กู่ฉินกับความไพเราะ(ตรงไหน?)
มีหลายคนถามผมว่า กู่ฉินเนี่ย มันเพราะตรงไหน
ฟังกี่ทีกี่ทีก็แต๊วๆๆ ไม่เห็นจะเห็นเพลงเลย
สู้กู่เจิง เอ้อร์หู ผีผาก็ไม่ได้

ในหัวข้อนี้ผมจะเล่าให้ฟังว่า กู่ฉิน ความเพราะของมันอยู่ตรงไหน
กู่ฉินนั้นเป็นเครื่องดนตรีที่อยู่คู่กับนักปราชญ์มาตั้งแต่สมัยโบราณ
โบราณขนาดที่โบ้ยให้เทพเจ้าเป็นผู้คิดค้นขึ้น เพราตอนนั้นยังไม่มีการจดบันทึก
อาจพูดได้ว่า เก่ากว่าอักษรจีนซะอีก



กู่ฉินเจ็ดสายยุคแรก


นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงที่บรรเลงกู่ฉินได้แก่ ขงจื้อ โจวเหวินอ๋อง
และที่เด็ดๆเลย ขงเบ้ง แน่นอนว่าขงเบ้งเล่นกู่ฉิน
แต่ที่ว่าเล่นกู่ฉินขับไล่กองทัพสุมาอี้นั้น
ฟันธงว่า เป็นไปไม่ได้แน่นอน
ถึงแม้กว่ากู่ฉินในยุคนั้นจะมีการพัฒนาถึงจุดสูงสุดแล้ว
แต่กำแพงสูงขนาดนั้น ไหนจะเสียงทั้งมาศึก ทั้งทหารเป็นพันๆหมื่นๆ
อย่าว่าแต่สุมาอี้ที่อยู่ใต้กำแพงเลย ตัวขงเบ้งเองก็ไม่มีทางได้ยิน
ไม่ว่าเรื่องนี้จะจริงหรือไม่
ผู้แต่งหยิบกู่ฉินมาใช้ในตอนนี้ ไม่ใช่บอกว่าขงเบ้งเก่ง
แต่บอกว่า กู่ฉิน เจ๋ง



กู่ฉิบสิบสาย ถือเป็นต้นกำหนิดของกู่ฉินเลยทีเดียว


ทำไมหนังหลายๆเรื่องชอบเอากู่ฉินไปใช้
เพราะว่าสำหรับคนทั่วไปแล้วกู่ฉิน เป็นอะไรที่ไกลตัวมาก
เป็นประมาณลึกลับ เทพเจ้า จิตวิญญาณ
แล้วทำไมไม่เอาขิมหรือผีผาไปให้จอมยุทธหรือนักปราชญ์เล่นหล่ะ
ก็ในความคิดคนทั่วไป นั่นมันเครื่องดนตรีสำหรับ
สาวน้อยกับพ่อเฒ่าตาบอดร้องเพลงขอทานในโรงเตี๊ยมยังไงหล่ะ
มันไม่เท่ ฮ่าๆ

แต่หน้าที่ของกู่ฉินในยุคแรกเริ่มนั้น ไม่ใช่เครื่องดนตรี
แต่เป็นเครื่องมือ
เครื่องมือบ่มเพาะและพัฒนาจิตใจในบริสุทธ์
แต่พอยุคต่อๆ มา ได้มีการกำหนดมาตราฐานทางดนตรี
ก็เหมาเอาไปว่า กู่ฉิน คือ เครื่องดนตรี

กู่ฉินนั้นใครฟังเพราะที่สุด
คำตอบคือ ตัวเอง
กู่ฉิน ไม่ใช่เครื่องดนตรีตลาด
กู่ฉินคือ เครื่องดนตรีตอบสนองตัวเอง
ทำไมเวลาผ่านมาสามสี่พันปีแล้ว
เสียงกู่ฉิน ยังไม่ดังขึ้นเลย
นั่นก็เพราะว่า เครื่องดนตรีที่เล่นให้ตัวเองฟัง ไม่ต้องดังมาก


แล้วยังมีคนถามผมว่า กู่ฉินมีรูปทรงมากมายไว้ทำไม
ตอบคือ กู่ฉินแต่ละทรงเสียงไม่เหมือนกัน
มีบาง หนา แน่น นุ่ม มน เหลี่ยม เป็นต้น
แล้วแต่คนชอบไม่เหมือนกัน
เลือกซื้อกู่ฉิน ก็เหมือนเลือกดาบคู่ใจ
มันจะอยู่กับเราไปจนตาย
(นอกซะจากยังไม่เข้าใจ แล้วเลือกผิด ต้องซื้อใหม่)
ที่บอกว่าเลือกกู่ฉินเหมือนกับเลือกดาบคู่ใจเนี่ย
คือมันต้องเหมาะมือ น้ำหนัก(การกดสาย) กำลังพอดี
และเสียงที่โดนใจ

มีคนกับผมว่า กู่ฉิน อะไรก็ไม่รู้ สู้กู่เจิงไม่ได้
เล่นทีเดียวเสียงเยอะกว่า แถมเสียงดังกว่าด้วย
แต่ในความคิดของผม
กู่ฉิน เครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องมือสื่อสารแบบใจถึงใจนั้น
ไม่จำเป็น
เพราะถ้าเราจะบอกว่า วันนี้อากาศดี
ไม่จำเป็นต้องตะโกน ไม่จำเป็นต้องเอาคนหลายๆคนมาพูดพร้อมกัน
ก็ฟังรู้เรื่อง

แต่ยังไงผมก็ไม่ขอบอกว่าอะไรดีกว่าอะไร
เพราะเป้าหมายต่างกันครับ ดังนั้นวิธีการดำเนินไปสู่เป้าหมายก็ย่อมต่างกัน
ถ้าบอกว่าทัพพี กับ ที่ตีแมลงวันอะไรเจ๋งกว่ากัน
แน่นอนว่าคงเถียงกันไม่ออก
นอกซะจากจะเอาไม้ตีแมงวันไปตักข้าวทาน อันนี้พอสูสี



เฮียคนนี้เป็นนักร้องครับ แต่ไหงจับกู่ฉินกลับหัวไปท้าย


แต่ความยากของกู่ฉินอยู่ที่ไหน เทคนิคการบรรเลงรึเปล่า
ไม่ใช่ครับ
ความยากของกู่ฉินอยู่ที่การฟัง
ฟังยังไงให้รู้เรื่อง
เค้าพูดอะไรออกมา รู้สึกอะไร และที่สำคัญ "เพราะอะไร"
เครื่องดนตรีชนิดอื่นๆตอบสนองแค่ประสาทสัมผัสภายนอกพื้นฐาน
แต่กู่ฉิน ตอบสนองระดับจิต

เช่นเพลงกู่เจิง เข้าสูงน้ำไหล ก็แต่เลียนแบบเสียงธรรมชาติและภาพวิวพื้นฐานที่ฟังแบบผ่านแล้วสามารถสัมผัสได้ทันที
เอ้อร์หูเพลง พันม้าห้อตะบึง ก็เลียนเสียงมาวิ่งและเสียงม้าร้อง
แต่ก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านั้น

และนี่ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำนักนักดนตรีกู่ฉินที่แท้จริง
จะไม่ค่อยสายหัว ส่ายตัวไปมาแบบดนตรีชนิดอื่น
เพราะการเล่นกู่ฉินใช้เสียงสื่อไปหมดแล้ว
อีกทั้งการเล่นกู่ฉินใจจะนิ่งมาก เกือบจะเหมือนการนั่งสมาธิเลย
ท่าทางแทบไม่จำเป็น
เคยเห็นเจ๊คนนึงเล่นเพลงกว่างหลิงส่านท่าสวยมาก
แต่เสียง มันไม่ใช่

การฟังกู่ฉินให้รู้เรื่อง ต้องทำอย่างไร
แน่นอนว่าต้องมีพื้นฐานของเนื้อหาแบบคร่าวๆ
และที่สำคัญขึ้นไปอีกนั่นคือวุฒิภาวะ
ทำไมว่าอย่างนั้น
เพราะเพลง "คร่ำครวญที่ประตูฉางเหมิน" ที่บรรยายถึง
นางสนมที่น้อยใจ ถูกห้องเต้ทิ้งไว้อย่างไม่เหลียวแล
แน่นอนว่าเด็กน้อยไม่เข้าใจ เพราะยังขาดประสบการณ์
และที่สำคัญไปกว่านั้นคือจิตที่นิ่ง
จิตนิ่ง เวลาจะช้าลง ทำให้รับอะไรได้มากขึ้น

กู่ฉิน อย่างที่บอกว่าเป็นเครื่องดนตรีตอบสนองตนเอง
ดังนั้น คนแต่ละคนเล่นเพลงเดียวกัน
สำเนียงก็ไม่เหมือนกัน
หรือแม้ในคนคนเดียวกันเล่น สิบครั้ง
ก็ไม่มีทางเหมือนกัน
นั่นขึ้นอยู่กัยสภาพจิตใจในตอนนั้นด้วย

แล้วถ้าคนฟังจิตไม่นิ่งพอก็ฟังไม่ออก
แล้วถ้าคนฟังจิตนิ่งแล้วแต่ฟังไม่ออกมีสองสาเหตุ
หนึ่ง คนเล่นไม่เก่ง
สอง คนเล่นไม่ใช่สไตล์ของคนฟัง
แน่นอนว่าคนสองคนคุยกันถูกคอ ย่อมมีความชอบคล้ายกัน

สุดท้ายนี้ (รู้สึกว่าตัวเองเขียนเยอะยังไงไม่รู้ อ่านกันรู้เรื่องปะเนี่ย)
ถ้าใครอยากฟังกันแบบเต็มๆ อยากลองว่าฟังรู้เรื่องมั้ย
เมลล์มาบอกได้ครับ
จะส่งลิงค์ที่ผมอัพโหลดไว้ทั้งอัลบัมให้ฟังกัน

(อันที่จริงผมเองก็ยังฟังไม่รู้เรื่อง ฮ่าๆ
กำลังค่อยๆศึกษาและหาทิศทางที่ตัวเองชอบอยู่ครับ
เนื้อหาข้างบนที่เขียนนั่น
สรุปจากเอกสารโบราณและคำบอกเล่าของอาจารย์หลายท่าน
บวกกับการวิเคราะห์ของผมเองด้วย)



จบ



Create Date : 20 มกราคม 2551
Last Update : 20 มกราคม 2551 14:37:41 น.
Counter : 6846 Pageviews.

32 comments
ชายคนหนึ่ง comicclubs
(2 พ.ค. 2567 10:40:35 น.)
ถนนสายนี้มีตะพาบ หลักกม.ที่350 : คำมั่นสัญญา ตะลีกีปัส
(24 เม.ย. 2567 12:44:50 น.)
This I Promise You - NSYNC ... ตะพาบหลักกิโลเมตรที่ 350 tuk-tuk@korat
(23 เม.ย. 2567 14:23:25 น.)
[แปลเพลง] Down Bad - Taylor Swift My Style Is 1D(5)
(20 เม.ย. 2567 16:22:02 น.)
  



ปาดหน้าท่านมหาสำลี.....มาเจิมเลย
มาจากบล็อกท่านมหาฯครับ

ได้ความรู้และปรัชญาดนตรีไปอีกแล้ว

ยินดีที่ได้มาที่นี่ครับ


โดย: ม้าห้อ (cm-2500 ) วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:15:17:25 น.
  
แวะมาทักทายค่า

ฟังกี่ทีมันก็ แต๋ววว แต๊วววว จริงๆด้วย (ไม่เหมือนเจิ้ง รายนั้น สำหรับเรา เราว่าเสียงมันเพราะมากเลย)

แต่ถ้าไม่มีกู่ฉิน ก็อาจจะไม่มีกู่เจิ้งก็ได้ คิดซะว่าคารวะครูก็แล้วกัน
โดย: ข้าวสวยหุงไม่สุก วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:21:36:38 น.
  
ขงเบ้งคงไม่ได้ประสงค์ให้ "ได้ยิน" หรอกมั้งคะ (จริงๆ ตอนนั้นจะเล่นอะไรมันก็คงไม่ได้ยินทั้งนั้นแหละ) ต้องการแค่ให้ "เห็น" ก็พอ มันสื่อสารได้แล้วว่า "ไม่สนเฟ้ย ชิวๆ"
โดย: ลูกสาวโมโจโจโจ้ (the grinning cheshire cat ) วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:22:22:32 น.
  
แวะเข้ามาหาความรู้

ขอบคุณครับ
โดย: ตาอ้วนชวนคุย วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:22:45:52 น.
  
ท่าทางก็เป็นไปได้ครับ

แต่ในความคิดส่วนตัวอันต่ำต้อยของผม คิดว่า
กำแพงสูงขนาดนั้น
ขนาดเดินไปเดินมาก็แทบจะยังไม่รู้เลยว่าเค้าทำไรกัน

แน่นอนว่าสุมาอี้ต้องตั้งทัพห่างลองเชิงพอสมควร
ก็มีโอกาศเห็นได้มากกว่าอยู่ไกล้กำแพง
เพราะอยากถ่ายรูปตึกสูงๆได้ทั้งหมด
ก็ต้องถอยจากตึกเยอะหน่อย
แต่ยิ่งถอยก็ยิ่งห่าง ยิ่งเห็นมาก ก็ยิ่งไม่ชัด
รายละเอียดของตึกที่เห็นก็น้อยลงไปด้วย

นับประสาอะไรกับนั่งเล่นกู่ฉิน ให้ช่องหลบธนูบังขนาดนั้น
มองจากมุมมองของคนที่อยู่ข้างล่างแล้ว
หนอนจะมองเห็นนกที่ถูกใบไม้บังอยู่บนกิ่งที่สูงกว่า
เป็นไปได้ยากครับ

และแน่นอนอีกว่า ผู้หยั่งรู้ฟ้าดินเคมี ชีวะ ฟิสิกส์ แบบขงเบ้ง คงไม่ใช้วิธีนี้แน่นอน

ใครมีข้อมูลที่ลึกกว่านี้ รบกวนชี้แนะด้วยครับ
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:23:04:28 น.
  
ชัช

วันนี้เขียนดีนะ พี่ชอบ
ตรุษจีนไม่กลับเหรอ เห็นปอยกลับมาเชียงใหม่แล้วเนี่ย

เออ ตกลงติดต่อเรื่องฮันบกได้ยัง?
โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 20 มกราคม 2551 เวลา:23:47:31 น.
  
ชัชไม่กลับครับ
สอบกุมพานี้ เลยเตรียมตัวหน่อย

แล้วเรื่องฮันบ๊กเรียบร้อยแล้วครับ
พี่สาวชัชเอาไปทำทีสีทผ่านแล้วด้วย
ฮ่าๆ
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 21 มกราคม 2551 เวลา:8:10:29 น.
  
คุณชัช ผมหน้าเเตกเลยผมนึกว่ากู่ฉินเเละกู่เจินมันตัวเดียวกัน คุณชัชพอจะเเนะนำอัลบั้มดีๆ ที่พอหาซื้อได้ในเมืองไทยได้หรือเปล่า ขอบคุณครับ

ปล. CM 2500 (ม้าห้อ) เป็นคนน่ารักดีใจที่คุณทั้งสองได้รู้จักกัน
โดย: มหาสำลี วันที่: 22 มกราคม 2551 เวลา:5:46:23 น.
  
ในเมืองไทยมีขายอัลบัมเดียวครับ
แต่ปัญหาอยู่ที่ปกซีดีไม่ได้เขียนภาษาไทยไว้ว่ากู่ฉิน
คือตอนผมซื้อ ผมซื้อแบบว่าอะไรที่จีนๆซื้อหมด
แล้วมันบังเอิญติดมาแผ่นนึง เป็นซีดีปลอมที่นำเข้าอ่ะครับ
ที่ซอยแทกซัส เยาวราช ที่จริงร้านขายซีดีตามห้างทั่วไปก็มีครับ ต้องเป็นพวกร้านซีดีที่ไม่ค่อยมีคยซื้อนะครับ เดอะมอลลบางกะปิชั้นหนึ่งมีชัว เคยเห็น แต่ไม่มีใครรู้ แต่ว่าเนื่องจากถูกจัดในหมวดล้างสต๊อกเพราะพวกนี้ขายไม่ได้มากอยู่แล้วราคาที่เดอะมอล์เลยอยู่ที่ สิบห้าบาท แต่ถ้าซื้อในเยาวราช ร้อยห้าสิบครับ

ปกจะเป็นวีน้ำเงิน ไม่ค่อยสวยเท่าไร มืดๆ ขะมีตัวอีกษรจีนเขียนไว้ แล้วข้างหลังจะมีรูปเฮียคนเล่นยิ้มให้ครับ ใส่แว่น

ส่วนรายลัเอียดอื่นผมจำไม่ได้แล้วครับ
ยังไงท่านมหาลองไปสืบๆดูได้ครับ
โดย: ชัช IP: 222.28.81.160 วันที่: 22 มกราคม 2551 เวลา:8:25:22 น.
  


ขอบคุณครับ ผมจะลองดูที่ร้านน้องท่าพระจันท์ก่อน ถ้า

ไม่มีอาจไปที่ดิโอสยาม ( มันใกล้ผมครับ )
โดย: มหาสำลี วันที่: 22 มกราคม 2551 เวลา:8:58:19 น.
  
ใครว่าไม่เพราะ ใครว่า แต๊ว...แต๊ว... ไม่เห็นมีอะไร ผมไม่รู้ละ
สำหรับผม มันเพราะสุดๆ ครับ เพราะกว่ากู่เจิงหลายเท่า
คนบ้ากู่ฉินครับ บ้าเท่ากับชัช แต่ไม่มีโอกาสดีเท่า

ตอนนี้คนบ้ากู่ฉินในเมืองไทย มีกี่คนน้า....
ผม...ชัช... ที่เหลือยังจับตัวไม่ได้แฮะ
รึจะมีแค่สองคนจริงๆ หว่า???
โดย: ณัฐ IP: 124.121.14.228 วันที่: 22 มกราคม 2551 เวลา:20:37:58 น.
  
อ้อ น้องข้าวสวยหุงไม่สุก (หรือพี่ หรือป้า หว่า???)
ที่บอกว่าไม่มีกู่ฉินก็ไม่มีกู่เจิงนั้น ไม่เกี่ยวหรอกครับ
เคยมีคนพูดทำนองว่า กู่เจิงเป็นวิวัฒนาการอีกระดับของกู่ฉิน
เข้าใจผิดล้วครับ กู่เจิงวิวัฒนาการมาจากเครื่องดนตรีโบราณอีกชิ้นหนึ่ง ชื่อว่า เส้อ (หรือเซ่อ แล้วแต่จะเขียน)
ซึ่งมันแค่เหมือนกับกู่ฉินตรงที่เป็นเครื่องสาย เท่านั้นเองครับ
นอกจากความเป็นเครื่องสาย ก็ไม่มีอะไรเหมือนกันอีก
สองอย่างนี้ใช่เล่นประสานกันให้กลมกลืนกันได้ดี ประมาณว่า
สองคนเป็นแฟนกัน ผู้หญิงดีดฉิน ผู้ชายก็ดีดเส้อคลอตาม หรือจะให้ผู้ชายดีดฉิน ผู้หญิงก็ดีดเส้อคลอ อารมณ์นั้นเลยครับ
เพราะฉะนั้น ต่อให้ไม่มีกู่ฉิน ก็มีกู่เจิงได้ มันคนละอย่าง คนละสไตล์ คนละวิธีเล่น คนละอารมณ์ คนละคอนเซ็ปต์
โดย: ณัฐ IP: 124.121.14.228 วันที่: 22 มกราคม 2551 เวลา:20:45:47 น.
  
ชอบเหมื่อนกันครับ ได้แต่หาฟังตามในเน็ต
โดย: ภู IP: 90.203.188.149 วันที่: 16 มีนาคม 2551 เวลา:17:46:59 น.
  
บ้านเรามีกู่ฉินด้วยอ่ะครับ
โดย: คนพิณ IP: 125.25.219.193 วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:28:22 น.
  
บ้านเรามีกู่ฉินอ่ะครับ แต่เล่นไม่ค่อยเปนอ่ะครับ ท่าทางจะเล่นยากอ่ะครับเคยดูคนอื่นเล่น แต่ตอนนี้ก้ได้แต่ตั้งโชว์อยู่ในตู้ที่บ้าน55555
โดย: คนพิณ IP: 125.25.219.193 วันที่: 28 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:31:16 น.
  
เรียน คนพิณ

ผมอยากได้กู่ฉินมานาน แต่ไม่รู้ซื้อที่ไหน อยากดูของจริงจัง ทำไงดีช่วยบอกทีเถอะว่า คุณหาซื้อมาจากไหน ปัจจุบันผมเล่นไวโอลิน และกู่เจิ้งอยู่ และดนตรีอีกหลายชนิด ผมก็สามารถดัดแปลงหรือค้นหาการเล่นได้ รบกวนช่วยตอบด้วยครับ จักเป็นพระคุณยิ่ง
โดย: โอซอ IP: 124.120.101.147 วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:11:56:30 น.
  
ชอบการวิเคราะห์ในเรื่องสามก๊ก
น้องชัชเขียนได้ดี ใช่ครับกู่ฉินเสียงเบามาก
และอยู่ท่ามกลางที่โล่งแจ้งขนาดนั้น
ไม่มีทางได้ยินเสียงดนตรีแน่ๆ....

ที่เชียงใหม่มีเครื่องดนตรีโบราณที่ชื่อ "พิณเปี๊ยะ"
เล่นด้วยเสียงฮาร์โมนิกเหมือนกู่ฉิน
แต่เป็นดนตรีแบบเครื่องดีด รูปร่างคล้ายซอ

พี่ก๋าคิดว่าเสียงของกู่ฉินและพิณเปี๊ยะ
มีความคล้ายกันอยู่อย่าง
คือ เสน่ห์ของเขาอยู่ที่ "ความเบา"

ยิ่งเงียบ
ยิ่งเบา
ยิ่งดัง

และเสียงของเครื่องดนตรีบางชนิด
พี่ก๋าคิดว่ามันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมา
เพื่อให้เราใช้ "หู" ในการฟัง
หากแต่ให้ใช้ "ใจ" ในการฟัง

โดย: ก๋าคุง (กะว่าก๋า ) วันที่: 11 ตุลาคม 2551 เวลา:14:33:50 น.
  
ผมสงสัยจริงๆ ว่า เวลาเราฟังกู่ฉิน เราต้องฟังให้เข้าใจ ในเนื้อหาของเพลงนั้นๆ เลยหรอครับ ในความคิดของผม ผมจะไม่ตีความเสียง แต่จะพยายามรับความรู้สึกของเสียงของการดีดแต่ละครั้งมากกว่า โปรดชี้แนะด้วยครับ
โดย: กิ๊ก IP: 202.28.179.3 วันที่: 24 ตุลาคม 2551 เวลา:10:54:08 น.
  
นั่นคือความงามแบบผิวเสียงครับ
เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ง่ายที่สุดสำหรับคนทั่วไป

ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายหลักของกู่ฉินครับ
กู่ฉินเดิมทีไม่ได้เล่นให้คนอื่นฟัง
ไม่ได้ให้มานั่งหลับตาวิเคราะห์ว่าเพลงนี้มันสื่ออะไร

กู่ฉินนั่นเล่นให้ตัวเองฟังครับ
ยิ่งผู้เล่นรู้จักการควบคุมเสียงได้ดีเท่าไร
ก็แสดงว่าเค้ารู้จักตัวเองมากขึ้น
รู้จักตนเอง ก็ทันใจตนเอง

วิถีแห่งฉินที่แท้ คือ การพ่มเพาะตนนั่นเอง
(กู่ฉินไม่ถูดจัดอยู่ในหมดดนตรี
แต่ถูกจัดอยู่ในหมวดจีนศึกษา)

เหมือนภาพวาดพู่กันจีน
ผลงานที่ออกมาไม่ได้มาจากความจงใจ
แต่มาจาตัวตนที่แท้จริงของจิตรกร
บางคนดูออกแค่สวย
แต่ทำไมบางคนถึงรู้นิสัยใจคอและความคิดของผู้วาดขณะนั้นได้เลย
มันคือเหตุผลเดียวกันครับ

การฟังแค่ความไพเราะไม่ใช่เรื่องผิด
เพราะเป้าหมายการฟังของแต่ละคนต่างกัน
และแน่นอนการรับรู้และซึมซับของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน
แต่คุณจะได้สัมผัสกู่ฉินแค่เพียงเปลือกเท่านั้นครับ
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 24 ตุลาคม 2551 เวลา:18:48:47 น.
  
ก่อนอื่นต้องขอบคุณสำหรับคำชี้แนะนะครับ
ความจริงแล้วผมพึ่งเริ่มมาสนใจกู่ฉินครับ
ผมเริ่มสนใจเพราะได้ดูฉากการต่อสู้ของฟ้าเวิ้งกับไร้นามใน hero เหมือนกับคุณชัชเลยครับ
ผมรู้สึกว่าเสียงกู่ฉินเป็นเสียงที่ฟังแล้วสงบ ก็เลยลองหา ฟังใน youtube ครับ เพลงที่ชอบ ก็คือ Oulu Wang Ji ของ SCWguqin (ผมก็ไม่รู้หรอกครับว่ามันแปลว่าอะไร) รู้แค่ฟังแล้วรู้สึกสงบ และ นิ่ง ดี ครับ ผมขอคำแนะนำได้ไหมครับว่าผมควรจะเริ่มใช้กู่ฉินในแบบที่ทำให้สงบอย่างไร ควรจะเริ่มจากการฟังก่อนหรือเปล่าครับ และควรจะฟังยังไงให้ได้ความสงบ เพราะตอนแรกปผมคิดว่าให้ใช้ความรู้สึกรับรู้ถึงเสียงของการดีด "แต่ละครั้ง" แต่พึ่งมารู้จากคุณว่ามันไม่ถูก(แต่ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่) ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
โดย: ิกิ๊ก IP: 58.8.181.95 วันที่: 25 ตุลาคม 2551 เวลา:7:36:59 น.
  
การฟังกู่ฉิน ไม่ได้ทำให้สงบครับ
แต่ต้องสงบ ถึงจะฟังกู่ฉินได้

วิธีทำให้ตัวเองสงบก็อาบน้ำให้ตัวสบาย
ลองนั่งสมาธิชิวๆซักห้าถึงสิบนาทีครับ

ทำไมตำราโบราณบอกว่าก่อนเล่นกู่ฉินต้องอาบน้ำล้างมือจุดกำยาน
ที่จริงแล้วถ้าเหนียวตัวก็หงุดหงิด
มือเหนียวเหงื่อไคลก็เล่นไม่สะดวก
ส่วนกำยานก็มีผลทำให้เราผ่อนคลาย
เมื่อกายใจเบาแล้ว สมาธิก็เกิด
(แต่นั่งสมาธิ(หรือก่อนนอน)ไม่แนะนำให้เปิดเพลงกู่ฉิน เพราะมันมีอารมณ์ มันจะทำให้ใจไม่นิ่ง สมาธิต้องไม่ทุกข์ ไม่สุข พิจารณาด้วยความไม่มีอารมณ์)

การฟังก็เ่ช่นเดียวกัน ควรจะทำให้จิตใจปลอดโปร่งก่อน
แต่การจะฟังให้เข้าใจนั้นเป็นอะไรที่ยากมาก
เพราะถ้าขาดประสบการณ์ชีวิต
ขาดการเข้าถึงปรัชญาจีน ก็อาจจะได้ยินแค่ผิวเสียงเท่านั้น

อีกทั้งต่อให้เข้าใจทั้งสองอย่างข้างต้น แต่ผู่เล่นนิสัยต่า่งกับเรา อาจจะเข้าใจแค่นิสัยผู้บรรเลงคร่าวๆ แต่เข้าไม่ถึงเนื้อหาที่ถูกสื่อออกมาในรูปแบบของเค้า

วิธีการฟังของคุณไม่ใช่ไม่ถูกต้องครับ
มันคือจุดเริ่มต้น คุณมาถูกทางแล้ว
ที่ต้องฟังมันด้วยใจที่นิ่งจริงๆ จับมันทุกเนื้อเสียง
สิ่งที่จำเป็นสำหรับคุณคือ ความเข้าใจปรัชญาจีนและประสบการณ์ชีวิต
วันนนี้คุณฟังได้เนื้อหาระดับหนึ่ง อีกสิบปีข้างหน้า คุณจะรู้สึกว่า ตัวเองฟังได้ลึกขึ้น คุณก็จะเข้าไปถึงวิถีของกู่ฉินที่ลึกขึ้น
(วิถี ถือ ศิลปะที่มีเป้าหมาย ไม่ใช่แค่การระบายอารมณ์แบบขาดการคิด)

เพลงบางเพลงเช่น คร่ำครวญที่ประตูฉางเหมิน ให้เด็กเจ็ดขวบเล่น โอเคเค้าอาจจะเล่นวันละแปด ชม. เล่นได้เพราะมาก แต่เค้าจะไปเข้าใจหัวอกนางสนมที่ถูกทอดทิ้งได้อย่างไร นี้คือสิ่งพิเศษอย่างหนึ่งของกู่ฉิน
คือ เรียนจนตายก็ไม่จบ
ตราบใดที่ชีวิตยังดำเนินต่อไป เวลาเปลี่ยน คนก็เปลี่ยน ความคิดก็เปลี่ยน ดังนั้นการรับรู้ หรือการสื่อสารก็ย่อมไม่เหมือนเดิม
ผมมั่นใจเลยว่า อีกสิบปีข้างหน้าเพลงที่ผมเล่นตอนนี้ มันจะต่างจากที่ผมเล่นในวันนี้ ไม่ใช่เรื่องความเก่ง แต่มันคือความลึก

ดังนั้นเพียงค่อยๆศึกษาไป ไม่ต้องรับร้อนครับ
ปล่อยมันชิวๆไปตามธรรมชาติ ซักวันหนึ่งคุณก็อาจจะรู้สึกกับเพลงกู่ฉินที่แท้ ซึ่งไม่ใช่แค่ความงามที่ผิวเสียง



ปล. เพลงที่คุณชอบฟังคือเพลง โอวลู่ว่างจี
ตามลิงค์นี้ไปเลยครับ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=guqin&month=20-09-2008&group=2&gblog=71

โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 25 ตุลาคม 2551 เวลา:8:57:41 น.
  
ขอบคุณครับที่แนะนำ
เมื่ออ่านคำแนะนำจบ ก็เกิดคำถามขึ้นในใจว่า
จริง ๆ แล้วการที่เรามีอารมณ์ชอบหรือไม่ชอบ ตอนฟังเพลงกู่ฉินบางเพลง นั้น มันเป็นเรื่องที่ควรหรือไม่
เพราะเห็นว่าสิ่งที่คุณชัชเน้นก็คือการเข้าใจหัวอกนางสนมที่ถูกทอดทิ้ง
ทุกคำพูดมีแต่คำว่า ความเข้าใจ ความเข้าใจ
มันสื่อว่า การเข้าใจ(คือเข้าไปในใจ)คือความปราถนาสูงสุด
ไม่ใช่การ.....(ผมยังนึกไม่ออกว่ามันควรใช้คำว่าอะไร)
โปรดชี้แนะด้วยครับ
โดย: กิ๊ก IP: 58.8.181.95 วันที่: 25 ตุลาคม 2551 เวลา:12:25:31 น.
  
การที่ชอบไม่ชอบ ไม่ใช่เรื่องแปลก
การชอบ เกิดจากเราโดนใจเนื้อหาของเพลงในรูปแบบการนำเสนอจากมุมมองของคนผู้บรรเลง

แต่ผมก็ยังคงเน้นย้ำอยู่ว่า ฉินเล่นให้ตัวเองฟัง
และนักบรรเลงฉินยังเลือกคนฟังอีกด้วย
ไม่ใช่ว่าหยิ่งหรืออะไร
เพียงแต่คิดว่าใครน่าจะเข้าใจ ก็เลือกเล่นให้คนนั้นฟัง


ที่จริงแล้วความเข้าใจที่ผมพูดถึง ควรจะใช้คำว่าเข้าถึงมากกว่า
(เข้าใจคือรู้เหตุที่มา เ้ขาถึงคือมีประสบการณ์รู้สึกถึง เกิดจากการรู้เหตุที่มาแล้ว ซึ่งลึกกว่า)
การเล่นกู่ฉิน ไม่ใช่ว่าต้องไปเข้าถึงความรู้สึกของเพลง
หรือตัวละครในเพลงจริง แล้วเล่นออกมาตามนั้น
ในทางกลับกัน มันคือการนำเสนอในความเข้าถึงในแบบของเราเอง

ยกตัวอย่างคุณครูให้คำว่า ภูเขา ลำธาร ป่าไผ่ ให้ นร วาดลงไปในกระดาษขาวที่ว่างเปล่า กู่ฉินก็เหตุผลเดียวกัน

ย้อนกลับไปถึงเรื่องภาพวาดพู่กันจีน
จิตกรที่เข้าถึงระดับจิต
ไม่จำเป็นต้องเข้าป่าปีนเขาไปวาดรูป
แต่มันอยู่ในจิต จิตมีภาพ
ภาพที่ออกมาจากจิตก็คือตัวตนที่แท้จริง
มันเป็นอะไรที่มากกว่าเส้นและหมึก
แต่แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ต้องผ่านการเห็นและเข้าถึงมาแล้ว

มองมาในมุมของผู้ฟัง ผมก็ไม่ได้บอกว่าให้ฟังแล้วต้องเข้าใจหรือเข้าถึงซึ่งเป็นการบังคับ
แต่วุฒิภาวะมันจะพาคุณเข้าไปเอง ไม่ต้องไปฝืนมัน

ผมไม่ได้บอกให้เข้าใจเพลงคือความปราถนาสูงสุด
แต่ให้เข้าใจตัวเอง นี่ต่างหากคือความปราถนาสูงสุด

แต่จะเข้าใจตัวเองได้อย่างไร
ก็ต้องอาศัยการจดจ่อและฟังว่าตัวเองมีการตอบสนองแต่เหตุการณ์นั้นๆอย่างไร
แล้วจะรู้ว่าตอบสนองในรูปแบบไหนได้อย่างไร
ก็อาศัยการจดจ่อและวิเคราะห์จากเพลงที่ตัวเองเล่นนั่นเอง
เมื่อรู้จักตนเองแล้ว รู้ทันอารมณ์แล้ว
ก็จะสามารถแก้ไขในข้อบกพร่องนั้นๆได้

หรือในทางพุทธที่เรียกว่า สติมาปัญญาเกิดนั่นเอง

นี่แหล่ะวิถีแห่งฉิน
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 25 ตุลาคม 2551 เวลา:12:53:32 น.
  
แจ่มชัด ไร้ข้อกังขา ผมเข้าใจที่คุณชัชพยามยามจะสื่อแล้วครับ
ขอบคุณมากครับ ที่ชี้แนะให้เข้าใจวิถีแห่งฉิน ขอบคุณจริงๆๆครับ
โดย: กิ๊ก IP: 58.8.251.22 วันที่: 25 ตุลาคม 2551 เวลา:14:50:28 น.
  
ได้ยินมาว่า ตอนขงเบ้งดีดกู่ฉินนี้
ท่านผู้ที่มาแต่งได้มาเติมทีหลังเหมือนเรื่องของนางเตียวเสี้ยน เขาว่าแท้จริงตามประวัติศาสตร์ขงเบ้งได้ใช้วิธีหลบไป อันนี้จริงหรือไม่อยากวอนถามผู้รู้
แตอย่างคุณชัชว่าเขาอาจหมายถึงถึงความยิ่งใหญ่ของกู่ฉินว่ามันน่าเกรงขาม และงดงามเมือ่ประสานกับ กายปัญญา และใจ
โดย: ธุลีดิน IP: 124.121.99.153 วันที่: 4 มกราคม 2552 เวลา:16:46:01 น.
  
ที่ว่าขงเบ้งดีดไล่มันก็จริงส่วนไม่จริงส่วนแล่ะครับจริงก็คือตอนนั้นที่สุมาอี้ยกทัพมาขงเบ้งหาวิธีแก้ไข้เอากู่ฉินมาดีดที่เชิงเทินคือขงเบ้งให้เปิดประตูเมืองตามปกติเหมือนไม่มีศึกอะไรเมื่อสุมาอี้ยกทัพมาก็เห็นประตูเมืองเปิดแต่เปิดแล้วไม่มีทหารออกมามีแต่คนใช้ชีวิตปกติดีเหมือนไม่มีอะไรก็มองขึ้นไปบนเชิงเทินเห็นขงเบ้งเล่นกู่ฉินอย่างมีความสุขก็เห็นว่าเป็นกลอุบายเป็นแน่ก็เลยถอยทัพหนีเพราะกลัวเป็นอุบายนึกแล้วเหมือนเสี่ยงตายเลยยังไงไม่รู้
โดย: แจมอยู่เรื่อย IP: 125.25.37.239 วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:20:42:45 น.
  
ผมก็รู้ว่ามันก็เป็ฯส่วนจริงนะแต่ผมว่าความยิ่งใหญ่ของกู่ฉินว่ามันน่าเกรงขาม และงดงามเมื่อประสานกับ กายปัญญา และใจเป็นที่เขาว่าก็หน้ายกย่อง
โดย: ขอแจมคุณแจมอยู่เรื่อย IP: 113.53.8.172 วันที่: 21 มกราคม 2552 เวลา:21:45:00 น.
  
เค้าสรุปกันนานแล้วเค้าว่าเรื่องแต่ง

ตอนนั้นสุมาอี้อยู่คนละที่ ห่างกับที่ขงเบ้งอยู่เป็นพันลี้
มีชินคันเซ็นก็มาไม่ทัน
นี่ผมฟังบรรยายนของท่าน ศ. อี้จงเทียน ผู้เชี่ยวชาญสามก๊กแห่งเมืองจีนครับ

โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 29 มกราคม 2552 เวลา:14:51:13 น.
  
ย้อนอดีตดูเถอะนะแต่ยังไงสามก๊กก็เติมแต่งดังท่านชัชว่าแต่สามก๊กก็คือศิลปะสวยงามเชดเช่นกู่ฉินอิอิ
โดย: อิอิ IP: 125.25.41.151 วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:20:29:10 น.
  
รบกวนที่อยู่ อ.ชัชชล ค่ะ อยากเรียนกู่ฉินมากค่ะ
โดย: ใบหลิว IP: 1.179.146.145 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2557 เวลา:13:15:15 น.
  
รบกวนที่อยู่ อ.ชัชชล ค่ะ อยากเรียนกู่ฉินมากค่ะ
โดย: ใบหลิว IP: 1.179.146.145 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2557 เวลา:13:15:41 น.
  
ผมก็เป็นอีกคนที่ชอปกู่ฉินมากครับ เคยไปชื้อที่เมืองจีนมาหนึ่งอัน แต่ภายหลังถึงรู้ว่าไม่ดี เพราะตอนแรกดิดไม่เป็น หลังจากฝึกเองได้พักหนึงตอนนี้ผมดิด หยาง กวน ซาน เตี๋ย ได้แล้วครับ
โดย: สันติ IP: 1.47.164.126 วันที่: 20 สิงหาคม 2559 เวลา:16:55:29 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Guqin.BlogGang.com

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด