ประมงโชว์ผลงานเพาะพันธุ์“ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล”สำเร็จเพิ่มเปอร์เซ็นต์ลูกปลาเพศเมีย
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้เพาะพันธุ์“ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล”ได้สำเร็จ โดยนำปลาตะเพียนขาวเพศผู้ที่มีโครโมโซม XX นำไปผสมกับปลาตะเพียนขาวเพศเมียปกติจะสามารถผลิตได้ลูกปลาตะเพียนขาวเพศเมียทั้งหมด ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวที่มีขนาดแตกต่างกันได้เป็นอย่างดี

เนื่องจาก ปลาตะเพียนขาวเพศเมียมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าและมีขนาดใหญ่กว่าปลาเพศผู้ กรมประมงให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาการเพาะหรือปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในช่วงที่ประชาชนประสบปัญหาเรื่องเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

นางวิระวรรณ ระยัน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำบุรีรัมย์ กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง กล่าวว่า "ปลาตะเพียนขาว” เป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ให้ลูกดก สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้เกือบตลอดปี ประชาชนนิยมนำมาแปรรูปเป็นปลาส้มที่มีรสชาติดีที่สุด






 






 
โดยในปี 2550 ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำบุรีรัมย์ ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ปลาตะเพียนขาวสายพันธุ์แม่น้ำโขง (Silver 2K) จนประสบความสำเร็จและมีการกระจายพันธุ์อย่างแพร่หลายในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางศูนย์ฯ จึงนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการผลิต ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล ที่ให้ผลผลิตเป็นลูกปลาเพศเมียทั้งหมด 

ขั้นตอนของการผลิตพันธุ์ปลาตะเพียนขาวนีโอเมล เริ่มต้นจากการนำพ่อแม่พันธุ์ปลาตะเพียนขาวสายพันธุ์แม่น้ำโขง (Silver 2K) มาทำลายสารพันธุกรรมในน้ำเชื้อแล้วเหนี่ยวนำด้วยขบวนการไจโนจีนีซีสให้มีโครโมโซมเป็น 2 ชุด (2n) ได้ผลผลิตเป็นปลาตะเพียนขาวไจโนจีนีซีสเพศเมีย (XX-Female)

หลังจากนั้น ทำการแปลงเพศโดยการให้กินอาหารผสมฮอร์โมนจะได้ปลาตะเพียนขาวนีโอเมลเพศผู้ (Neomale, XX-male) สำหรับใช้เป็นพ่อพันธุ์ในการเพาะพันธุ์ปลาตะเพียนขาวนีโอเมลครั้งนี้






 






 
ทั้งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2562 ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำบุรีรัมย์ ได้แจกจ่ายปลาตะเพียนขาวพ่อพันธุ์นีโอเมล (พันธุ์ขยาย) จำนวน 1,030 ตัว ให้แก่เกษตรกร 8 รายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันมีเกษตรกรผลิตลูกปลาตะเพียนขาวเพศเมีย จำนวน 5 ราย สามารถผลิตลูกปลาตะเพียนขาวได้ปีละไม่ต่ำกว่า 2.1 ล้านตัว

จากการติดตามผลการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวนีโอเมล พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะการเลี้ยงเชิงเดี่ยวเป็นอาชีพเสริม ทั้งในบ่อดินและในนาข้าว อัตราความหนาแน่นเฉลี่ย 1,960 ตัวต่อไร่

อาหารที่ใช้เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูปร่วมกับอาหารธรรมชาติ ระยะเวลาเลี้ยง ราว 5 – 7 เดือน ผลผลิตที่ได้มีขนาด 200 – 250 กรัมต่อตัว เมื่อเปรียบเทียบกับปลาตะเพียนขาวพบว่า ปลาตะเพียนขาวนีโอเมลใช้ระยะเวลาเลี้ยงสั้นกว่าประมาณ 1 เดือน ให้ผลผลิตที่สูงกว่า 15 – 20 เปอร์เซ็นต์ และผลผลิตปลาที่ได้มีขนาดสม่ำเสมอ






 






 
จากการประเมินผลความพึงพอใจของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในประเด็นคุณภาพของปลา อัตราการรอดตาย อัตราการเจริญเติบโต เปอร์เซ็นต์เพศ ราคาพันธุ์ปลา ระยะเวลาการเลี้ยง และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด

โดยปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำบุรีรัมย์ สามารถผลิตปลาตะเพียนขาวพ่อพันธุ์นีโอเมล (พันธุ์หลัก) ปลาตะเพียนขาวพ่อพันธุ์นีโอเมล (พันธุ์ขยาย) และลูกปลาตะเพียนขาวเพศเมีย เพื่อสนับสนุนให้แก่เกษตรกรนำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อไป

เกษตรกรท่านใดมีความสนใจ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำบุรีรัมย์ หรือกองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง โทรศัพท์หมายเลข 0 4463 4861 ได้ในวันและเวลาราชการ
 





 





 



Create Date : 24 กรกฎาคม 2564
Last Update : 24 กรกฎาคม 2564 11:49:03 น.
Counter : 948 Pageviews.

0 comments
สุขสันต์วันปีใหม่ไทย ๒๕๖๗ haiku
(13 เม.ย. 2567 10:13:33 น.)
สงกรานต์ “กระหึ่ม” นิวยอร์ก ชุมชนไทยร่วมใจแสดงพลัง newyorknurse
(4 เม.ย. 2567 05:49:57 น.)
วันที่หิมะยังคงอยู่ Rain_sk
(27 มี.ค. 2567 02:00:05 น.)
มิ้งค์ พิรดา เตชะวิจิตร์ : ว่าที่นักบินอวกาศไทยคนแรก newyorknurse
(26 มี.ค. 2567 01:56:43 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thailand-agriculture.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด