กู่ฉินและความอิสระแบบมีกรอบ และข่าวดีนิดนึง
สำหรับคนที่ฟังกู่ฉินมาซักระยะแล้ว อาจพบว่ากู่ฉินเป็นดนตรีที่จับจังหวะได้ยาก
นั่นเพราะว่าจริงๆแล้ว มันไม่มีจังหวะที่ตายตัวนั่นเอง
ทำไมบางเค้าเราฟังคนนี้เพราะ แต่กลับฟังอีกคนนึงไม่เพราะ ทั้งๆที่เป็นเพลงเดียวกัน
นั่นก็เพราะว่า รูปแบบการนำเสนอที่แตกต่าง จากความเข้าใจของแต่ละคนไม่เมือนกัน
ปรมาจารย์หลายท่านบอกว่า เพลงเดียวกัน ร้อยคนเล่น ก็กลายเป็นร้อยเพลงได้
ตรงนี้เองทำให้หลายคนเข้าใจว่า กู่ฉินเป็นดนตรีที่อิสระแบบไร้ขอบเขต

แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันแอบมีกรอบของวัฒนธรรมที่มองไม่เห็นอยู่อย่างชัดเจน

อย่างแรกที่ทำให้เรารู้ได้คือ กู่ฉิน เป็นเครื่องดนตรีจีน
แน่นอนว่าสิ่งที่นำเสนอออกมา ก็คือแนวคิดแบบจีนเท่านั้น
หลายคนอยากเคยได้ยินคำว่า ดนตรีเป็นภาษาสากล ผมไม่เห็นด้วยในบางกรณี
อาทิ เครื่องดนตรีที่มีความเข้มข้นของอารยธรรมเช่นกู่ฉินเป็นต้น

อย่างที่สองแตกมาจากประเด็นแรก กู่ฉิน ใช้ระบบบันไดเสียงเพนทาโทนิค
หรือระบบบันไดห้าเสียงเป็นหลัก คือ กง ซาง เจวี๋ย จื่อ อวี่ (เท่ากับ ด ร ม ซ ล)
มีการใช้ฟาและทีบ้างบางครั้ง แต่ไม่มาก
ซึ่งระบบเสียงนี้ เป็นระบบที่ดนตรีจีนใช้มานานกว่าสามพันปี
หลายคนเข้าใจว่าดนตรีจีนมีเสียงแค่ห้าเสียง ไม่เจริญเท่าฝรั่ง
ที่จริงแล้ว ดนตรีจีนมีระบบโครมาคิตหรือระบบสิบสองเสียงมานานแล้ว
จากระฆังราวโบราณ ที่ขุดค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ สามารถบรรเลงสากลได้สบาย
แล้วมีสิบสองเสียง ทำไมไม่ใช้ให้ครบหล่ะ
คนจีนมีความเชื่อเกี่ยวกับระบบห้าเสียง ว่าเทียบเท่าได้กับจริยธรรมทั้งห้า ธาตุทั้งห้า เป็นต้น
ซึ่งระบบสิบสองเสียง มีใช้ไว้สำหรับเปลี่ยนคีย์เพลงตามโอกาศใช้งานเท่านั้น

อีกอย่าง สำหรับคนที่ฟังกู่ฉิน ถ้าลองสังเกตุดีๆ
จะพบว่ารูปแบบการดำเนินเพลงของกู่ฉินนั้น
คล้ายกับคนพูดเป็นอย่างมาก!
และนี่คือข้อได้เปรียบของคนไทย
เพราะกู่ฉินคือเพลงโบราณ เป็นเพลงที่มีโครงสร้างมาจากภาษาจีนโบราณ
และภาษาจีนโบราณ ดันคล้ายกับภาษาไทยปัจจุบันซะนี่
(จากคำบอกเล่าของนักวิชาการไทยหลายท่าน ประสบการณ์การเรียนภาษาจีนโบราณของผม
และลูกศิษย์หลายคนที่อ่านจีนไมาออกซักคำ แต่สามารถแบ่งประโยคเพลงได้อย่างดี)
จุดนี้ เป็นข้อได้เปรียบของชาวต่างชาติที่สนใจดนตรีกู่ฉินเป็นอย่างมาก
ผมเองเคยฟังฝรั่งเล่นกู่ฉินมาพอสมควร
แต่ยังไม่พบคนที่แสดงออกแบบหลีกหนีจากวัฒนธรรมตะวันตกได้เลย
เน้นย้ำว่า ผมกำลังพูดถึงเรื่องความได้เปรียบ ไม่ได้บอกว่าใครจะเล่นได้ดีกว่าใคร
เดี๋ยวจะหาว่ายกยอคนไทยกันเอง

จากแนวคิดเล็กน้อยของผมเล็กน้อยข้างต้น
ทำให้เราเห็นได้ว่า การเรียนกู่ฉินนั้นให้ได้ผลที่ดีนั้น
ควรศึกษาวัฒนธรรมจีนอื่นๆด้วย เพื่อเป็นตัวช่วยในการเข้าใจบทเพลง
และจะทำให้เราสามารถแสดงออกในรูปแบบของตัวเองได้อย่างชัดเจน

"การที่บรรเลงกู่ฉินได้อย่างไพเราะ แต่ไม่เข้าถึงเนื้อหา
ก็ไม่ต่างกับเด็กน้อยที่ท่องจำบทเรียนแบบนกแก้วนกขุนทอง"

สำหรับคนจีนเอง ตอนนี้มีกระแสการสอบวัดระดับและการแข่งกันกู่ฉินที่ค่อนข้างมาแรง
ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่า คนที่เล่นเพลงยาก เรียนกับปรมาจารย์ คือคนที่เล่นเก่งจริงๆ
ทีนี้ย้อนกลับไปที่รูปแบบเพลงกู่ฉินที่แท้จริง เราพบว่ามันคือความเรียบง่าย
และตรงนี้เองที่แสดงออกว่าเพลงที่ง่ายๆ สั้นๆ ช้านั่นแหล่ะ คือความยากที่แท้จริง!

ลูกศิษย์ผมคนหนึ่ง เรียนปริญญาโท เอกดนตรีวิทยาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร
ใหคำจำกัดความสำหรับคนที่ให้ความสำคัยด้านเทคนิค มากกว่าแนวคิดว่า
"พวกเสมียน"
หมายถึง นักดนตรีที่ซ้อมดนตรีมาก ซ้อมหนักอย่างเดียว ไม่คิดอย่างอื่น
คิดว่าเล่นมากๆจะเก่ง แสดงได้ อวดได้
สำหรับคนที่เล่นดนตรีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอะไรก็ตาม ลองสำรวจตัวเองสิครับ
ว่าตัวเองเป็นพวกไหน

การกรอบของดนตรีกู่ฉินเท่าที่ผมคิดได้ข้างต้น
คงทำให้หลายคนได้รู้จักกู่ฉินมากขึ้น
สำหรับคนที่มีคำถามอื่นๆหรือมีข้อเสนอแนะอื่นๆ
ก็สามารถแสดงความเห็นได้อย่างอิสระเลยครับ

ปิดท้ายด้วยเพลง กว่างหลิงส่าน
ถ่ายโดย อ. ท่านหนึ่ง (ไม่แน่ใจใครถ่าย)
เมื่อครั้นที่ผมไปบรรยายที่ศิลปากรเมื่อไม่นานมานี้ครับ
ใครฟังเพลงนี้บ่อยจะรู้ว่าผมเล่นผิดเยอะมาก
ขอยอมรับแต่โดยดี เพราะช่วงนั้นไม่ได้เล่นกู่ฉินนานมาก
อีกทั้งอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ(รุ่นใหญ่)และนักศึกษาที่นั่น
ถามคำถามเป็นปืนกล และแต่ละคำถามโหดทั้งนั้น
แต่ก็จบได้ด้วยดี สนุกมากจริงๆวันนั้น
และเล่นปิดท้ายด้วยเพลงนี้ ในภาวะสมองไกล้ตาย

ขออำภัย





ขอนอกเรื่องซักนิด


ปัจจุบันนี้คนไทยเริ่มๆทยอยศึกษากู่ฉิินกันมากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งก่อนที่ผมจะเริ่มศึกษากู่ฉินนั้น มีอาจารย์มหาลัยหลายท่านและบุคคลทั่วไปเรียนกู่ฉินมาพอสมควร ตอนนี้เท่าที่ทราบโดยคร่าวๆ ก็อาจจะมีคนเล่นกู่ฉินมากกว่าสิบคนแล้ว
ซึ่งไม่ตรงกับเอกสารที่แจกในงานเสวนาสามก๊ก ของ สนพ หนึ่งในงานหนังสือเร็วๆนี้
เอกสารแจ้งว่า คุณ...(ไม่ทราบรายละเอียด)เป็น หนึ่งในสอง ของคนที่เล่นกู่ฉินได้ในเมืองไทย ซึ่งผมไม่ทราบว่าใครเป็นคนให้ข้อมูล แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผมก็ไม่กล้าฟันธงว่าเอกสารนั้นจริงแท้แน่นอนอย่างไร เพราะตัวผมไม่ได้เป็นคนเห็นเอกสารด้วยตนเอง แต่มีผู้ที่สนใจกู่ฉินด้วยกัน มาเล่าสู่กันฟังเท่านั้น ถ้า สนพ. ดังกล่าวมาพบบทความนี้เข้า รบกวนขอความระวังในจุดนี้ซักเล็กน้อยครับ ผมไม่เสียหายแต่ไม่อยากให้ อ.ผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นๆถูกลืมเท่านั้นครับ


แจ้งข่าวดีล่วงหน้า
ตอนนี้ผมกำลังขยายห้องสอนและฟังดนตรี ออกแบบราชวงศ์ฮั่นถังประยุกต์
อาจจะจุได้สิบยี่สิบคน เมื่อห้องเสร็จ จะเปิดห้องด้วยการชุมนุมกู่ฉินครั้งแรก
เป็นการบรรเลงประกอบการบรรยาย
คากว่าคงไม่เกินสามเดือน สำหรับท่านที่สนใจ ขอเชิญมาร่วมฟังได้เลยครับ
มีชาจีนรับรอง และไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นครับ
(บริจาคได้นะ สงสารผมเถอะ ฮ่าๆๆ)
แล้วจะแจ้งข่าวมาอีกครั้ง

ชัชชล ไทยเขียว














Create Date : 10 เมษายน 2554
Last Update : 12 เมษายน 2554 21:14:33 น.
Counter : 1491 Pageviews.

9 comments
ถนนสายนี้มีตะพาบ ประจำหลักกิโลเมตรที่ 349 : วันใดที่เธอรู้สึกเหมือนไม่มีใคร โปรดมองมาทางนี้ ฯ The Kop Civil
(10 เม.ย. 2567 16:44:58 น.)
I Will Whisper Your Name - Michael Johnson ... ตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 349 tuk-tuk@korat
(9 เม.ย. 2567 13:36:56 น.)
โจทย์ถนนสายนี้มีตะพาบหลักกิโลเมตรที่ 349 โจทย์โดยคุณ กะว่าก๋า สมาชิกหมายเลข 3902534
(9 เม.ย. 2567 15:31:45 น.)
:: ถนนสายนี้มีตะพาบ โครงการที่ 349 :: กะว่าก๋า
(8 เม.ย. 2567 05:48:36 น.)
  
หวัดดีครับชัช

ดีใจที่ได้อ่านอะรัยดีๆ สังเกตมานานแล้วว่าจังหวะของกู่ฉินนั้นยากจริงๆ
แต่พอมาทราบว่าเป็นอิสระ . . . ก็แปลว่าเล่นยังงัยก็ไม่ผิด ก็ดีนิ

ระบบห้าเสียงเนี่ยผมว่าคนตะวันออกจะคุ้นมาก
ไม่ทราบหรอกว่าไปอิงธาตุทั้ง 5 . . เคยกินแต่ยาธาตุ 4 ตรากิเลน 555+
เห็นด้วยกับชัชมากๆคือเพลงง่ายๆสั้นๆช้าๆ . . เล่นให้เพราะยากที่สุด

ฟังชัชเล่าแล้วชักอยากรู้ว่า . . คำถามโหดๆน่ะ โหดยังงัย
แต่ระดับชัชแล้วคงไม่จนอยู่แล้ว

ยินดีจังที่ชัชจะเปิดห้องชุมนุม ขอไปร่วมฟังด้วยละกัน . . ฟังอย่างเดียวเท่านั้นนะครับ
อ้อ . . ขอจิบน้ำชาด้วย ช่วยสองบาท 55555+

ขอบคุณสำหรับก๋องเหล็งสานเวอร์ชั่นสดในไทย แจ๋วมากครับ!

ฝากคิดถึงคุณกุ๊กไก่ด้วย ไม่ค่อยได้เจอกันนานแล้ว ^ ^


โดย: Dingtech วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:12:07:50 น.
  
อ่านบล็อคแล้วก็ยิ่งรู้สึกว่า กู่ฉินเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากทีเดียว แต่เราว่า แค่ฟังว่าเพราะก็โอเคแล้วเนอะ

อ่านหลังไมค์ด้วยค่า
โดย: haiku วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:22:13:32 น.
  
ไอ้คนๆ นั้นก็คือพี่เองแหละครับ ออกชื่อได้ไม่เสียหายอะไร
คงจะสื่อสารกันผิดพลาด วันนั้นพี่ให้ข้อมูลไปว่าในเมืองไทยพี่รู้จักที่เล่นได้และกำลังเล่นแน่ๆ อยู่สองคน คือตัวเองกับชัช
กลายเป็นเขาไปฟันธงว่า "เมืองไทยมีคนเล่นได้สองคน" ซะงั้น
อาจจะอยากให้ฟังดูดึงดูดละมั้ง
ที่จริงพี่ก็เคยได้ยินมาจากชัชเองนี่แหละว่าอาจารย์ธรรมศาสตร์สองท่านก็เล่น อาจารย์จินตนาที่จุฬาเล่น แต่ตอนนี้ไปอยู่อเมริกาแล้วไม่ได้อยู่ในไทย อาจารย์ก้อยก็เล่น แต่ที่ไม่กล้าเอ่ยถึงแต่ละท่านเพราะไม่ทราบว่ากำลังเล่นอยู่หรือเลิกไปแล้ว (ก็อุตส่าห์บอกไปแล้วนะว่า "ที่รู้จัก")
โดย: ณัฐ วัชรคิรินทร์ IP: 110.169.180.182 วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:21:22:53 น.
  
ที่แท้ก็คนรู้จักนี่เอง
เดิมชัชก็คิดอยู่ว่าถ้าเป็นพี่นัทคงไม่ให้ข้อมูลพลาดแน่ๆ ก็เลยสงสัยว่าเป็นคนอื่น ทั้งคนที่มาบอกก็จำชื่อไม่ได้ด้วย เลยไม่ได้เขียนไป เป็น... ละไว้ เพราะจริงๆก่อนที่เราจะศึกษากู่ฉิน ต่างก็รู้อยู่แล้วว่ามีคนศึกษามาไม่น้อย เห็นทีจะเป็นความประมาทของคนจัดการจริงๆ ซึ่งก็ไม่น่าให้อภัยมากๆ
เรื่องแบบนี้เจอบ่อยครับ ในงานกู๋ฉิน เพลงพิณมรดกโลก คนเขียนใบแนะนำ ก้ดันไปบอกว่าลุงเรืองรอง รุ่งรัศมี สะสมกู่ฉินไว้หลายตัว ทั้งๆที่แกมีแต่ซีีดี
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:21:33:59 น.
  
พวกนี้เวลาเราให้ข้อมูลอะไรไป พอจะเขียนลงเขามักจะไม่ให้เราตรวจดูก่อนครับ พอออกมาอีกที บางครั้งงงเลย ชอบเล่าคำพูดเราแบบผิดๆ
งงอีกอย่าง เรื่องเล่นกู่ฉินได้จะเอาลงทำไม วันนั้นไปพูดเรื่องไซอิ๋ว คนละเรื่องอย่างแรง ถามมาเรื่องกู่ฉินก็ตอบไปอย่างงั้นเอง
โดย: ณัฐ วัชรคิรินทร์ IP: 110.169.180.182 วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:21:37:03 น.
  


ขอให้ชัชมีความสุขมากๆในวันหยุดยาวครับ
โดย: Dingtech วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:21:41:04 น.
  
ไม่ไหวจริงๆ ทีมงานมีปัญหา พาเอาคนอื่นเสียชื่อไปด้วยนี่

ต่อไปถ้ามีงานแสดงอะไร สงสัยต้องตรวจเอง พิมพ์เอง
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:21:48:43 น.
  


แวะมาสาดน้ำสงกรานต์กับคุณชัชค่า ขอให้เย็นกาย เย็นใจไปตลอดปี สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ ^_^
โดย: haiku วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:11:41:59 น.
  
สวัสดีปีใหม่ไทยครับ
โดย: คนขับช้า วันที่: 15 เมษายน 2554 เวลา:21:57:24 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Guqin.BlogGang.com

กู่ฉิน
Location :
Beijing  China

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

บทความทั้งหมด