ฟรีแลนซ์ก็ใช้ประกันสังคมได้! จ่ายเริ่มต้นเพียงเดือนละ 70.-

เป็นฟรีแลนซ์ก็มีประกันสังคมได้!
จ่ายเบาๆ เริ่มต้นเดือนละ 70.- เท่านั้น


   หลายคนหลังจากเรียนจบแล้ว ตัดสินใจทำอาชีพฟรีแลนซ์ ด้วยเหตุผลและปัจจัยหลายอย่าง แต่การทำงานประจำและการเป็นฟรีแลนซ์ ก็มีข้อทั้งข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกัน แต่ที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยก็คือ เรื่องของสวัสดิการ โดยเฉพาะสวัสดิการเรื่องสุขภาพ ถ้าเกิดอาการเจ็บป่วย ชาวฟรีแลนซ์ต้องออกค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมด ถ้าใครมีประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุก็ดีไป แต่เพื่อนๆ ชาวฟรีแลนซ์มือใหม่ที่กำลังจะตัดสินใจมาเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัว กำลังมองหาประกันสุขภาพราคาไม่แพงมาก พี่ โปร แนะนำให้สมัครเป็นผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคมเลย เพราะเงินสมทบต่อเดือนถูกมาก! เริ่มต้นเพียงเดือนละ 70 บาทเท่านั้นค่า

 

เป็นฟรีแลนซ์ ทำอาชีพอิสระ สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้มั้ย ? 

freelancer

บอกเลยว่าได้แน่นอน! ฟรีแลนซ์ หรือคนที่ทำอาชีพอิสระ ไม่ได้เป็นพนักงานบริษัทเอกชน หรือเป็นข้าราชการ พ่อค้า แม่ค้า คนขับรถแท็กซี่ คนขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และอีกหลายๆ อาชีพที่ไม่ได้มีงานประจำ ก็นับเป็นเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระเช่นกัน ซึ่งบุคคลที่ประกอบอาชีพเหล่านี้ ก็สามารถเข้าถึงสวัสดิการด้านสาธารณสุขของรัฐได้ โดยการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 นั่นเอง

 

สำหรับใครที่ต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 40 มีเกณฑ์บังคับ ดังนี้ 

  1. อายุ 15-60 ปี
  2. เป็นบุคคลประกอบอาชีพอิสระ 
  3. ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ผู้ประกันตนสังกัดบริษัทเอกชน) และมาตรา 39 (ผู้ที่เคยเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และลาออกแล้ว แต่สมัครใจส่งเงินสมทบต่อ)
  4. ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ หรือสมาชิกกองทุนรัฐวิสาหกิจ
 

สามารถสมัครได้ที่ไหนบ้าง 

  1. สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ ยกเว้นสำนักงานใหญ่ กระทรวงสาธารณสุข
  2. สมัครผ่านอินเตอร์เน็ต https://www.sso.go.th/section40_regist/
  3. สมัครได้ที่ 7-Eleven ทุกสาขา 
 

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องจ่ายเท่าไหร่ต่อเดือน ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ?

sso benefits

สำหรับคนที่ทำอาชีพอิสระ และต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตน สามารถเลือกแผนการคุ้มครองที่ต้องการเองได้ ซึ่งสำนักประกันสังคม ก็มีแผนการคุ้มครองให้เลือก 3 แผนด้วยกัน 
 

จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน

คุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอุบัติเหตุ และเจ็บป่วย, กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต

กรณีประสบอุบัติเหตุ และเจ็บป่วย

  • ผู้ป่วยใน นอนรักษาตัว 1 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนวันละ 300 บาท 
  • ผู้ป่วยนอก แพทย์สั่งหยุด 3 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนวันละ 300 บาท 
  • ผู้ป่วยนอก หยุดไม่เกิน 3 วัน รับเงินทดแทนวันละ 50 บาท 

กรณีทุพพลภาพ (มีการสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย)

  • รับค่าทดแทนรายเดือน 500 - 1,000 / เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี

กรณีเสียชีวิต

  • ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท แต่ถ้าจ่ายเงินสมทบมากกว่า  60 เดือน จะได้รับเงินเพิ่มอีก 3,000 บาท 

จ่ายเงินสมทบ  100 บาทต่อเดือน

คุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอุบัติเหตุ และเจ็บป่วย, กรณีทุพพลภาพ, กรณีเสียชีวิต และกรณีชราภาพ

กรณีประสบอุบัติเหตุ และเจ็บป่วย

  • ผู้ป่วยใน นอนรักษาตัว 1 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนวันละ 300 บาท 
  • ผู้ป่วยนอก แพทย์สั่งหยุด 3 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนวันละ 200 บาท 
  • ผู้ป่วยนอก หยุดไม่เกิน 3 วัน รับเงินทดแทนวันละ 50 บาท 

กรณีทุพพลภาพ (มีการสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย)

  • รับค่าทดแทนรายเดือน 500 - 1,000 / เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี

กรณีเสียชีวิต

  • ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท แต่ถ้าจ่ายเงินสมทบมากกว่า  60 เดือน จะได้รับเงินเพิ่มอีก 3,000 บาท 

กรณีชราภาพ 

  • หักเงินออมจากเงินสมทบ 50 บาท / เดือน
  • สามารถออมเพิ่มเองได้อีกไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
  • ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผลเมื่ออายุครบ 60 ปี

จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน 

คุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอุบัติเหตุ และเจ็บป่วย, กรณีทุพพลภาพ, กรณีเสียชีวิต, กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร 

กรณีประสบอุบัติเหตุ และเจ็บป่วย

  • ผู้ป่วยใน นอนรักษาตัว 1 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนวันละ 300 บาท 
  • ผู้ป่วยนอก แพทย์สั่งหยุด 3 วันขึ้นไป รับเงินทดแทนวันละ 200 บาท 

กรณีทุพพลภาพ (มีการสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย)

  • รับค่าทดแทนรายเดือน 500 - 1,000 / เดือน ตลอดชีวิต

กรณีเสียชีวิต

  • ได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท 

กรณีชราภาพ 

  • หักเงินออมจากเงินสมทบ 150 บาท / เดือน
  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท 
  • สามารถออมเพิ่มเองได้อีกไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
  • ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผลเมื่ออายุครบ 60 ปี

กรณีสงเคราะห์บุตร 

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร ตั้งแต่แรกเกิด - จนถึงอายุ 6 ปี คนละ 200 บาท 

สำหรับการจ่ายเงินสมทบรายเดือน สามารถจ่ายที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven, Tesco Lotus, Big C, ตู้บุญเติม หรือหักผ่านบัญชีธนาคารก็ได้เช่นกันจ้า


 ปันโปรสรุปให้ 

  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 เมื่ออายุครบ 60 ปี จะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน และต้องแจ้งลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน
  • การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่ 7-Eleven สามารถสมัครได้ฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียม

ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก เว็บ ปันโปร

เว็บแจ้งข้อมูล promotion และสินค้า ลดราคา มาให้คุณ




Create Date : 15 ตุลาคม 2562
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2562 9:08:17 น.
Counter : 1562 Pageviews.

0 comments
วิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.6) เรื่องคำสุภาพ นายแว่นขยันเที่ยว
(25 มิ.ย. 2568 00:05:44 น.)
พ่อแม่ที่ติดโทรศัพท์ มีผลต่อลูกอย่างไร newyorknurse
(22 มิ.ย. 2568 21:04:21 น.)
สวนรถไฟ : นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ ผู้ชายในสายลมหนาว
(19 มิ.ย. 2568 13:46:10 น.)
สรุปวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องเวกเตอร์ นายแว่นขยันเที่ยว
(11 มิ.ย. 2568 06:11:02 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Punpromotion.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 5504973
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด