"การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล" จะบริหารกันอย่างไรในเมื่อคนค่อนประเทศยังไม่รู้จักคำว่า "น้ำบาดาล"
การบริหารจัดการเป็นคำที่ดูดีและมีหลักการ เมื่อนำไปผนวกกับทรัพยากรหรืออะไรซักอย่างมันก็จะทำให้สิ่งเหล่านั้นดูดีขึ้นมาทันที เช่นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของประเทศตะวันออกกลาง กรณีศึกษาการแบ่งอัตรากำลังในกองทัพของอิสราเอล "จิ๋วแต่แจ๋ว" เป็นต้น ซึ่งแน่นอนครับว่าการบริหารจัดการอะไรจะต้องมีปรัชญาเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ และปรัชญาเหล่านั้นจะถูกกำหนดขึ้นโดยนักปราชญ์ผู้ที่มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษากับผู้บริหารหรือผู้กำหนดชะตากรรมของสิ่งที่จะถูกบริหาร ปรัชญาของกองทัพอิสราเอลคือ "จิ๋วแต่แจ๋ว" นั่นก็หมายความว่ากองทัพของอิสราเอลจะใช้คนไม่มากแต่ทุกคนต้องมีประสิทธิภาพ และทำอย่างไรให้บรรลุวัตถุประสงค์ก็ต้องมีกระบวนการและการศึกษาทดลอง ซึ่งกว่าจะมาเป็นกองทัพในปัจจุบัน อิสราเอลก็เสียเวลาและเสียงบประมาณไปมหาศาล



ทีนี้ลองหันมามองเรื่องใกล้ตัวของเรา ถ้าเรานำคำว่า "การบริหารจัดการ" มาผนวกกับคำว่า "ทรัพยากรน้ำบาดาล" เราก็จะได้คำว่า "การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล" ซึ่งฟังดูแล้วเพราะมาก แต่ในทางปฏิบัติบอกได้เลยครับว่า "ยากมาก" สาเหตุที่ยากก็เพราะว่า



1. น้ำบาดาล เป็นทรัพยากรที่อยู่ใต้ดินและมองไม่เห็น ฝรั่งถึงกับบ่นเอาไว้เลยว่า "Groundwater - the hidden resource - out of sight: out of mind" กล่าวคือขนาดฝรั่งที่ว่าแน่ๆยังออกปากเลยว่า "ก็ในเมื่อมันมองไม่เห็นจึงไม่มีใครใส่ใจ" ซึ่งก็แน่นอนหละครับเพราะขนาดน้ำในหนองที่เราขับรถผ่านไปมาทุกวัน เวลามันแห้งเราก็รู้ เวลามันเน่าเสียเราก็เห็น แต่เราก็ยังไม่ทำอะไรกันเลย แล้วนี่น้ำบาดาลซึ่งอยู่ใต้ดิน จะมีซักกี่คนจะกล้าโวยวายว่าน้ำบาดาลเน่าแล้ว น้ำบาดาลแห้งแล้ว เพราะกลัวโดนย้อนถามว่า "แล้ว ม .อึ . ง รู้ได้อย่างไร พอเจอเข้าไปซักสามดอกก็จอดไม่กล้าโวยอีกต่อไป อิอิ



2. น้ำบาดาล ยังไม่มีคนรู้จักมากนัก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าการเรียนการสอนหนังสือของบ้านเราส่วนใหญ่มุ่งเน้นตรงที่สาขาใดก็ตามที่จบมาแล้วทำเงินทำทองได้เยอะๆ ทุกคนก็จะตั้งหน้าตั้งตาแข่งกันไปเรียน แต่วิชาน้ำบาดาลนั้นไม่ค่อยมีคนสนใจ เพราะว่าจบมาแล้วยังไม่รู้จะไปรับจ้างใคร หรือจบไปแล้วจะไปประกอบอาชีพอะไร บางคนถึงกับถามเลยว่าวิชาน้ำบาดาลเขามีการสอนกันด้วยหรือแล้วเขาสอนกันที่ไหนเหรอ? จบข่าว...



3. น้ำบาดาล ยังไม่มีราคา คนเลยไม่ค่อยสนใจ แน่นอนหละครับประเทศไทยเราอุดมสมบูนณ์ขนาดนี้ น้ำเปล่าแทบไม่ต้องซื้อ ทำนากันปีละสามหนไม่ต้องเสียเงินค่าน้ำซักบาท ชาวนาก็เลยได้ใจ นี่ถ้าข้าวอายุ 30 วัน สงสัยชาวนาคงทำนากันปีละ 12 หนเป็นแน่แท้ ก็ในเมื่อชาวนาติดนิสัยใช้น้ำกันฟรีๆ ก้เลยตกวิชาเศรษฐศาสตร์ บวกลบคูณหารกันไม่ค่อยจะเป็น ในเมื่อตกวิชานี้โอกาสที่จะเป็นเศรษฐีก็เลยมีค่าเท่ากับศูนย์ เพราะวิชาเศรษฐศาสตร์ก็คือศาสตร์ที่จะทำให้คนเป็นเศรษฐี ลองคิดดูถ้าใครตกวิชานี้ผลจะเป็นอย่างไร อิอิ



นี่แค่สามเหตุผลเองนะครับ ยังมีอีกมากมายหลายเหตุผลที่ผมบอกว่าการบริหารจัดการน้ำบาดาลนั้นยาก



แล้วเราจะทำอย่างไร



คำตอบก็คือ



อยู่ที่เด็กครับ เพราะเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า อนาคตของชาติขึ้นอยู่กับความฉลาดของลูกหลานไทย



บางบริษัทต้องใช้เวลาถึงสามรุ่นจึงจะประสบความสำเร็จ



สุมาอี้ต้องใช้เวลาและประสบการณ์ อบรม สุมาสูและสุมาเจียว บุตรสองคนให้เติบโตและมีวิสัยทัศน์เป็นผู้นำ จนบุตรของสุมาเจียวผู้น้อง ได้ขึ้นครองราชสมบัติกลายเป็นฮ่องเต้



ฝรั่งบอกว่า "กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว"



การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลก็เช่นกันต้องอาศัยทั้งความรู้และประสบการณ์มากมาย แต่กระผมเชื่อได้ว่าคงไม่เกินความสามารถของคนไทยหรอกครับ ถ้าพวกเราร่วมมือร่วมใจกัน



Create Date : 08 ธันวาคม 2553
Last Update : 8 ธันวาคม 2553 21:02:58 น.
Counter : 1097 Pageviews.

1 comments
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
สรุปวิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องทรัพยากรธรณี นายแว่นขยันเที่ยว
(28 ก.พ. 2567 00:03:41 น.)
มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 347 Rain_sk
(28 ก.พ. 2567 08:43:19 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
  
โดย: Junenaka1 วันที่: 8 ธันวาคม 2553 เวลา:21:50:35 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Pimtada.BlogGang.com

Duke of York
Location :
Sheffield  United Kingdom

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด