การกำหนดรูปแบบวันที่และเวลาใน Excel (Date-Time format)
โดยปกติแล้วข้อมูลที่เป็นวันที่ใน Excel (for Windows) นั้น จะเริ่มนับวันที่ 1 มากราคม 1900 เป็นวันลำดับที่หนึ่ง และนับวันที่ต่อเนื่องกันมา โดยสรุปก็คือ Excel รับข้อมูลวันที่เป็นปี ค.ศ.

แต่ผู้ใช้สามารถกำหนดการแสดงรูปแบบ วันที่ (date) หรือเวลา (time) ในแบบเฉพาะเจาะจงได้ เพื่อกำหนดลักษณะในการแสดงผล เช่น แสดงรูปแบบเป็น ปี พ.ศ. หรือแสดงเป็นภาษาไทย เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถเพิ่มข้อความใดๆ (text), การเว้นวรรค (punctuation) และช่องว่าง (spaces) เข้าไปได้อีกด้วย

อ่านเรื่อง "วันและเวลาใน Excel" เพิ่มเติมได้ที่
เว็บบล็อกของคุณคนควน

วันนี้ผมจะมาแนะนำ วิธีการกำหนดรูปแบบให้กับข้อมูล วันที่และเวลา ใน Excel ตามมาเลยครับ


===================================

1. องค์ประกอบของรูปแบบวันที่ (Date format)

1.1 การกำหนดรูปแบบเดือน (M)

ในภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษร "M" เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างรูปแบบของเดือน กับรูปแบบของนาที


รูปแบบ
Mแสดงค่าเดือนเป็นตัวเลขเดี่ยวโดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่เดือนนั้นเป็นเลขตัวเดียว เช่น เดือนกรกฎาคม จะแสดงค่าเป็น "7"
MMแสดงค่าเดือนเป็นตัวเลขสองหลักโดยให้มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่เดือนนั้นเป็นเลขตัวเดียว เช่น เดือนกรกฎาคม จะแสดงค่าเป็น "07"
MMMแสดงค่าเดือนเป็นตัวอักษรย่อ 3 ตัวแรกในชื่อเดือนภาษาอังกฤษ เช่น July จะแสดงค่าเป็น "Jul"
MMMMแสดงชื่อเดือนในภาษาอังกฤษแบบเต็ม เช่น July
แสดงค่าเดือนเป็นตัวเลขไทยเลขเดี่ยวโดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่เดือนนั้นเป็นเลขตัวเดียว เช่น เดือนกรกฎาคม จะแสดงค่าเป็น "๗"
ดดแสดงค่าเดือนเป็นตัวเลขไทยสองหลักโดยให้มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่เดือนนั้นเป็นเลขตัวเดียว เช่น เดือนกรกฎาคม จะแสดงค่าเป็น "๐๗"
ดดดแสดงค่าเดือนเป็นภาษาไทยตัวย่อ 3 เช่น กรกฏาคม จะแสดงค่าเป็น "ก.ค."
ดดดดแสดงชื่อเดือนเป็นภาษาไทยแบบเต็ม เช่น "กรกฏาคม"


1.2 การกำหนดรูปแบบวันที่และวันในสัปดาห์ (d)

ใช้เพื่อแสดงค่าวันที่หรือวันในสัปดาห์ โดยตัวอักษร "d" สามารถใช้ได้ทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่

รูปแบบ
dจะแสดงค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่โดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่นั้นเป็นตัวเลขหลักเดียว เช่น วันที่ 6 ของเดือนใดๆ จะแสดงค่าเป็น "6"
ddจะแสดงค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่โดยมีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่นั้นเป็นตัวเลขหลักเดียว เช่น วันที่ 6 ของเดือนใดๆ จะแสดงค่าเป็น "06"
dddแสดงชื่อวันในสัปดาห์เป็นอักษรย่อ 3 ตัวแรกของชื่อวันในภาษาอังกฤษ เช่น Tuesday จะแสดงเป็น "Tue"
ddddแสดงชื่อเต็มของวันในสัปดาห์ เป็นภาษาอังกฤษ
จะแสดงค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่เป็นเลขไทย โดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่นั้นเป็นตัวเลขหลักเดียว เช่น วันที่ 6 ของเดือนใดๆ จะแสดงค่าเป็น "๖"
ววจะแสดงค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่เป็นเลขไทย โดยมีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวันในสัปดาห์หรือวันที่นั้นเป็นตัวเลขหลักเดียว เช่น วันที่ 6 ของเดือนใดๆ จะแสดงค่าเป็น "๐๖"
วววแสดงชื่อวันในสัปดาห์เป็นอักษรย่อในภาษาไทย เช่น Tuesday จะแสดงเป็น "อ."
ววววแสดงชื่อเต็มของวันในสัปดาห์ เป็นภาษาไทย เช่น "อังคาร"


1.3 การกำหนดรูปแบบปี (y)

แสดงค่าปีเป็นตัวเลขจำนวน 2 หลัก หรือ 4 หลัก โดยตัวอักษร "y" สามารถใช้ได้ทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่
รูปแบบ
yyแสดงค่าเป็นปี ค.ศ. เป็นตัวเลข 2 หลัก เช่น 2008 จะแสดง "08"
yyyyแสดงค่าเป็นปี ค.ศ. เป็นตัวเลข 4 หลัก
bbแสดงค่าเป็นปี พ.ศ. เป็นตัวเลข 2 หลัก เช่น 2551 จะแสดง "51"
bbbbแสดงค่าเป็นปี พ.ศ. เป็นตัวเลข 4 หลัก
ปปแสดงค่าเป็นปี พ.ศ. เป็นเลขไทย 2 หลัก เช่น 2551 จะแสดง "๕๑"
ปปปปแสดงค่าเป็นปี พ.ศ. เป็นเลขไทย 4 หลัก เช่น 2551 จะแสดง "๒๕๕๑"



===================================

2. องค์ประกอบของรูปแบบเวลา (Time format)

2.1 รูปแบบชั่วโมง (h)

ในกรณีที่ "h" เป็นตัวพิมพ์เล็ก จะเป็นการอ้างอิงเวลาแบบ 12 ชั่วโมง (AM หรือ PM) และถ้าในกรณีที่ "H" เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ จะเป็นการอ้างอิงเวลาแบบ 24 ชั่วโมง เช่น 5 โมงเย็น (5 P.M.) จะแสดงค่าเป็น "17" เป็นต้น
รูปแบบ
h หรือ Hจะแสดงค่าชั่วโมงโดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าชั่วโมงเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "ช" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)
hh หรือ HHจะแสดงค่าชั่วโมงโดยมีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าชั่วโมงเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "ชช" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)


2.2 รูปแบบนาที (m)

ให้ใช้ตัวอักษร "m" เป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างรูปแบบของเดือน กับรูปแบบของนาที
รูปแบบ
mจะแสดงค่านาทีโดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่านาทีเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "น" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)
mmจะแสดงค่านาทีโดยมีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่านาทีเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "นน" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)


2.3 รูปแบบวินาที (s)
รูปแบบ
sจะแสดงค่าวินาทีโดยไม่มีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวินาทีเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "ท" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)
ssจะแสดงค่าวินาทีโดยมีเลขศูนย์นำหน้า ในกรณีที่ค่าวินาทีเป็นตัวเลขหลักเดียว
(ใช้ "ทท" สำหรับแสดงเป็นเลขไทย)


2.4 รูปแบบ A.M. และ P.M.

จะแสดงอักษร A.M. และ P.M. เมื่อมีการตั้งรูปแบบเวลาเป็น A.M. และ P.M. ใน MS Windows โดยเข้าไปตั้งค่า regional settings ใน Control Panel
รูปแบบ
am/pm
หรือ AM/PM
จะแสดง A.M. และ P.M. ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น { TIME @ "h AM/PM" } และ { TIME @ "h am/pm" } จะแสดง "9 AM" หรือ "5 PM"



===================================

วิธีการจัดรูปแบบให้กับเซลวันที่

คลิกขวาที่เซลนั้นๆ เลือก Format cell...
แล้วเข้าไปกำหนดรูปแบบ ดังรูป




Create Date : 08 สิงหาคม 2551
Last Update : 8 สิงหาคม 2551 17:23:22 น.
Counter : 11640 Pageviews.

14 comments
  
มาเจิม
ตกลงได้วิธีใช้สูตรความน่าจะเป็นรึยัง
งานนี้เจ้ามือหวยรวยแน่
คริคริ
(อัพบลอกแล้ว อย่าลืมไปดู)
โดย: คุณน้อง (patra_vet ) วันที่: 9 สิงหาคม 2551 เวลา:11:52:44 น.
  
ขออนุญาตพาดพิงถึงในบลอกนะคะ
อิอิ
โดย: คุณน้อง (patra_vet ) วันที่: 10 สิงหาคม 2551 เวลา:3:59:42 น.
  
D...วันหยุดค่ะครูเอก

ตื่นยังค่ะ.....

วันนี้ไปเที่ยวไหนค่ะ...

รึว่าต้องทำงาน.....

โดย: Opey วันที่: 10 สิงหาคม 2551 เวลา:8:26:50 น.
  
ของคุณมากครับ
... ไม่เคยใช้ bbbb เลย...
ไม่เสียเที่ยวครับ

ฝากไว้อีกหนึ่ง format ของเวลาครับ
[h]
มีประโยชน์มากสำหรับการคำนวนเวลา
โดย: แดนน้อย (แดนน้อย ) วันที่: 10 สิงหาคม 2551 เวลา:15:03:40 น.
  


หวัดดีเช้าวันจันทร์ค่ะ.....

โอพี...มาสร้างสีสรรด้วยภาพค่ะ...

อีตาลี ค่ะ.... เพิ่งไปหยิบมาจาก sns ของ
เมกา เค้ามีแค่ สิบภาพ ....

ขอให้มีความสุขมากๆในวันนี้ค่ะ....
โดย: Opey วันที่: 11 สิงหาคม 2551 เวลา:8:00:21 น.
  
แวะมาทักค่ะ


ไม่เคยทราบว่าครูเอกก็มีบ๊อค กับเค้าด้วยเหมือนกัน

พลอยขออนุญาต แอ๊ดบ๊อค เลยนะคะ

รักษาสุขภาพคะ

โดย: พลอย (Blomst ) วันที่: 11 สิงหาคม 2551 เวลา:8:22:22 น.
  
ครูเอกขยัน อัพบล็อค แยกสีดีจังเลยค่ะ
ดูง่าย แต่ลำบากครูเอก

ขอบคุณสำหรับความรู้นะีคะ
โดย: Shallow Grave วันที่: 11 สิงหาคม 2551 เวลา:15:40:53 น.
  
แหะๆ ยอมรับว่าไม่รู้เรื่องเลยครับ
โดย: Tangible วันที่: 13 สิงหาคม 2551 เวลา:17:22:42 น.
  
ของคุณครูเอกค่ะ ที่แชร์ความรู้มาให้อ่าน ข้าพเจ้าขออนุญาต copy เกี่ยวกับ excel ไปอ่านเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานนะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
โดย: colin IP: 58.9.3.158 วันที่: 14 สิงหาคม 2551 เวลา:11:18:14 น.
  
ขอบคุณครับ
โดย: คนขับช้า วันที่: 14 สิงหาคม 2551 เวลา:21:16:28 น.
  
รบกวนครูเอกครับ ผมมีปัญหาเรื่อง word2007(ใช้Notebookลง Vista Ultimate 32bit ) - เวลาพิมพ์ไทยจะต้องเคาะ SpaceBar ก่อน1ที ถึงจะพิมพ์ได้ แม้จะแทรกตัวอักษรก็ต้องเคาะBar 1 ทีก่อน

ขอบคุณครับ
wachira.chantana@gmail.com
โดย: วชิระ จันทนา IP: 58.9.111.238 วันที่: 24 สิงหาคม 2551 เวลา:22:51:41 น.
  
สวัสดีค่ะครูเอก ขอรบกวนถามเรื่อง Macro หน่อยค่ะ คือถ้าเราต้องการให้ โปรแกรม Excel รู้จัก Macro ของเรา (เป็นลักษณะ CA ค่ะ) ตอนนี้มีปัญหาคือว่ารูปแบบที่เป็นไฟล์ Excel ซึ่งมีการสร้าง Macro ไว้ด้วย แต่เวลาที่ Copy ไปเครื่องอื่นๆ โปรแกรมไม่อนุญาตให้เนื่องจากมีเงื่อนไขของความปลอดภัยของ Macro (นอกจากต้องไปตั้งค่าให้เป็นระดับต่ำสุดค่ะ) แต่ทางเราไม่ต้องการให้ทำแบบนั้นเนื่องจากอาจมีผลกระทบกับอย่างอื่นด้วยค่ะ ครูเอกพอจะมีวิธีไหนบ้างหรือเปล่าคะ รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
โดย: ทิพย์ IP: 58.9.170.33 วันที่: 8 กันยายน 2551 เวลา:10:56:26 น.
  
ถ้าเราจะพิมพ์ 1/1/2012 ใน excel แล้วให้แสดงเป็น 1 Jan 2012 จะต้องใช้สูตรแบบไหนค่ะ
โดย: nongbird IP: 203.114.108.30 วันที่: 17 มกราคม 2556 เวลา:14:51:49 น.
  
เคยใช้นานแล้วจำไม่ได้ ได้ข้อมูลใน blog นี้ ช่วยไว้ ขอบคุณมากค่ะ
โดย: ์N.A. IP: 119.76.5.140 วันที่: 9 มีนาคม 2561 เวลา:18:47:14 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Samroeng.BlogGang.com

ครูเอก
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 112 คน [?]

บทความทั้งหมด