รพ.ชลบุรี จัดระบบคัดกรองห้องฉุกเฉิน ‘คนไข้-หมอ’ ปลอดภัย ลดเจ็บ ตาย 2P Safety



โรงพยาบาลรัฐ ที่เคยเกิดปัญหา วัยรุ่นตีกันยิงกันในห้องฉุกเฉิน .. ก็ลองศึกษา เผื่อนำไปปรับใช้บ้าง ..บางทีก็จำเป็นต้องลงทุนเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ ร.พ.
“ 2P Safety "
P ตัวแรกคือ Patient หมายถึง ผู้ป่วย ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ทันเวลา และปลอดภัย
P ตัวที่สอง คือ Personal บุคลากรในโรงพยาบาลเองก็รู้สึกปลอดภัยในขณะทำการรักษา และปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ เริ่มจากให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง จัดทำประตูเซ็นเซอร์และไม้กั้นอัตโนมัติ และมีเครื่องสแกนโลหะและอาวุธที่หน้าห้องฉุกเฉินขึ้น

https://www.hfocus.org/content/2017/09/14571

‘รพ.ชลบุรี’ จัดระบบคัดกรองห้องฉุกเฉิน ‘คนไข้-หมอ’ ปลอดภัย ลดเจ็บ ตาย

รพ.ชลบุรีจัดระบบป้องกันความเสี่ยง 2P Safety เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาล หรือ “คนไข้-หมอ ปลอดภัย ลดเหตุเจ็บ ตาย ระหว่างรักษา”

นพ.ภานุวงส์ แสนสำราญใจ

นพ.ภานุวงส์ แสนสำราญใจ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่บุคลากรทางการแพทย์ถูกผู้ป่วยทำร้ายในหลาย ๆ โรงพยาบาล จนบาดเจ็บและเสียชีวิต ทำให้ทางกลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและทางผู้บริหารหาแนวทางป้องกันในการไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น ภายใต้หลักการ 2P Safety โดย P ตัวแรกคือ Patient หมายถึง ผู้ป่วย ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ทันเวลา และปลอดภัย ขณะที่ P ตัวที่สอง คือ Personal บุคลากรในโรงพยาบาลเองก็รู้สึกปลอดภัยในขณะทำการรักษา และปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ เริ่มจากให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง จัดทำประตูเซ็นเซอร์และไม้กั้นอัตโนมัติ และมีเครื่องสแกนโลหะและอาวุธที่หน้าห้องฉุกเฉินขึ้น

นพ.คุณากร วงศ์ทิมารัตน์

นพ.คุณากร วงศ์ทิมารัตน์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี กล่าวว่า ห้องฉุกเฉิน คือส่วนที่มีโอกาสเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ทางการแพทย์มากที่สุด เนื่องจากต้องรองรับทั้งผู้ป่วยวิกฤติในเวลาปกติและผู้ป่วยหลังเวลาราชการ จึงมักเกิดภาวะห้องฉุกเฉินล้นเกิน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร และสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ป่วยที่รอรับรักษานานจนเกิดเหตุกระทบกระทั่งกัน

แนวทางแก้ไขที่โรงพยาบาลนำมาใช้ เริ่มจากการจัดทำระบบคัดแยกผู้ป่วย โดยอ้างอิง ตาม ESI (Emergency Severity Index) และปรับเป็น CSI (Chonburi Severity Index) โดยจะใช้แนวทางเดียวกันทั้งโรงพยาบาล แบ่งผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วนเป็น 5 กลุ่ม

1.ฉุกเฉินวิกฤติ

2.ฉุกเฉินเร่งด่วน

3.ฉุกเฉินมาก

4.ฉุกเฉินไม่เร่งด่วน

5.ไม่ฉุกเฉิน

และในเวลานอกราชการ โรงพยาบาลได้เปิดห้องตรวจโรคทั่วไปแยกออกจากบริการห้องฉุกเฉินถึงเที่ยงคืนทุกวัน เนื่องจากบริบทของคนชลบุรี ทำงานโรงงานอุตสาหกรรมบางครั้งต้องรอเลิกงานค่ำจึงจะสามารถมาพบแพทย์ได้ และเพื่อให้ผู้ป่วยที่มาห้องฉุกเฉินเป็นกลุ่มที่ฉุกเฉินจริง เพื่อที่ทีมแพทย์และบุคลากรจะได้มีเวลาในการดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ

นพ.คุณากร กล่าวต่อว่า โรงพยาบาลชลบุรียังได้กำหนด Patient Safety Goal เป็นนโยบายความปลอดภัยของโรงพยาบาล โดยอ้างอิงจาก SIMPLE ของ สรพ. ซึ่งบุคลากรใหม่ทุกคนจะต้องได้รับการปฐมนิเทศเรื่องดังกล่าว โรงพยาบาลได้กำหนดนโยบายความปลอดภัยในด้านต่างๆ รวมถึงติดตามการปฏิบัติของบุคลากร ตลอดจนการแก้ไขจากรายงานอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งห้องฉุกเฉินมีการนำ SIMPLE มาใช้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เช่น S มาจาก safe surgery เรามีการทำ Sticker Time out นอกห้องผ่าตัดสำหรับหัตถการที่ invasive เช่นการใส่ท่อระบายลมในช่องเยื่อหุ้มปอดเป็นต้น

ขณะที่ห้องฉุกเฉิน จะใช้หลัก E - emergency response คือมีระบบ Fast track ในกลุ่มโรคสำคัญ ที่เป็นปัญหาของจังหวัดและประเทศ ได้แก่ STEMI Stroke Head injury Sepsis และ Trauma โดยมีการร่วมดำเนินการเป็นเครือข่ายทั้งจังหวัดร่วมกับสหสาขาในโรงพยาบาลด้วย

“ผลที่เกิดขึ้นคือ เมื่อผู้ป่วยที่ไม่เร่งด่วนถูกคัดแยกไปยังห้องตรวจโรคทั่วไป และห้องตรวจนอกเวลา ทำให้ห้องฉุกเฉินสามารถดูแลผู้ป่วยกลุ่มฉุกเฉินได้ดีเต็มประสิทธิภาพ สามารถให้การดูแผลผู้ป่วยกลุ่ม Fast track ซึ่งต้องแข่งกับเวลาที่มีจำกัด ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างทันท่วงที” นพ.คุณากร กล่าว

นพ.ชุติเดช ตาบ-องครักษ์

นพ.ชุติเดช ตาบ-องครักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี กล่าวว่า โรงพยาบาลชลบุรี เป็นโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพมาตรฐาน HA ตั้งแต่ ปี 2550 จนถึงปัจจุบันได้รับการต่ออายุการรับรอง (Re-Accreditation) เป็นครั้งที่ 3 จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และยังเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Joint Commission International (JCI) ซึ่งการรับรองโรงพยาบาลจะต้องมีการให้บริการที่มุ่งเน้นคุณภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้รับบริการเป็นสำคัญ

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ

ด้าน พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ รองผู้อำนวยการ สรพ. กล่าวว่า การจัดการเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขนับเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของ สรพ. เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และที่สำคัญบุคลากรสาธารณสุขมีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรทางสาธารณสุขขึ้น โดยสรพ.มีบทบาทในการดำเนินการร่วมกับ 15 องค์กรหลัก ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ เพื่อจะขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวร่วมกัน รวมถึงมีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายโดยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน และมีการวางทิศทางและระยะเวลาในการขับเคลื่อน มีการยกร่างแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (Patient and Personnel Safety: 2P Safety) ที่ให้ความสำคัญ มุ่งเน้นในการวางระบบเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และมีการกำหนดเป็นเป้าหมายความปลอดภัย สื่อสารในโรงพยาบาล ควบคู่กับการพัฒนาและรับรองคุณภาพ ด้วยคำที่หลายคนรู้จักคือ SIMPLE ขึ้นเป็นแนวทางปฏิบัติด้วย

พญ.ปิยวรรณ กล่าวต่อว่า วันที่ 17 กันยายนนี้ เป็นวัน Global Day of Patient Safety และเป็นวันที่สำคัญของไทยด้วยคือวัน Thailand Patient and Personnel Safety เป็นวันที่บุคลากรทางสาธารณสุข คนไข้ญาติ และประชาชนทั่วไป ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรทางสาธารณสุข เพราะทุกคนมีส่วนร่วม โดยจะมีการจัดงานขึ้นในวันนี้ และจะมีการประกาศยุทธศาสตร์ 2P Safety และ National Patient and Personnel Safety Goals รวมถึงการนำเสนอและเชิญชวนโรงพยาบาลเข้าร่วม National Reporting and Learning System ซึ่งจะเป็นระบบแห่งการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจกับคนไข้และประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และที่สำคัญบุคลากรสาธารณสุขมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานด้วย

ทั้งนี้ โรงพยาบาลใดสนใจสามารถสมัครเข้าร่วมครั้งนี้ได้ที่ https://goo.gl/aiTtWV หรือจะชมการถ่ายทอดสดบรรยากาศงาน ณ อิมแพคเมืองทองธานี ได้ ที่ Facebook/HA Thailand และ www.ha.or.th/Live



::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

สธ.พัฒนาห้องฉุกเฉินคุณภาพใน รพ.ทุกแห่ง ผู้ป่วยวิกฤตได้รักษาด่วน บุคลากรไม่ถูกคุกคาม
Fri, 2017-10-06 13:45 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/10/14655

สธ.เผยสถิติผู้รับบริการที่ห้องฉุกเฉินเฉลี่ย 35 ล้านครั้งต่อปี พบร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน พัฒนาห้องฉุกเฉินทั่วประเทศ มีระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินชัดเจน ให้ผู้ป่วยวิกฤตได้รับการรักษาปลอดภัย ความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ที่ห้องฉุกเฉินไม่ถูกคุกคาม ลดอัตราตาย ลดความพิการ ด้วยทีมแพทย์ และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ มาตรฐาน

วันนี้ (6 ตุลาคม 2560) ที่ รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำคณะลงพื้นที่ติดตามนโยบายการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 และตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

นพ.เจษฎา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ปฏิรูประบบสุขภาพ มีการเชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ เบ็ดเสร็จภายในเขตสุขภาพ และระบบส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลขนาดเล็กกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน ทั่วถึง เป็นธรรม

นพ.เจษฎา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันทั่วประเทศ มีสถิติผู้รับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER) เฉลี่ย 35 ล้านครั้งต่อปี ร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินทำให้เกิดความแออัด ประกอบกับการขาดแคลนบุคลากร รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน ได้รับความปลอดภัยมากที่สุด ลดอัตราการตาย และลดความพิการ โดยพัฒนาห้องฉุกเฉิน หรือห้องอีอาร์ ให้เป็นห้องอีอาร์คุณภาพ (ER QUALITY) อาทิ รถพยาบาลปลอดภัย มีเครื่องช่วยชีวิตที่ได้มาตรฐาน มีระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินชัดเจนมีมาตรฐาน ผู้ป่วยวิกฤติต้องได้รับการรักษาด่วน ไม่อยู่ห้อง ER นานกว่า 4 ชั่วโมง เจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ทุกสิทธิ (UCEP) ความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ที่ห้องฉุกเฉินไม่ถูกคุกคาม โรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ต้องจัดแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขาเป็นแพทย์ที่ปรึกษากรณีจำเป็นตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น

ตลอดจนพัฒนาบุคลากรแต่ละสาขาวิชาชีพให้เพียงพอ โดยให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ ประเมินและปรับปรุงตนเองให้ได้ตามเกณฑ์ คาดว่าจะสามารถลดอัตราการตายที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 ทั้งนี้ประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือได้รับอุบัติเหตุ สามารถแจ้งเหตุทางหมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

‘เมา-รอนาน-เจ็บหนัก’ กระตุ้นความรุนแรงใน รพ. ห้องฉุกเฉินเกิดเหตุมากสุด Sun, 2017-11-26 19:19 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/11/14965

ย้ำแก้ปัญหาคุกคาม-รุนแรงใน รพ.ต้องลดเคสที่ไม่ฉุกเฉินออกจากห้องฉุกเฉิน https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-12-2017&group=27&gblog=29

::::::::::::::::::::::::::::::::::::::


รพ.ชลบุรีจัดระบบคัดกรองห้องฉุกเฉิน ‘คนไข้-หมอ’ ปลอดภัย ลดเจ็บตาย 2P Safety https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=16-09-2017&group=15&gblog=83

เปิดสารพัดปัญหาสิ่งแวดล้อมในรพ. ซ้ำเติมภาวะเจ็บป่วย สร้างทุกข์บุคลากร https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-12-2016&group=15&gblog=74

สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาในรพ. ‘ทางออกลดทุกข์ผู้ป่วยหนุนประสิทธิภาพบุคลากร’ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-12-2016&group=15&gblog=75

สธ.สั่งทุกรพ.ปรับปรุง OPD ประหนึ่งห้องรับแขกบริการลื่นไหล รวดเร็วใน 120นาที https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-06-2016&group=15&gblog=68

วิกฤต คุกคามความรุนแรงในโรงพยาบาล ทางออกคืออะไร ... จากงานสัมนาฯ จัดโดยคณะอนุกรรมการฯแพทยสภา https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=02-12-2017&group=27&gblog=29







Create Date : 16 กันยายน 2560
Last Update : 4 ธันวาคม 2560 4:01:14 น.
Counter : 5486 Pageviews.

2 comments
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจที่โรงพยาบาล Mount Sinai ได้นำเสนอผลเบื้องต้นของ Sofiya ซึ่งเป็นผู้ช่วย..... newyorknurse
(25 มิ.ย. 2568 06:26:23 น.)
10 อันดับเตียง 2 ชั้นยอดฮิตปีล่าสุด สวรรค์แห่งการพักผ่อนและการใช้ชีวิต สมาชิกหมายเลข 8540341
(23 มิ.ย. 2568 16:35:14 น.)
Day..11 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(18 มิ.ย. 2568 10:11:49 น.)
WRB10 Fighting Stroke สนามเจริญสุขมงคลจิต แมวเซาผู้น่าสงสาร
(14 มิ.ย. 2568 14:50:56 น.)
  

สธ.พัฒนาห้องฉุกเฉินคุณภาพใน รพ.ทุกแห่ง ผู้ป่วยวิกฤตได้รักษาด่วน บุคลากรไม่ถูกคุกคาม
Fri, 2017-10-06 13:45 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/10/14655

สธ.เผยสถิติผู้รับบริการที่ห้องฉุกเฉินเฉลี่ย 35 ล้านครั้งต่อปี พบร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน พัฒนาห้องฉุกเฉินทั่วประเทศ มีระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินชัดเจน ให้ผู้ป่วยวิกฤตได้รับการรักษาปลอดภัย ความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ที่ห้องฉุกเฉินไม่ถูกคุกคาม ลดอัตราตาย ลดความพิการ ด้วยทีมแพทย์ และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ มาตรฐาน

วันนี้ (6 ตุลาคม 2560) ที่ รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำคณะลงพื้นที่ติดตามนโยบายการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12 และตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

นพ.เจษฎา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ปฏิรูประบบสุขภาพ มีการเชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ เบ็ดเสร็จภายในเขตสุขภาพ และระบบส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลขนาดเล็กกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน ทั่วถึง เป็นธรรม

นพ.เจษฎา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันทั่วประเทศ มีสถิติผู้รับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน (ER) เฉลี่ย 35 ล้านครั้งต่อปี ร้อยละ 60 เป็นผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินทำให้เกิดความแออัด ประกอบกับการขาดแคลนบุคลากร รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน ได้รับความปลอดภัยมากที่สุด ลดอัตราการตาย และลดความพิการ โดยพัฒนาห้องฉุกเฉิน หรือห้องอีอาร์ ให้เป็นห้องอีอาร์คุณภาพ (ER QUALITY) อาทิ รถพยาบาลปลอดภัย มีเครื่องช่วยชีวิตที่ได้มาตรฐาน มีระบบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินชัดเจนมีมาตรฐาน ผู้ป่วยวิกฤติต้องได้รับการรักษาด่วน ไม่อยู่ห้อง ER นานกว่า 4 ชั่วโมง เจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาทุกที่ทุกสิทธิ (UCEP) ความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ที่ห้องฉุกเฉินไม่ถูกคุกคาม โรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ต้องจัดแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขาเป็นแพทย์ที่ปรึกษากรณีจำเป็นตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น

ตลอดจนพัฒนาบุคลากรแต่ละสาขาวิชาชีพให้เพียงพอ โดยให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ ประเมินและปรับปรุงตนเองให้ได้ตามเกณฑ์ คาดว่าจะสามารถลดอัตราการตายที่ป้องกันได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 ทั้งนี้ประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือได้รับอุบัติเหตุ สามารถแจ้งเหตุทางหมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง
โดย: หมอหมู วันที่: 6 ตุลาคม 2560 เวลา:15:50:58 น.
  

เปิดปากคำพยาบาล ‘ห้องฉุกเฉิน’ วอนผู้บริหารอย่ามองความรุนแรงเป็นแค่เรื่องเล็ก
Tue, 2017-12-05 10:48 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/12/15017

หัวหน้าพยาบาลห้องฉุกเฉิน รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ เปิดความรู้สึก พยาบาลถูกคุกคามกระทบขวัญและกำลังใจ ระบุจากประสบการณ์ 18 ปี พบบุคลากรน้อยเนื้อต่ำใจมาก วอนผู้บริหารอย่ามองว่าเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย

น.ส.กฤตยา แดงสุวรรณ หัวหน้าพยาบาลห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวในเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สภาพปัญหาความรุนแรงในโรงพยาบาล ภายใต้งานสัมมนา “วิกฤต คุกคาม ความรุนแรงในโรงพยาบาล ทางออกคืออะไร” ซึ่งจัดโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบงานบริการสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตแพทย์ แพทยสภา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 ตอนหนึ่งว่าพยาบาลจะเป็นผู้ที่ต้องอยู่หน้างานตลอด 24 ชั่วโมง และต้องเป็นผู้ปฏิสัมพันธ์กับคนไข้หรือญาติเป็นคนแรก แต่เมื่อเกิดเหตุความรุนแรงกับพยาบาล เช่น ถูกคนไข้ตบหน้า ผู้บริหารมักจะระบุอย่างบ่อยครั้งว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลโดยตรงกับขวัญกำลังใจของพยาบาล

“เมื่อขวัญกำลังใจไม่มี และต้องมาเจอกับงานที่เครียด กดดัน และภาระงานที่สูง แน่นอนว่าความอดทนก็จะต่ำ และผลลัพธ์ก็จะไปเกิดกับคนไข้ มันจะวนเวียนเป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ ที่สำคัญคือบางครั้งเราถูกมองโดยที่คนไม่ได้รู้ความจริงทั้งหมด” น.ส.กฤตยา กล่าว

น.ส.กฤตยา กล่าวว่า ในหลายครั้งที่แพทย์และพยาบาลตกเป็นฝ่ายถูกกระทำ แต่ยังไม่ถึงขั้นเลือดตกยางออก ก็มักจะถูกปล่อยให้เป็นเรื่องเล็กๆ และยิ่งหากไม่ออกสื่อด้วยแล้วก็จะกลายเป็นเรื่องที่เล็กมาก ส่วนตัวอยากให้ทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วย

“มีอยู่เคสหนึ่งมีวัยรุ่นเป็นทอมพาแม่มาทำแผลโดยบอกพยาบาลว่าอย่าทำแม่เขาเจ็บนะ ระหว่างทำแผลไปแม่เขาก็ร้อง วัยรุ่นรายนั้นก็บอกว่าเดี๋ยวกูจะทำมึงบ้าง แล้วเขาก็ไปดักพยาบาลตามจุดที่พยาบาลจะลงเวร เราก็พยายามเข้าใจว่าเขาคุมอารมณ์ไม่ได้ เครียด แม่เขาป่วย และก็แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปแล้วก็จบ แต่จากนั้นวัยรุ่นคนนี้ก็เข้ามารับการรักษาเอง เมื่อพยาบาลเข้าไปทำแผลกลับถูกล็อคคอ รปภ.และพยาบาลวิ่งเข้าไปช่วยแต่ก็เอาไม่อยู่ โชคดีสุดท้ายพยาบาลมีวิธีการคุยและสามารถกดวัยรุ่นคนนี้ไว้ได้ สุดท้ายญาติก็มาฟ้องเราว่าเรารุมทำร้ายผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่โชคดีที่กล้องวงจรปิดบันทึกเหตุการณ์ทั้งหมดไว้ได้ คำถามคือ เรื่องนี้คืออย่างมากก็ไปแจ้งความแล้วก็จบไป ถามว่าใครช่วยเราได้ ขวัญและกำลังใจคนทำงานอยู่ที่ไหน” น.ส.กฤตยา กล่าว

น.ส.กฤตยา กล่าวว่า โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ไม่ได้มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี แต่ก็ไม่ค่อยมีเหตุรุนแรงหรือการชกต่อยทำร้ายร่างกายกันในห้องฉุกเฉิน ถ้าจะมีก็เป็นเหตุใหญ่เช่นระเบิดไปเลย อย่างไรก็ตามด้วยโรงพยาบาลอยู่ในพื้นที่เปราะบางมากจึงได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดตลอด 24 ชั่วโมง แต่โรงพยาบาลไม่สามารถจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) มานั่งทุกจุดตลอด 24 ชั่วโมงได้ เนื่องจากค่าจ้างสูง จึงได้ติดปุ่มสัญญาณไว้ใต้โต๊ะทุกโต๊ะที่มีเจ้าหน้าที่นั่ง เมื่อกดปุ่มสัญญาณก็จะไปแจ้งทาง รปภ.ส่วนกลาง

“จากประสบการณ์แล้ว ขอแลกเปลี่ยนว่าจำเป็นต้องมีกล้องวงจรปิดในทุกๆ จุดของโรงพยาบาล โดยเฉพาะในห้องฉุกเฉินนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง และอยากฝากถึงผู้บริหารว่าอยากให้ความสำคัญกับความรู้สึกของเจ้าหน้าที่ด้วย ดิฉันเป็นหัวหน้าพยาบาลห้องฉุกเฉิน 18 ปี พบว่าความน้อยเนื้อต่ำใจของเจ้าหน้าที่มีมาก เพราะเกิดเรื่องแล้วถูกละเลย หรือบางครั้งก็ไม่สามารถพูดความจริงได้ สุดท้ายเขาก็เลือกพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่สบายกว่า ต้องอย่าลืมว่างานฉุกเฉินเหนื่อยสุด หนักสุด และเราต้องให้อภัยคนไข้เสมอ ขณะเดียวกันเราได้รับแรงกดดันทั้งจากแพทย์เอง จากญาติและผู้ป่วยที่เต็มไปด้วยความคาดหวัง ฉะนั้นอย่ามองปัญหาของเจ้าหน้าที่เป็นปัญหาเล็กอีกต่อไป” น.ส.กฤตยา กล่าว
โดย: หมอหมู วันที่: 5 ธันวาคม 2560 เวลา:13:51:01 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 763 คน [?]

บทความทั้งหมด