ว่าด้วย..... ความเป็นกลาง...และที่อยู่ของ....คนเป็นกลาง
ความเป็นกลาง มักจะเข้ามามีบทบาททุกครั้งที่สังคมเริ่มแบ่งเป็น 2 ขั้วชัดเจน คนเป็นกลาง เริ่มรู้สึกว่าตัวเองถูกคุกคาม จากขั้วใด ขั้วหนึ่ง.....ส่วนใหญ่มักจะถูกคุกคามจากขั้วที่มีดุลย์กำลังทางการเมืองน้อยกว่า.....เหตุแห่งการคุกคาม คนเป็นกลาง ก็คือ ความต้องการที่จะ กวาดต้อน คนเป็นกลาง ให้ไปสังกัดขั้วของตน เพื่อเพิ่มดุลย์กำลังทางการเมืองให้ฝ่ายตนนั่นเอง.....
ประโยคทองของ คุณอานันท์ ปัญญารชุน ความเป็นกลาง ไม่ใช่เพิกเฉยต่อสิ่งที่ผิด เป็นประโยคที่สื่อมวลชนบางคนนำมากล่าวอ้าง ต่อข้อท้วงติงว่าสื่อไม่เป็นกลางบ้าง ฝ่ายต่อต้านทักษิณ ก็ใช้ประโยคนี้พูดใส่หน้าคนเป็นกลาง เพื่อทำให้คนเป็นกลางรู้สึกอับอายต่อความเป็นกลางของตนบ้าง.....ในสถานการณ์เช่นนี้......คนเป็นกลาง จะดำรง ความเป็นกลาง ได้หรือไม่ สามารถอยู่ท่ามกลาง ยุทธวาจา ของสองขั้วการเมืองได้อย่างปกติสุขหรือไม่ อย่างไร.... เรามีข้อคิดให้คุณพิจารณา...
----------ก่อนอื่น...ลองนึกภาพดู ณ.จุดที่คุณยืนอยู่ ด้านหน้าคือทิศเหนือ ด้านหลังคือทิศใต้ ขวามือคือตะวันออก และซ้ายมือคือตะวันตก......คุณยืนอยู่ระหว่าง 4 ขั้ว.. หาก ไม่ใช่สี่ขั้ว ก็ยังมี เฉียงเหนือ เฉียงใต้ เฉียงตะวันออก และเฉียงตะวันตก.....คุณยืนอยู่ระหว่าง 8 ขั้ว.... หาก ไม่ใช่ 8 ขั้ว ก็ยังมี ตำแหน่งที่ 30 องศา 10 องศา..... นับได้ 360 องศา....หากมิใช่ ณ องศาใด องศาหนึ่ง คุณก็ยังมี ความแตกต่างของ ลิปดา และวิลิปดา.....ตำแหน่งยืนของคุณ...มีมากว่าตำแหน่งที่สังคมหยิบยื่นให้...ประเด็นอยู่ที่ว่าคุณจะเลือกเฉพาะสิ่งที่สังคมเสนอ....หรือ คุณจะเลือกตำแน่งอื่นนอกเหนือจากนั้น......เป็นสิทธิอันชอบธรรมของพลเมืองไทย..ที่มีรัฐธรรมนูญให้หลักประกันเอาไว้...
ในสถานการณ์ปัจจุบัน..........
----------คนไทย 16 ล้านคน เลือกขั้วหนึ่ง (ทิศเหนือ) ดูคล้ายกับว่าจะเห็นดีเห็นงาม นิยมทักษิณไปเสียทั้งหมด.....แต่ความจริง แม้จะโหวตไปในทิศเดียวกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างทางด้านองศา.....บ้างเลือกเพราะศรัทธา นโยบาย ผลงาน...... บ้างเลือกเพราะไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่า....... บ้างเลือกเพราะแค่ต้องการให้ระบอบประชาธิปไตยมันเดินหน้าต่อไปได้...... บ้างเลือกเพราะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ไม่อยากให้ใครอ้างมาตรา 7 ขอนายกพระราชทาน.....บ้างเลือกเพราะเกลียด ปชป.และพรรคร่วมฝ่ายค้านที่คว่ำบาตรการเลือกตั้ง.....
----------ส่วนคนเกือบ 10 ล้านคนเลือก No Vote ไปในทิศเดียวกัน (ทิศใต้) แต่แตกต่างกันที่องศาเช่นกัน.... บ้างเพราะภักดีต่อ ปชป. .....บ้างก็เพราะภักดีต่อ ชาติไทย ......บ้างก็เพราะเห็นดีเห็นงามกับ สนธิ-จำลองและพันธมิตร....... บ้างก็รับคำท้านายกที่ท้าให้ No Vote มากกว่าแล้วไม่กลับมาเป็นนายก..... บ้างก็ต้องการเห็นความสงบโดยคิดว่าถ้าทักษิณไม่ได้เป็นนายกทุกอย่างก็จะเข้าสู่ภาวะปกติเสียที....บ้างก็เสพย์ข่าวสารจากสื่อจนเมาข่าวสารไม่ได้สติ...เลือก No Vote เพราะฤทธิ์สื่อ
----------คนที่เหลืออีกเกือบ 15 ล้านคน ไม่ได้เลือก ขั้วใดขั้วหนึ่ง หรือทิศใดทิศหนึ่ง (ทิศอื่นๆที่ไม่ใช่เหนือกับใต้).......บ้างก็ว่านอนหลับทับสิทธิ์....บ้างก็ไม่ได้ฝากชีวิตไว้กับการเมือง กี่ปีกี่ชาติก็ช่วยตัวเองตลอด เราไม่ไปเลือกตั้ง ใครจะทำไม....บ้างก็เบื่อการเมืองจนไม่อยากรับรู้ ไม่อยากเอาชีวิตเข้าไปเกี่ยวข้อง....บ้างก็เจ็บไข้ได้ป่วย.... บ้างก็เสียสติอยู่ศรีธัญญา....บ้างก็ไปทำมาหากินต่างประเทศ......
----------แท้จริงแล้วใช่ว่าผลการเลือกตั้งจะบอกฝักฝ่ายทางการเมืองอย่างชัดเจน และใช่ว่าคนที่แยกเป็นสามส่วนจะสังกัดขั้วใด ขั้วหนึ่งทางการเมือง หรือเป็นอิสระจากการเมือง.....หากพรรค ปชป.และพรรคร่วมฝ่ายค้านไม่คว่ำบาตรการเลือกตั้ง เราก็จะเห็นว่าคนไทย มีจุดยืนและทางเลือกมากกว่าสองขั้ว.....เราจะเห็นสัดส่วนของคนเลือก ทรท. ปชป. มช. และ และ No vote พันธุ์แท้ ผสมกับ No Vote เพื่อ สนธิ-จำลองและพันธมิตรรวมกัน......
----------การหยิบยกเอาสถานการณ์ปัจจุบันมากล่าวเป็นตัวอย่างข้างต้น....เพื่อชี้ให้เห็นว่า....ความคิดเห็นทางการเมืองที่ไม่สังกัดขั้วใดขั้วหนึ่ง....มิใช่ ความเป็นกลาง แต่เป็นความคิดเห็นที่แตกต่างจากสองขั้วต่างหาก.....กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือความคิดเห็นที่เป็นอิสระจากสองขั้วนั่นเอง.... แต่มีคนพยายามลดทางเลือกให้มีอยู่แค่ 2 ทาง แล้วกดดันให้คนแยกขั้วเพื่อเสริมกำลังทางการเมืองให้ฝ่ายตน
----------คนที่ถูกเรียกว่า ฝ่ายเป็นกลาง อาจเป็นคนที่เห็นข้อดีทั้งสองฝ่ายจนไม่อาจเลือกฝ่ายเพื่อทำลายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้.....อาจเป็นคนที่เห็นข้อเสียของทั้งสองฝ่ายจนไม่อาจยอมรับทั้งสองฝ่ายได้...อาจเป็นคนที่ไม่ให้คุณค่ากับการเมืองถึงขั้นต้องแสดงตนว่าฝักใฝ่ฝ่ายใด.....อาจเป็นคนที่หวังต่อยอดกับผู้ที่ได้รับชัยชนะไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็สามารถหาประโยชน์ได้ทั้งนั้น....หรือ..อาจจะเป็นบุคคลที่มีต้นทุนทางสังคมสูงส่งซึ่งไม่อาจฝักใฝ่ฝ่ายใดจนทำให้ต้องสูญเสียต้นทุนทางสังคมที่ตนเคยมี.......ทุกคนล้วนมีจุดยืนและวิธีการรับมือกับเหตุการณ์ในแบบฉบับของตัวเอง......
----------ในสถานการณ์ที่มีการแบ่งขั้ว (Polarization) นี้....ความเป็นกลาง มักจะถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นสนทนา หรือนำเสนอต่อสาธารณะแล้วแต่ระดับความแหลมคมของการต่อสู้.... คนเป็นกลาง มักจะถูกโอ้โลม และดึงไปเป็นพวก ด้วยกลวิธีต่างๆนา นา ...ซึ่งมี 2 แนว....
----------แนวแรก.....ใช้ Positive Approach.....คือเน้นการนำเสนอในสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับ เช่น นโยบายโครงการ และมุ่งขายความหวังที่เป็นความต้องการร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ปลายทางของแนวนี้คือทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกดีกับตนเป็นสำคัญ เผชิญหน้าหรือโจมตีอีกฝ่ายเป็นรอง
----------แนวที่สอง...ใช้ Negative Approach....คือ เน้นการจี้จุดอ่อนของอีกฝ่าย สร้างความไม่ไว้วางใจ สร้างความน่าสะพึงกลัว และสร้างความเกลียดชัง ต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ปลายทางของแนวนี้คือ ทำให้อีกฝ่ายตกต่ำ แล้วจะทำให้ตนเองสูงขึ้น เด่นขึ้น (ซึ่งจริงๆแล้วสูงเท่าเดิม) ในอดีตไม่จำเป็นต้องมีข้อเสนอใดๆเลยก็ได้
----------กลวิธี 2 แนวทางนี้...สอดแทรกอยู่ในทุกกิจกรรม ทุกสื่อ ไม่ว่าแผ่นป้ายโฆษณา แผ่นพับ ใบปลิว การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน การโต้แย้งบนเวทีสาธารณะ การปราศรัยบนเวที ชุมนุมชน การสนทนาในสภากาแฟ การต่อโทรศัพท์พูดคุย หรือแม้กระทั่งการเขียนกระทู้ในห้องราชดำเนินแห่งนี้.....
----------คนเป็นกลาง ซึ่งก็คือ ความคิดอิสระที่ไม่สังกัดขั้ว ไม่มากก็น้อย ทุกคนล้วนมี จริตทางการเมือง ในแบบฉบับของตนเองทั้งสิ้น...ย่อมใช้ดุลยพินิจ สิทธิอัตวินิจฉัย เพื่อเลือกหรือไม่เลือกแนวที่หนึ่ง หรือแนวที่สองตามจริตทางการเมืองของตนเองได้
----------ธรรมชาติของ คนไม่สังกัดขั้ว มักรับรู้ทั้งสองฝ่าย หรือหลีกเลี่ยงที่จะรับรู้ทั้งสองฝ่าย โดยทั่วไป กลุ่มที่รับรู้ทั้งสองฝ่ายมักมีความเสี่ยงต่อการต้องไปสังกัดฝ่ายในสถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง....ในแง่นี้.... คนไม่สังกัดขั้ว ....กลุ่มนี้ยังเป็นเป้าหมายช่วงชิงของขั้วการเมืองโดยเฉพาะขั้วการเมืองที่มีดุลย์กำลังน้อยกว่า ส่วนคนที่หลีกเลี่ยงที่จะรับรู้ทั้งสองฝ่าย มักจะรักษาความเป็นอิสระของตนได้...
----------ในสถานการณ์ที่มีการช่วงชิงฝ่ายเป็นกลางนี้..เราจะพบเหตุการณ์ที่อ้างอิง ความเป็นกลางหลายรูปแบบโดยที่ไม่รู้ตัวและโดยจงใจดังตัวอย่างต่อไปนี้...
----------ความเป็นกลาง ไม่ใช่เพิกเฉยต่อสิ่งที่ผิด.....นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งพูดจากคนที่รู้สึกว่าตนมีต้นทุนทางสังคมสูง...ทุกฝ่ายเอาไปใช้อ้างอิงได้...ทุกฝ่ายสามารถตีความเข้าข้างตัวเองได้...พูดเมื่อไหร่ก็ถูกเมื่อนั้น..ใครเอาไปพูดก็ทำให้ตัวเองดูดีได้ทั้งนั้น....ปัญหาอยู่ที่ว่า...หากเรื่องใดไม่ผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาลสถิตย์ยุติธรรม...แล้วสาธารณะชนคิดว่าผิด ด้วยอิทธิพลของสื่อ หรือ การทำงานแนว Negative Approach ....ของขั้วการเมืองหนึ่ง.......คำพูดประโยคนี้ ก็จะเป็นเครื่องมือตั้งข้อกล่าวหาให้กับคนเป็นกลางว่า... ก็เห็นอยู่ว่ามันผิดใครๆเขาก็ว่าผิดกันเต็มท้องสนามหลวง หนังสือพิมพ์ทุกฉบับก็ว่าผิด..แล้วเอ็งเป็นกลางอยู่ได้ยังไง เอ็งก็ช่วยคนผิดหละซิ...... และ อีกด้านหนึ่งอาจจะตั้งขอกล่าวหากับคนเป็นกลางว่า ก็เห็นวีดีโอคลิปแล้วว่ามันหมิ่นในหลวงชัดๆ เอ็งมัวเป็นกลางอยู่ เอ็งก็ปกป้องคนผิดหละซิ.......
กรณีแรก...ฝ่ายม็อบใช้กล่าวหาคนเป็นกลาง ด้วยมาตรฐานความผิดในจุดยืนตนเอง
กรณีหลัง...ฝ่ายต่อต้านสนธิใช้กล่าวหาคนเป็นกลางด้วยมาตรฐานความผิดในจุดยืนที่ตรงข้ามกัน
เห็นได้ชัดว่า...ในภาวะที่มีการแบ่งขั้ว...บรรทัดฐานของสิ่งดี-สิ่งเลว...สิ่งถูก-สิ่งผิด..สิ่งที่ควรยกย่อง-สิ่งที่ควรประณาม....มิได้เป็นไปตามบรรทัดฐานตามปกติของสังคม แต่กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของขั้วการเมืองที่ตนสังกัด...เราจึงพบว่าการฉีกบัตรเลือกตั้งเป็นสิ่งดี สิ่งถูกต้อง ควรยกย่อง ในทัศนะของฝ่ายที่ต้องการคว่ำบาตรการเลือกตั้งเป็นต้น... ----------มักจะได้ยินประโยคนี้บ่อยๆ ความเป็นกลาง ไม่มีในโลก เรามักจะได้ยินประโยคนี้จากฝ่ายสังกัดขั้วการเมืองใช้พูดเพื่อชี้ชวนคนที่ถูกมองว่ายังเป็นกลาง เพื่อสร้างความสั่นสะเทือน สถานะความเป็นกลางของเขา มุ่งหวังให้คนเป็นกลางสนใจที่จะรับฟังฝ่ายตน
----------เรามักได้ยินประโยคนี้บ่อยๆเช่นกัน พูดอย่างนี้ก็ฝักใฝ่ฝ่ายโน้นซิ ไม่เป็นกลางนี่หว่า เรามักจะได้ยินประโยคนี้ จากฝ่ายสังกัดขั้วทางการเมือง เพื่อประณามคนที่มีสถานะทางสังคม หรือคนที่มีบารมีทางสังคม ในโอกาสที่เขาแสดงความคิดเห็นในเชิงที่ให้คุณ ให้โทษ ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง...
----------เรามักได้ยินประโยคนี้ กรณีนี้..เราขอเป็นกลาง มักจะเป็นคำพูดของคนที่สังกัดขั้วที่อยากถอนตัวออกมาจากขั้วนั้น เพื่อมาเป็นตัวของตัวเองจริงๆ หรือใช้ความเป็นกลางพักสถานะของตนชั่วขณะ เพื่อไปสังกัดอีกขั้วหนึ่งในเวลาที่เหมาะสม.....ที่แยบยลกว่านั้น...แสดงตนเป็นกลางไว้ก่อน ฝ่ายไหนชนะก็ค่อยแสดงตนเป็นฝ่ายนั้น
----------เรามักได้ยินประโยคนี้ ผมพูดอย่างเป็นกลางนะ...ไม่เข้าใครออกใคร.... มักจะเป็นคำพูดของคนที่ต้องการสร้างสถานะการยอมรับจากทั้งสองขั้ว เพื่อแสดงบทบาทประนีประนอม หรือ หาประโยชน์จากช่วงจังหวะเวลาที่คนเรียกร้องหาคนกลาง (พี เน็ต คือกรณีตัวอย่างนี้)...
----------เรามักได้ยินประโยคนี้ ในฐานะคนกลางนะ....ฝ่ายม็อบก็มีข้อดี....ฝ่ายทักษิณก็มีข้อเสีย... มักจะเป็นพวกหาประโยชน์จากความเป็นกลาง ใช้สถานะความเป็นกลาง เพื่อต้อนคนเป็นกลางเข้าไปสังกัดฝ่ายตน ...การแสแสร้งว่าเป็นกลาง ร้ายกาจยิ่งกว่าการแสดงตนสังกัดขั้วการเมืองมากนัก
----------วิธีการโน้มน้าวคนที่ถูกเรียกว่าฝ่ายเป็นกลางมีมากมาย...และดูเหมือนว่าแต่ละขั้วการเมืองต่างก็นำมาใช้เพื่อจุดประสงค์ของฝ่ายตน
----------หากฝ่ายที่ถูกเรียกว่าเป็นกลาง รู้จักตนเองดีพอ ยืนยันความคิดอิสระที่ไม่สังกัดขั้ว และไม่ยอมให้ใครยัดเยียดความเป็นกลางให้ อีกทั้งไม่ใช้ประโยชน์จากความเป็นกลาง ....ความคิดอิสระที่ไม่สังกัดขั้วของคุณย่อมมีที่อยู่ ในสังคมนี้อย่างมีศักดิ์ศรีและสง่างาม ที่สำคัญคุณไม่ถูกเรียกว่าฝ่ายเป็นกลางอีกต่อไป...คุณคืออีกความคิดหนึ่งที่เป็นอิสระจากทุกขั้ว
|
Grassroot.BlogGang.com
grassroot
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [ ?]
|
|
|
|
|