เรื่องของไม้บรรทัดฮวงจุ้ย
มาตราวัดระยะฮวงจุ้ย (风水尺) ผู้
ที่ศึกษาศาสตร์ทางฮวงจุ้ยมักจะนิยมเรียกว่า “หลู่ปานฉวื่อ (魯班尺)” มากกว่า
ส่วนชาวแต้จิ๋วจะออกเสียงเรียกมาตราวัดนี้ว่า “ลู่ปังเฉียะ”


โดยคำว่า “ฉวื่อ (尺)” จะหมายถึง มาตราวัดความยาว หรือ ไม้บรรทัด ส่วนคำว่า “หลู่ปาน (魯班)” เป็น
นามของบุคคล แซ่หลู่ชื่อปาน
ซึ่งเป็นสถาปนิกผู้คิดค้นและสร้างมาตราวัดชนิดนี้ขึ้นมา
จึงสรุปรวมความหมายถึง เครื่องมือที่ใช้วัดความยาวของหลู่ปาน
เพื่อเป็นการให้เกียรติกับหลู่ปาน



มาตราวัดระยะ หรือ
ไม้บรรทัดของหลู่ปานนั้นจะมีความยาวประมาณ 42.9 ซม. หรือ 16 นิ้ว 7 หุน
ถือว่าเป็นมาตราวัดที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในระบบฮวงจุ้ยของชาวจีน
ซึ่งแต่ละช่วงของไม้บรรทัดนี้จะบ่งบอกถึงมิติที่แฝงไปด้วยพลังทั้งด้านดีและ
ด้านร้ายตามระบบฮวงจุ้ย



เมื่อจะมีการสร้างอะไรก็ตามชาวจีนจะนิยมนำ
ไม้บรรทัดฮวงจุ้ยมาใช้วัดสัดส่วนของสิ่งที่เขาจะสร้างขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั้งวัตถุมงคล
ก็จะนิยมนำไม้บรรทัดหลู่ปานมาทำการวัดระยะให้มีสัดส่วนอยู่ในตำแหน่งที่เป็น
มงคลอยู่เสมอ



ไม้บรรทัดหลู่ปานนี้จะมีด้วยกัน 2 ฝั่ง ฝั่งหนึ่งจะเป็นฝั่งที่ใช้วัดมิติของคนเป็น หรือ สำหรับมนุษย์ ฝั่งนี้จะมักเรียกกันว่า “หลู่ปานฉวื่อ (魯班尺)” หรือ ฝั่งหยางหรือเอี๊ยง (陽 หรือ 阳) อันเป็นฝั่งด้านสว่าง



ฝั่งหยางนี้จะนิยมนำมาวัดฮวงจุ้ยสำหรับ
สร้างบ้านเรือน ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของมนุษย์เราที่ยังมีชีวิตอยู่
ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน เตียงนอน โต๊ะบัญชี ตู้เสื้อผ้า หน้าต่าง ประตูบ้าน
ฯลฯ



ส่วนอีกฝั่งที่ใช้วัดมิติของคนตาย หรือ วิญญาณ โดยจะเรียกฝั่งด้านนี้ว่า “ติงหลานฉวื่อ (丁蘭尺)” ภาษาแต้จิ๋วจะออกเสียงว่า “เต็งลั้งเฉียะ” หรือ ฝั่งหยินหรืออิม (阴 หรือ 陰) อันเป็นฝั่งด้านมืด



ฝั่งหยินนี้จะนิยมมาวัดฮวงจุ้ยสำหรับโลก
แห่งวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็น หิ้งบูชา ศาลเจ้าที่เจ้าทาง
ศาลเจ้า ป้ายวิญญาณบรรพบุรุษ โลงศพ ขนาดสุสาน ฯลฯ



ในมาตราวัดฝั่งด้านหยางหรือฝั่งคนเป็นนั้น จะแบ่งออกเป็น 8 ส่วน มีส่วนที่ดี 4 ส่วนและส่วนที่ไม่ดี 4 ส่วน โดยเริ่มจาก



1. 財 (ไฉ หรือ ไช้) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ การคลัง, ทรัพย์สิน, เงินทอง, สมบัติ และความร่ำรวย



2. 病 (ปิ้ง หรือ แป่) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ โรคภัยไข้เจ็บ, ความทุกข์ และจุดเสี่ยงภัย



3. 離 หรือ 离 (หลี หรือ ลี้) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ การจากกัน, ขาดแคลน และการยุแหย่เสี้ยมให้ทะเลาะกัน



4. 義 (อี้ หรือ หงี่) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ ธรรมะ, ทำนองคลองธรรม, การผดุงคุณธรรม และการมีผู้อุปถัมภ์ค้ำชู



5. 官 (กวน หรือ กัว) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ ข้าราชการ, ขุนนาง, รัฐบาล และการได้รับโชคดีจากทางราชการ



6. 劫 (แจว๋ หรือ เกี๊ยบ) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ การปล้นสะดม, หายนะภัย และการได้รับความวิบัติ



7. 害 (ไฮ่ หรือ ไห่) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ การถูกทำร้าย, การถูกอิจฉาริษยา, อุปสรรค, ความหวาดกลัว และการได้รับความเสียหาย



8. 本 (เปิ่น หรือ ปิ้ง) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ แหล่งกำเนิด, รากฐาน, จุดศูนย์กลาง และการมีทุนรอนที่มากมาย



แล้วแต่ละส่วนที่กล่าวมาแล้วนี้จะแยก
ย่อยออกไปอีกเป็นอีก 4 ส่วนย่อยๆ ซึ่งจะบ่งบอกถึงรายละเอียดของส่วนต่างๆ
ที่กล่าวมา
ดังนั้นเวลาเลือกวัดระยะก็ควรจะเลือกให้ตกอยู่ในตำแหน่งช่วงที่เป็นมงคล คือ
財、義、官、本 และไม่ควรตกอยู่ในตำแหน่งอัปมงคล คือ 病、離、劫、害



โดยส่วนระยะช่วงที่เป็นมงคลนั้นในตลับเมตร
ฮวงจุ้ยเขามักจะเขียนเป็นตัวอักษรสีแดง
และส่วนระยะช่วงที่ไม่เป็นมงคลก็จะเขียนเป็นตัวอักษรสีดำ
เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่อ่านอักษรจีนไม่ออก



คราว
นี้มาดูฝั่งด้านหยินหรือฝั่งวิญญาณซึ่งจะแบ่งออกเป็น 10 ส่วน มีส่วนที่ดี 6
ส่วนและส่วนที่ไม่ดี 4 ส่วน แต่ละส่วนก็ยังซอยย่อยลงไปอีกส่วนละ 4
ความหมาย โดยเริ่มจากความหมายใหญ่ดังนี้



1. 丁 (ติง หรือ เต็ง) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ ชายวัยฉกรรจ์, คนรับใช้, คำสั่ง และการมีข้าทาสบริวารที่มากมาย



2. 害 (ไฮ่ หรือ ไห่) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ การถูกทำร้าย, การถูกอิจฉาริษยา, อุปสรรค, ความหวาดกลัว และการได้รับความเสียหาย



3. 旺 (หว่าง หรือ อ๋วง) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ ความรุ่งโรจน์, คึกคัก, งอกงาม และความเจริญรุ่งเรืองในการงาน



4. 苦 (ขู่ หรือ โค่ว) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ ความทุกข์ระทม, ความทรมาน, ความลำบากยากเข็ญ และการที่ต้องตรากตรำ



5. 義 (อี้ หรือ หงี่) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ ธรรมะ, ทำนองคลองธรรม, การผดุงคุณธรรม และการมีผู้อุปถัมภ์ค้ำชู



6. 官 (กวน หรือ กัว) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ ข้าราชการ, ขุนนาง, รัฐบาล และการได้รับโชคดีจากทางราชการ



7. 死 (สื่อ หรือ ซี่) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ ความตาย, ความเด็ดขาด, การไร้ความรู้สึก และการเสียชีวิต



8. 興 (ซิง หรือ เฮ็ง) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ การลงมือ, การตื่นขึ้น, ความนิยมแพร่หลาย และความสุขเกษม



9. 失 (ฉวือ หรือ สิก) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ การสูญหาย, ความผิดพลาด, การประมาทเลินเล่อ, ความผิดหวัง และการพ่ายแพ้



10. 財 (ไฉ หรือ ไช้) ซึ่งจะหมายถึงตำแหน่งของ การคลัง, ทรัพย์สิน, เงินทอง, สมบัติ และความร่ำรวย




โดยในฝั่งหยินหรือฝั่งวิญญาณนี้
ถ้าท่านเลือกระยะที่ดี อันได้แก่ 丁、旺、義、官、興、財 แล้วเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์
หรือวิญญาณที่มองไม่เห็นก็จะให้คุณและโชคลาภความเจริญรุ่งเรืองแก่ท่าน
ตามชาวงของวรรคนั้น



แต่ถ้าท่านเลือกไปตกระยะที่ไม่ดี อันได้แก่ 害、苦、死、失 เทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือดวงวิญญาณที่มองไม่เห็นก็จะให้โทษภัยแก่ท่านได้



ฉะนั้นถ้าท่านอ่านอักษรจีนไม่ออก หรือ
ไม่ทราบความหมาย ก็ให้ใช้วิธีง่ายๆ คือ
ระยะที่เป็นมงคลนั้นเขาจะใช้ตัวอักษรสีแดง
ส่วนด้านที่อัปมงคลเขาก็จะใช้แทนด้วยตัวอักษรสีดำ



คราวนี้คงทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจการใช้มา
ตราวัดฮวงจุ้ยกันได้ดีขึ้นแล้วนะครับ ว่าด้านไหนใช้กับอะไร
ตำแหน่งระยะไหนเป็นระยะที่เป็นมงคลและไม่เป็นมงคล
สีที่ใช้เขียนอักษรก็เช่นกัน จะได้ใช้ได้ถูกต้องในคราวต่อไปนะครับ ...
สวัสดี



โดย เสือขาว    จาก  //www.horamahawed.com/



Free TextEditor



Create Date : 05 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2553 11:53:40 น.
Counter : 4256 Pageviews.

0 comments
ล้อมรั้วกั้นกวางมากินดอกไม้ สวยสุดซอย
(8 เม.ย. 2567 14:56:09 น.)
ดอกไม้หายาก เอื้องดอกมะเขือ สมาชิกหมายเลข 4313444
(3 เม.ย. 2567 13:06:48 น.)
เมนูยำมาม่า อร่อยรสแซ่บหลากสไตล์ทำกินง่ายทำขายดี สมาชิกหมายเลข 7986208
(29 มี.ค. 2567 17:26:43 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันกล้วยไม้หลากสี ทนายอ้วน
(26 มี.ค. 2567 13:16:07 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Luckybuilding.BlogGang.com

:: เมเม๊ ลิทึม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด