สทนช.เผย 4 แหล่งก่อมลพิษทางน้ำมากที่สุด
สทนช.เปิดผลศึกษาบริหารจัดการน้ำพื้นที่รอยต่อลุ่มน้ำแม่กลอง เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ พบแหล่งก่อมลพิษทางน้ำมากที่สุด 4 ประเภท (ชุมชน โรงงาน ฟาร์มหมูและเกษตรกรรม) เร่งเดินหน้าหนุนพื้นที่นำร่องสร้างแบบจำลองคุณภาพน้ำ พร้อมดึงมวลชนช่วยแก้ปัญหาน้ำเสียอย่างยั่งยืน

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน “โครงการศึกษาการบริหารจัดการน้ำพื้นที่รอยต่อลุ่มน้ำแม่กลอง เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์” ณ พื้นที่คลองวัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม, อ่าวบางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาคุณภาพน้ำและน้ำเสีย ส่งผลต่อวิถีชีวิตและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนภาคประชาชนพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ 3 จังหวัด







 






 
ดร.สุรสีห์  เปิดเผยว่า โครงการศึกษาการบริหารจัดการน้ำพื้นที่รอยต่อลุ่มน้ำแม่กลอง เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ทำขึ้นเพื่อศึกษาหาแนวทางการจัดการแก้ไขปัญหามลพิษและคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลองและลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์

เนื่องจากลุ่มน้ำแม่กลองบริเวณจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม และเชื่อมต่อไปยังพื้นที่แม่น้ำเพชรบุรีตอนล่าง ประสบปัญหาคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมอย่างหนัก โดยในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์น้ำเสียในแม่น้ำแม่กลองหลายครั้ง มีแหล่งกำเนิดน้ำเสียมาจากที่สำคัญๆ 4 ประเภท ได้แก่ น้ำเสียจากชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม ฟาร์มปศุสัตว์และพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้ใช้น้ำเป็นประจำทุกปีและมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปที่แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำเพชรบุรีตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และเพชรบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่รอยต่ออำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภอบ้านแหลม อำเภอเข้าย้อย จังหวัดเพชรบุรี






 






 
ที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการดังกล่าวเป็นระยะ เพื่อชี้แจงข้อมูลรายละเอียดโครงการ และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาในพื้นที่และข้อเสนอแนะ รวมทั้งช่วยกันกำหนดแนวทางและรูปแบบเทคนิคการจัดการคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับกิจกรรมประเภทต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำ แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำอย่างเป็นรูปธรรมโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

วันนี้เป็นการประชุมปัจฉิมนิเทศ เพื่อสรุปผลการศึกษาโครงการฯ และรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อผลการศึกษาในด้านต่างๆ สำหรับนำไปประกอบการพิจารณาวางแผนการบริหารจัดการน้ำ แก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในพื้นที่รอยต่อลุ่มน้ำแม่กลองและลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนต่อไป

สำหรับผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ การศึกษาปัญหาในพื้นที่ การศึกษาด้านบริหารจัดการน้ำ  การศึกษาด้านคุณภาพน้ำ เพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ด้านการจัดการมลพิษทางน้ำ การบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งมาตรการและแผนการจัดการน้ำเสียในพื้นที่นำร่อง






 






 
ทั้งนี้ ได้คัดเลือกพื้นที่นำร่องสร้างแบบจำลองคุณภาพน้ำ สำหรับจัดทำแผนจัดการมลพิษจากแหล่งกำเนิด เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดประเภทฟาร์มสุกรเข้มข้นสูงและคลองสาขาหลักจำนวน 19 คลองที่มีปัญหาคุณภาพน้ำในเกณฑ์เสื่อมโทรมถึงเสื่อมโทรมมาก รวมพื้นที่ 30 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอปากท่อ บางคนที เมือง วัดเพลง ดอนทราบ จ.ราชบุรี อำเภออัมพวา จ.สมุทรสงคราม และอำเภอเขาย้อย บ้านแหลม จ.เพชรบุรี

เพื่อประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษ หรือ Carrying Capacity ของแหล่งน้ำจากกิจกรรมต่างๆในชุมชน ที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำของคลองและแหล่งน้ำในพื้นที่ เช่น คุณภาพน้ำ ปริมาณน้ำเสียและของเสีย เป็นต้น นำมาวิเคราะห์จัดทำเกณฑ์มาตรการจัดการปัญหาคุณภาพน้ำในลำน้ำหลักและคลองสาขาในพื้นที่บริเวณรอยต่อลุ่มน้ำแม่กลอง เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  

ควบคู่กับการจัดทำแนวทางเลือกในการกำหนดแผนและแนวทางมาตรการบริหารจัดการน้ำ ป้องกัน ควบคุม และรักษาคุณภาพน้ำ ระดับพื้นที่นำร่อง เพื่อบริหารจัดการการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดต่างๆ ตามกิจกรรมการใช้ประโยชน์ลุ่มน้ำที่สอดคล้องกับศักยภาพการรองรับมลพิษของระบบโครงข่ายลำน้ำ วิถี ประเพณี และระบบนิเวศทั้งบนบกและในน้ำอย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของผู้มีเกี่ยวข้อง






 






 
ดร.สุรสีห์ กล่าวว่า แนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่รอยต่อลุ่มน้ำแม่กลอง เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ จะแบ่งเป็นการบริหารจัดการน้ำตามปริมาณน้ำต้นทุน ซึ่งต้องมีการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำตลอดเวลาเพื่อให้ทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในสถานการณ์ปกติ น้ำน้อยและน้อยกว่าปกติ (วิกฤติ) ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาคุณภาพน้ำ

ได้กำหนดมาตรการไว้ 3 มาตรการ 7 กลยุทธ์ ดังนี้ มาตรการที่ 1 เชิงป้องกัน ควบคุมดูแล เฝ้าระวัง และติดตาม มาตรการที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัด กำจัดของเสีย และควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด มาตรการที่ 3 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการมลพิษ

แผนจัดการมลพิษในพื้นที่ 2 ลุ่มน้ำ มีเป้าหมายเพื่อลดการระบายความสกปรก หรือ Environmental Loading ทุกรูปแบบออกจากสิ่งแวดล้อมและระบบลำน้ำสาธารณะ จัดการคุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะและคุณภาพน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ 4 ประเภท ให้เป็นไปตามกฎหมาย ปฏิบัติได้จริง โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างจริงจัง





 




 



Create Date : 11 กันยายน 2565
Last Update : 11 กันยายน 2565 15:26:21 น.
Counter : 363 Pageviews.

0 comments
670420 #ข้าวยากหมากแพง สมาชิกหมายเลข 4665919
(19 เม.ย. 2567 05:25:22 น.)
รถเจาะบาดาลน้ำลึก 80-300 เมตร อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี โทร 062-1705084 สมาชิกหมายเลข 5575925
(25 มี.ค. 2567 01:55:50 น.)
AI คืออะไร ? ข้อดีของ AI Technology Robotic เข้ามาช่วยในการผ่าตัด newyorknurse
(19 เม.ย. 2567 02:45:03 น.)
การประชุมใช้ "หนึ่งผิวหนัง หนึ่งอัตลักษณ์" ล่องแม่ปิง
(14 มี.ค. 2567 21:39:36 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thailand-agriculture.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด