กู่ฉินกับข้อถกเถียงของนักวิชาการ
เมื่อวานนี้ผมได้อ่านไปเจอหัวข้อหัวข้อหนึ่งในหนังสือชื่อ "กู่ฉิน" ของ องการยูเยสโก
เกี่ยวกับวิวัฒนาการของกู่ฉินในช่วงก่อนราชวงศ์ฮั่นว่า กู่ฉินในสมัยนั้นมีรูปทรงที่แตกต่างกับรูปทรงที่เราเห็นกันในปัจจุบันมาก ทำให้นักวิชาการหาจุดเชื่อมต่อกับกู่ฉินที่เราเห็นในปัจจุบันแทบไม่ได้เลย


กู่ฉินสมัยชุนชิว มีสิบสาย


กู่ฉินในสมัยชุนชิว มีเจ็ดสาย


กู่ฉินสมัยซีฮั่น มีเจ็ดสาย


รูปฉินข้างต้น ถึงแม้จะเรียกว่าฉินเหมือนกัน
แต่เนื่องจากลักษณะทางกายภาพไม่สามารถหาจุดเชื่อมโยงกับกู่ฉินที่เราเห็นในปัจจุบันได้
นักวิชาจึงเรียกฉินประเภทนั้นว่า "ฉินประเภทเฉพาะ" ไม่ใช่ "กู่ฉิน"


ข้อแตกต่างของ "ฉินประเภทเฉพาะ" กับ "กู่ฉิน"

๑. ความยาว "ฉินประเภทเฉพาะ" จะสั้นกว่า "กู่ฉิน" มาก ยาวที่สุดก็ยังสั้นกว่าเกือบครึ่งของกู่ฉิน
๒. หน้าของ "ฉินประเภทเฉพาะ" ไม่เรียบเสมอทั้งตัว แสดงว่าวิธีการบรรเลงสมัยนั้นค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อน การบรรเลงนอกจากการดีดสายเปล่าและกดสายแล้ว ไม่สามารถบรรเลงเทคนิคการเลื่อนมือได้เลย
๓. "ฉินประเภทเฉพาะ" ไม่มี "ฮุย" บอกตำแหน่งเสียง
๔. หมุดตั้งสายของ "ฉินประเภทเฉพาะ" อยู่ในตัว ถ้าจะตั้งสายต้องเปิดท้องออก
๕. มีขากระสาขาเดียว สายทั้งหมดรั้งไว้ที่ขาขาเดียว
๖. ไม่มีสระหงส์ สระมังกร
๗. แผ่นท้องของ "ฉินประเภทเฉพาะ" จะสั้นกว่าแผ่นหน้า และยังไม่ประกบตาย สามารถขยับได้ ส่วนที่ประกบอาศัยเป็นกล่องเสียงสะท้อนช่วยในการบรรเลง
ส่วนหางที่ยื่นออกไปเป็นแค่ไม้ท่อนธรรมดา

จะเห็นได้ว่า "ฉินประเภทเฉพาะ" กับ "กู่ฉิน" มีความแตกต่างอย่างมาก และอีกทั้งคุณภาพเสียงที่ได้ก็ยังแย่มาก เพราะเสียงสะท้อนแทบไม่เกิดขึ้นเลย


กู่ฉินที่เราเห็นได้ในปัจจุบัน


ไม่ว่าจะใช้กระบวนการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือดนตรีมาชี้ชัดความสัมพันธ์ระหว่าง "ฉินประเภทเฉพาะ" กับ "กู่ฉิน" ก็ตาม
แต่สุดท้ายนักวิชาการก็ฟันธงว่า กู่ฉิน" ที่เราเห็นกันในทุกวันนี้ไม่ได้มีวิวัฒนาการมาจาก "ฉินประเภทเฉพาะ" แน่นอน

แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจ เพราะราชวงศ์ซีฮั่น มีอายุเพียงหกร้อยหว่าปี แล้วจึงต่อด้วยราชวศ์จิ้น ไม่น่ามีความแตกต่างของศิลปะได้มากมายขนาดนั้น ไม่เพียงแต่กู่ฉินเท่านั้น ตุ้มหูในสมัยนั้น กับเอกสารภาพวาดซึ่งอยู่ในยุคไกล้ๆกัน ก็มีความแตกต่างทางศิลปะเป็นอย่างมาก

กู่ฉินที่เราเห็นกันทุกวันนี้เริ่มมีหลักฐานปรากฎในสมัยฮั่นตอนปลายแล้ว
(เหมือนกับในละครสามก๊กที่ขงเบ้งดีดบนกำแพงแบบนั้นเลย ไม่รู้ว่าทีมอาร์ทศึกษามาดีหรือฟลุค) รูปเจ็ดเมธีในป่าไผ่ในสมัยฮั่นตอนปลายก็มีรูปวาดจีคังดีดกู่ฉินที่มี "ฮุย" แล้ว

ทำไมว่าเวลาหกร้อยปีกับการเปลี่ยนแปลงมากมายขนาดนี้เป็นระยะเวลาที่สั้นมากสำหรับ "ฉิน"
ก็เพราะว่าตั้งแต่สมั้ยฮั่นลงมาจนถึงปัจจุบันเป็นพันพันปี "ฉิน" ไม่เปลี่ยนรูปร่างเลย
โอ้ว

ทำให้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นักวิชาการยังงุนงงมาก ถึงการขาดตอนของประวัติศาสตร์ทางศิลป์ว่า ไม่น่าเกิดขึ้นได้

แล้วกู่ฉินที่เราเห็นกันทุกวันนี้ มาจากไหนละเนี่ย???





Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2551 8:38:26 น.
Counter : 1370 Pageviews.

7 comments
Jeff Satur - ซ่อน (ไม่) หา l Ghost peaceplay
(13 เม.ย. 2567 10:05:38 น.)
ถนนสายนี้มีตะพาบ ประจำหลักกิโลเมตรที่ 349 : วันใดที่เธอรู้สึกเหมือนไม่มีใคร โปรดมองมาทางนี้ ฯ The Kop Civil
(10 เม.ย. 2567 16:44:58 น.)
HONNE - la la la that’s how it goes (dream edit) peaceplay
(7 เม.ย. 2567 09:56:22 น.)
John Mayer - You're Gonna Live Forever in Me peaceplay
(7 เม.ย. 2567 09:50:38 น.)
  
มาขอแบ่งปันความรู้ค่ะ
โดย: รัตตมณี (kulratt ) วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:9:49:30 น.
  
New Casle 1- 0 Middlebole...

ขอรายงานสถานะการณ์
โดย: มหาสำลี วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:08:09 น.
  
จากเรื่องที่ดูจะมีร่องรอยเบาะแสอยู่บ้าง
กลายเป็นปริศนาดำมืดไปซะแล้ว
เห็นทีจะต้องพึ่งคินดะอิจิ ฮาจิเมะ มาช่วยไขปริศนาซะแล้ว
ดูซิว่าคราวนี้จะเอาชื่อคุณปู่เป็นเดิมพัน จน "ปริศนาทั้งหมดไขกระจ่างแล้ว" ได้หรือไม่
โดย: ณัฐ IP: 124.121.11.219 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:18:39 น.
  
แวะมาอ่าน ค่ะ
ได้ความรู้ดีจังค่ะ ขอบคุณค่ะ
โดย: whitelady วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:19:48 น.
  
รู้ที่มาของชื่อจขบ.แล้ว อิอิ
เชยไปมั้ยเนี่ยเรา
โดย: ดอกคูณริมฝั่งโขง วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:56:57 น.
  
emoemoemo
<
<
ตื่นได้เเล้วจ้า วันนี้วันจันทร์

ปล. ตกลงบอลเสมอคุณชัช 1-1
โดย: มหาสำลี วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:5:34:25 น.
  
เครื่องดนตรี
ก็เหมือนประวัติศาสตร์
มันมีมุมที่เปิดเผยและลึกเร้น


ถ้าเปิดหมด
เสน่ห์บางอย่างคงหายไป

โดย: ก๋าคุง (กะว่าก๋า ) วันที่: 12 ตุลาคม 2551 เวลา:7:34:01 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Guqin.BlogGang.com

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด