bloggang.com mainmenu search
11 กันยายน 2555 : งานสืบสานวัฒนธรรม วิถี 4 ไท (ไทลื้อ, ไทเขิน, ไทยอง, ไทใหญ่) และชนเผ่า

งานสืบสานวัฒนธรรม วิถี 4 ไท (ไทลื้อ, ไทเขิน, ไทยอง, ไทใหญ่) และชนเผ่า
งานนี้ได้จัดผ่านพ้นกันไปแล้วเมื่อวันที่ 8-9 กันยายน 2555(ที่ผ่านมา) ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จ.เชียงใหม่

ภายในงานประกอบไปด้วย
การแสดงวิถีชีวิตวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์
การแสดงศิลปวัฒนธรรม
ขบวนแห่วัฒนธรรม วิถี 4 ไท (ไทลื้อ, ไทเขิน, ไทยอง, ไทใหญ่) และชนเผ่า
สินค้า Otop


งานนี้จัดงานกัน 2 วัน แต่มาทราบงานกันในวันที่ 2 ของงาน เนื่องจากวันเสาร์อาทิตย์ของวันจัดงานดูว่าจะเป็นวันฝนตกหนัก และตกแบบปรอยๆ ตลอดทั้ง 2 วัน

พอช่วงวันที่มีโอกาสได้มาถ่ายภาพนี้ก็เป็นช่วงที่ฝนตกปรอยๆ อยู่เหมือนกัน
ลองๆ ลุยฝนออกไปดูว่ามีการจัดงานกันในรูปแบบไหน

งานนี้เลยไปแบบชิลๆ กล้องตัวเดียว เลนส์ตัวเดียว และยังเป็นกล้องที่ใช้ถ่ายภาพสไตล์คอมแพคเอาซะด้วย เลยลองๆ ถือไปถ่ายภาพแบบมองจอ lcd และกดถ่ายภาพแบบการใช้กล้องคอมแพค
และคงต้องบอกกันก่อนว่า พอไม่ใช่กล้องตัวเดิมๆ ที่ใช้ถ่ายภาพ พอหยิบกล้องตัวนี้มาถ่ายภาพ ภาพที่จะได้ชมกัน อาจดูจะขัดๆ สายตาไปอยู่บ้าง
เป็นเพราะว่า กล้องโฟกัสช้า ถ่ายภาพช้า แค่สองเรื่องนี้ ก็ทำให้ตัวเองเริ่มจะถ่ายภาพไม่เป็นแล้ว 5555
(ลองชมภาพไปเรื่อยๆ จะเห็นเองว่า ทำไมได้ภาพแบบนี้มาให้ชม)

มาชมภาพวิถีชีวิตวัฒนธรรมกันก่อนครับ









งานนี้ที่จริงมีกิจกรรมวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชนเผ่าให้ชมกันอย่างน่าสนใจมากมาย
แต่อาจเป็นว่าที่ตัวเองมาในช่วงไม่ถูกเวลา ไม่ถูกจังหวะ ก็เป็นไปได้ เลยดูว่าได้ภาพถ่ายมานิดเดียวเอง


สองภาพนี้น่าจะเป็นพวกพันธุ์ไม้ ใบไม้ ที่นำมาเป็นสมุนไพรชนิดต่างๆ





ส่วนนี้เป็นการทำตุ๊กตาไม้ หลากหลายแบบ ดูน่ารักดี ครับ







ของกินถิ่นลื้อเมืองลวง

มาถึงย่านของกินกันบ้าง

ต๋ำก่วยเตดไตลื้อ - ตำมะละกอไตลื้อใส่น้ำปู๋



ข้าวเกรียบงา



ข้าวจี่




ข้าวกั๋นจิ๊น
ข้าวกั๊นจิ๊น หรือข้าวเงี้ยว หรือจิ๊นส้มเงี้ยว ใช้ใบตองห่อเช่นเดียวกับแหนม (จิ๊นส้ม) จึงเรียกว่า ข้าวเงี้ยว หรือจิ๊นส้มเงี้ยว บางสูตรไม่ใส่เนื้อสับ แต่ใส่เลือดคลุกเคล้ากับข้าวอย่างเดียว มีหัวหอมใหญ่หั่นเป็นแว่น พริกแห้ง ผักชี กระเทียมเจียว



มาถึงกิจกรรมบนเวที ที่พอมีการแสดงให้่ถ่ายภาพ
และเป็นไปตามที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่า พอไม่ได้เอากล้องตัวที่ใช้ประจำมา
เลือกหยิบกล้องตัวนี้มาใช้แทน เพราะยังไงก็คิดว่ามาถ่ายภาพกลางแจ้ง ต้องเจอฝนแน่ๆ
เก็บกล้องตัวเก่งไว้ก่อนดีกว่า 5555
แต่ตัวนี้ก็ใช่ว่าจะกันน้ำ(ออก)ได้
เพียงแต่ว่าตัวเล็กๆ พอจะซุกไปกับเกระเป๋าเล็กๆ ได้
และก็คิดว่าพอฝนตก น่าจะวิ่งหนีฝนกันได้ง่ายๆ หน่อย








การแสดงฟ้อนนกกิงกะหร่า
ตามที่พิธีกรประกาศให้ทราบว่ามีนกกิงกะหร่า มาฟ้อนให้ชมกันถึง 9 ตัว


ช่วงที่รอการแสดง ก็ขอถ่ายภาพ shot เบื้องหลังมาให้ชมกันก่อน







ชมเบื้องหลังกันแบบนี้ ยังพอได้เห็นปีกนกกิงกะหร่าสวยๆ กันได้อยู่ครับ


พอเริ่มการแสดงฟ้อนรำของนกกิงกะหร่า ได้ภาพมาแบบนี้เลย 555

พอกล้องโฟกัสกันได้ช้าๆ
และพอกดชัตเตอร์แต่ละครั้งก็ดูเหมือนจะมีเวลามาหน่วงๆ อยู่
เล่นเอา shot ท่ารำที่เล็งๆ ไว้ เปลี่ยนท่ารำกันมาหมดเลย แถมตกเฟรมอีกต่างหาก


สองภาพนี้ดีหน่อยที่หยุดในท่ารำ ยังพอจับภาพได้ทัน



























จากที่เล็งๆ ไว้ ว่าจะไม่มีปีกนกตัวอื่นๆ มาบัง
แต่พอกดชัตเตอร์ ปีกนกตัวอื่นๆ มาบังเกือบมิดเลย 555





Shot นี้ก็เหมือนกัน เล็งๆ ว่าเห็นตัวแบบชัดเจนอยู่ในเฟรมดีๆ แล้ว
กดชัตเตอร์ไป กว่าจะชัตเตอร์จะทำงาน โดนบังไปอีกล่ะ




จากที่เล็งๆ ไว้ว่าภาพตัวแบบยังอยู่ในเฟรม
กดชัตเตอร์ไปแล้ว ภาพตัวแบบหลุดเฟรมซะงั้น




Shot นี้ก็โดนเข้าอีก ยังเป็นภาพรำๆ ด้วยท่าทางดีๆ อยู่
กดชัตเตอร์ไป กลายเป็นตัวแบบเปลี่ยนท่ารำมาแล้ว บังหน้าเกือบหมดเลย




ว่าแล้วจบเลยดีกว่า 555
ภาพอื่นๆ ก็ยิ่งกว่านี้
ได้บ้างไม่ได้บ้าง
แต่ก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร
เพราะมาถ่ายภาพแบบชิลๆ อยู่แล้ว
และก็ถือว่ามาเรียนรู้ทำความเข้าใจกับกล้องตัวนี้ด้วย
อย่างน้อยก็ยังพอได้ภาพมาให้ชมกัน
ไม่งั้นก็ต้องได้มาตัวเปล่าๆ แน่ๆ
เพราะกล้องคอมแพคที่ติดกระเป๋าไว้ ก็มีอันเข้าโรงฟิตเนสไปแล้ว
ไม่รู้จะได้กลับมาเมื่อไร
ตอนนี้ก็เลยได้กล้องตัวนี้มาช่วยแก้ขัดไว้กับบางวันที่อยากจะชิลๆ กับเค้าบ้าง


งานนี้อย่างที่เกริ่นกันไว้อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เป็นชุมนุมของชนเผ่าต่างๆ ตามชื่องานเลย วัฒนธรรม วิถี 4 ไท ซึ่งประกอบไปด้วย ไทลื้อ, ไทเขิน, ไทยอง, ไทใหญ่ และชนเผ่าปกากะญอ

ตั้งใจอยากทำ blog และแนะนำชนเผ่าต่างๆ อย่างที่พอจะมีเนื้อหาสาระให้อ่านกันได้บ้าง
แต่พอไปแบบชิล วิ่งฝ่าสายฝนไป และว่ิงฝ่าสายฝนกลับ รวมถึงไปงานล่าช้าเอามากๆ เลยดูว่าจะไม่ได้เอกสารอะไรติดมือมาเล่าเรื่องให้อ่านกันเลย
แต่ก็มีช่วงงานที่ได้ถ่ายภาพมาให้ชมกันท้ายนี้ ที่เป็นช่วงแนะนำชนเผ่าต่างๆ
ที่จริงตั้งใจจะเก็บรายละเอียดมาเล่าให้อ่านกันด้วย แต่สุดท้ายไม่ได้อะไรมาเลย
ตอนที่ทำ blog นี้ ขอแค่บอกชื่อชนเผ่าได้ถูกทั้งหมดก็น่าจะดีใจแล้วล่ะ
แล้วไว้ว่างๆ จะตามหาจาก internet มาเพิ่มให้อ่านกันในภายหลัง

ช่วงนี้มีภาพถ่ายกับชุดเสื้อผ้าของแต่ละกลุ่ม ที่มารอชมกิจกรรมต่างๆ บนเวที

ทั้งสองภาพบน-ล่าง นี้ ภาพบนเป็นหนูน้อยในชุดของไทลื้อ ส่วนภาพล่างก็ยังเป็นไทลื้อ เช่นกันครับ














คราวนี้มาถึงกิจกรรมบนเวทีที่แสดงชุดเสื้อผ้าของแต่ละกลุ่ม แต่ละชนเผ่าให้ชมกันแล้วครับ

ชุดเสื้อผ้าประจำชนเผ่าปกากะญอ






ชุดไทยอง





ชุดไทลื้อ

ศิลปะที่โดดเด่นของชาวไทลื้อได้แก่งานผ้าทอไทลื้อ นิยมใช้ผ้าฝ้าย ทอลวดลายด้วยเลื่อม สวมกางเกงม่อฮ่อมขายาว โพกหัวด้วยผ้าสีขาว หรือสีชมพู ส่วนผู้หญิงไทลื้อนิยมส่วมเสื้อปั๊ด ( เป็นเสื้อที่ไม่มีกระดุมแต่จะสะพายเฉียงมาผูกไว้ที่เอวด้านข้าง ) นุ่งซิ่นลื้อ สะพายกระเป๋าย่ามและนิยม โพกศีรษะด้วยผ้าขาวหรือชมพู




ชุดไทใหญ่

การแต่งกายของชาวไทใหญ่มีเอกลักษณ์ที่เด่นชัด คือ ถ้าเป็นผู้ชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วย หรือเป็นกางเกงเป้าใหญ่ เรียกเป็นภาษาไทใหญ่ว่า โก๋นโห่งโย่ง และ สวมเสื้อแขนยาว คอกลมมีปกเล็กน้อยหรือบ้างก็ไม่มี ผ่ากลางอกตลอดแนวแบะมี กระดุมแบบถักด้วยมือตามแนวสาบเสื้อ เสื้อดังกล่าวมักจะใช้สวมเป็นเสื้อตัวนอก ส่วนเสื้อตัวในไม่จำกัดแบบ แต่ส่วนใหญ่เพื่อความเรียบร้อยจะนิยมใส่เสื้อเชิ้ตคอปกสีขาว ทั้งเสื้อและกางเกงทำมาจากผ้าฝ้ายทอมือ และจะโพกหัวด้วยผ้าสีชมพูอ่อนๆ
ส่วนการแต่งกายของผู้หญิง สวมเสื้อแขนยาวหรือแขนสามส่วน นิยมตัดให้พอดีตัว นุ่งผ้าถุงยาวหรือ ซิ่น ถึงเรี่ยตาตุ่ม นุ่งโดยวิธีป้ายผ้าแล้วบิดเกี้ยวม้วนลงให้กระชับและมีการโพกหัวคล้ายๆ ผู้ชายด้วยผ้าเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้กำหนดสีผ้า




ชุดไทเขิน

ไทเขินเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ดั้งเดิมอาศัยอยู่แถบ ดินแดนสิบสองปันนา หรือ แถบเมืองยอง ในประเทศพม่า
การแต่งกายของสตรีไทเขินเมืองยอง นิยมเสื้อที่ตัดมาจากผ้าสีขาว หรือสีชมพู รวมถึงตัดด้วยผ้าแพรที่นำเข้าจากประเทศจีน สวมใส่กันในผู้ที่มีฐานะดี ลักษณะเสื้อจะเป็นลักษณะเดียวกันกับเสื้อปั๊ด เอวกระดกเล็กน้อย นิยมเคียนหัวด้วยผ้าสีอ่อนเช่นเดียวกับไทลื้อ เครื่องประดับจะนิยมเครื่องประดับที่ทำมาจากเครื่องเงิน ผ้าซิ่นส่วนบนเป็น ลายริ้ว หรือที่เรียกกันว่า “ซิ่นก่าน” ส่วนตีนจะต่อด้วยผ้าสีเขียว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อีกประการหนี่งของชาวไทเขิน

การแต่งกายของบุรุษไทเขินเมืองยอง นิยมเสื้อคอกลม ผ่าหน้า กระดุมผ้าแบบจีน นุ่งเตี่ยวโย้เหมือนกางเกงแบบจีน ในโอกาสที่สำคัญบุรุษชาว ไทเขินจะนิยมสวมเสื้อคอปกไว้ภายในอีกด้วยเพื่อความเรียบร้อย นิยมเคียนหัวและมัดเอวด้วยผ้าแพรพรรณสีอ่อนในคนที่มีฐานะดี



ตามไปหาข้อมูลจากจาก internet มาประกอบกับภาพถ่ายชุดนี้ ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกข้อความมาประกอบกับภาพถ่ายในเรื่องชุดเสื้อผ้าของตอนท้าย blog นี้ผิดพลาดไปหรือเปล่า
หากมีผิดพลาดก็ขออภัยกันไว้ก่อนครับ แล้วจะรีบตามกลับมาแก้ไขให้ถูกต้องกันอีกทีครับ


จบกันไว้กับภาพนี้ล่ะครับ
และขอบคุณทุกๆ ท่านที่เป็นแบบถ่ายภาพไว้ด้วยครับ
ขอบคุณเพื่อนๆ ที่แวะมาชมภาพถ่ายที่ blog และร่วมพูดคุยทักทายกันที่ blog ด้วครับ


**** คุยกันท้าย Blog

ช่วงทำภาพถ่ายชุดนี้ พอดีได้ชะแว๊บไปที่ facebook และได้เห็นข่าวแจ้งจากชมรมถ่ายภาพฯ
ที่มีกำหนดจัดงานแสดงนิทรรศการช่วงเดือนตุลาคม นี้
และใกล้ถึงวันหมดกำหนดส่งภาพแล้ว
ทุกๆ ปี ก็ได้ไปร่วมแจมกับเพื่อนๆ ที่ชมรมถ่ายภาพฯ ด้วย

พอปีนี้จวนตัว ไม่ทันคิดจะไปหาภาพเก่าๆ แล้ว
เลยนั่งดูภาพถ่ายจากชุดนี้ แล้วก็ไปดู concept ของการจัดงาน
ที่ปีนี้ดุว่าจะมี concept กับรอยยิ้ม
สุดท้ายก็มาลงตัวกับภาพนี้

แอบดีใจเหมือนกันกับกล้องตัวนี้ หยิบออกมาถ่ายภาพครั้งแรก
ยังไม่ค่อยจะชิน จะคุ้นเคยกับกล้องมากนัก
รวมถึงผลงานที่ยังไม่ค่อยจะเข้าตามากนัก
แต่ก็มีภาพออกงานได้เลย
.....ไว้วันเปิดนิทรรศการ ถ้าไม่ติดงานอะไร จะแว๊บไปร่วมงานและถ่ายภาพมาให้ชมกันด้วยครับ
Create Date :11 กันยายน 2555 Last Update :11 กันยายน 2555 8:54:00 น. Counter : 27709 Pageviews. Comments :10