"กรมชลฯ"แจงแผนรัดกุมรับมืออุทกภัย
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาที่คาดการณ์ว่าฝนจะเริ่มตกหนักทางภาคเหนือในเดือนสิงหาคมเป็นต้นไปหลังจากทิ้งช่วงมาระยะหนึ่ง กรมชลประทานจึงเร่งจัดเตรียมแผนเพื่อรับมือน้ำหลากในพื้นที่


 



 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ของสำนักชลประทานที่ 3 ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก และนครสวรรค์ต้องรับน้ำเหนือโดยตรง ทั้งนี้กรมชลประทานได้ดำเนินการเตรียมพร้อมก่อนระยะน้ำมาแล้วที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ( SWOC ) ทั่วประเทศ มีการติดตามสถานการณ์น้ำ ประชาสัมพันธ์ข้อมูล

แจ้งเตือนภัยล่วงหน้าในบริเวณที่คาดว่าจะเป็นจุดน้ำท่วมซ้ำซาก ซ่อมแซมอาคารป้องกันน้ำท่วมให้พร้อมใช้งานและซักซ้อมแผนปฏิบัติการ โดยกิจกรรมทั้งหมดได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และส่วนที่เป็นงานซ่อมแซมได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้น
     
สำหรับแผนเมื่อถึงเวลาน้ำมา ได้มีการเตรียมพร้อมสร้างทำนบกระสอบทราย สร้างคันดินป้องกันน้ำท่วม ขุดลอกทางน้ำเร่งการระบายน้ำ ขุดลอกทางผันน้ำ ดำเนินการควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำตามแผนหากเกิดฝนตกหนักในเขต สชป.3  ที่จะส่งผลให้ระดับน้ำ-ปริมาณน้ำท่าของแม่น้ำน่านเพิ่มขึ้นต่อเนื่องส่งผลกระทบโดยตรงต่อแม่น้ำเจ้าพระยา


 



 
อาจเกิดน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่เกษตรและชุมชนได้ เช่นการลดระดับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยา ที่ จ.ชัยนาท ให้ต่ำลง พร้อมประสานงานกับเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ให้ลดการระบายน้ำลงอีกเพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อพื้นที่ในลุ่มน้ำน่าน และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นต้น
 
มาตรการที่ 2 การคาดการณ์และการติดตามสภาวะอุตุ-อุทกวิทยา การติดตามสถานการณ์น้ำจากระบบโทรมาตรที่มีอยู่ตลอดลำน้ำปิง ยม น่าน และเจ้าพระยา พร้อมระบบเฝ้าระวังระดับน้ำในจุดเสี่ยงด้วยกล้องวงจรปิดผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของกรมชลประทาน 3.การตรวจสอบสภาพอาคารชลประทานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

4.การขุดลอกคลองและกำจัดวัชพืช 5.การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำอย่างเหมาะสมตาม Rule Curve ที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติกำหนด 6.เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัย กำหนดแผนรับมือที่เหมาะสมกับระดับน้ำ และกำหนดจุดเสี่ยงเพื่อเตรียมการเข้าช่วยเหลือ



 



 
มาตรการสุดท้าย เตรียมความพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือเผชิญเหตุ รองรับน้ำหลาก และจุดเสี่ยงในพื้นที่สำนักงานชลประทานที่ 3 เช่นที่ ต.เขาดิน จ.นครสวรรค์ ต.ท่าช้าง, วังวน, หนองแขม, มะต้อง จ.พิษณุโลก เป็นต้น รวมกว่า 83 หน่วย ที่ได้เตรียมการไว้พร้อมใช้งานอย่างทันท่วงทีแล้ว

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำเหนือแห่งสำคัญ กรมชลประทานได้บริหารจัดการดังนี้ มีการเริ่มส่งน้ำเข้าสู่ระบบคลองทุ่งบางระกำเพื่อให้เกษตรกรใช้เตรียมแปลงและเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวนาปีจำนวน 265,000 ไร่ จำนวน 65 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้ส่งน้ำเข้าทุ่งบางระกำตลอดฤดูการเพาะปลูก (15 มี.ค.-18 มิ.ย.) ทั้งสิ้น 109.9 ล้านลบ.ม. จากแผนที่วางไว้ 310 ล้านลบ.ม. สรุปใช้น้ำต่ำกว่าแผน 200 ล้านลบ.ม. และในเดือนกรกฎาคมนี้จะเป็นช่วงเวลาที่จะรับน้ำเข้าทุ่ง



 



 
โดยใช้พื้นที่ทั้ง 265,000 ไร่ ทำการหน่วงน้ำเหนือได้ราว 400 ล้านลบ.ม. และจะทยอยระบายน้ำปริมาณนี้ลงสู่ด้านล่างในเดือนพฤศจิกายน หรือเมื่อเริ่มต้นฤดูแล้งนั้นเอง
   
นอกจากนี้กรมชลประทานจะได้นำนวัตกรรมสำหรับการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำด้วยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Graphic Information System : GIS) ร่วมกับการประมวลผลภาพ (Image Processing)ด้วยคอมพิวเตอร์มาใช้ในทุ่งบางระกำด้วย  

เพื่อให้ทราบปริมาณน้ำค้างทุ่ง ช่วงเวลาการนำน้ำเข้า-ออก ระยะเวลาในการระบายน้ำ การคาดการณ์สถานการณ์น้ำล่วงหน้าได้แม่นยำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำในทุ่ง ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เสร็จสิ้น คาดว่าจะช่วยให้การบริหารจัดการมวลน้ำก้อนนี้ทั้งการหน่วงน้ำและระบายน้ำเกิดประโยชน์สูงสุด





 



Create Date : 11 กรกฎาคม 2563
Last Update : 11 กรกฎาคม 2563 14:12:07 น.
Counter : 911 Pageviews.

1 comments
สุริยุปราคา อเมริกา /นิวยอร์ก อินเดียน่า เทกซัส newyorknurse
(9 เม.ย. 2567 04:13:31 น.)
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่52 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายแว่นขยันเที่ยว
(5 เม.ย. 2567 00:54:22 น.)
แกร็บ รับลูก ททท. เปิดตัวแคมเปญ “สุขทันที…ที่เที่ยวกับ Grab" นายแว่นขยันเที่ยว
(1 เม.ย. 2567 07:40:13 น.)
พิธีไหว้ครู ครอบครูนาฏศิลป์ไทย โขน-ละคร ปี2567 ณ หอประชุมศูนย์วัฒนธรรม นายแว่นขยันเที่ยว
(4 มี.ค. 2567 01:33:31 น.)
  
Ahaa, its fastidious dialogue regarding this article
at this place at this weblog, I have read all that, so now
me also commenting here. I will immediately clutch your rss feed as I
can_t to find your email subscription hyperlink or newsletter service.
Do you have any? Kindly permit me understand so that I may just subscribe.
Thanks. It's appropriate time to make a few plans for
the future and it's time to be happy. I've learn this put up and if I may
just I want to suggest you some fascinating issues
or advice. Perhaps you can write subsequent articles regarding
this article. I want to learn even more issues approximately
it! //Linux.com/
โดย: Kareem IP: 139.99.104.93 วันที่: 20 กรกฎาคม 2563 เวลา:4:29:08 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thailand-agriculture.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด