บอกแล้วไม่ฟัง
Group Blog
 
All blogs
 

=> มาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ

มาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ


วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2010 เวลา 10:25 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ คอลัมนิสต์ผู้ทรงคุณวุฒิ - สาธิต รังคสิริ


แย่ดีที่สุด ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งมีผลการสำรวจค่อนข้างละเอียด ในทุกแง่มุมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (หากสนใจสามารถค้นหาได้จากรายงานการสำรวจดังกล่าว) พบว่า จำนวนและอัตราส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากอายุคาดเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้น ประกอบกับอัตราเกิดของประชากรไทยลดลง


อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ หน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน แสดงความเป็นห่วงกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยได้มีมาตรการต่าง ๆ ช่วยเหลือมากมาย เช่น การปรับอาคาร สถานที่ อุปกรณ์การดูแล และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ การตั้งสถานบริบาลผู้สูงอายุที่แยกออกจากบ้านพักคนชรา รวมถึงการส่งเสริมการออมเพื่อการชราภาพ


 กรมสรรพากรแม้มีภารกิจหลักในการจัดเก็บภาษีอากรเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ  แต่ในอีกบทบาทหนึ่งก็มีส่วนช่วยพัฒนาสังคม โดยในประเด็นของผู้สูงอายุแม้มิได้เป็นประเด็นใหม่แต่อย่างใด อย่างไรก็ดีกรมสรรพากรก็ได้มีมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระภาษีของผู้สูงอายุ หรือสำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ โดยมีรายละเอียด ดังนี้


  1. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในประเทศไทย  เฉพาะเงินได้ที่ได้รับส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น ซึ่งผู้มีเงินได้สามารถเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้นออกจากเงินได้ประเภทใดก็ได้ที่ได้รับ  และนำเงินได้หลังใช้สิทธิมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ


2. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป  ดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ที่ได้รับสิทธิต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์  หากดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันมีจำนวนเกิน 30,000 บาท ตลอดปีภาษี ให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทั้งจำนวน  และนำส่งกรมสรรพากร


  3. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินบำเหน็จดำรงชีพ มาตรการนี้ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่รับบำนาญ แต่ต้องการใช้เงินที่เป็นบำเหน็จตกทอดขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สูงอายุที่รับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินบำเหน็จดำรงชีพนั้น


รวมทั้งยกเว้นภาษีเงินได้ในลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย พนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยและพนักงานธนาคารออมสินที่ได้รับโดยมีอัตราและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จ บำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ


  4. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือตาย โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์


5. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  เนื่องจากออกราชการเพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย


6. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)  ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้  แต่รวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนรวม     หรือ กบข. ต้องไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และยกเว้นภาษีเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม  ได้รับเงินจากกองทุนดังกล่าว เพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย


  7. การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับบุตรที่เลี้ยงดูบิดาหรือมารดา บิดาหรือ มารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป  โดยบิดาหรือมารดาจะต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาทในปีภาษีนั้นๆ บุตรที่มีเงินได้สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท บิดาหรือมารดาจะรวมถึงบิดาหรือมารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ด้วย กรณีนี้จะให้สิทธิทางภาษีแก่บุตรที่เลี้ยงดูแต่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับผู้สูงอายุเช่นกัน


 8. การหักค่าลดหย่อนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคให้แก่กองทุนผู้สูงอายุ 

 
- กรณีบุคคลธรรมดา บริจาคเงินสามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษี ได้เท่ากับจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ

- กรณีนิติบุคคลบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน สามารถนำรายจ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ


9. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับบุตรที่ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันสุขภาพบิดาหรือมารดาของผู้มีเงินได้  รวมทั้งบิดาหรือมารดาของคู่สมรสของผู้มีเงินได้ด้วย โดยบิดาหรือมารดาจะต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาทในปีภาษีนั้นๆ ทั้งนี้จะยกเว้นภาษีเท่ากับค่าเบี้ยประกันเท่าที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 15,000 บาท ในปีภาษีนั้น 


10. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ ฯ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษี และยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเมื่อออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพหรือตาย


 ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กรมสรรพากรมีมาตรการสำคัญที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้สูงอายุ บุตร   ผู้มีเงินได้ของผู้สูงอายุ มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและส่งเสริมการออม ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส โดยการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหลากหลายรูปแบบตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน สังคมและประเทศชาติโดยรวม


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,584 18-20 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2553




 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 18 ธันวาคม 2553 10:04:28 น.
Counter : 1009 Pageviews.  

=> มาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ

มาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ


วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2010 เวลา 10:25 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ คอลัมนิสต์ผู้ทรงคุณวุฒิ - สาธิต รังคสิริ


 ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ซึ่งมีผลการสำรวจค่อนข้างละเอียด ในทุกแง่มุมเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (หากสนใจสามารถค้นหาได้จากรายงานการสำรวจดังกล่าว) พบว่า จำนวนและอัตราส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากอายุคาดเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้น ประกอบกับอัตราเกิดของประชากรไทยลดลง

อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ หน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน แสดงความเป็นห่วงกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยได้มีมาตรการต่าง ๆ ช่วยเหลือมากมาย เช่น การปรับอาคาร สถานที่ อุปกรณ์การดูแล และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ การตั้งสถานบริบาลผู้สูงอายุที่แยกออกจากบ้านพักคนชรา รวมถึงการส่งเสริมการออมเพื่อการชราภาพ

 กรมสรรพากรแม้มีภารกิจหลักในการจัดเก็บภาษีอากรเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ  แต่ในอีกบทบาทหนึ่งก็มีส่วนช่วยพัฒนาสังคม โดยในประเด็นของผู้สูงอายุแม้มิได้เป็นประเด็นใหม่แต่อย่างใด อย่างไรก็ดีกรมสรรพากรก็ได้มีมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระภาษีของผู้สูงอายุ หรือสำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 1. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในประเทศไทย  เฉพาะเงินได้ที่ได้รับส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น ซึ่งผู้มีเงินได้สามารถเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้นออกจากเงินได้ประเภทใดก็ได้ที่ได้รับ  และนำเงินได้หลังใช้สิทธิมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ


2. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร เฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป  ดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ที่ได้รับสิทธิต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์  หากดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันมีจำนวนเกิน 30,000 บาท ตลอดปีภาษี ให้ธนาคารผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทั้งจำนวน  และนำส่งกรมสรรพากร


 
 3. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินบำเหน็จดำรงชีพ มาตรการนี้ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่รับบำนาญ แต่ต้องการใช้เงินที่เป็นบำเหน็จตกทอดขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สูงอายุที่รับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินบำเหน็จดำรงชีพนั้น รวมทั้งยกเว้นภาษีเงินได้ในลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย พนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยและพนักงานธนาคารออมสินที่ได้รับโดยมีอัตราและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จ บำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ


  4. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือตาย โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์
 

5. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  เนื่องจากออกราชการเพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย

 
6. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)  ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้  แต่รวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนรวม     หรือ กบข. ต้องไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และยกเว้นภาษีเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจากกองทุนรวม  ได้รับเงินจากกองทุนดังกล่าว เพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน หรือตาย

 
 7. การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับบุตรที่เลี้ยงดูบิดาหรือมารดา บิดาหรือ มารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป  โดยบิดาหรือมารดาจะต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาทในปีภาษีนั้นๆ บุตรที่มีเงินได้สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท บิดาหรือมารดาจะรวมถึงบิดาหรือมารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ด้วย กรณีนี้จะให้สิทธิทางภาษีแก่บุตรที่เลี้ยงดูแต่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับผู้สูงอายุเช่นกัน


 
8. การหักค่าลดหย่อนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคให้แก่กองทุนผู้สูงอายุ 
 - กรณีบุคคลธรรมดา บริจาคเงินสามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษี ได้เท่ากับจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิ
 - กรณีนิติบุคคลบริจาคเงินหรือทรัพย์สิน สามารถนำรายจ่ายมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
 

 9. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับบุตรที่ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันสุขภาพบิดาหรือมารดาของผู้มีเงินได้  รวมทั้งบิดาหรือมารดาของคู่สมรสของผู้มีเงินได้ด้วย โดยบิดาหรือมารดาจะต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาทในปีภาษีนั้นๆ ทั้งนี้จะยกเว้นภาษีเท่ากับค่าเบี้ยประกันเท่าที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 15,000 บาท ในปีภาษีนั้น 


10. การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ ฯ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษี และยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชนได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเมื่อออกจากงานเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพหรือตาย


 ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กรมสรรพากรมีมาตรการสำคัญที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้สูงอายุ บุตร   ผู้มีเงินได้ของผู้สูงอายุ มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนและส่งเสริมการออม ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส โดยการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหลากหลายรูปแบบตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน สังคมและประเทศชาติโดยรวม


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,584 18-20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553




 

Create Date : 22 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2553 9:31:31 น.
Counter : 827 Pageviews.  

=> ครึ่งหลังของชีวิต

ครึ่งหลังของชีวิต


คนงานที่ใช้แรงงานมักไม่กังวลเกี่ยวกับครึ่งหลังของชีวิตแต่เพียงรักษาสิ่งที่ทำไว้ ถ้าโชคดีที่จะอยู่รอดจากการทำงานหนักถึง 40 ปีในโรงงานหรือองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนโดยมีความสุขที่จะได้อยู่เฉยๆ โดยไม่ต้องทำอะไร อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้งานส่วนใหญ่คืองานที่ต้องใช้ความรู้ และคนที่ใช้ความรู้มักไม่ได้สิ้นสุดหลังจาก 40 ปี แห่งการทำงานเพียงแต่อาจอยู่ในสภาวะเบื่อหน่ายเท่านั้น


การพูดคุยของคนช่วงกลางวัยของผู้บริหาร ส่วนใหญ่มักพูดเรื่องของความเบื่อหน่าย พวกเขาอาจจะเก่งกาจเรื่องงาน แต่ไม่ได้เรียนรู้ ไม่ได้ ทุ่มเท ไม่ได้รับความท้าทายหรือความพึงพอใจจากงานแต่เขาก็ยังคงมีท่าทีว่าจะต้องทำงานต่อไปอีก 20 หรือ 25 ปี นี่เป็นเหตุผลว่าทำไม การบริหารจัดการตัวเองที่เพิ่มขึ้นทำให้บุคคลเริ่มต้นอาชีพที่สอง




วิธีการพัฒนาอาชีพที่สอง มีอยู่ 3 วิธี คือ

วิธีแรก : การลงมือเริ่มต้นทำบางอย่าง บ่อยครั้งที่สิ่งนี้คือการเปลี่ยนจากองค์กรประเภทหนึ่งไปสู่องค์กรอีกประเภทหนึ่ง ตัวอย่าง ผู้ตรวจสอบระดับแผนกในองค์กร กลายมาเป็นผู้ตรวจสอบของโรงพยาบาลขนาดกลาง แต่ก็มีผู้คนจำนวนมากที่ย้ายไปทำงานด้านอื่นๆ ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง เช่น ผู้บริหารองค์กร หรือ เจ้าหน้าที่รัฐบาล ผู้เข้าสู่กระทรวง/คณะรัฐมนตรี ในวัย 45 ปี หรือผู้จัดการระดับกลางออกจากองค์กร เพื่อเข้าโรงเรียนกฎหมาย และกลายมาเป็นทนายความ เราจะได้เห็นอาชีพที่ 2 มากขึ้น จากผู้คนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในงานแรกของเขา เนื่องจากคนเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง และรู้วิธีการที่จะทำงานเป็นอย่างดี พวกเขาต้องการสังคม - เพราะว่าบ้านว่างเปล่าเนื่องจากเด็กๆโตหมดแล้วไม่ต้องการรายได้เป็นเรื่องหลัก


วิธีที่ 2 ที่จะเตรียมตัวเข้าสู่ครึ่งหลังของชีวิต คือ การพัฒนาอาชีพคู่ขนาน หลายคนที่ประสบผลสำเร็จในอาชีพที่ 1 ยังคงทำงานเดิมอยู่ ไม่ว่าจะทำเป็นงานประจำ งานพาร์ทไทม์ ในขณะเดียวกันเขาก็ทำงานอื่นคู่กันไปด้วย โดยส่วนใหญ่ทำงานให้แก่องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ซึ่งใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ ตัวอย่าง เช่น การทำงานบริหารให้แก่โบสถ์ของเขา หรือการเป็นนายกสภายุวกาชาดท้องถิ่น หรือสร้างสถานพักพิงให้แก่สตรีที่ถูกทำร้าย ทำงานเป็นบรรณารักษ์ให้แก่เด็กๆ สำหรับห้องสมุดสาธารณะท้องถิ่น หรือเป็นคณะกรรมการโรงเรียน เป็นต้น


วิธีที่ 3 : การบุกเบิกงานด้านสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ที่ประสบผลสำเร็จในอาชีพที่ 1 มักจะทำ เนื่องจากเขายังรักการทำงาน แต่งานไม่ท้าทายต่อเขาอีกแล้ว ในหลายๆกรณี เขายังคงทำงานเดิมอยู่แต่ใช้เวลาน้อยลงเรื่อยๆ เขาเริ่มมีกิจกรรมอื่นๆทำด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่ไม่หวังกำไรบุคคลที่บริหารจัดการครึ่งหลังของชีวิตอาจจะเป็นเพียงคนส่วนน้อย คนส่วนใหญ่มักจะรอเกษียณจากงาน และนั่งนับปีจนกระทั่งถึงวันที่เกษียณ


ผู้คนที่เกษียณแล้วจำนวนมากกลายมาเป็นอาสาสมัครให้แก่องค์กรไม่หวังผลกำไร แต่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าบุคคลไม่เริ่มที่จะเป็นอาสาสมัคร ก่อนอายุ 40 ปี เพราะเขาจะไม่เริ่มเป็นอาสาสมัครเมื่ออายุเกิน 60 ปี เช่นเดียวกับ ผู้นำทางธุรกิจมักเริ่มทำงานในอาชีพที่ 2 ก่อนที่จะประสบความสำเร็จสูงสุดในองค์กรธุรกิจแรกของเขาลอง พิจารณาจากตัวอย่างกรณีทนายความที่ประสบความสำเร็จ อาจเริ่มจากการเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย นำทางไปสู่องค์กรขนาดใหญ่ โดยการเริ่มเป็นอาสาสมัครด้านกฎหมายสำหรับโรงเรียนเมื่อเขาอายุ 35 ปีจากการได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการโรงเรียนเมื่ออายุ 40 ปี เมื่ออายุ 50 ปี เขาก็มั่งคั่ง




 

Create Date : 20 ตุลาคม 2553    
Last Update : 31 ตุลาคม 2553 18:55:51 น.
Counter : 560 Pageviews.  

=> เกษียณแบบชิวๆ ถ้ามีการวางแผนที่ดี ทำไมต้องรีบวางแผนเกษียณตั้งแต่ตอนนี้?

เกษียณแบบชิวๆ ถ้ามีการวางแผนที่ดี ทำไมต้องรีบวางแผนเกษียณตั้งแต่ตอนนี้?


ผมคิดว่าคงมีคำถามนี้ แวบ ขึ้นมาในใจของทุกๆ ท่านทันที เพราะหลายท่านยังคิดว่ายังมีเวลาอีกมากกว่าที่จะเกษียณอายุ ยังรู้สึกว่าเร็วเกินไปที่จะวางแผนเกษียณในตอนนี้ นั่นเป็นเพราะว่าท่านยังไม่ทราบว่า เมื่อถึงเวลาที่ท่านเกษียณอายุแล้ว ท่านต้องเตรียมเงินไว้สักเท่าไร ถึงจะพอกับระดับการใช้จ่ายที่ท่านวาดหวังไว้ ท่านจึงยังไม่ลงมือวางแผนเกษียณในวันนี้ ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่ท่านจะไม่ได้ใช้ชีวิตตามที่ตั้งความหวังไว้ เรามาลองหาทางการวางแผนเพื่อเกษียณแบบชิวๆ กันดูครับ


เริ่มต้นอย่างไรดี


1. ลองถามตัวเองว่าต้องการเกษียณตอนอายุสักเท่าไร

นั่นคือ ระยะเวลาที่ท่านจะมีเวลาเก็บออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณอายุ


2. ประมาณตัวเองซิว่าเราจะมีชีวิตยืนยาวไปได้อีกสักกี่ปีหลังเกษียณ

นั่นคือ ระยะเวลาที่ท่านต้องใช้เงิน


3. ลองถามจินตนาการดูว่า เมื่อถึงวันที่เกษียณแล้ว อยากใช้ชีวิตอย่างไร (แบบชิวๆ) แล้วประเมินดูว่าจะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณเดือนละเท่าไร ในตอนนี้


นั่นคือ จำนวนเงินที่ท่านจะต้องใช้ในแต่ละเดือนตอนเกษียณ แต่เป็นจำนวนเงิน ณ วันนี้วันที่ท่านคิด




4. ลองประมาณตัวเลขอัตราเงินเฟ้อครับ เพราะจำนวนเงินในปัจจุบันที่ท่านต้องการใช้ 100 บาทในวันนี้ จะไม่เท่ากับ 100 บาทในอีก 10 ปี หรือ 20 ปีข้างหน้า แต่ท่านต้องใช้เงินที่มากกว่า 100 บาทในวันที่ท่านเกษียณอายุ เช่น หากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% ภายใน 20 ปีข้างหน้า ท่านต้องเตรียมเงินประมาณ 188 บาท จึงจะมีกำลังการใช้จ่ายได้เหมือนการใช้เงิน 100 บาทในปัจจุบัน


5. คำนวณดูซิว่าท่านจะต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายขนาดไหนหลังเกษียณอายุ


ตัวอย่างของคนที่อายุ 40 ปี ตั้งใจจะเกษียณเมื่อตอนอายุ 60 ปี โดยคาดว่าจะใช้ชีวิตถึงอายุ 80 ปี ตั้งความหวังไว้ว่าจะใช้จ่ายประมาณเดือนละ 10,000 บาท หลังเกษียณ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยประมาณ 3% ต่อปี จะต้องเตรียมเงินไว้ใช้ยามเกษียณประมาณเท่ากับ 10,000 บาท คูณจำนวนเดือนที่จะใช้หลังเกษียณ คือ 240 เดือน (20 ปี เท่ากับ 240 เดือน) รวมเป็นจำนวนเงินเท่ากับ 2.4 ล้านบาท แล้วคำนวณด้วยเงินเฟ้อในอัตรา 3% จะเห็นได้ว่า ทุกๆ 10,000 บาทที่จะใช้ในแต่ละเดือน ท่านจะต้องเตรียมเงินประมาณ 3.5 ล้านบาท ณ วันที่ท่านเกษียณ ซึ่งก็คือ จำนวนเงินเป้าหมายของท่าน ที่ท่านต้องมี ณ วันที่ท่านเกษียณอายุนั่นเอง


พอถึงตรงจุดนี้แล้ว ผมคิดว่าหลายท่านคงจะเริ่มเห็นแล้วว่า ถ้าเราไม่วางแผนทางการเงินเพื่อเกษียณอายุตั้งแต่เนิ่นๆ เราอาจจะไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างที่เราตั้งใจไว้ยามเกษียณอายุ แต่อย่าพึ่งตกใจกับตัวเลขที่คำนวณได้ เพราะว่าท่านยังมีเวลาในการเก็บออมเงิน ขณะที่บางท่านก็มีแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณในปัจจุบันอยู่แล้ว เรามาลองทำขั้นตอนที่ 6 กันต่อครับ


6. สำรวจแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณอายุของท่านในปัจจุบัน ว่า มีแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณที่จากแหล่งใดบ้าง เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (สำหรับข้าราชการ) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน) กองทุนประกันสังคม (เงินบำเหน็จ/เงินบำนาญ กรณีชราภาพ) กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันชีวิต (แบบสะสมทรัพย์/แบบบำนาญ) เป็นต้น


7. คำนวณดูว่าแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณอายุของท่าน ในปัจจุบันมีอยู่แล้วเป็นจำนวนเงินเท่าไร เพื่อประเมินสถานะในปัจจุบัน ว่า มีจำนวนเงินที่เพียงพอกับจำนวนเงินตามเป้าหมายหรือไม่ (ตามข้อ 5) ถ้ายังไม่พอ นั่นเป็นสัญญาณว่า ท่านต้องเริ่มวางแผนเพื่อเกษียณแล้วทันที


8. คำนวณหาจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ โดยนำจำนวนเงินเป้าหมายที่ท่านต้องใช้ตามที่คำนวณได้ในข้อที่ 5 หักออกจาก จำนวนเงินที่ได้จากแหล่งเงินออมเพื่อเกษียณในปัจจุบันตามข้อ 7 ท่านก็จะได้เป้าหมายในการออมเงินเพื่อเกษียณอายุจากนี้ไป ซึ่งท่านจะมีเวลาการออมเงิน ตามระยะเวลาที่ท่านยัง สามารถหารายได้ก่อนเกษียณอายุ ตามข้อ 1 ครับ


แล้วต้องทำอย่างไรต่อ...และมีทางเลือกอะไรบ้าง


เมื่อท่านทราบเป้าหมายในการออมเงิน ส่วนที่ยังขาดอยู่ ตามที่คำนวณได้ในข้อ 8 แล้ว ให้เราดำเนินการต่อดังนี้


1. จัดทำงบประมาณรายรับรายจ่าย เพื่อจะได้วางแผนการใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช้จ่ายกับสิ่งที่ฟุ่มเฟือย ไม่มีประโยชน์ เพื่อท่านจะได้มีเงินออมเพิ่มมากยิ่งขึ้น


2. สร้างวินัยในการออมและลงทุนอย่างจริงจัง โดยนึกถึงเป้าหมายการออมเงิน เป็นที่ตั้ง


3. ออมอย่างต่อเนื่องในการออมผ่านกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (สำหรับข้าราชการ) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน) และกองทุนประกันสังคม ที่ท่านมีอยู่


4. หาช่องทางการออมและลงทุนเพิ่มเติม เพื่อเป็นตัวช่วยให้ท่านสามารถออมเงินได้ถึงเป้าหมายที่ท่านวางไว้


ทางเลือกในการออมนั้นมีมากมาย ตั้งแต่การฝากเงิน ไปจนถึงการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ผ่านกองทุนรวม โดยท่านต้องศึกษาทางเลือกแต่ทางเลือกนั้น ว่า มีความสอดคล้องกับอายุ และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของท่านมากน้อยแค่ไหน และเพื่อให้ท่านบรรลุเป้าหมายการเกษียณแบบชิวๆ


ท่านต้องไม่ลืมที่จะออมเงินเพิ่มผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซึ่งมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย นอกจากผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนแล้ว ท่านยังได้รับสิทธิประโยชน์จากภาษีด้วย (มีภาษีเป็นตัวช่วย) และ อย่านำภาษีที่ได้รับจากการลดหย่อนไปใช้เด็ดขาด แต่แนะนำให้นำภาษีที่ได้รับการลดหย่อน ไปลงทุนเพิ่ม เพื่อให้เงินออมของท่าน ทำงานอย่างเต็มที่ ปัจจุบัน บลจ.กรุงไทย มีกองทุน RMF ให้ท่านเลือกลงทุนถึง 6 กองทุน ปัจจุบันอยู่ในช่วงการเปิดตัวกองทุนเคแทม โกลด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (KT-Gold RMF) เปิดจองซื้อช่วงตั้งแต่วันนี้ ถึง 5 ต.ค. 2553


วิโรจน์ ตั้งเจริญ , CFP


ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด 1


บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย

--จบ--


ที่มา: //www.bangkokbiznews.com




 

Create Date : 29 กันยายน 2553    
Last Update : 29 กันยายน 2553 9:24:42 น.
Counter : 898 Pageviews.  

=> สินค้า-บริการไม่ควรจ่าย ช่วยตุนเงินออม

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์พื้นฐาน คิดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่หรือเปล่า หากคิดอยู่ขอให้ทบทวนคำนวณให้ดีก่อนใช้เงินซื้อซอฟต์แวร์พิเศษ
ในสหรัฐมีทางเลือกมากมาย เพื่อให้ได้โปรแกรมซอฟต์แวร์มียี่ห้อ แบบไม่ต้องจ่าย และชื่อโดดเด่นมากสุดคือ OpenOffice เป็นทางเลือกเปิดกว้างให้ฟรีคนทั่วไป ไฟล์ต่างๆ สามารถดึงไปใช้ได้


ประวัติการเงิน ไม่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ได้ประวัติการเงิน ในอเมริกาให้ผู้บริโภคลงชื่อขอใช้บริการตรวจประวัติการเงินฟรีทางออนไลน์ ซึ่งสามารถเข้าไปดูได้สะดวกและรวดเร็ว เพียงแต่จำไว้ว่าต้องยกเลิกบริการก่อนสิ้นสุดช่วงทดลองใช้ฟรี หรืออาจจะลองเข้าเว็บไซต์ //www.annualcreditreport.com เป็นแหล่งเดียวให้บริการฟรี ช่วยตรวจประวัติการเงินส่วนบุคคลปีละครั้ง




โทรศัพท์มือถือ ในสหรัฐผู้จำหน่ายมือถือส่วนใหญ่ แข่งกันนำเสนอบริการหลากหลาย ยอมแจกมือถือหรือแม้แต่สมาร์ทโฟนให้ใช้ฟรี ด้วยสัญญายาวนานถึง 2 ปี เพียงแต่อาจยอมจ่ายบ้างในครั้งแรกเพื่อใช้บริการโดยไม่ต้องซื้อมือถือเพิ่ม
หนังสือยืมฟรี ในบางเมืองของสหรัฐ มีสถานที่ที่สามารถเข้าไปยืมหนังสือไม่ต้องเสียเงินอย่างห้องสมุดในท้องถิ่น เพียงแต่ทุกครั้งที่คิดจะยืมหนังสือเล่มโปรดขอให้ทำเรื่องจองไว้ก่อน และในกรณีไม่ชอบออกไปไหนนอกบ้าน สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ //www.paperbackswap.com ซึ่งเข้าไปค้นหาหนังสือได้ จากนั้นทำเรื่องชำระเงินค่าธรรมเนียมการส่งให้เล็กน้อย เพื่อให้ปลายทางส่งมาให้แล้วจึงจัดส่งคืน


บัตรเครดิต ทุกวันนี้ในตลาดบริการบัตรเครดิต มีบัตรมากมายให้เลือกใช้ ทำให้ง่ายต่อผู้บริโภคที่จะเลิกหรือจะเลือกใช้บัตรไม่คิดค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อบัตรค่ายไหนคิดค่าธรรมเนียมก็ให้ย้ายไปหาบัตรอื่นที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมรายปี


บริการคิดภาษีไม่สลับซับซ้อน หากการคำนวณภาษีส่วนตัวไม่สลับซับซ้อนหรือยุ่งยาก และหากมีอาชีพการงานในสหรัฐ ให้ลองคิดคำนวณเพื่อเรียกเงินคืนจากภาษีที่ชำระมาตลอดทั้งปี ด้วยบริการคำนวณฟรีที่เสนอให้มากมายทางออนไลน์ ซึ่งไม่เสียค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น



//www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20100919/353635/สินค้า-บริการไม่ควรจ่าย-ช่วยตุนเงินออม.html
ที่มา: ยูเอส นิวส์ ดอท คอม





 

Create Date : 19 กันยายน 2553    
Last Update : 20 กันยายน 2553 13:22:31 น.
Counter : 352 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

amaridar
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add amaridar's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.