bloggang.com mainmenu search
12 กรกฎาคม 2555 : สาวสวยที่ถูกตาต้องใจ [จากพิธีไหว้ครูศิลปะ แบบล้านนา ของคณะวิจิตรศิลป์ มช. 12 กค. 55]

แค่พิศแค่ชมทางด้านหลัง กับทรงผมสวยพร้อมกับกล้วยไม้สีม่วงที่แซมผมอยู่
ก็ต้องแอบชื่นชม และหมายตาไว้แล้ว ว่าจะเป็นอีกคนหนึ่งที่คงจะถ่ายภาพขึ้นกล้อง


ครั้งนี้ดูจะเป็นครั้งแรก ที่มองผ่านเลนส์ กับทรงผมสวยๆ ก็โดนใจแล้ว
ยังไม่เห็นหน้าตากันด้วยซ้ำ แอบชื่นชอบ แอบถ่ายภาพทรงผมทางด้านหลังนี้อยู่หลายภาพ











ภาพนี้เขยิบตัวเองก้าวไปข้างหน้าจนได้เห็นใบหน้าแล้ว แต่ยังมัวโฟกัสดอกไม้อยู่เลย



เห็นใบหน้ากันทางด้านข้างแบบเต็มๆ แล้ว




แอบชื่นชม แอบถ่ายภาพทรงผมอยู่หลายภาพ
สุดท้ายก็ต้องเข้าไปขอถ่ายภาพกับสาวสวยคนนี้มาให้ชมกัน





สาวสวยที่ถูกตาต้องใจคนนี้ ถ่ายภาพมาจากพิธีไหว้ครูศิลปะ แบบล้านนา ของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีการจัดงาน บริเวณลานสักศาลาธรรม เมื่อ วันที่ 12 กรกฏาคม 2555

และครั้งนี้ก็มองผ่านเลนส์กันแบบเข้าตา และยังเป็นการมองที่โดนๆ เอาซะด้วย
เพราะสาวสวยคนนี้เป็นสาวช่างฟ้อน ที่มาฟ้อนสาวไหม ในช่วงการแสดงให้ชมในช่วงเวลาต่อมาด้วย

เรียกว่าโดนใจตั้งแต่แรกเห็น พอมาเป็นสาวช่างฟ้อน และแสดงการฟ้อนสาวไหมให้ชมกัน
อยากจะบอกว่า นี่คือสาวช่างฟ้อน ฟ้อนสาวไหมที่สวยที่สุดที่เคยถ่ายภาพมากันเลยล่ะ


การแสดงมีหลายชุดด้วยกัน แต่ขอเลือกการแสดงฟ้อนสาวไหม ของสาวสวยคนนี้มาให้ชมกันก่อนครับ และให้ชมกันแค่นี้ก่อน ที่เหลือจะเป็นการถ่ายภาพต่อเนื่องท่าการรำของฟ้อนสาวไหม สวยๆ มาให้ชมกัน

ถ้าไม่ได้ฟังผิดมาตอนที่พิธีกรประกาศ การแสดงที่เป็นชุดเปิดการแสดงด้วยฟ้อนสาวไหม การแสดงชุดนี้น้องคนสวยคนนี้กับเพื่อนอีกหนึ่งคนที่มาฟ้อนสาวไหมร่วมกัน เป็นนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มช. ชั้นปีที่ 2












ตั้งแต่ตอนถ่ายภาพก็รู้อยู่เหมือนกันว่ากดภาพรัวๆ มาทุกๆ shot ของท่ารำ
ตอนทำภาพก็เห็นเหมือนภาพต่อเนื่องที่ละทำรำแบบต่อเนื่องกันไป
ยังคิดว่าจะทำภาพให้ชมกันไปแบบนี้ไปจนจบการแสดง
(ตอนทำภาพก็ยังไม่คิดจะตัดภาพไหนออกไปสักภาพ แต่เดี๋ยวตอน up blog ขอดูก่อนว่าจะตัดใจได้หรือเปล่า)
มาชมกันไปด้วยกันครับ กับน้องนักศึกษาสาวสวยที่ฟ้อนสาวไหมได้สวยงามน่าชมจริงๆ









































การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวล้านนา เป็นการเลียนแบบท่าทางการสาวไหมของหญิงสาว ที่ยามค่ำว่างจากการทำงานในพื้นที่เกษตรก็จะนิยมทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม


ผู้คิดค้นประดิษฐ์ท่าฟ้อนสาวไหมขึ้นเป็นคนแรก ได้ค้นจากหลาย website พบว่าข้อมูลได้ระบุผู้คิดค้นคือ พ่อครูกุย สุภาวสิทธิ์ ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านแม่ก๊ะ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาพ่อครูกุยได้ถ่ายทอดท่าฟ้อนให้บุตรสาวคือแม่ครูบัวเรียว รัตนมณีพรเป็นผู้สืบทอด


แม่ครูบัวเรียวเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการฟ้อนสาวไหมว่าถ่ายทอดมาจากวิถีชีวิตของชาวล้านนา ตั้งแต่การเก็บดอกฝ้าย สาวเส้นฝ้าย เข้าสู่กระบวนการถักทอที่ปราณีตบรรจง จนกลายมาเป็นผืนผ้าในที่สุด


สำหรับท่ารำแม่ครูบัวเรียวได้ดัดแปลงลีลาการฟ้อนต่อสู้แบบชายให้เข้ากับบุคลิกของสตรีคือให้อ่อนช้อยและลงจังหวะดนตรีแบบนาฏศิลป์ไทย ซึ่งในแต่ละท่วงท่าก็มีที่มาจากภูมิปัญญาล้านนาดั้งเดิมทั้งสิ้น ส่วนท่ารำปัจจุบันนั้น ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัว
(คัดลอกข้อความบางส่วนมาจาก website ร้อยเรื่องเมืองล้านนา //www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=299)










ชมท่าฟ้อนชุดนี้กันอีกครั้ง

















ท่านั่งที่ลงไปฟ้อนสาวไหม ท่านี้ไม่รู้จักชื่อ แต่ก็ชอบที่จะถ่ายภาพท่าฟ้อนนี้



























ท่าฟ้อนนี้ก็สวย ลองชมกันดูอีกสักชุด




































ขอบคุณน้องสาวสวยคนนี้ที่เป็นแบบถ่ายภาพไว้ด้วยครับ

ขอบคุณคณะวิจิตรศิลป์ มช. ที่จัดงานพิธีไหว้ครูศิลปะ แบบล้านนา สืบเนื่องกันมาอย่างยาวนาน

ขอบคุณเพื่อนๆ ที่แวะมาชมภาพถ่าย set นี้ด้วยกันครับ


มาเขียนทิ้งท้ายไว้เพิ่มเติมครับ
หลังจากที่ได้อ่านคอมเม้นท์ดีๆ จากคุณครูเคยสอนรำไทยน้องพิม ที่เขีียนบอกเล่าเรื่องถึงน้องพิม อ่านแล้วก็ประทับใจ และชื่นชมความสามารถของน้องพิม ด้วยครับ

ขอขอบคุณ คุณ Garoon ที่ช่วยแจ้งชื่อของน้องพิมด้วยนะครับ

ขอบคุณกับน้องพิม-พิมพัชร์ สัปจาตุระ ไว้ตรงท้าย blog นี้อีกครั้งครับกับการเป็นแบบถ่ายภาพสวยๆ ที่คนถ่ายภาพเองชมภาพถ่ายแล้วก็ชอบทุกๆ ภาพ ภาพที่ถ่ายมาตลอดการแสดงแทบจะไม่ได้ลบหรือคัดออกไปสักภาพเลยครับ


********นำ link ทั้งหมด มาฝากไว้ตอนท้ายนี้ด้วยครับ*********
พิธีไหว้ครู “ นบไหว้สา ครูบาอาจารย์ศิลป์ ” คณะวิจิตรศิลป์ มช. 2555


การแสดงในพิธีไหว้ครู นบไหว้สา ครูบาอาจารย์ศิลป์ ได้รวมมาให้ชมกันทั้งหมดตามนี้แล้ว ใครยังไม่ได้ชมชุดไหน ลองคลิกไปชมกันดูได้ครับ
ฟ้อนสาวไหม โดย น้องพิม-พิมพัชร์ สัปจาตุระ


ฟ้อนสาวไหม โดย น้องพิม-พิมพัชร์ สัปจาตุระ


การแสดงชุดที่ 2


การแสดงชุดที่ 3 ของคุณรณรงค์ คำผา


การแสดงชุดที่ 4 ชื่อชุดการแสดงฟ้อนดาบ


การแสดงชุดที่ 5 ชื่อชุดการแสดงว่า "ซาตอแจ" โดยคุณเกียรติก้อง ศิลปสนธยานนท์


การแสดงชุดที่ 6 ชื่อชุดการแสดง "ระบำตารีกีปัส"


การแสดงชุด "สิปานนฤมิต ทักขิณะเทวดา" โดยกลุ่มนาฏยะศิลปิน สิปาน คอลเลคชั่น




มา update ภาพถ่ายของน้องพิม กันเพิ่มเติมอีก 1 ภาพครับ
เจอะเจอน้องพิม ในรถกระทงใหญ่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในงานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ 2557
ได้ภาพสวยๆ ของน้องพิม มา 1 ภาพครับ


ขอบคุณน้องพิม-พิมพัชร์ สัปจาตุระ ที่เป็นแบบถ่ายภาพสวยๆ กันทุกๆ ครั้งด้วยครับ
Create Date :13 กรกฎาคม 2555 Last Update :1 กุมภาพันธ์ 2560 17:08:18 น. Counter : 39651 Pageviews. Comments :32