"กรมชลฯ"รณรงค์ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง
นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะกรรมการและเลขาธิการคณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย( Thai National Committee on Irrigation and Drainage ) หรือ THAICID เป็นประธานเปิดงานเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ “อนาคตชาวนากับการทำนาแบบใช้น้ำน้อย Chapter 3” จัดโดยคณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิเวศของนาข้าว (INWEPF)

นายเฉลิมเกียรติ กล่าวในฐานะเลขาธิการ Thaicid ว่า คณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิวเศของนาข้าว ได้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมหาแนวทางในการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความผันผวนเป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำต้นทุน





 




 
โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตร วิธีการจัดการน้ำชลประทานเพื่อการปลูกข้าวในแปลงนาแบบวิธีใช้น้ำน้อย หรือวิธีแบบเปียกสลับแห้ง จึงเป็นหนึ่งในเทคนิคการชลประทาน เพื่อการประหยัดน้ำที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาสำหรับการปลูกข้าวในทวีปเอเซีย และเป็นวิธีการจัดการน้ำชลประทานที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถลดการใช้น้ำได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์

รวมทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมช่วยลดการเกิดก๊าชมีเทนในนาข้าวได้เป็นอย่างมาก โดยไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าว อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวได้อีกด้วย ปัจจุบันเทคนิคการชลประทานแบบเปียกสลับแห้ง เป็นที่ยอมรับและเผยแพรในกลุ่มเกษตรกรหลายๆประเทศ ได้แก่ ประทศจีน เวียดนาม บังกลาเทศ และอินเดีย เป็นต้น





 




 
ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การลดการใช้น้ำชลประทานในนาข้าว ขณะที่ยังรักษาผลผลิตข้าวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการผลิตข้าวแบบยั่งยืน เทคนิคการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง (AWD) ได้รับการพัฒนและแนะนำสำหรับเกษตรกรในประเทศแถบทวีปเอเซียรวมทั้งในประเทศไทย ในระยะเวลา 10-20 ปี ที่ผ่านมา

แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากเกษตรกรไทย โดยเกษตรกรบางกลุ่มทราบถึงข้อดีของการทำนาด้วยวิธีเปียกสลับแห้ง แต่ยังขาดความเชื่อมั่นในการปล่อยน้ำเข้าหรือออกจากแปลงนา ทำให้เกษตรกรยังคงใช้วิธีการทำนาในรูปแบบเดิม ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำ

การทำนาแบบใช้น้ำน้อย เปียกสลับแห้ง มี 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ภาคเกษตรกรที่จะต้องเปิดใจให้เข้าไปถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องทั้งในหลักการและปฏิบัติ อีกส่วนสำคัญคือภาครัฐทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะรู้จักพื้นที่และความต้องการของเกษตรกรเป็นอย่างดี สามารถพัฒนาพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม  และสุดท้ายคือภาควิชาการที่จะต้องถอดองค์ความรู้ทางวิชาการให้ออกมาเป็นการปฏิบัติที่สามารถเข้าใจและนำไปใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ





 




 
พันจ่าโทเฉลียว น้อยแสง เกษตรกรปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดชัยนาท หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา กล่าวถึงประเด็นการปลูกข้าวใช้น้ำน้อย โดยวิธีเปียกสลับแห้ง ว่า “จากประสบการณ์ส่วนตัวการทำนาเปียกสลับแห้งค่อนข้างได้ผลในแง่ของการเพิ่มผลผลิตของนาข้าวให้เกษตรกรและยังสามารถลดต้นทุนได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยให้ประหยัดน้ำและใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า และอยากให้มีการจัดการระบบการส่งน้ำของชลประทานให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่จะใช้การทำนาแบบเปียกสลับแห้งในอนาคตด้วย”

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิเวศของนาข้าว ได้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ในด้านการทำนาในรูปแบบเปียกสลับแห้งมาโดยตลอด ทั้งการให้ความรู้ในรูปแบบโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การจัดประชุม เพื่อเผยแพร่ความรู้และขยายผลสู่การปฏิบัติในเขตพื้นที่ชลประทานผ่านโครงการชลประทานและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาของกรมชลประทานทุกโครงการทั่วประเทศ  








 



Create Date : 28 กันยายน 2563
Last Update : 28 กันยายน 2563 18:03:40 น.
Counter : 723 Pageviews.

0 comments
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่52 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายแว่นขยันเที่ยว
(5 เม.ย. 2567 00:54:22 น.)
สภากาชาดไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลรามคำแหง เชิญร่วมบริจาคโลหิต ครั้งที่ 47  หนึ่งเสียงในกทม.
(2 เม.ย. 2567 11:39:17 น.)
การประชุมใช้ "หนึ่งผิวหนัง หนึ่งอัตลักษณ์" ล่องแม่ปิง
(14 มี.ค. 2567 21:39:36 น.)
ยินดีกับทีมแกะสลักหิมะไทยแลนด์🇹🇭 ในการประกวดแข่งขันแกะสลักหิมะคว้ารองแชมป์ newyorknurse
(22 มี.ค. 2567 03:02:03 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thailand-agriculture.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 3402302
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด