ห้ามเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่น 13 ชนิด
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่าปัจจุบันสถานการณ์การแพร่พันธุ์ ของสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์ ยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีปลาหมอสีคางดำที่หลุดรอดเข้าบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา  ได้สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่นเป็นอย่างมาก

เพื่อแก้ไขปัญหาล่าสุดกรมประมงได้ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง กรมประมงโดยอาศัยความตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2560 ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันทึ่ 16 สิงหาคม 2564 นี้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ซึ่งประกอบสัตว์น้ำด้วย 13 ชนิดได้แก่ปลาหมอสีคางดำ ปลาหมอมายัน  ปลาหมอบัตเตอร์  ปลาทุกชนิดในสกุล Cichlaและปลาลูกผสม  ปลาเทราท์สายรุ้ง ปลาเทราท์สีน้ำตาล ปลากะพงปากกว้าง  ปลาโกไลแอทไทเกอร์ฟิช  ปลาเก๋าหยก  ปลาที่มีการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม GMO LMO  ปูขนจีน  ปลาเก๋าหยก  หมึกสายวงน้ำเงินทุกชนิดในสกุล Hapalochlaena

สำหรับประกาศฉบับดังกล่าวฯ มีแนวทางการปฏิบัติคือ1. กรณีที่เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกลุ่มเหล่านี้ ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตตามประกาศกรมประมง ภายใน 30 วันหลังจากประกาศฯ มีผลบังคับใช้และเมื่อไม่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่นกลุ่มดังกล่าวแล้วให้รีบนำสัตว์น้ำส่งมอบให้สำนักงานประมงจังหวัด หรือ หน่วยงานกรมประมงอื่นๆในพื้นที่โดยด่วน
 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
2. กรณีที่ประชาชนทำการประมงแล้วได้สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ประชาชนสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้สัตว์น้ำตายก่อนนำไปจำหน่าย

3. กรณีที่สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้จากธรรมชาติได้หลุดรอดเข้าในบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรโดยไม่เจตนาเกษตรกรสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้ปลาตายก่อนนำไปจำหน่าย4. กรณีส่วนราชการ สถาบันการศึกษา หรือกรณีจำเป็นอื่นใดที่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดไว้เพื่อศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางราชการให้แจ้งขออนุญาตกรมประมงก่อน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. ห้ามผู้ใดปล่อยสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิด ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด เนื่องจากมีความผิดตามมาตรา 144 แห่ง พรก.การประมง 2558  บทลงโทษหากพบผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อย่างไรก็ตามการออกประกาศฉบับดังกล่าวถือเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาสัตว์น้ำต่างถิ่นที่หลุดรอดเข้ามาแพร่พันธุ์และสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรไทย  หากท่านเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่น (สัตว์น้ำจากต่างประเทศ) และไม่ต้องการที่จะเลี้ยงอีกต่อไปแล้ว อย่านำไปปล่อยลงในแหล่งน้ำสาธารณะ 
 
ขอให้นำสัตว์น้ำเหล่านั้นมามอบให้กับทางกรมประมง หรือสำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่ใกล้บ้านให้รับไปดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำต่างถิ่นเกิดการหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะที่อาจจะสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศในระยะยาว
 
 
 
 



Create Date : 02 กรกฎาคม 2564
Last Update : 2 กรกฎาคม 2564 17:21:11 น.
Counter : 654 Pageviews.

0 comments
มหาสงกรานต์ '67 (รักโดรนมาก) สมาชิกหมายเลข 7777777
(17 เม.ย. 2567 18:18:19 น.)
ใครบ้าง ตอบได้ ว่าทำไมรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 28มี.ค ถึงวันนี้9เม.ย.67ยังจอดคา ไว้กลางทางอยู่ jiab bangkok
(9 เม.ย. 2567 11:52:33 น.)
โปรแกรมฉีด Radiesse ด้วยเทคนิค Tri-Lift คืออะไร ดีอย่างไร ช่วยอะไรได้บ้าง teawpretty
(15 มี.ค. 2567 14:32:23 น.)
Soft Power คืออะไร มีลักษณะอยางไร อ่านความหมายและตัวอย่างที่นี่ newyorknurse
(21 มี.ค. 2567 03:05:02 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thailand-agriculture.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด