Nichar love Beauty ^^ Beauty love Nichar
 
 

เมื่อคุณพึ่งยาลดความอ้วน

เมื่อคุณพึ่งยาลดความอ้วน

สำหรับคนที่กำลังจะหันไปพึ่งยาลดน้ำหนักต่างๆที่เห็นได้ทั่วไปนั้น ... คุณจะรับสิ่งเหล่านี้ได้หรือไม่เมื่อคุณได้รับยาลดความอ้วนไป เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวคุณ คุณต้องเลือกด้วยตัวเอง และถ้าหากคุณเลือกที่จะรับนี่ก็คือสิ่งที่คุณจะต้องเผชิญ

 หัวใจเต้นเร็ว
ยาลดความอ้วนนั้นเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะไปทำให้อัตราการเต้นของหัวใจนั้นเร็วขึ้น และถ้าหัวใจเต้นเร็วขึ้นก็ย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดีอย่างแน่นอน

 ความดันสูง
ถ้าคุณกำลังรับประทานยาลดความอ้วนอยู่คุณอาจจะไม่เคยได้ตรวจวัดความดันของตัวคุณเลย ลองไปตรวจดูแล้วจะพบว่าความดันของคุณนั้นจะสูงขึ้นแน่นอน

 อุณภูมิในร่างกายสูงขึ้น
ต่อจากการที่ยาลดความอ้วนทำให้คุณความดันสูงนั้น ผลที่ตามมาก็คือคุณจะรู้สึกปวดหัว และทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นอีกด้วย

 หายใจถี่ขึ้น
อัตราการหายใจจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อคุณรับประทานยาลดความอ้วนเข้าไป เหมือนกับยาเหล่านี้ไปกระตุ้นระบบต่างๆในร่างกายนั่นเอง

ไม่มีอะไรรับประกันความปลอดภัย
อยากที่เราเห็นๆกันคือเราสามารถหาซื้อยาลดน้ำหนักได้ง่ายดายเหลือเกิน ทุกที่ก็บอกว่าปลอดภัย 100% แต่คุณจะมั่นใจด้อย่างไรล่ะว่ามันจะปลอดภัยกับตัวคุณ มันไม่คุ้มกันเลยที่คุณจะมาลดน้ำหนักโดยใช้ทางลัดแบบนี้แล้วร่างกายทรุดโทรมลงไป สู้คุณออกกำลังกายและควบคุมอาหารอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะดีกว่า และยังรู้สกภูมิใจมากกว่าด้วย

ยาลดน้ำหนักกำลังหลอกคุณอยู่
ยาลดน้ำหนักนั้นจะทำให้คุณไม่ได้รู้สึกหิว ทั้งที่จริงๆแล้วร่างกายคุณต้องการอาหาร ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวเอามากๆ

มันอาจกลายเป็นสารเสพย์ติดได้
ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นนั้นสามารถเป็นยาเสพย์ติดได้ ยาลดความอ้วนทั้งหลายก็เช่นกัน

อาการค้างเคียงไม่มีที่สิ้นสุด
เวียนหัว หงุดหงิด ปวดหัว ตาพร่ามัว นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย หัวใจล้มเหลว ผมร่วง ปัญหาที่ระบบทางเดินปัสสาวะ โรคหัวใจ ปากแห้ง ท้องเสีย อาเจียน ท้องผูก ชัก โรคหลอดเลือดสมอง ใจสั่น หายใจถี่ และนี่เป็นเพียงบางส่วนที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อคุณรับประทานยาลดน้ำหนัก เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ก็อย่าไปยุ่งกับมันเลย

teenee.com




 

Create Date : 16 มิถุนายน 2556   
Last Update : 16 มิถุนายน 2556 19:30:05 น.   
Counter : 684 Pageviews.  


หลับตอนกลางวัน ทำให้ร่างกายดีท็อกซ์ด้วย

หลับตอนกลางวัน ทำให้ร่างกายดีท็อกซ์ด้วย


การนอนให้เท้าและศีรษะเสมอกันจะทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ไตดีที่สุด การนอนยกเท้า แม้จะทำให้เลือดไม่สูบฉีดขึ้น แต่เลือดจะไปรวมกันที่ไต การที่เลือดไหลเวียนมากขึ้นจะทำให้การสร้างปัสสาวะดีขึ้นด้วย จึงทำให้ร่างกายดีท็อกซ์ได้ดีขึ้น

การเอนตัวนอนประมาณ 30-40 นาทีจะทำให้อยากปัสสาวะมากขึ้น เมื่อเรารู้สึกตัวตื่นลุกไปเข้าห้องน้ำจึงเป็นการดีท็อกซ์วิธีหนึง หากทำงานในสำนักงานที่พอจะหลับในช่วงกลางวันได้นิดหน่อยก็ควรจะทำ ช่วงจังหวะที่คนง่วงนอน ช่วงใหญ่ๆ ประมาณตี 2 ถึงตี 4 ส่วนช่วงเล็กๆ ประมาณบ่างโมงถึงบ่ายสี่โมง ซึ่งเป็นช่วงนอนกลางวันนั่นเอง


อย่าฝืนทำงานต่อเนื่องทั้งๆ ที่ง่วง การหลับเล็กน้อยจะทำให้สมองหายจากอาการล้าและช่วยดีท็อกซ์ขับพิษด้วย ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นนั่นเอง

ที่มา...greenerald.com




 

Create Date : 16 มิถุนายน 2556   
Last Update : 16 มิถุนายน 2556 19:26:33 น.   
Counter : 361 Pageviews.  


นอนผิดท่าอาจทำให้เกิดโรคได้

นอนผิดท่าอาจทำให้เกิดโรคได้

ถึงแม้การนอนจะมีความสำคัญมาก แต่การนอนในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี นอนในสถานการณ์ที่ไม่ควรนอน หรือ ท่านอน ที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพของบุคคลผู้นั้น อาจทำให้เป็นโรคหรือผู้ที่เป็นโรคอยู่แล้วอาจทำให้สูญเสียชีวิตจากท่านอนที่ผิดได้

1. นอนในท่านั่ง

อุบัติเหตุทางรถยนต์หลาย ๆ รายเกิดจากการที่คนขับหลับใน ในเวลาที่นั่งขับรถอยู่ นอกจากนี้การนั่งหลับในรถเมล์ มักจะทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปทั่วร่างกาย เนื่องจากร่างกายยังอยู่ในสภาพต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลก อาการที่พบบ่อยคือปวดคอ กระดูกคอเคลื่อนเมื่อรถหยุดกะทันหัน ปวดหลัง มือชา ขาชา มือบวม ขาบวม และปวดข้อเข่า ปวดหัว มึนศีรษะ เมารถ และมีบางรายหน้ามืด เป็นลมได้ เพราะนอกจากเลือดจะสูบฉีดขึ้นสมองไม่พอแล้วในบรรดารถปรับอากาศประจำทาง อากาศที่มาจากช่องลมไม่บริสุทธิ์ ถ้าจำเป็นต้องเดินทางไกลควรมีปลอกคอค้ำไว้ หรือเอาผ้าพันคออย่างหนา เช่น ผ้าขนหนูพันรอบคอไว้ ซึ่งนอกจากจะช่วยไม่ให้คอตก และถูกกระชากเวลานอนหลับแล้วยังรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้ ควรใส่ถุงน่องรัดขาไว้เพื่อให้เลือดคั่งที่ขาน้อยลง ในกรณีที่ปรับที่นั่งให้เอนลงได้ ควรยกขาขึ้นไม่ให้ห้อยลงตลอดเวลา

ปัจจุบันเกือบเป็นปกติวิสัยที่คนเรามักเฝ้าดูโทรทัศน์จนหลับไปทั้ง ๆ ที่ยังอยู่ในท่านั่ง ทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง และเจ็บก้นกบได้ อีกกรณีที่พบบ่อยคือคนเมาเหล้ามักจะนอนหลับไปขณะนั่งอยู่ และแขนอาจจะห้อยลงจากพนักพิงของเก้าอี้ โดยที่รักแร้วางทับอยู่กับสันของพนักเก้าอี้นั้น พอตื่นนอนพบว่าแขนข้างนั้นชาจนไม่มีความรู้สึก และบางครั้งก็ยกแขนไม่ขึ้นเป็นเวลานานหลายวัน เพราะกดถูกหลอดเลือดและเส้นประสาทใต้รักแร้ ทำให้แขนขางนั้นอ่อนแรงลง และสูญเสียความรู้สึกไป ในรายที่รุนแรงมากอาจเป็นอัมพาตของแขนข้างนั้นไปเลย การนอนหลับในท่านั่ง จึงเป็นท่าที่อันตรายควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง

 2. ท่านอนหงาย

ปกตินอนหงายเป็นท่านอนที่คนปกตินิยมนอน ข้อดีคือต้นคอจะอยู่ในแนวเดียวกับร่างกายถ้าไม่หนุนหมอน หรือใช้หมอนต่ำ แต่ถ้าใช้หมอนสูง 2-3 ใบ จะทำให้คอก้มมาข้างหน้าทำให้ปวดคอได้ ในท่านอนหงายกะบังลมที่คั่นระหว่างช่องอกและช่องท้องจะทับอยู่บนปอด ทำให้การหายใจค่อนข้างลำบากเมื่อเทียบกับท่านั่ง จึงไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีโรคปอด ซึ่งควรหลีกเลี่ยงได้โดยยกส่วนบนของร่างกายให้สูงขึ้นในลักษณะครึ่งนอนครึ่งนั่ง โดยใช้หมอน 2-3 ใบวางรองด้านหลังไว้ หรือยกพื้นเตียงส่วนบนให้สูงขึ้น

ผู้ที่ความดันสูงอาจหายใจลำบากในท่านอนหงาย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจ การทำงานของหัวใจ จะลำบากในท่านอนหงายราบ เพราะไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้ เกิดภาวะหายใจขัด คนที่เป็นโรคหัวใจมักจะต้องลุกขึ้นนั่งหรือยืน จึงหายใจสะดวกขึ้น สำหรับผู้ที่เกิดอาการปวดหลังอย่างเฉียบพลัน การนอนหงายในท่าราบทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นได้ ควรให้พาดขาทั้งสองไว้บนเก้าอี้ที่ใช้หน้าโต๊ะเครื่องแป้งหรือวางพาดบนเตียงนอนขณะนอนหงายราบบนพื้นไม้ที่มีเสื่อปู 

3. ท่านอนตะแคงซ้าย

เป็นท่านอนที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรมีหมอนข้างให้กอดและพาดขาได้ ข้อเสียของการนอนตะแคงซ้าย คือทำให้หัวใจซึ่งอยู่ข้างซ้ายเต้นลำบาก ในรายที่มีโรคปอดข้างขวา ทำให้หายใจไม่สะดวก เนื่องจากปอดข้างซ้ายที่ปกติจะขยายตัวไม่ได้เต็มที่ อาหารในกระเพาะถ้ายังย่อยไม่หมดก่อนเข้านอนจะคั่งอยู่ในกระเพาะทำให้เกิดลมจุกเสียดที่กระดูก ลิ้นปี่ได้ ซึ่งเป็นตำแหน่งของกระเพาะข้างซ้ายที่ติดขัดอาจเจ็บปวดจากการนอนทับเป็นเวลานาน และถ้าหนุนหมอนต่ำเกินไป ในท่านี้จะทำให้ปวดต้นคอได้ เนื่องจากคอตกมาทางซ้าย ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยใช้หมอนสี่เหลี่ยมที่มีความสูงเท่าความกว้างของบ่าซ้าย ขาข้างซ้ายอาจรู้สึกชา ถ้าถูกทับเป็นเวลานาน 

4. ท่านอนคว่ำ

แต่ก่อนเคยเข้าใจว่าทารกควรให้นอนคว่ำรูปหัวจะทุยสวย ไม่แบน แต่ปัจจุบันพบว่าในประเทศยุโรป หรืออินเดีย ทารกมีโอกาสเสียชีวิต เนื่องจากหายใจไม่ออกจากการที่จมูกหรือปากถูกทับไว้ โดยเฉพาะถ้านอนคว่ำและดูดนมอยู่บนอกมารดา หรือพื้นเตียงอ่อนนิ่มเกินไป นอกจากนั้นยังพบว่าน้ำนมอาจขย้อนออกมาในท่านี้

เนื่องจากนอนทับถูกกระเพาะอาหาร และถูกดูดเข้าไปในปอดได้ สำหรับผู้ใหญ่ การนอนคว่ำทำให้หายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะในสตรีที่มีเต้านมใหญ่ สำหรับผู้ชายการนอนคว่ำทำให้อวัยวะเพศถูกทับอยู่ตลอดเวลา อาจกระตุ้นให้เกิดอาการฝันเปียก หรือเกิดอาการชาของอวัยวะเพศ การนอนคว่ำยังทำให้ต้นคอ เกิดอาการปวดได้ เนื่องจากต้องเงยมาข้างหลัง หรือบิดหมุนไปข้างซ้าย หรือข้างขวานานเกินไป ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำ ควรหาหมอนรองใต้ท้องหรือใต้ทรวงอก โดยเฉพาะถ้าต้องการอ่านหนังสือในท่านอนคว่ำเพื่อไม่ให้เมื่อยคอ 

5. นอนดิ้น

ที่จริงไม่ใช่ท่านอนใดท่านอนหนึ่ง คือ นอนหงาย นอนตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนคว่ำ สลับกันไปเช่นอย่างเด็ก ๆ ที่ชอบนอนกลิ้งตัว แต่หัวเตียงไปจนถึงปลายเตียง จนอาจตกเตียงไปเลย แต่ท่านอนดิ้นน่าจะเป็นท่านอนที่ดีสำหรับผู้ใหญ่ เนื่องจากปรับท่านอนไปเรื่อย ๆ ตลอดเวลา ของการนอนหลับ เมื่ออายุสูงขึ้นการนอนดิ้นมักจะน้อยลง นอนหลับในท่าไหนมักจะตื่นขึ้นมาจากท่านั้นจึงทำให้เกิดอาการชาของแขนขาได้ หรือหายใจไม่สะดวก

การนอนเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ จึงเป็นวิธีนอนหลับที่ดี โดยทั่วไปคนเราจะนอนหลับคืนละประมาณ 3-4 รอบ ๆ ละ 2 ชั่วโมง คือนอนหลับไม่ฝันและฝันสลับกันไป ขณะที่เราฝันกล้ามเนื้อจะอ่อนปวกเปียก ทำให้หายใจลำบาก หรือเกิดภาวะผีอำ คือวางแขนกดทับอยู่บนทรวงอกจนหายใจขัด แต่ไม่สามารถยกแขนออก ดังนั้นถ้าทุกครั้งที่เรารู้สึกตัว เมื่อผ่านภาวะฝันไปแล้วในแต่ละรอบ เราควรจะเปลี่ยนท่านอนจากท่าเดิมเป็นอีกท่าหนึ่งที่สบายขึ้น ไม่ควรปล่อยให้แขนขาชาเนื่องจากถูกทับจนขาดเลือด หรือไม่ได้ขยับตลอดคืน 

ท่านอน ตะแคงขวา เป็นท่าที่ดีที่สุด ถ้าเทียบกับการนอนหลับในท่าอื่น ๆ เพราะหัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะ ถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทำให้ไม่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป และเป็นท่านอนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ แต่ข้อเสียคือ อาจทำให้เจ็บ ปวดหัวไหล่ขวา ปวดคอถ้าใช้หมอนต่ำเกินไป หายใจไม่สะดวก ถ้าปอดข้างซ้ายมีปัญหา และขาข้างขวาถูกทับจนชาได้

การนอนหลับเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี ดังนั้นจึงควรปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่นเดียวกับการปฏิบัติตนในเวลาตื่นนอน



ที่มา..หมอชาวบ้าน




 

Create Date : 16 มิถุนายน 2556   
Last Update : 16 มิถุนายน 2556 19:25:46 น.   
Counter : 274 Pageviews.  


อาหารแสลง ห้ามกินเมื่อป่วย 10 โรคต่อไปนี้

อาหารแสลง ห้ามกินเมื่อป่วย 10 โรคต่อไปนี้

อาหารแสลง คือ อาหารที่จะทำให้อาการป่วยของโรคนั้นๆ ทรุดหนักขึ้นเมื่อเราทาน อาหารแสลง นั้นเข้าไป ฉะนั้นเมื่อเวลาที่เราเป็นโรคอะไรสักอย่างก็มักจะมีการห้ามทาน อาหารแสลง นั้นๆ ขึ้นมาเพื่อไม่ให้โรคนั้นเป็นหนักขึ้นหรือรุกรามไปมากกว่าที่เป็นอยู่นั้น เองค่ะ และวันนี้เราก็มีคำแนะนำเกี่ยวกับ อาหารแสลงห้ามกินเมื่อป่วย อีกด้วยค่ะ ซึ่ง 10 โรคต่อไปนี้จะห้ามอาหารแสลงอะไรบ้างก็มาดูกันได้เลยค่ะว่าอาหารแสลงของแต่ละ โรคนั้นมีอะไรกันบ้างเอ่ยที่ห้ามกิน



"อาหารแสลง" ห้ามกินเมื่อป่วย

1. เป็นไข้หวัด มีไข้สูง
ควรหลีกเลี่ยงอาหารไม่สุก อาหารที่เย็นมากๆ อาหารทอด อาหารมัน ซึ่งเป็นอาหารที่ย่อยยาก จะทำให้เกิดความร้อนสะสมเปรียบเสมือนอาหารเชื้อเพลิงหรือเป็นการเติมน้ำมัน เข้าไปในกองไฟ


2. โรคกระเพาะ

ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ชาแก่ๆ กาแฟ ของเผ็ด ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้ ทำให้เกิดความร้อนสะสมทำให้โรคหายยาก ทางที่ดีควรจะรับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและเป็นอาหารที่ย่อยง่าย


3. โรคความดันเลือดสูง
ควรหลีกเลี่ยงอาหารมันอาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น ไขกระดูก ไข่ปลา โกโก้ รวมทั้งเหล้า เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดความร้อนชื้นสะสมในร่างกายและความชื้นก็มีผลก็ ทำให้เกิดความหนืดของการไหลเวียนทุกระบบในร่างกาย และความร้อนก็จะไปกระตุ้นทำให้ความดันสูงนอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด หรืออาหารหวานมาก รวมทั้งผลไม้อย่างลำไย ขนุน ทุเรียน


4. โรคตับและถุงน้ำดี
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารมัน เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทอด อาหารหวานจัด เพราะแพทย์จีนถือว่าตับและถุงน้ำดีมีความสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหาร การได้อาหารประเภทดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้สมรรถภาพของการย่อยอาหารอ่อนแอลง และเกิดโทษต่อตับและถุงน้ำดีอีกต่อหนึ่ง


5. โรคหัวใจและโรคไต

ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดเพราะจะทำให้มีการเก็บกักน้ำการไหลเวียนเลือดจะ ช้าทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ไตต้องทำงานขับเกลือแร่มากขึ้น ส่วนอาหารรสเผ็ดก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะทำให้กระตุ้นการไหลเวียนสูญเสียพลังงาน และหัวใจก็ทำงานหนักขึ้นเช่นกัน


6. โรคเบาหวาน
หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานหรือแป้งที่มีแคลอรี่สูง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ควรรับประทานอาหารพวกถั่ว เช่น เต้าหู้ นมวัว เนื้อสันไม่ติดมัน ปลา ผักสด


7. นอนไม่หลับ
หลีกเลี่ยงชา กาแฟ รวมทั้งการสูบบุหรี่ เพราะอาหารเหล่านี้ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ไม่ง่วงนอนหรือนอนไม่หลับสนิท


8. โรคริดสีดวงทวารหรือท้องผูก

หลีกเลี่ยงอาหารประเภทหอม กระเทียม ขิงสด พริกไทย พริก เพราะอาหารเหล่านี้อาจทะให้ท้องผูก หลอดเลือดแตกและอาการริดสีดวงทวารกำเริบ


9. ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ หรือโรคหอบหืด
ควรหลีกเลี่ยงเนื้อแพะ เนื้อปลา กุ้ง หอย ปู ไข่ นม และอาหารรสเผ็ด เพราะจะไปกระตุ้นและทำให้อาการผิวหนังกำเริบ


10. สิวหรือต่อมไขมันอักเสบ
งดอาหารเผ็ดและมันเพราะทำให้เกิดการสะสมความร้อนชื้นของกระเพาะอาหาร ม้าม มีผลต่อความร้อนชื้นไปอุดตันพลังของปอด ควบคุมผิวหนังขนตามร่างกายทำให้เกิดสิว

teenee.com




 

Create Date : 16 มิถุนายน 2556   
Last Update : 16 มิถุนายน 2556 19:25:00 น.   
Counter : 439 Pageviews.  


โอ๊ย…คันจังเลย!! แต่เอ๊ะ…อาการคันนั้นเกิดจากอะไรนะ??

โอ๊ย…คันจังเลย!! แต่เอ๊ะ…อาการคันนั้นเกิดจากอะไรนะ??

งานวิจัยล่าสุดพบเซลล์ประสาทที่ทำให้เกิดอาการคันแล้ว นักวิจัยเปิดเผยว่าได้มีการค้นพบสารเคมีตัวสำคัญที่อยู่เบื้องหลังอาการคันคะเยอตามจุดต่าง ๆ แล้ว

กับคำถามที่เป็นความสงสัยมายาวนานว่า ทำไมคนเราจึงเกิดอาการคัน? ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มีคำตอบให้เราแล้วในวันนี้ เซลล์ประสาทที่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการคัน ได้ปล่อยสารเคมีที่มีความเฉพาะเจาะจงทำการส่งข้อวความพิเศษว่า “ฉันอยากเกาจัง!!” ไปยังสมอง การค้นพบนี้มาจากการทดลองในห้องปฏิบัติการที่ใช้หนูเป็นสัตว์ทดลอง โดยทดลองเปลี่ยนย้ายโมเลกุลที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าเกี่ยวข้องกับอาการคันออกไป และหลังจากนั้นพบว่าหนูทดลองตัวที่ว่าไม่เกิดอาการคันให้เห็นอีกเลย 

ก่อนอื่นขอท้าวความกันสักนิด สำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ ที่เป็นมนุษปุถุชนธรรมดานั้น อาการคันอาจจะสร้างความรำคาญหรือทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัวบริเวณที่เกิดอาการคันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และกว่าจะรู้ตัวเราก็เกา ๆ ๆ ๆ จนบริเวณที่เรารู้สึกคันนั้นเป็นจ้ำแดงหรือมีเลือดซิป ๆ ไหลออกมาเย้ยกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดอาการคันขึ้น สมองมีกลไกการทำงานที่เกี่ยวข้องกับอาการยุบยิบ ๆ นี้ได้อย่างไร? ได้แต่สันนิษฐานกันไปต่าง ๆ นานา และอย่างที่เราทราบกัน หากเกิดอาการคันขึ้นแล้ว ยากนักที่จะทำให้อาการคันหายไปได้

แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เราเห็นถึงความก้าวหน้าของการตอบคำถามเรื่องอาการคันนี้ โดย Glenn Giesler Jr. นักประสาทวิทยาประจำมหาวิทยาลัยมินเนโซต้า รัฐทวินกล่าวว่า “ตอนนี้พวกเราเริ่มเข้าใจถึงกระบวนการของการเกิดอาการคัน และนั่นทำให้เราสามารถหาวิธีการรักษาอาการคันที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง”

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาการคันนั้นเกิดขึ้นภายในเส้นใยเซลล์ประสาทซึ่งผ่านต่อไปยังผิวหนังโดยตรง โดยการส่งผ่านอาการคันนี้เกิดจากสารเคมีนำส่งที่มีชื่อว่า “นิวโรทรานสมิเตอร์” โดยที่เซลล์ประสาทเหล่านั้นส่งสัญญาณไปยังเซลล์ประสาทอื่น ๆ ที่อยู่โดยรอบบริเวณกระดูกไขสันหลัง (Spinal cord) ซึ่งบริเวณนั้นเรียกว่า “ดอร์ซัล ฮอร์น” (Dorsal Horn คือ ปีกบนของกระดูกไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง เป็นบริเวณที่รับความรู้สึก) หลังจากนั้นสัญญาณที่นี้จะมีการส่งต่อไปเรื่อย ๆ จากเซลล์ประสาทหนึ่ง ถึงอีกเซลล์ประสาทนึงจนถึงสมองในที่สุด

นักวิจัยจากสถาบันวิจัยทันตกรรมและกะโหลกวิทยาแห่งชาติ ในเมืองเบทเทสดาร์, รัฐแมรีแลนด์ Mark Hoon และ Santosh Mishra  ได้ออกแบบการทดลองเพื่อหาวิธีการที่สัญญาณปล่อยอาการคันเริ่มต้น โดยเริ่มจากการประเมินสารเคมีที่คาดว่าเซลล์ประสาทจะหลั่งออกมากับเส้นใยประสาทที่ผิวหนังสร้างออกมาได้มากที่สุดก่อน ซึ่งการทดลองเบื้องต้นพบว่า หนึ่งในสารเคมีที่เซลล์ประสาทปล่อยออกมามากที่สุดคือ นิวโรทราสมิเตอร์ที่เรียกว่า Nppb (ย่อมาจาก Neuropeptide Natriuretic Polypeptide B) โดยงานนี้ นักวิจัยได้ทำการดัดแปลงหนูทดลองที่เข้าร่วมงานวิจัย โดยทำให้กลไกภายในหนูทดลองนั้น ขาดยีนที่จำเป็นต่อการสร้างสาร Nppb และทำการฉีดสารที่ทำให้เกิดอาการคันเข้าไปบริเวณใต้ผิวหนังของหนู พบว่าหนูทดลองที่ผ่านวิธีการข้างต้นแทบจะไม่มีอาการคันเกิดขึ้นเลย จากการทดลองข้างต้นทำให้เราสรุปได้ว่า กลไกการเกิดอาการคันนี้ต้องอาศัย Nppb ในกระบวนการ ซึ่งสารตัวนี้จะส่งสัญญาณอาการคันไปยังสมองและสมองแปลออกมาได้ว่าบริเวณไหนบ้างที่เกิดอาการคันนั่นเอง

Mark Hoon และ Santosh Mishra สองนักวิจัยได้มองต่อไปยัง ดอร์ซัล ฮอร์น ซึ่งเป็นบริเวณที่รับโมเลกุล Nppb ของเซลล์ประสาท บริเวณนี้เป็นส่วนที่กำหนดเอาไว้อย่างแน่นอน พวกเขาทำการทดลองโดยการสกัดกั้นตัวรับ Nppb ไม่ให้ตัวรับ Nppb และ Nppb ได้พบกันภายในบริเวณ ดอร์ซัล ฮอร์น กับ อาศัยสารพิษย้ายเซลล์ประสาทส่วนดอร์ซัล ฮอร์นออกไป จากวิธีการเบื้องต้นพบว่า ทำให้หนูเกิดอาการคันได้น้อยลงหรือแทบไม่เกิดอาการคันเลย เมื่อเทียบกับหนูทดลองที่ยังคงมีเซลล์ประสาทส่วนดอร์ซัล ฮอร์นอยู่ หากเราทำการฉีด Nppb เข้าไปบริเวณดอร์ซัล ฮอร์น จะทำให้หนูทดลองเกิดอาการคันขึ้นมาทันใด

อย่างที่เราทราบกันว่า หนูมีโครงสร้างทางชีววิทยาที่คล้ายคลึงกับมนุษย์มาก ด้วยเหตุนี้ การค้นพบโดยใช้หนูเป็นสัตว์ทดลองนั้น จึงเป็นความหวังของนักวิทยาศาสตร์ว่าจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจถึงกระบวนการเกิดอาการคันของมนุษย์ว่า การคันนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร? Mark Hoon ให้ข้อสังเกตว่า Nppb ที่เขาและ Mishra ค้นพบนั้น เป็นเพียงเซลล์ประสาทเล็ก ๆ เท่านั้น ซึ่งกลุ่มของเซลล์ประสาทนี้เป็นกลุ่มเส้นใยประสาทที่บริเวณผิวหนัง นั่นอาจหมายความว่า มีเพียงเซลล์ประสาทสัมผัสที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้นที่มีส่วนในการตรวจจับอาการคันนี้ นอกเหนือจากนั้นอาจเกิดจากอาการบาดเจ็บ หรืออุณหภูมิในขณะนั้น ซึ่งเราคงต้องทำการศึกษาทดลองค้นคว้ากันต่อไป

อย่างไรก็ตาม Hoon ได้พูดเตือนถึงอันตรายที่อาจจะเกิดจากการสกัดกั้น Nppb เพราะมันอาจไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุดในการยับยั้งอาการคันของมนุษย์เรา Nppb อาจเป็นกลไกสำคัญในกระบวนการอื่น ๆ ภายในร่างกายก็ได้ ดังนั้นการสกัดกั้น Nppb จากโมเลกุลนั้นอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายต่อร่างกายก็ได้


ขอบคุณ : vcharkarn




 

Create Date : 16 มิถุนายน 2556   
Last Update : 16 มิถุนายน 2556 19:24:04 น.   
Counter : 569 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  

chiza_love
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
[Add chiza_love's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com