รำวงย้อนยุค เมื่อมองในความคิดของผม
เมื่อวันที่ 30 ที่ผ่านมาผมเองได้มีโอกาสเข้าร่วมการจัดงานทำบุญร้อยวันให้กับแม่ของแฟนที่เพิ่งเสียไป ช่วงกลางวันภายในงานได้จัดกันอย่างเรียบง่ายสบายๆ ตามแบบประเพณีทั่วไปของคนภาคกลางเพชรบุรี จัดของคาวหวานตามแบบคนเพชรที่ของคาวมีอาหารจัดจ้าน อาหารทะเล ของหวานเป็นขนมหม้อแกง ขนมตะโหนดชุบแป้งทอดชิ้นใหญ่ที่ทำกันเอง หากินยากมากปีนี้มีลูกตาลที่แทงหน่ออ่อนออกมาเพื่อทำตะโหนดเชื่อมปีนี้ก็น้อย ก็แบ่งๆกันกินไปเพื่อความอร่อยทุกคนคนละชิ้นสองชิ้น ผลไม้ก็มากมายตามฤดูกาลตามประสาการทำบุญบ้านนั้นบ้านนี้ก็เอาของมาช่วยงายถวายเพลให้หลวงพ่อที่นิมนต์มาฉันเพลที่บ้านเสร็จพิธีกรรมกันก็สิบเอ็ดโมงกว่า แต่จุดเด่นของเนื้อหากิจกรรมของการทำบุญร้อยวันคืองานฉลอง ด้วยการจ้างวานรำวงย้อนยุคมาประชันกัน 3 คณะ จากที่ดูวนไปวนมาหลายรอบพอที่จะเข้าใจได้คร่าวๆ ว่ารำวงย้อนยุคจำเป็นต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างถึงจะเป็นรำวงย้อนยุคแบบเพชรบุรีได้ ผมพอจะสรุปความสำคัญได้คร่าวๆอย่างนี้ 1. กองเชียร์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นวงดนตรีนักร้อง นั้นเองเหละที่เป็นผู้บอกกล่าวเล่าสิบให้คนที่อยู่ข้างล่างขึ้นมาด้านบนเวที เมื่อร้องเพลงจบก็จะเป่านกหวีดให้ผู้รำลงไปอยู่ด้านล่าง 2. คณะรำวง และนางรำซึ่งแต่ละคณะเค้าก็จะสอนให้นางรำเต้นได้หลาย สเต็ป พร้อมเพรียงกัน 3. เวที เจ้าตัวนี้ก็สำคัญพอควรเนื่องจากจะต้องมีคนขึ้นไปอยู่อย่างน้อย 30 คนเวทีจึงเป็นอะไรที่ต้องแข็งแรงมากๆ 4. นักร้องและวงดนตรี ต้องต้อนเน้นในเพลงที่่เป็นเพลงเก่าสมัยสุรพลบ้าง ลูกทุ่ง ลูกกรุง สตริง เพื่อชีวิต อาจหนักเข้าไปถึงแร๊กเก้ และสกา เพื่อกระตุ้นให้วัยรุ่นมารำวงด้วยเสียดนตรีสนุกสนาน ต้องยอมรับว่าวงดนตรีและนักร้องต้องร้องกันได้หลายเพลงหลายรูปแบบ จริงแล้วคงต้องมีส่วนอื่นเกี่ยวข้องมากกว่านี้แต่จากที่ดูแล้ว
ส่วนช่วงการจัดการรำวงเห็นว่าจะมีอยู่ 3 ช่วง 1. ช่วงน้ำหวาน คือช่วงโชว์การแสดงว่านางรำในคณะมีลีลาในการำการเต้นหน้าตาเสื้อผ้าหน้าผมอย่างไร คนไหนดูดีน่าไปขอโค้งเพื่อไปรำด้วย 2. ช่วงแขกคือการเชิญแขกผู้มีเกียรติ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต อบจ อะไรก็ว่าไปมาเปิดการรำ หรือเชิญมาเป็นช่วงๆ เพื่อขั้นเวลากับ คนทั่วไประว่างดำเนิกิจการ 3. ช่วงพัก อันนี้คือพักจริงๆ นั้นเหละแต่หยุดสั้นให้นางรำได้ดื่มน้ำ ห้านาที สิบนาที เปิดโอกาสให้คนเต้นคนรำทั่วไปได้ซื้อของที่ตั้งแผงขายกันบ้าง
แต่สิ่งที่เห็นจริงๆ และเป็นสีสันและเป็นที่คาดหวังมากที่สุดของรำวงย้อนยุคที่ทำให้คนเดินเข้ามาร่วมรำร่วมชมได้อย่างอุ่นหนาฝาคั่งคือนางรำ รำวงย้อนยุคแบบเพชรเค้าจะมีนางรำวงตั้งแต่รุ่นน้อยๆ จนไปถึงรุ่นที่ต้องควรสงวนไว้ที่บ้าน กันทุกคณะ แต่ละคณะก็แต่งตัวสวยงามยืนอยู่ทามกลางแสงสี จะบอกว่าบางคนก็ไม่ได้สวยเท่าไหร่แต่พอออกมาต้องแสงไฟ ระยิบระยับบวกกับเสียงเพลงที่ดังอึกทึกกึกก้อง ผู้คนมากมายนางรำผู้นั่งคอยอยู่บนเวทีก็ีดูเด่นจับตาขึ้นมาเสียทันที แต่ที่เห็นแล้วประทับใจกับผมที่สุดของวงดนตรีย้อนยุคก็คือนางรำนี้เหละ ไ่ม่ว่าเหล่านางรำจะรำต่อเนื่องกันไปหลายสิบเ่พลง เหงือออกโทรมกายทำเอาแป้งที่ผลัดหน้า ลิปสติกที่ทางจางหายไปกับหยาดเหงื่อ พวกเธอทั้งหลายก็ยังมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มอยู่ตลอดเวลาที่เต้น มันทำให้ผมรู้สึกสำนึกในใจอยู่ไ่ม่น้อยถึงสิ่งที่ลืมไปแล้วคือ "นี่คือสิ่งที่เรียกว่าหน้าที่" ค่าใช้จ่ายของรำวงแต่ละคณะนั้นก็ไม่ได้เเพงเสียสักเท่าไหร่ หนึ่งคณะมีกันอยู่ 15-25 คน ซึ่งบางคณะอาจจะมีมากกว่านี้ แต่คณะที่ญาติต่างพากันจ้างมากสามวงก็มีนางรำอยู่กันถึง คณะละ 20 คน แล้วแต่ค่าจ้างกลับเพียงน้อยนิดคิดตกคณะละ 5,000.- บาทเท่านั้น (เนื่องจากเป็นงานบุญที่รู้จักกันเลยราคาถูก) เมื่อเอามาหารให้ทั่วๆ กันแล้วคงจะน้อยนิดเสียนี้กระไร แต่สิ่งที่นางรำคิดว่าจะได้มากกว่าเงินจากรายหัวของคณะที่จะแบ่้งให้ แต่คงเป็นเงินจากสินน้ำใจที่ผู้โค้งศรีษะพาสาวๆ ออกไปรำอยู่กลางเวทีต่างหากเล่า บางคนก็อายุมากซะจนผมยังคิดว่าคงจะไม่มีคนมาโค้งเพราะอะไรๆ ที่ติดมาแต่ยังสาวก็เลือนหายไปกับกาลเวลา คงจะไม่แย่งยึดสู้กับนางรำสาวๆ ไม่ได้ แต่จริงๆแล้วหาได้เป็นเ่ช่นนั้นไม่ "การที่รำวงย้อนยุคยังมีอยู่กันให้เห็นในเมืองเพชร และยังเป็นที่นิยมอยู่ผมมองว่าเค้าทั้งหลายชื่มชมในดนตรี ศิลปะวัฒนะธรรรม อันสวยงาม และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความสนุกสนานอย่างนี้คงจะหาดูได้ยากยิ่งขึ้นไปทุกที"
ถามน้องๆ บางคนเค้าเองก็ไม่ค่อยที่จะมีทางเลือกในชีวิตมากนักจึงต้องมาทำอาชีพเช่นนี้ บางคนกลับรักในอาชีพเพราะได้เต้นได้รำขยับไปตามจังหวะดนตรีอีกทั้งยังมีรายได้เอาไว้ได้ต่อทุนร่ำเรียนหนังสือเพื่ออนาคต ในอุดมคติเมื่อก่อนนั้นผมออกจะมองว่าการไปเล่นเกี้ยวกันกับสาวในคณะรำวงย้อนยุค คงจะเป็นเรื่องของคนที่ออกจะเป็นคนอยากเที่ยวเล่นตามประสาของชายหนุ่มวัยกลัดมัน หรือชายวัยกลางคนที่ออกจะเป็นเฒ่าหัวงูคอยหวังจะแต๋ะอั๋งสาวๆ แต่เอาเข้าจริงแล้ว กลับกลายเป็นว่า ไ่ม่ว่า หญิง หรือ ชาย เด็ก หรือ แก่ แม้กระทั้งคนพิการ ปัญญาอ่อน เ้ค้าเหล่านี้เป็นผู้มีดนตรีในหัวใจ เมื่อเพลงจบลงพร้อมได้ยินเสียงนกหวีดผู้คนที่เต้่นเล่นรำเขาก็ยินดีที่จะลงจากเวทีอย่างพร้อมเพรียม รอให้คนเชียร์เริ่มเล่นเพลงและกล่าวทักทายสำหรับการขึ้นเพลงใหม่ก่อน แล้วจึงค่อยทยอยไปโค้งนางรำขึ้่นมารำด้วย
การที่นั่งดูความสวยงามยามค่ำกับกิจกรรมรำวงย้อนยุค แบบเพชรบุรี มันช่วยสอนให้ผมได้รู้และเข้าใจหลายอย่าง ทำให้นึกถึงเรื่องเก่าๆ หลายเรื่องที่ลืมมันไป "คนเราไม่ได้เป็นได้อย่างที่เราต้องการทุกอย่างแต่เราเลือกสร้างได้" "ความสวยงามเป็นเรื่องหลอกตา เมื่อถึงเวลาก็จางไป" "ดนตรี ไม่ว่าใคร ชนชั้นใด เพศใด ดนตรีคือสิ่งที่ช่วยปลอบประโลม"
Create Date : 01 มิถุนายน 2555 |
|
31 comments |
Last Update : 1 มิถุนายน 2555 14:38:47 น. |
Counter : 12206 Pageviews. |
|
 |
|