ผู้เขียนมีความตระหนักเป็นอย่างยิ่งว่า สิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทั้งในฐานะที่เป็นปัจเจกชนและสื่อมวลชน เป็นหลัการที่ต้องพิทักษ์ รักษา และปกป้องมิให้มีอำนาจใดๆมาล่วงละเมิดได้ ยังตระหนักอีกว่า สื่อมวลชน เป็นสถาบันที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการค้ำจุนการปกครองในในระบอบบประชาธิปไตย การคุกคามและลิดรอน สิทธิ เสรีภาพ ของสื่อมวลชนถือเป็นการคุกคามระบอบประชาธิปไตยไปด้วย ทั้งนี้สื่อมวลชนจักต้องอยู่ภายใต้กรอบของการเคารพ สิทธิ เสรีภาพ ของบุคคลอื่นอย่างเสมอกัน และสื่อมวลชนจะต้องถือเอาความสามัคคี ความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติเป็นที่ตั้ง ส่งเสริมให้มีการแก้ไขความขัดแย้งในสังคมด้วยปัญญาและสันติวิธี ยึดมั่นต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด อีกทั้งจะต้องไม่ละเมิดจรรยาบรรณของสื่อมวลชนอันเป็นหลักการแห่งวิชาชีพสื่อมวลชนอีกด้วย.
ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมานี้ สังคมไทยได้เกิดความขัดแย้งทางความคิด การเมือง จนแบ่งฝ่ายกันชัดเจนในทุกวงการ โดยมีฝ่ายที่ไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีฝ่ายหนึ่ง และฝ่ายที่ยังต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีอีกฝ่ายหนึ่ง
ความขัดแย้งทางการเมืองในลักษณะเช่นนี้รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ.2540 ได้กำหนดวิธีการแก้ไขไว้แล้วซึ่งมีหลายวิธี แต่วิธีสุดท้ายคือการคืนอำนาจให้ประชาชน และให้ประชาชนทั่วทั้งประเทศเลือกตั้งใหม่เพื่อมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่พรรคการเมืองเข้าไปบริหารประเทศด้วยหลักการเสียงข้างมาก นับเป็นหลักการแห่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่ นา นา อารยะประเทศทั้งหลายยึดถือ และเป็นเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่านี่คือ หนทางแห่งการแก้ไขความขัดแย้งด้วยปัญญาและโดยสันติวิธี บนพื้นฐานของความเคารพต่อสิทธิอัตวินิจฉัยของปัจเจกชนที่มีเสียงหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน
แต่การณ์กลับกลายเป็นว่า ฝ่ายที่ไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มิได้เชื่อมั่นและยึดเอาหลักการดังกล่าว มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา กลับใช้วีธีการ โจมตี ใส่ร้าย ป้ายสี สร้างความเคียดแค้น ชิงชัง และกดดันทางการเมืองทุกวิถีทาง กระทั่งใช้วิธีลอบวางระเบิดสังหารถึงขั้นเอาชีวิต..
ในสถานการณ์ที่เกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างรุนแรงเช่นนี้ แทนที่สื่อมวลชนจะส่งเสริมการแก้ไขความขัดแย้งด้วยปัญญาโดยสันติวิธี ภายใต้กรอบของการเคารพ สิทธิ เสรีภาพ ของบุคคลอื่นอย่างเสมอกัน ถือเอาความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติเป็นที่ตั้ง ยึดมั่นต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด และใช้จรรยาบรรณของสื่อมวลชนเป็นสิ่งชี้นำ สื่อมวลชนกลับแสดงตนเป็นกลุ่มการเมืองเสียเอง โดยใช้องค์กรวิชาชีพของตนเป็น กลุ่มกดดันทางการเมือง(Pressure Group) รวมหัวนักข่าวนักหนังสือพิมพ์และคอลัมนิสต์ นำเสนอข่าวด้วยมติของแกนนำ และการชี้ทิศทางข่าวสารโดยกลุ่มบุคคล จนสูญเสียหลักการแห่งการแสวงหาความเป็นจริง หลักการแห่งการเคารพสิทธิอัตวินิจฉัยของปัจเจกชน หลัการแห่งความเป็นอิสระ และหลักการแห่งการนำเสนอข่าวสารอย่างครบถ้วน รอบด้าน
ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมานี้ สื่อมวลชนไทยโดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์ พร้อมด้วยองค์กรวิชาชีพสื่อทั้งหลาย มิได้ทำหน้าที่สื่อมวลชนในฐานะสถาบันสื่อมวลชนในระบอบประชาธิปไตย มิได้แสดงตนเป็นสถาบันที่ยึดมั่นต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่ทำหน้าที่เป็นกลุ่มกดดันทางการเมือง(Pressure Group) ออกแถลงการณ์เสนอข้อเรียกร้อง เมื่อสื่อมวลชนได้วางตนเป็นกลุ่มกดดันทางการเมืองเสียเองแล้ว การนำเสนอข่าวสารก็เพื่อเป้าหมายแห่งการกดดันทางการเมืองของตนเท่านั้น ประชาชนมิอาจคาดหวังความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข่าวสารที่สื่อมวลชนนำเสนอได้อีกต่อไป นอกจากนี้สื่อมวลชนยังได้แสดงตนเป็นกลุ่มคนที่ละเมิดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ด้วยการส่งเสริมพฤติกรรมกลุ่มเรียกร้องนายกพระราชทาน ผ่าน ม.7 , การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง, การบิดเบือนข่าวสาร, การยุยงส่งเสริมให้เกิดความเคียดแค้นชิงชัง ต่อนายกรัฐมนตรีและครอบครัวอย่างไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง
เมื่อได้พิเคราะห์พฤติกรรมของสื่อจากข้อมูลเชิงประจักษ์และที่ประจักษ์แล้ว จึงวินิจฉัยว่า สื่อมวลชนไทยเข้าสู่ภาวะล้มละลายทางความน่าเชื่อถือโดยสมบูรณ์แล้ว...
พลังประชาชนควรก่อตัว รวมกลุ่มขึ้นมาเพื่อปฎิรูปสื่อ และเห็นด้วยอย่างยิ่งที่ ประชาชนใน โลก Cyber ได้เชิญชวนประชาชนผู้รักความเป็นธรรม ทั่วประเทศ ร่วมมือกันสร้างประชามติ โดยยึดเอาวันที่ 9 กันยายน 2549 เป็นวันเริ่มต้นของการรณรงค์ หยุดซื้อสื่อหนังสือพิมพ์ที่บิดเบือน และเดินหน้าสู่การปฎิรูปสื่ออย่างจริงจัง
|
Grassroot.BlogGang.com
grassroot
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [ ?]
|
|
|
|
|
ทีกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมันรุมจิกหัวด่าว่าเผด็จการ
พอเป็นรํบบาลมาจากการใช้รถถังปล้นอำนาจประชาชน มันกลับสอพลอ เอาอกเอาใจสารพัด
หลักการ เหตุผล ไม่ใช่สิ่งที่สื่อใส่ใจอีกต่อไป