การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ คิดได้ พูดได้ แต่ .......ทำไม่ได้ ทรัพยากรน้ำ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของทุกสรรพสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ เพราะน้ำคือชีวิต ทุกชีวิตล้วนต้องพึ่งพาอาศัยน้ำในการดำรงชีพทั้งนั้น ในโลกของเรามีน้ำอยู่อย่างมากมายมหาศาล เพราะสองในสามของผิวโลกถูกปกคลุมด้วยน้ำ แต่ทว่าน้ำในโลกของเราส่วนใหญ่ร้อยละ 97.5 จะเป็นน้ำเค็มในมหาสมุทร ส่วนน้ำจืดมีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น นอกจากนี้ถ้าเราแบ่งปริมาณน้ำจืดในจำนวนอันน้อยนิด (2.5%) บนโลกของเราออกเป็นสัดส่วน จะเห็นได้ว่าน้ำจืดดังกล่าวถูกกักเก็บในรูปของภูเขาน้ำแข็งและหิมะถึงร้อยละ 68.9 เป็นน้ำผิวดินเพียงแค่ร้อยละ 0.3 ที่เหลือร้อยละ 30.8 คือน้ำใต้ดิน ปัจจุบันทรัพยากรน้ำของประเทศไทยกำลังถูกคุกคามจากปัญหาต่างๆ เช่นสภาวะโลกร้อน (Global warming) ปรากฏการณ์เอลนิญโย (Elnino) ทำให้เกิดพิบัติภัยธรรมชาติต่างๆ เช่นภัยแล้งและน้ำท่วม หลายพื้นที่ประสบพิบัติภัยเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำให้ทรัพยากรน้ำในพื้นที่เหล่านั้นได้รับผลกระทบอย่างเป็นวงกว้าง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการลดลงของระดับน้ำบาดาลอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในหลายพื้นที่ เนื่องจากมีการสูบน้ำบาดาลมาใช้มากเกินสมดุล และปัญหาการปนเปื้อนจากสารพิษต่างๆในน้ำก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้น้ำเสื่อมคุณภาพลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำของประเทศเป็นอย่างมาก การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำนับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าถ้าเราไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ปริมาณและคุณภาพของทรัพยากรน้ำของเราที่มีอยู่ก็จะหมดไปหรือไม่ก็เสื่อมคุณภาพจนไม่สามารถนำไปใช้ได้อีก แต่ปัจจุบันการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทยยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ขาดการบูรณาการ กล่าวคือต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างคิด และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ผ่านมายังคงอยู่ในบริบทของน้ำผิวดินแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนและฟื้นฟูความเสียหาย จึงมีความจำเป็นในการติดตามสถานการณ์พิบัติภัยต่างๆ รวมไปถึงภาคการใช้น้ำ (Demand side) และภาคแหล่งน้ำต้นทุน (Supply side) เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นไปอย่างมีระบบและรวดเร็ว สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างทันท่วงที แต่คำถามคือ แล้วใครจะทำ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ ส่วนข้างล่างนี้คือหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำของประเทศไทย คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงคมนาคม กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วเมื่อไหร่ประเทศไทยถึงจะมีหน่วยงานกลางที่เรียกว่า กระทรวงทรัพยากรน้ำ ที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลน้ำทั้งระบบ ของประเทศไทย มีกฎหมาย มีสำนักงาน มีรัฐมนตรีว่าการที่สามารถนำเสนอนโยบายและแผนต่อครม.ได้โดยตรง น้ำคือชีวิต ถ้าประเทศไทยบริหารน้ำไม่ได้ ก็เท่ากับว่าบริหารชีวิตไม่ได้เช่นเดียวกัน ใช้แต่พอเพียงซิครับ พ่อหลวงพระราชทาน"แนวทางเศษฐกิจพอเพียง" แล้วทำไมไม่ปรับใช้หละครับ เอวัง.....
โดย: วิวัฏฏะวน IP: 125.26.165.211 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:20:43:04 น.
แวะมาทักทายยามดึกค่ะ สบายดีนะคะ ไม่ค่อยได้เข้ามาบ่อย แต่ก็ระลึกถึงเสมอนะคะ
เทคแคร์ค่ะ โดย: Yushi
![]() |
บทความทั้งหมด
|
ปีใหม่นี้ขอให้สุขlyo9N
มีพลังกายใจเต็มเปี่ยม
ยังอยู่เป็นคู่เคียง
ใหเราเยี่ยมเยียนตลอดมา
ขอให้พี่มีสุขภาพดี
ไม่สนใจโรคใดไม่กล้าแวะหา
เพราะพี่สาวสมบูรณืตลอดมา
เปี่ยมด้วยคุณค่าด้วนน้ำใจ
ไม่ว่าจะผ่านพ้นวันใด
โลกกลมๆยังสวยสดใส
เห็นรอยยิ้มพิมพ์ใจมีมอบให้ทุกวัน
ด้วยความปรารถนาดี
จากไผ่ค่ะ