วิชาพฤติกรรมศาสตร์(Behavioral Science) ถือว่าแรงจูงใจ (Motive) เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ ในทางอาชญาวิทยา ก็มักค้นหาเบาะแสของคดีด้วยการวิเคราะห์แรงจูงใจซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรม ของผู้ต้องหาด้วยเช่นกัน การค้นพบแรงจูงใจของผู้ต้องหาไม่เพียงแต่เป็นกุญแจสำคัญที่ใช้ประเมินความสมเหตุสมผลของพฤติกรรมเท่านั้นแต่ยังสามารถใช้เป็นการเชื่อมโยงกับผู้เกี่ยวข้องที่มีแรงจูงใจประเภทเดียวกันด้วย...
ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ได้ปรากฎพฤติกรรมกลุ่ม ที่มีทิศทางเดียวกันคือ การเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อขับไล่นายกทักษิณ ให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกลุ่มพันธมิตร กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย กลุ่มสื่อมวลชน และกลุ่มพรรคฝ่ายค้าน ด้วยวิธีการที่ขัดกับครรลองของระบอบประชาธิปไตย กฎ กติกา ตลอดจนไม่ใยดีต่อกฎหมายของบ้านเมือง......แรงจูงใจของพฤติกรรมกลุ่มเหล่านี้ก็คือการแสดงความไม่พอใจต่อนายกทักษิณ ต้องการให้พ้นจากตำแหน่งและมีนายกพระราชทานเข้ามาแทนที่ด้วยเส้นทางของมาตรา 7 หวังว่าเมื่อการเมืองปลอดจากนายกทักษิณแล้ว พวกเขาจะสามารถเข้าไปบริหารจัดการอำนาจรัฐตามความประสงค์ของพวกเขาได้....ซึ่งถือเป็นความคุ้มค่าทางการเมืองที่พวกเขาได้ลงเรี่ยวลงแรงลงไป.....
กล่าวสำหรับพรรคพระชาธิปัตย์ นอกจากจะมีแรงจูงใจร่วมกับกลุ่มการเมืองอื่นๆแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ยังมีแรงจูงใจที่จะทำลายไทยรักไทยและนายกทักษิณที่รุนแรงกว่ากลุ่มอื่นอีกเป็นทวีคูณ ประการที่หนึ่งเพื่อชำระแค้นที่ทำให้ตนพ่ายแพ้การเลือกตั้งซ้ำซากตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ประการที่สอง การล่มสลายของ ทรท.และการหลุดจากสารบบการเมืองของนายกทักษิณถือเป็นการขจัดอุปสรรคทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ ประการที่สาม หากพรรคประชาธิปัตย์สามารถคืนสู่อำนาจโดยกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลในฐานะอัศวินฝ่ายเทพ ผู้ปราบมารในสายตาของสื่อมวลชน ถือเป็นรางวัลสูงสุดที่แลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด
ด้วยเหตุนี้ ในห้วงเวลาที่การต่อต้านและขับไล่นายกทักษิณพุ่งขึ้นสู่กระแสสูง พรรคประชาธิปัตย์ได้แสดงความกระตือรือล้น กระเหี้ยน กระหือรือ เอาการเอางาน มากที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ประหนึ่ง "ฉลามได้กลิ่นเลือด" หากลำดับพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ในห้วงเวลาดังกล่าวจะเห็นภาพต่อเนื่องดังนี้.. ก่อน กุมภาพันธ์ 2549 ก่อนยุบสภา พรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้เวทีสภาผู้แทนราษฎร อภิปราย ประเด็นหุ้นชินคอร์ป อย่างเผ็ดร้อน คู่ขนานไปกับการเปิดประเด็นต่อสื่อมวลชน ตรวจสอบธุรกรรมการขายหุ้นชินครั้งนี้อย่างอึกทึกครึกโครม ทั้งนี้ภายใต้การกำกับอย่างเอาการเงานของ กรณ์ จาติกวนิช แต่แล้วก็วืดด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จนต้องเบนประเด็น ให้เป็นเรื่องของความบกพร่องทางจริยธรรม
ปลายกุมภาพันธ์ 2549
เมื่อยุบสภากำหนดวันเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค เสนอข้อแลกเปลี่ยนกับการให้ลงเลือกตั้งด้วย ลงนามในสัตยาบรรณ 3 รุม 1 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ ทรท.เสนอให้เป็นสัญญาประชาคมและเชิญพรรคการเมืองอื่นๆ มาร่วมหารือด้วย แต่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ก็เลือกที่จะคว่ำบาตรการเลือกตั้ง อ้างเหตุผลว่าไม่อยากฟอกตัวให้นายกทักษิณ แทนการอธิบายว่า ตนจะทำให้การเมืองเข้าสู่ทางตันหวังขอนายกพระราชทาน ผ่านมาตรา 7...น่าสังเกตอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงเวลานี้ นำโดยหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค มีการประชุมพรรค และมีมติพรรคผูกพันการกระทำดังกล่าวด้วย ส่วนกรรมการบริหารพรรค เช่น สุวโรช พลัง, สาธิต วงศ์หนองเตย, วิทยา แก้ว ภาราดัย ล้วนไปปรากฎตัว ในที่ชุมนุมของพันธมิตร และมีปฎิสัมพันธ์กับแกนนำของพันธมิตรอย่างออกนอกหน้า...ข่าวทางลึกระบุว่านักการเมือง ปชป.เป็นผู้จัดการและให้ค่าใช้จ่ายเพื่อขนคนมาร่วมชุมนุมกับพันธมิตรหลายครั้ง
มีนาคม-เมษายน 2549
เมื่อตัดสินใจเดินหน้าคว่ำบาตรการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์แบ่งงานออกเป็น 4 สาย สายแรก นำโดยสุวโรช ทำหน้าที่เฝ้า กกต. และขัดขวาง ข่มขู่พรรคเล็กไม่ให้ลงเลือกตั้ง เปิดโปงพรรคเล็กในเรื่องความไม่พร้อมเรื่องเอกสาร เปิดโปงเจ้าหน้าที่ กกต.ว่าให้ความร่วมมือพรรคเล็กแก้ไขข้อมูล สายที่สอง นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ หาหลักฐาน สร้างหลักฐาน เพื่อตั้งข้อหาว่า ทรท.จ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้งเพื่อให้พ้นเกณฑ์ 20 % จึงทำให้เกิด กรณีนางฐัติมา(เจี้ยบ) และ กรณี ไทกร และกรณี นายทวี ที่ออกมาเปิดโปง เบื้องหลังการถ่ายทำ ภาพวงจรปิดที่กระทรวงกลาโหม สายที่สาม นำโดยหัวหน้าพรรค มาร์ค ม. 7 เปิดเวทีอิปรายทั่วประเทศเพื่อ เปิดโปงระบอบทักษิณและรนณรงค์ NO VOTE สายที่สี่ ขัดขวางการลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคเล็กโดยเน้นพื้นที่ภาคใต้
25 เมษายน 2549
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทต่อ บุคลากรฝ่ายตุลาการแล้ว...ข้อเรียกร้องขอนายกพระราชทานผ่านเส้นทางมาตรา 7 เป็นอันต้องพับไป บทบาทการคลี่คลายสถานการณ์ทางการเมืองจึงไปอยู่ในอำนาจฝ่ายตุลาการเต็มร้อย
ปลายเดือน เมษายน 2549 พรรคประชาธิปัตย์ยื่นเรื่องให้ศาลปกครอง พิจารณาชลอการเลือกตั้งวันที่ 28 เมษายน 2549 ที่เหลืออีก 18 เขตเลือกตั้งในภาคใต้ และศาลปกครองก็พิพากษาให้เป็นไปตามคำขอของพรรคประชาธิปัตย์
ต้นเดือน พฤษภาคม 2549
ศาลรัฐธรรมนูญ พิพากษาให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 และการเลือกตั้งซ่อมหลังจากนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และให้ กกต.หารื่อกับพรรคการเมืองเพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่..
หลังจากเหตุการณ์นี้ เป้าหมายของพรรคประชาธิปัตย์ มุ่งไปที่การกดดันให้ กกต.ลาออกซึ่งประสานเสียงกับเลขาฯศาลฎีกา พร้อมๆกับการเปิดประเด็นจ้างพรรคเล็ก ของทรท. ประสานเสียงกับอนุกรรมการ ที่มีนาม ยิ้มแย้มเป็นประธาน และชงเรื่อง เขียนสำนวนโดยมีเป้าหมายเพื่อยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นธงและความปราถนาร่วมกันของฝ่ายต่อต้านนายกทักษิณ ทั้งนี้ภายใต้การโหมกระหน่ำของสื่อมวลชนอย่างเอาการเอางาน
ส่วนพรรคไทยรักไทย แก้เกมโดยตั้งข้อหา 6 ข้อ และยื่นเรื่องให้ กกต. สอบสวนพรรคประชาธิปัตย์ จนเป็นสำนวนคดี ที่ได้ส่งให้ อัยการสูงสุด พิจารณาส่งฟ้องศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไป
เป็นที่น่าสังเกตุว่า....ตั้งแต่ยุบสภาเป็นต้นมา พรรคประชาธิปัตย์ มีท่วงท่าที่หันหลังให้กับการเลือกตั้ง และไม่ใยดีต่อการเร่งรัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้การเมืองกลับไปสู่สภาพปกติโดยเร็ว....อีกทั้งแอบหวัง ว่าวันที่ 15 ตุลาคม 2549 จะไม่มีการเลือกตั้ง(การให้สัมภาษณ์ของ สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค).....ราวกับระแคะระคายได้ว่า จะมีอำนาจอื่นเข้ามาแทรกแซงและบริหารประเทศในช่วงเวลาก่อน วันที่ 15 ตุลาคม 2549
ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พฤติกรรมและเป้าหมายทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ได้ชี้เจตนา และบ่งบอกถึงแรงจูงใจทางการเมืองชัดเจน เป้าหมายคือ โค่นล้มรัฐบาลที่บริหารโดยพรรคไทยรักไทยภายใต้ข้ออ้างว่าล้มระบอบทักษิณ ด้วยวิธีการ ล้มการเลือกตั้ง รณรงค์ โนโหวต ขอนายกพระราชทานผ่านมาตรา 7.....มันเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะพิสูจน์ตนเองให้ศาลเชื่อนั้นอาจดูเหมือนไม่ยาก ...แต่การอธิบายให้ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อนั้นยากยิ่ง แม้พรรคประชาธิปัตย์จะรอดพ้นจากการยุบพรรค แต่ประวัติศาสตร์จะจารึก พฤติกรรมอัปยศนี้ไป ชั่วกับชั่วกัลป์..... กล่าวสำหรับนัการเมืองพรรคเล็ก....
พรรคประชาธิปัตย์ได้ชี้นำ ประสานกับสื่อมวลชนช่วยสร้างกระแสว่า แรงจูงใจของพรรคเล็กคือ ค่าจ้างจากพรรคไทยรักไทย คนจำนวนมากละเลยที่จะคิดถึงแรงจูงใจที่เขาตั้งพรรคการเมืองเพื่อเข้ามามีบทบาททางการเมืองในขอบเขตที่เขาหวังได้ และคนจำนวนมากมิได้คิดว่า การที่พรรคฝ่ายค้าน 3 พรรคคือ ปชป. ชาติไทย และมหาชน ละทิ้งเขตเลือกตั้งนับ 100 เขตเลือกตั้งคือโอกาสของพรรคเล็ก โดยเฉพาะภาคใต้ 54 เขตเลือกตั้ง เป็นเขตที่ไม่เอาทักษิณ ไม่เอาไทยรักไทย ยิ่งในสถานการณ์ที่ทักษิณตกต่ำจากเสียงกดดันให้ลาออกที่ดังกระหึ่มไปทั่ว ย่อมเป็นโอกาสที่พวกเขาจะสามารถเข้าไปสู่สภาผู้แทนราษฎร ตามความใฝ่ฝันของพวกเขา....การแข่งขันต่ำ ใช้เงินน้อย โอกาสเช่นนี้ ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ และไม่รู้ว่าจะมีอีกเมื่อไหร่ แม้เป็น สส.เพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ครบเทอม ก็ดีกว่าไม่ได้เป็นแน่นอน ทำไมสังคมไม่ให้ความสำคัญกับแรงจูงใจเช่นนี้ของผู้สมัครพรรคเล็กกันบ้าง....
ในส่วนของพรรคไทยรักไทย
แรงจูงใจที่สำคัญก็คือการรักษา ระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเอาไว้ให้ได้ ซึ่งหมายถึงการรักษาอำนาจทางการเมืองของพรรคไปพร้อมๆกันด้วย การล้มครืนของรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานั้น คือการล้มครืนของพรรคไทยรักไทยด้วย อุปสรรคเพียงประการเดียวที่มีในเวลานั้นก็คือ การต้องต่อสู้กับ โนโหวตในภาคใต้อย่างโดดเดี่ยว ไร้คู่แข่งซึ่งต้องผ่านเกณฑ์ 20 % ให้ได้...ทำให้ประชาธิปัตย์และสื่อมวลชน เชื่ออย่างสนิดใจว่าพรรคไทยรักไทยต้องจ้างพรรคเล็กเท่านั้นถึงจะผ่านเกณฑ์นี้ได้ แต่กลับไม่ได้คิดว่าถ้าไทยรักไทยลงแข่งกับพรรคเล็กเพื่อให้พรรคเล็กผ่านเกณฑ์ 20 % และเอาชนะการเลือกตั้งในเขตภาคใต้ไปได้ ย่อมมีค่ากว่า การรับเงิน 50,000 บาท แน่นอน ค่าใช้จ่ายแค่ สี่-ห้าแสนบาทในยุคยางพารา ราคาแพงนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องเหลือบ่ากว่าแรง สำหรับคนภาคใต้ในระดับเฉลี่ยโดยทั่วไป...
ในกรณีของพรรคไทยรักไทยจ้างพรรคเล็กหรือไม่นั้น พยานหลักฐาน คำสารภาพของพรรคเล็กที่ถูกจ้างความสัมพันธ์ระหว่างคนที่ถูกจ้างกับนายพงษ์ศักดิ์และพล.อ. ธรรมรัตน์ จะเป็นข้อพิสูจน์ว่าคนของ ทรท.จ้างพรรคเล็กจริงหรือไม่....หลักฐาน VCD กรณีนางฐัติมา และภาพถ่ายวงจรปิดที่กำกับและอธิบายโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ จะสามารถสร้างความเชื่อมโยงกับ พล.อ.ธรรมรัตน์ได้หรือไม่ เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือหรือไม่ หรือว่านักการเมืองพรรคเล็กกระทำการด้วยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เพื่อเข้าไปเป็น สส. ในสภากันแน่... จะต้องได้รับการพิสูจน์ในไม่ช้านี้
การพิพากษาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง หรือ บั่นทอนให้ระบอบประชาธิปไตยให้อ่อนแอ เพื่อให้อำนาจอื่นมาอยู่เหนืออำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ซึ่งจะทำให้พวกเขาหาประโยชน์จากการเมืองที่อ่อนแอไร้เสถียรภาพได้ดังแต่ก่อน....จะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจอันดีและบังเกิดความสมานฉันท์ของคนในชาติ หรือสร้างปมแห่งความแตกแยก ขัดแย้งอันใหม่ขึ้นมาอีก...ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะใช้ดุลยพินิจแห่งตนโดยอิสระหรือรับใบสั่งจากอำนาจพิเศษ ล้วนอยู่ในสายตาของมหาชน ไม่เพียงคนไทยทั้งประเทศแต่เป็นกรณีศึกษาที่อยู่ในสายตาของมหาชนในสังคมประชาธิปไตยทั่วโลก เพราะเหตุการณ์เช่นนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นที่ใดในโลก นับตั้งแต่ชาวโรมันให้กำเนิดระบอบประชาธิปไตยขึ้นมา......
|
คนสวน คนรับใช้ประเทศนี้ ยังรวยหุ้นได้เลย ทั้งๆที่ผมว่า เผลอๆ ยังไม่รู้เรื่องเลยว่า หุ้นเค้าซื้อขายกันอย่างไร
แถวบ้านผม เรื่องไหนที่มันดูแล้วไม่ได้จะเป็นไปได้ แต่ทำให้มันเป็นไปได้ ประมาณว่าเรื่องเหลือเชื่อ คนแถวบ้านผมมักจะอุทานออกมาว่า "มีทั้งเพ"