เราขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจ ทีพรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศวาระประชาชน ภายใต้คำขวัญ ประชาชนต้องมาก่อน ท่ามกลางแคมเปญชู อภิสิทธิ์เป็นนายกแนวใหม่ที่กำลังฮือฮา อยู่ในจอทีวี ในช่วงเวลานี้...การปรากฎตัวของพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนการเลือกตั้งครั้งนี้..ไม่ว่าผลในอนาคตจะเป็นเช่นไร ถือได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ได้สำนึกผิด และกลับเนื้อกลับตัว เข้ามาแข่งขันตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย นับได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินบนเส้นทางอันถูกอันควรแล้ว เราขอให้พรรคประชาธิปัตย์ปฎิบัติตนเป็นผู้ใหญ่ ควรแก่วัย 60 ปีตามที่กล่าวอ้าง และอย่าได้หันกลับไปใช้เส้นทางแห่งการทำลายล้างทางการเมืองแบบในอดีตอีกต่อไป....แต่อย่างไรก็ดีพรรคประชาธิปัตย์ไม่อาจลอยตัวจากพฤติกรรมอัปยสที่ตนสร้างขึ้นและจะต้องจารึกไว้ในหน้าประวิติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศไทย
การคว่ำบาตรการเลือกตั้งภายใต้ข้ออ้างว่าฟอกตัวให้ระบอบทักษิณก็ดี,
การขอนายกพระราชทานด้วยมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญก็ดี,
การร่วมมือประสานเสียงกับพันธมิตรเพื่อทำลายประชาธิปไตยก็ดี,
การขนคนเข้าไปสมบทกับวันนัดชุมนุมใหญ่ของพันธมิตรก็ดี,
การขัดขวางพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งก็ดี,
การจ้างฐัติมา(เจี้ยบ)ใส่ใคล้ไทยรักไทยก็ดี,
การเปิดเวทีปราศรัยสัญจร เพื่อปลุกผีระบอทักษิณ และรณรงค์โนโหวตก็ดี,
การให้ไทกรเป็นนกต่อ เพื่อจ้างพรรคเล็กเอาผิด ไทยรักไทยก็ดี,
การยื่นฟ้องศาลปกครองให้ชลอการเลือกตั้งวันที่ 28 เมษายน 2549 ก็ดี,
การยื่นฟ้องเอาผิด กกต.เพื่อให้ศาลเอาผิด กกต.ถึงขั้นห้ามประกันตัว ทั้ง 3 ศาลก็ดี,
และการยื่นเรื่องให้ยุบพรรคไทยรักไทยที่ยังคาราคาซังอยู่ในศาลรํฐธรรมนูญก็ดี....
พฤติกรรมทางการเมืองเหล่านี้ไม่เพียงแต่มุ่งทำลายล้างโดยไม่เลือกวิธีการเท่านั้น แต่ได้ส่งผลเสียต่อระบบสังคมทั้งระบบ กล่าวคือทำให้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย 2 ใน 3 เป็นง่อยไปในระยะเวลาอันยาวนาน ทำให้การบริหารประเทศหยุดชะงัก และส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมและเปิดช่องทางให้ อำนาจนอกระบบ บงการกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่เหลือ ด้วยกระบวนการที่มีข้อกังขามากมาย ผลลัพธ์ทีปรากฎให้เห็นได้แก่
1.ประเทศไทยได้สูญเสียภาพลักษณ์ที่ดีของสังคมประชาธิปไตยที่กำลังพัฒนา และความน่าเชื่อถือในด้านเสถียรภาพ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเมืองในสายตาของชาวโลก
2.โอกาสการการลงทุนจากภาครัฐ และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมได้หยุดชะงัก มีผลต่อการชลอตัวการลงทุนของภาคภาคธุรกิจและความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศได้ถดถอยลงไป
3.ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลงทำให้ ตลาดทุนเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้า และการลงทุนในภาคการการผลิตหยุดชะงัก ส่งผลต่ออัตราการเติบโตทางเศณษฐกิจของประเทศและจะมีผลต่อการจ้างงาน ค่าจ้าง และความตกต่ำของกำลังซื้อในระยะใกล้ๆนี้
4.สังคมได้แบ่งขั้วทางความคิด เกิดความขัดแย้งและการโต้เถียงซึ่งบั่นทอนความสามัคคีของทั่วทั้งประเทศซึ่งต้องใช้เวลาเยีวยา และฟื้นฟูความสมานฉันท์กันอีกนาน
5.ระบอบประชาธิปไตยที่กำลังพัฒนาไปได้ดี ได้เกิดภาวะหยุดชะงัก ประชาชนจำนวนมากสับสน และเบื่อหน่ายกับการเมือง อย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ซึ่งล่อแหลมต่อการแทรกตัวเข้ามาของอำนาจนอกระบบที่จ้องทำลายความเจริญก้าวหน้าของระบบประชาธิปไตยอยู่แล้ว
ผลเสียเหล่านี้ พรรคประชาธิปัตย์ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดๆ เลย ใช่หรือไม่?
อย่างไรก็ตาม เรายังถือมั่นในหลักการจำแนกแยกแยะ อะไรผิดก็ว่าไปตามผิด อะไรถูกก็ว่าไปตามถูก สังคมไทยยังให้โอกาสคนร้ายกลับตัวเป็นคนดีเสมอ แต่จะให้โอกาสได้แค่ไหนนั้น วันที่ 15 ตุลาคม 2549 ประชาชนจะเป็นคนบอก
หากพิจารณาการเมืองไทยในช่วง 6 ปีมานี้ เราได้ยินแต่คำพูดที่ว่า ทักษิณและทรท.เข้มแข็งเกินไป จึงทำให้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ กระทั่งแทรกแซงสื่อ แทรกแซงองค์กรอิสระ ...แต่น้อยคนที่จะมองด้านตรงกันข้าม นั่นคือประชาธิปัตย์ผิดพลาดตรงที่ไม่สามารถปรับตัวและพัฒนาตนเองให้เทียบเท่าพรรคไทยรักไทย ทั้งๆที่สภาพแวดล้อมทางการเมืองและปัจจัยต่างๆเอื้ออำนวยให้เป็นอย่างยิ่ง
.....ถ้าพรรคประชาธิปัตธ์ปรับตัวและพัฒนาตนเองเมือ 3-4 ปีที่แล้วให้ไล่ตามไทยรักไทย สัก ก้าว สองก้าว จะทำให้สังคมไทยมีทางเลือก เมื่อไทยรักไทยถูกโจมตีอ่อนลงไป คนไทยก็จะหันไปเลือกประชาธิปัตย์ ไทยรักไทยก็จะกลับเป็นฝ่ายค้าน คนไทยไม่ต้องสูญเสียโอกาสในการพัฒนาประเทศมากมายถึงขนาดนี้......อันที่จริงการที่ทักษิณและ ทรท.เข้มแข็ง มิใช่เป็นความผิดของเขา แต่เป็นความผิดของประชาธิปัตย์ต่างหากที่ไม่สามารถปรับตัวและพัฒนาตนเองให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชนไทย...
ลองย้อนรอยไปดูกัน
เมื่อปชป.แพ้การเลือกตั้งในปี 2544 ชวนถูกกดดันให้ลาออก กลุ่มเสธ.หนั่นเสนอ บัญญัติ กลุ่มชวนเสนอ อภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรค
แล้วบัญญัติก็ได้รับชัยชนะ ได้เป็นหัวหน้าพรรคช่วงปี 2545-2548 ในช่วงนี้นายบัญญัติก็พยายมสร้าง บทบาทใหม่ให้ประชาธิปัตย์ แต่ก็ได้รับการคัดค้านจากกลุ่มผลัดใบของอภิสิทธิ์เป็นส่วนใหญ่ แม้กระทั่งเรื่องขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง เช่น จะใช้รถรณรงค์หาเสียงเป็นสีฟ้า หรือ สีแดงก้ทะเลาะกันเสียงดังออกมาให้สื่อมวลชนเก็บไปรายงาน
แล้วกลุ่มเสธ.หนั่น ก็อยู่ไม่ได้ แยกกลุ่มไปตั้งพรรคใหม่คือพรรคมหาชนโดยมีเอนก เหล่าธรรมทัศน์เป็นหัวหน้าพรรค
เมื่อปชป.แพ้การเลือกตั้ง ปี 2548 บัญัติลาออกตามที่ประกาศ อภิสิทธ์ก็ได้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรค ตามแรงผลักดันของชวน หลีกภัย จนมาถึงปัจจุบัน นับเวลาได้เกือบ 2 ปี แต่ในเวลาแห่งการเป็นหัวหน้าพรรคนี้ เวลากว่าครึ่งหนึ่ง อภิสิทธิ์ใช้ไปบนเส้นทางของการโจมตี ด่าทอ กระทั่งร่วมมือกับสนธิและพันธมิตรเพื่อทำลายประชาธิปไตย จนเกิดกรณี คว่ำบาตรการเลือกตั้ง ซึ่งยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยทั้งประเทศ
6 ปีมานี้ ปชป.เปลี่ยนหัวหน้าพรรคไป 3 คน รูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผม แตกร้าว 2 ครั้ง มีคนแยกตัวไปตั้งพรรคใหม่ ประชาธิปัตย์ไม่เพียงแต่ถนัดทะเลาะกับคู่ต่อสู้ทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังทะเลาะกันเองอย่างเอาเป็นเอาตาย
เวลา 6 ปีที่ผ่านมา ประชาชนไทยมองไม่เห็นความพยายามในการปรับตัวและการพัฒนาตนเองของพรรคประชาธิปัตย์เลย... และถ้าวันนี้คือวันของการปรับตัวและพัฒนาตนเอง เราก็ถือว่าประชาธิปัตย์ได้ใช้ความพยายามบ้างแล้ว แม้ไม่แน่ใจว่า ประชาธิปัตย์สำนึกผิดและกล้ากล่าวคำขอโทษต่อประชาชนหรือไม่ก็ตาม เราว่าพรรคประชาธิปัตย์สามารถกลับตัวกลับใจได้โดยสิ้นเชิง มิใชเป็นการสร้างภาพก่อนการเลือกตั้งเท่านั้น และหวังว่านิสัยเดิมจะไม่หวนกลับมาอีกหลังจากที่รู้ว่าตนแพ้การเลือกตั้ง
....เราอวยพรด้วยความจริงใจ ขอให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ที่นั่งเพิ่ม ไม่ห่างจากไทยรักไทยมากนัก หรือทำให้ไทยรักไทยเป็นฝ่ายค้านไปเลยก็ได้ ทั้งนี้ภายใต้ความยุติธรรมและความเป็นกลางอย่างเคร่งครัดของ กกต.ใหม่ในฐานะผู้คุมกฎในสนามการเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้ง วันที่ 15 ตุลาคม 2549 ถ้าประชาธิปัตย์ ได้รับชัยชนะ ก็นับว่าชอบแล้ว ถ้าพรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะก็นับว่าชอบแล้วเช่นกัน...เพราะนั่นเป็นคำตัดสินจากประชาชนทั้งประเทศ มิใช่คำตัดสินของศาลเตี้ยพันธมิตรประชาชนเพื่อทำลายประชาธิปไตย ราชนิกูล ไฮโซ นักวิชาการ บางกลุ่มและสื่อมวลชนบางค่าย
เราได้แต่หวังว่าพลังแห่งความอำมหิตจะยุติบทบาททำลายล้างทางการเมือง
เราได้แต่หวังว่า ผลการโหวตที่เป็นเสียงข้างมากของประชาชนยังศักดิ์สิทธิ์และทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะปกติ
ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเช่นไรก็ตาม
|
Grassroot.BlogGang.com
grassroot
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [ ?]
|
|
|
|
|