอลัมน์สุดท้ายมารวมกัน (นั่นคือ 0 + 4.91×1011 + 7.14×1011 + … + 5.72×1010) ได้ค่ารวม 2.402×1012 คน-ปี

คีย์ฟิตซ์เลือกค่าเฉลี่ยอายุขัยของ มนุษย์ไว้ที่ ๒๕ ปี เมื่อนำค่านี้ไปหารค่าจำนวนคน-ปี ก็จะได้จำนวนมนุษย์ที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกประมาณ ๙๖,๐๐๐ ล้านคน (โปรดจำตัวเลขนี้ไว้ชั่วคราว เพื่อเปรียบเทียบกับค่าที่ได้ในการคำนวณวิธีที่ ๒)

ตารางที่ ๑ : การคำนวณโดยวิธีของคีย์ฟิตซ์




การคำนวณโดยใช้จำนวนคนที่เกิดในแต่ละช่วงเวลา

อีกวิธีหนึ่งในการประมาณจำนวนคนที่เคย เกิดมาบนโลกนี้ คิดจากจำนวนคนที่เกิดในแต่ละช่วงเวลา  ในที่นี้ผมขอนำเสนอสาระสำคัญของบทความ How Many People Have Ever Lived on Earth? (มีคนจำนวนเท่าไรที่เคยอยู่อาศัยบนโลก ?) เขียนโดยนักประชากรศาสตร์ชื่อ คาร์ล ฮอบ (Carl Haub) ในปี ๑๙๙๕  ต่อมาปรับปรุงในปี ๒๐๐๒ และปรับปรุงล่าสุดราวกลางปี ๒๐๑๑

ฮอบระบุว่า การคำนวณเพื่อตอบคำถามนี้ไม่อาจทำได้อย่างสมบูรณ์แบบในทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเราขาดข้อมูลที่แน่นอนถึงราว ๙๙ % ของช่วงเวลาทั้งหมดที่มนุษย์อาศัยอยู่บนโลก

อย่างไรก็ดี การประมาณค่าที่สมเหตุสมผลที่สุด (หรือเดาอย่างมีหลักการที่สุด) ก็ยังพอทำได้ โดยค่าที่ได้ขึ้นกับปัจจัยหลัก ๒ ประการได้แก่ ระยะเวลาที่เราคิดว่ามนุษย์อาศัยอยู่บนโลก และค่าเฉลี่ยของขนาดจำนวนประชากรในแต่ละช่วงเวลา

จากตารางนี้จะเห็นว่าเวลาเริ่มต้นที่ใช้ คำนวณคือ ๕๐,๐๐๐ ปีก่อน ค.ศ. ซึ่งฮอบอ้างอิงจาก United Nations Determinants and Consequences of Population Trends ว่า โฮโมเซเปียนส์สมัยใหม่ปรากฏขึ้นในช่วงเวลานี้ ส่วนเวลา ๘,๐๐๐ ปีก่อน ค.ศ. นั้นคือช่วงเวลารุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติเกษตรกรรมนั่นเอง

ชุดตัวเลขที่น่าสังเกตอีกชุด ได้แก่ อัตราการเกิด ซึ่งมีค่าสูงในอดีต และลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป  ค่าอัตราการเกิดที่สูงถึง ๘๐ คนต่อ ๑,๐๐๐ ในระยะแรก ๆ นั้น ฮอบอธิบายว่าเป็นเพราะอายุขัยเฉลี่ยของคนเราในอดีตนั้นแสนสั้น คืออาจจะอยู่ราว ๆ ๑๐ ปีเท่านั้น  ดังนั้น อัตราการเกิดต้องมีค่าค่อนข้างสูงในช่วงดังที่ระบุไว้ มิฉะนั้นมนุษย์เราไม่อาจจะสืบต่อเผ่าพันธุ์อยู่รอดมาได้

ฮอบได้คำนวณจำนวนคนที่เกิดในแต่ละช่วง เวลา (คอลัมน์ขวาสุดในตาราง) ซึ่งเมื่อนำมารวมกัน (นั่นคือ 1,137,789,769 + 46,025,332,354 + …+ 2,130,327,622) จะได้ 107,602,707,791 คน หรือประมาณ ๑ แสน ๘ พันล้านคน

 ข้อสังเกต & สรุป

จากผลการคำนวณทั้ง ๒ วิธี แม้จะได้ค่าจำนวนคนที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกแตกต่างกันอยู่บ้าง กล่าวคือ ๙๖,๐๐๐ ล้านคน (วิธีแรก) และ ๑๐๘,๐๐๐ ล้านคน (วิธีที่ ๒) แต่ค่าทั้งสองก็อยู่ในระดับขนาดเดียวกัน  พูดเป็นตัวเลขจำง่าย ๆ คือราว ๑ แสนล้านคน

หากนำจำนวนประชากรทั้งหมดในปัจจุบัน คือ ๗ พันล้านคน ไปเทียบกับตัวเลข ๑ แสนล้านคน ก็อาจพูดได้ว่า ราว ๗ % ของคนที่เคยถือกำเนิดบนโลก (นับย้อนกลับไปอย่างน้อย ๕ หมื่นปีมาแล้ว) ยังมีชีวิตอยู่รอบ ๆ ตัวเรา ณ ขณะนี้นี่เอง

ตัวเลข ๗ % นี้น้อยหรือมากอย่างไร ลองใช้ความรู้สึกของคุณผู้อ่านตัดสินเองครับ ! (ไม่ต้องคำนวณแล้ว)


ขอบคุณข้อมูลจาก unigang.com และ  //www.sarakadee.com




 

Create Date : 14 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 14 กรกฎาคม 2555 15:19:22 น.   
Counter : 1068 Pageviews.  


พายุสุริยะ

พายุสุริยะ
 

พายุสุริยะคืออะไร?
      
พายุสุริยะ คือ กระแสของอนุภาคพลังงาน สูงที่พัดมาจากดวงอาทิตย์ด้วยปริมาณและความเร็วสูงกว่าระดับปกติ อนุภาคนี้มีทั้งอิเล็กตรอนและโปรตอน เป็นตัวการทำให้เกิดแสงเหนือใต้ และพายุแม่เหล็ก ซึ่งส่งผลต่อดาวเทียม ยานอวกาศ และระบบสายส่งบนโลก

พายุสุริยะมีผลกระทบต่อโลกอย่างไร?
      
ปกติพายุสุริยะจะไม่ ส่งผลโดยตรงต่อโลกและสิ่งมีชีวิตบนโลก เนื่องจากโลกมีบรรยากาศและสนามแม่เหล็กคุ้มกัน มีเพียงนักบินอวกาศที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในอวกาศเท่านั้นที่อาจได้รับ อันตราย ทั้งจากพายุสุริยะและรังสีจากดวงอาทิตย์

ในอดีต พายุสุริยะเคยสำแดงฤทธิ์เดชให้เห็นแล้วหลายครั้ง เช่น ใน ค.ศ. 1859 พายุสุริยะทำให้สายโทรเลขลัดวงจรจนทำให้เกิดเพลิงไหม้หลายแห่งในยุโรปและ อเมริกา ส่วนใน พ.ศ. 2532 พายุสุริยะก็เคยทำให้หม้อแปลงของไฟฟ้าระเบิดจนทำให้ไฟดับทั่วทั้งจังหวัด ควิเบกของแคนาดามาแล้ว นอกจากนี้ดาวเทียมและยานอวกาศที่อยู่ในอวกาศก็อาจเสียหายจากพายุสุริยะได้ ในอดีตเคยมีดาวเทียมหลายดวงเสียหายจากเหตุการณ์นี้มาแล้ว เนื่องจากปัจจุบันชีวิตประจำวันของผู้คนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอวกาศมาก ทั้งโทรศัพท์ โทรทัศน์ การกระจายเสียงวิทยุ ระบบบอกพิกัด ฯลฯ ดังนั้นหากมีพายุสุริยะมาทำให้ดาวเทียมเหล่านี้เสียหายไป ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างแน่นอน

ในปี ค.ศ. 2012 จะเกิดพายุสุริยะโจมตีโลกจริงหรือ?
        จริง
พายุสุริยะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา และส่งผลกระทบถึงโลก และมีระดับความรุนแรงผันแปรเป็นคาบ คาบละประมาณ 11 ปี คาบที่ชัดเจนนี้ทำให้นักดาราศาสตร์พยากรณ์ได้ว่าช่วงสูงสุดหรือต่ำสุดของ วัฏจักรสุริยะจะเกิดขึ้นเมื่อใด ช่วงสูงสุดของวัฏจักรที่จะเกิดในครั้งถัดไปคาดว่าจะอยู่ในช่วงกลาง ค.ศ. 2013

ช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะกินเวลายาวนานข้ามปี ดังนั้นแม้ช่วงสูงสุดจะอยู่ใน ค.ศ. 2013 แต่พายุสุริยะก็เริ่มจะกระหน่ำโลกตั้งแต่ก่อน ค.ศ. 2012 แล้ว

       แม้ ช่วงปี 2013 จะอยู่ในช่วงสูงสุดของวัฏจักรสุริยะ แต่พายุสุริยะที่จะเกิดขึ้น ก็ไม่ได้รุนแรงมากไปกว่าที่เคยเกิดขึ้นในรอบก่อน ซึ่งเกิดในราวปี ค.ศ. 2000, 1989, และก่อนหน้านั้น ความจริงมีแนวโน้มว่าช่วงสูงสุดของวัฏจักรที่จะมาถึงในปี 2013 จะอ่อนกำลังกว่าวัฏจักรก่อนหน้านี้เสียด้วยซ้ำ


 



teenee.com




 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2555   
Last Update : 13 กรกฎาคม 2555 13:52:55 น.   
Counter : 1108 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  

chiza_love
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
[Add chiza_love's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com